ระวัง! 8 สาเหตุโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

ระวัง! 8 สาเหตุโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

“ข้อเข่าเสื่อม” โรคในผู้สูงอายุที่คงไม่มีบุตรหลานคนไหนอยากให้เกิดกับผู้ใหญ่ในครอบครัวของตนเอง เพราะถือได้ว่าเข่าหรือข้อต่างๆ เป็นฟันเฟืองสำคัญในการดำเนินชีวิตของคนเราเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในทุกๆ การเคลื่อนไหวไม่ว่าจะ เดิน วิ่ง นั่ง ต่างก็ต้องใช้กระดูกและข้อเหล่านี้ในการเคลื่อนไหว หากแต่อวัยวะในร่างกายของเรานั้นย่อมเสื่อมถอยตามกาลเวลาเมื่อเราชราลงอย่างเลี่ยงไม่ได้และมักส่งผลอันตราย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงต้องเฝ้าระวังให้ผู้สูงวัยในบ้านนั่นเอง “ข้อเข่าเสื่อม” ปัญหาใหญ่กวนใจผู้สูงอายุ การปวดข้อ ปวดเข่า ถือเป็นโรคที่พบได้ในทุกเพศและทุกวัย ซึ่งหากเป็นวัยหนุ่มสาวทั่วไป ปัจจัยหลักๆ ก็จะเกิดจากน้ำหนักตัวที่ค่อนข้างเกินมาตราฐานจึงทำให้หัวเข่าและกระดูกบริเวณใกล้เคียงรับไม่ไหวและสำหรับผู้สูงอายุเองนั้น สาเหตุก็คงไม่พ้นความเสื่อมของโครงสร้างกระดูกที่พอเมื่อแก่ตัวลงก็จะถดถอยลงเรื่อยๆ โดยโรคนี้ทำให้ผู้สูงอายุเกิดอาการปวดเข่า บวมแดง เข่าฝืดยึด มีเสียงดังในเข่า ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ดังปกติ ซึ่งมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไป  8 สาเหตุของอาการเข่าเสื่อมที่ผู้สูงวัยพึงระวัง 1. อายุที่มากขึ้น โดยอาการนี้มักจะพบในผู้สูงวัยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปและมักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเพศหญิงมากกว่าเพศชายด้วย 2. น้ำหนักตัว ซึ่งมากเกินมาตราฐานของดัชนีมวลกายของแต่ละท่าน คือมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 23 กก/ม2 3. ความผิดปกติของข้อเข่า เป็นความผิดปกติของรูปเข่าและขา เช่น มีข้อเข่าผิดรูป ขาโก่ง หรือมีเข่าชนกัน เป็นต้น 4. การใช้ข้อเข่าหักโหมซ้ำๆ ซึ่งนอกจากจะใช้เข่าอย่างหักโหมแล้วก็อาจจะเกิดจากการเคลื่อนไหวในท่าบางท่าที่ต้องงอเข่าบ่อยครั้ง เช่น คุกเข่า […]

5 แอปฯ หาหมอออนไลน์! ตอบโจทย์ผู้สูงวัยยุคโควิด

5 แอปฯ หาหมอออนไลน์! ตอบโจทย์ผู้สูงวัยยุคโควิด

“หาหมอออนไลน์” เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในยุคนี้ เพราะตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้น “การเว้นระยะห่างทางสังคม” คืออีกหนึ่งวิถีชีวิตแบบใหม่ที่เราเรียนรู้ในการอยู่กับมันนั่นเอง อย่างไรก็ตามการดำเนินชีวิตแนวใหม่นี้ก็ได้สร้างข้อจำกัดต่างๆ ในการไปไหนมาไหนของเราด้วยเนื่องจากจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อไปอีก ไม่ว่าจะเป็น ตลาด โรงเรียน และโรงพยาบาล สถานที่ที่จำเป็นที่สุดสำหรับผู้ที่เจ็บป่วย ผู้มีโรคประจำตัว และผู้สูงอายุ ดังนั้นการพบแพทย์ออนไลน์ หรือ การใช้แอปพลิเคชันคุยกับคุณหมอ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับช่วงเวลานี้ แอปฯ หาหมอออนไลน์ยุคนี้สามารถทำอะไรได้บ้าง? จริงๆ แล้วแอปพลิเคชันพบแพทย์เปิดให้บริการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2562 ซึ่งก็มีหลากหลายแอปพลิเคชันด้วยกัน มีทั้งแบบเสียเงินซื้อและแบบฟรีแล้วแต่ผู้ใช้จะสะดวก โดยฟังก์ชันส่วนใหญ่ในแอปฯเหล่านี้ค่อนข้างตอบโจทย์กับผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาที่จะไปพบแพทย์และครอบครัวที่มีผู้สูงอายุที่ต้องพบแพทย์อยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นแอปฯพบแพทย์เหล่านี้จึงได้พัฒนาบริการต่างๆ ในแอปฯให้มีมากขึ้นโดยไม่จำกัดไว้เพียง VDO Call คุยกับคุณหมอเท่านั้นแต่ยังสามารถทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้อีก เช่น 1. พูดคุยกับทีมแพทย์ทางแชท เป็นฟังก์ชันหลักๆ ของตัวแอปพบหมอออนไลน์ ซึ่งหากผู้สูงวัยมีคำถามเกี่ยวกับสุขภาพที่ยังไม่ได้รับคำตอบและต้องการข้อมูลด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือก็สามารถสนทนาโดยตรงกับทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญได้ทุกที่ทุกเวลา 2. ซื้อสินค้าเพื่อสุขภาพ แอปพลิเคชันพบแพทย์ออนไลน์บางแอปฯนั้น นอกจากจะสามารถคุยแชทกับคุณหมอได้แล้วก็ยังสามารถซื้อสินค้าเพื่อสุขภาพจากทางแอปฯได้เลย เช่น วิตามินต่างๆ สำหรับร่างกาย วิตามินสำหรับผิว อาหารเสริม เป็นต้น และยังจัดส่งได้เลยในแอปฯเดียว 3. นัดพบแพทย์เพื่อพูดคุยได้แบบส่วนตัว หากผู้ป่วยสูงอายุท่านใดจำเป็นต้องเดินทางไปพบกับคุณหมอโดยตรงที่โรงพยาบาลก็สามารถนัดพบแพทย์ทางแอปฯนั้นๆ ได้เลย […]

“สายตายาว” ปัญหาสายตาของวัยชราที่เลี่ยงไม่ได้

"สายตายาว" ปัญหาสายตาของวัยชราที่เลี่ยงไม่ได้

“สายตายาว” ปัญหาของใครหลายๆ คน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ แท้จริงแล้วปัญหาทางสายนั้นมีได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น ยาว และเอียง ซึ่งตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าปัญหาเช่นนี้สามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัยเพราะนอกจากค่าสายตาจะเปลี่ยนไปตามอายุแล้ว บางรายก็ยังสามารถมีปัญหาสายตาตั้งแต่กำเนิดได้ด้วยนั่นเอง ภาวะสายตายาวตามวัย สายตายาวตามวัย ไม่ใช่ ภาวะสายตายาว เป็นเรื่องที่มักเข้าใจผิดกันว่าปัญหาทางสายตา 2 แบบนี้คือปัญหาเดียวกัน แต่แท้จริงแล้วเรื่องของสายตายาวนั้น มีด้วยกัน  2 ประเภทหลักๆ อย่างแรก คือ สายตายาวตั้งแต่กำเนิด โดยจะเกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด อีกอย่าง หนึ่ง คือ สายตายาวตามวัย ซึ่งอาการสายตายาว 2 ประเภทนี้จะแตกต่างกันอย่างชัดเจน ดังนี้ สายตายาวตั้งแต่กำเนิด เกิดจากขนาดของลูกตาที่มีขนาดเล็กเกินไป ทำให้จุดรวมแสงของภาพไม่ว่าวัตถุนั้นจะอยู่ใกล้หรือไกลไม่ไปโฟกัสบนจอประสาทตา จึงเป็นสาเหตุของการปวดตา และมองเห็น ไม่คมชัด สายตายาวตามวัย จะเกิดขึ้นหลังจากอายุ 40 ปี เป็นผลจากการปรับโฟกัสของเลนส์ตาแย่ลง ทำให้มองวัตถุระยะ ใกล้ไม่ชัด ทำให้ต้องยืดแขนออกเพื่อมองให้ชัด เพราะฉะนั้น อย่าสับสนระหว่างสองแบบนี้เด็ดขาด ปัญหาสายตายาวในผู้สูงอายุ-อาการ อาการของคนที่มีปัญหาสายตายาวสูงอายุ คือ มองระยะใกล้ไม่ชัด เวลาอ่านหนังสือต้องยื่นมือออกไป มากกว่าปกติ […]

5 รายการอาหารวันตรุษจีนที่ผู้สูงอายุต้องเลี่ยง

5 รายการอาหารวันตรุษจีนที่ผู้สูงอายุต้องเลี่ยง

“อาหารวันตรุษจีน” สิ่งสำคัญในวันปีใหม่จีน ลูกหลานมักต้องเตรียมอาหารคาวหวาน สิ่งของเครื่องใช้มงคลต่างๆ สำหรับกราบไหว้บูชาเทพเจ้าและบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว เพื่อแสดงความกตัญญูและเริ่มต้นปีใหม่ด้วยความเป็นสิริมงคล โดยอาหารแต่ละอย่างก็จะมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป เพื่อความร่ำรวย เพื่อความอุดมสมบูรณ์ หลากหลายความมงคลแล้วแต่เลือกสรร หลังจากไหว้เสร็จแล้ว สมาชิกในครอบครัวก็นิยมนำของไหว้เหล่านั้นมารับประทานเพื่อความมงคลแก่ตนเอง หากแต่มิวายมีคำเตือนจากนักโภชนาการในการรับประทานอยู่ดี “อาหารเทศกาลตรุษจีน” เสริมมงคลแต่เสี่ยงโรคเรื้อรังในผู้สูงวัย ดังที่กล่าวไปตอนต้นว่าเป็นประเพณีสำหรับคนในครอบครัวที่จะนำอาหารต่างๆ หลักจากการไหว้มารับประทานเนื่องจากเชื่อกันว่าจะเกิดความเป็นมงคล แต่ความมงคลที่ว่าก็ตามมาด้วยความเสี่ยงในโรคต่างๆ เช่นเดียวกัน เนื่องจากแต่ละเมนูทั้งคาวหวานก็ต่างมีความสุดโต่งของรสชาติด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะ หวาน มัน เค็ม จัดได้ว่ามีครบทุกรายการ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่นักโภชนาต้องออกมาเตือนสำหรับว่าการรับประทานอาหารในวันปีใหม่จีนอาจนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิด โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูงในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพและผู้สูงอายุได้  5 รายการอาหารวันตรุษจีนที่ผู้สูงอายุต้องเลี่ยง 1. หมูสามชั้น-หัวหมู ถือเป็นเมนูคลาสสิคเมนูหนึ่งของเทศกาลนี้เลยก็ว่าได้ แต่หากรับประทานจนมากเกินไปก็จะนำไปสู่โรคอ้วน อ้วนลงพุง อีกทั้งโรคไต,ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, มะเร็ง อีด้วย 2. เป็ดพะโล้ แม้ในน้ำพะโล้จะอุดมไปด้วยเครื่องเทศและสมุนไพรต่างๆ แต่หากทานอย่างไม่ระมัดระวังก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ในการทานเป็นพะโล้นั้น ต้องหมั่นตรวจเช็กความสดใหม่อยู่เสมอ ห้ามค้างคืนเด็ดขาด เพราะโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่โดนเคี่ยว ต้ม ตุ๋นเป็นเวลานาน อาจเกิดสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้ 3. ไก่ต้ม เป็นเมนูที่มีความหมายที่ดีมากทีเดียวสำหรับเมนูไก่ต้ม ซึ่งมีความเชื่อว่าเมนูนี้เสริมความเจริญก้าวหน้าให้กับหน้าที่การงานนั่นเอง […]

“ฟันปลอม” 5 ข้อที่ควรรู้ ผู้สูงวัยใช้แบบไหนจึงเหมาะสม

"ฟันปลอม" 5 ข้อที่ควรรู้ ผู้สูงวัยใช้แบบไหนจึงเหมาะสม

“ฟันปลอม” อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่า เมื่ออายุมากขึ้นสุขภาพช่องปากก็จะเริ่มอ่อนแอขึ้นมีโรคต่างๆเข้ามามากขึ้น เนื่องจากฟันแท้ตามธรรมชาติที่อาจจะเริ่มอ่อนแอลงจึงจำเป็นต้องดูแลให้มากขึ้นเป็นพิเศษเพราะหากว่าสุขภาพฟันมีปัญหาก็จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายด้วย เนื่องจากทำให้รับประทานอาหารไม่ได้ ทำให้เบื่ออาหารตามมา ส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็น สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง ทุกอย่างเกี่ยวเนื่องกันหมดในร่างกาย สำหรับผู้สูงวัยที่สูญเสียฟันแท้ตามธรรมชาติเพียงชุดเดียวไป จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการรักษาโดยด่วน และวิธีรักษาที่ดีที่สุดก็คงหนีไม่พ้นการใส่ฟันเทียมนั่นเอง “ฟันปลอม” กับ 5 ข้อที่ควรรู้ก่อนเลือกให้ผู้สูงอายุ 1. ผู้สูงวัยกับสุขภาพช่องปาก ผู้สูงวัยในปัจจุบันที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไปยังคงมีความเชื่อแบบเก่าๆว่า ฟันหลุดร่วงก็เป็นไปตามอายุขัย ไม่มีทางป้องกันได้เพราะใช้งานมานานก็ต้องเสื่อมสภาพไปตามธรรมชาติ จึงทำให้เกิดการละเลยในการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก โดยจากการศึกษาได้พบว่า ในผู้สูงวัย ร้อยละ 70 ประสบปัญหาไม่มีฟันบดเคี้ยวอาหาร ทางเลือกที่ดีที่สุดเมื่อเข้าพบทันตแพทย์ก็คือ การใส่ฟันเทียมแบบถอดได้ เพราะ ถือว่าเป็นการทดแทนฟันแท้ตามธรรมชาติได้เป็นอย่างดี แถมยังช่วยเรื่องความสวยงามในช่องปากของผู้สูงวัยอีกด้วย 2. เลือกอุปกรณ์แบบไหนเหมาะสมกับผู้สูงวัย? อุปกรณ์ทางช่องปากชนิดนี้ถูกผลิตออกมาตามความเหมาะสมมากมายหลายรูปแบบ โดยมีทั้ง ถอดได้ ถอดไม่ได้ ถาวร หรือ ชั่วคราว โดยในกลุ่มของผู้สูงวัยนั้น ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมักจะแนะนำให้ใช้อุปกรณ์แบบถอดได้ นอกจากว่าผู้สูงวัยท่านนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพทำให้ดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองไม่ได้ หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาทที่เกี่ยวเนื่องกับช่องปาก ทันตแพทย์จะไม่แนะนำให้ใส่ชนิดแบบถอดได้ เพราะอาจจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี จึงแนะนำให้ใช้ชนิดแบบติดแน่น ไม่สามารถถอดได้ เนื่องจากผู้สูงวัยจะสามารถปรับตัวได้ง่ายกว่า 3. จะเกิดอะไรขึ้นหากผู้สูงวัยไม่ใส่ฟันเทียม? […]

“บ้านหมุน” ผู้สูงวัยมีอาการแบบนี้อันตรายหรือไม่?

"บ้านหมุน" ผู้สูงวัยมีอาการแบบนี้อันตรายหรือไม่?

“บ้านหมุน” อาการที่มักเกิดขึ้นบ่อยในผู้สูงอายุ โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันเมื่อลุกขึ้นอย่างกระทันหัน หรือหลักๆ คือผู้ที่มีอาการจะรู้สึกเวียนศีรษะและเห็นว่าสิ่งต่างๆ รอบตัวหมุนไปรอบๆ ทั้งๆ ที่ตนเองอยู่กับที่และไม่มีการเคลื่อนไหว ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเสียสมดุลการทรงตัวและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ “บ้านหมุน” อาการเล็กๆ แต่เป็นเรื่องใหญ่ แท้จริงแล้วอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยและไม่ได้เป็นอาการเฉพาะของโรคใดโรคหนึ่ง แต่ด้วยหลักๆ นั้นการเวียนศีรษะประเภทนี้มักมีอาการร่วมหลายอย่าง เช่น สมองตื้อ รู้สึกไม่แจ่มใส มึนงง และการทรงตัวที่มีปัญหา ท้ายที่สุดคือนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งหากเทียบกันจริงๆ แล้ว “ผู้สูงอายุ” เป็นวัยที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดเนื่องจากหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาจะรักษาการบาดเจ็บได้ยากกว่าวัยอื่นๆ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว การเวียนศีรษะเช่นนี้มีสาเหตุมาจาก… 1. ความผิดปกติของหู เป็นความผิดปกติของหูชั้นในหรือระบบสมองที่ส่งผลต่อการทรงตัว 2. ความผิดปกติของระบบอื่นๆ เช่น ระบบไหลเวียนโลหิตที่อาจทำงานไปหล่อเลี้ยงส่วนของร่างกายได้ไม่ดีมากนัก หรือระบบสายตา 3. ฤทธิ์จากยาบางชนิด ผู้สูงอายุบางท่านต้องรับประทานยาบางชนิดอยู่บ่อยครั้งซึ่งอาจเป็นยาเพื่อบรรเทาโรคประจำตัว แต่ฤทธิ์ข้างเคียงบางอย่างของยานั้นๆ อาจส่งผลให้ผู้สูงอายุที่รับประทานมีอาการเวียนศีรษะได้ 4. ปัจจัยอื่นๆ เช่น การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เมารถ หรือเมาเรือ เป็นต้น กับคำถามที่ว่า “บ้านหมุน” อันตรายหรือไม่? การเกิดอาการนี้จะอันตรายหรือไม่ขึ้นอยู่กับสาเหตุ เนื่องจากในผู้สูงอายุบางรายมีสาเหตุมาจากเนื้องอกหรือหลอดเลือดที่ทำงานผิดปกติซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ แต่หากเป็นสาเหตุทั่วๆ ไป เช่น […]

ไม้เท้าผู้สูงอายุเลือกอย่างไร 3 วิธีช่วยเลือกให้เหมาะ

ไม้เท้าผู้สูงอายุเลือกอย่างไร 3 วิธีช่วยเลือกให้เหมาะ

“ไม้เท้า” อุปกรณ์ที่หลายๆ คนมองว่าเป็นเพียงสิ่งที่มาเป็นตัวช่วยให้กับผู้สูงเท่านั้น ซื้อแบบใดก็เหมือนกันไม่ต้องคัดสรรอะไรมากมาย หากแต่สำหรับผู้สูงอายุแล้วอุปกรณ์ช่วยเดินชนิดนี้อาจเป็นเพื่อนเก่าเพื่อนแก่และผู้ช่วยในยามยากของท่านก็เป็นได้ เพราะต้องคอยอาศัยไว้ช่วยเดินไปไหนมาไหนตามที่ต้องการ เปรียบเสมือนเป็นอีกหนึ่งอวัยวะในร่างกายเลยก็ว่าได้ “ไม้เท้า” ผู้สูงอายุมีความสำคัญอย่างไร-ทำไมต้องพิถีพิถันในการเลือก 1. เพราะปัญหาด้านสุขภาพ เนื่องจากวัยสูงอายุ เป็นวัยที่ประสบปัญหาทางต่างๆ ด้านสุขภาพอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นโรคประจำตัวเรื้อรัง หรือความอ่อนแอลงทางร่างกายตามกาลเวลา จนทำให้การเคลื่อนไหวในทุกๆ อิริยาบถในชีวิตประจำวันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ดังนั้น การดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด รวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆ สำหรับ ผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่บุตรหลานควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง 2. เพราะบางท่านจำเป็นต้องใช้ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการเคลื่อนไหว นอกจากปัญหาในเรื่องสุขภาพแล้ว ผู้สูงอายุบางท่านประสบปัญหาการได้รับบาทเจ็บต่างๆ เช่น แผลจากการผ่าตัด โรคข้ออักเสบ เป็นต้น การมีอุปกรณ์ชนิดนี้จึงทำให้พวกท่านรู้สึกปลอดภัยยิ่งขึ้นเมื่อเริ่มเดิน ลุก นั่ง เพราะเป็นการช่วยพยุงร่างกายเอาไว้ให้เกิดความสมดุล และเพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวไปมาได้อย่างสะดวก “3 วิธี” ช่วยเลือกอุปกรณ์ช่วยเดินให้เหมาะกับผู้สูงอายุ คนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิดของผู้สูงอายุควรเลือกซื้อไม้ที่เหมาะแก่ปัญหาของพวกท่าน โดยอาจขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรืออ่านคู่มือประกอบ ซึ่งสามารถพิจารณาจากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ ดังต่อไปนี้ 1. น้ำหนัก หากไม้มีน้ำหนักที่เบา หรือหนักจนเกินไป อาจทำให้ผู้สูงอายุยกขึ้นยาก และอาจเสี่ยงต่อการล้มเจ็บได้ง่าย ดังนั้นอาจเลือกวัสดุที่มีน้ำหนักค่อนข้างพอดีอย่าง […]

“ใจสั่น” อาการในผู้สูงอายุกับ 6 สาเหตุที่ไม่น่าวางใจ

"ใจสั่น" อาการในผู้สูงอายุกับ 6 สาเหตุที่ไม่น่าวางใจ

“ใจสั่น” เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัย หากแต่ในผู้สูงวัยนั้นจะเกิดขึ้นบ่อยกว่าวัยอื่นๆ ซึ่งอาการประเภทนี้มักที่จู่ๆ ก็เกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุว่ามากจากอะไร บางรายอาจเกิดขึ้นสักครู่แล้วหายไปเองหรือบางรายอาจเป็นถี่ๆ เป็นหลายครั้งต่อวัน ซึ่งนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าผู้สูงอายุในครอบครัวของคุณอาจตกอยู่กับการเป็นโรคร้ายแรงหรือเปล่า จู่ๆ ก็ “ใจสั่น” อาการนี้คืออะไรกันแน่ เป็นความรู้สึกที่หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะช้า เร็ว กระตุก หรือสะดุด ผลของอาการประเภทนี้เป็นได้ตั้งแต่มีอาการรำคาญ เหนื่อยง่าย อัมพาต ไปจนถึงเสียชีวิตกะทันหัน อาการนี้พบได้บ่อยโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจและอาจพบร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย เวียนศีรษะ หรือหมดสติ เป็นต้น การเต้นของหัวใจในภาวะปกติ หัวใจเต้นได้โดยอัตโนมัติ โดยปกติแล้วหัวใจห้องบนจะเริ่มเต้นก่อน แล้วจึงส่งกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นหัวใจห้องล่าง อัตราการเต้นของหัวใจขึ้นกับสภาพร่างกายและกิจกรรมที่ทำ เช่น เวลานอนหลับหัวใจจะเต้นช้ากว่าเวลาที่ออกกำลังหรือภาวะไข้สูง หัวใจจะเต้นเร็วขึ้น การเต้นของหัวใจในภาวะปกติจะอยู่ในช่วง 50-100 ครั้งต่อนาที  6 สาเหตุที่ไม่น่าวางใจ โรคหัวใจหลาย ๆ ชนิด ทำให้เกิดอาการนี้ได้จากการที่มีหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เช่น โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหัวใจโตหรือในผู้ป่วยบางคนเกิดจากความผิดปกติของไฟฟ้าในหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด นอกจากโรคหัวใจแล้ว มีอีกหลายภาวะที่อาจทำให้เกิดอาการได้ เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคโลหิตจาง […]

5 นวัตกรรมของใช้ผู้สูงอายุสุดล้ำ-เพื่อผู้สูงวัยยุค 2022

5 นวัตกรรมของใช้ผู้สูงอายุสุดล้ำ-เพื่อผู้สูงวัยยุค 2022

“ของใช้ผู้สูงอายุ” บางท่านอาจมองว่าสิ่งของเหล่านี้คงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุเท่านั้น เช่น สบู่ ยาสระผม และกางเกงผ้าอ้อม เป็นต้น และหากจะกล่าวกันตามจริงความคิดเช่นนั้นก็ไม่ใช่สิ่งผิด หากแต่เมื่อเวลาเดินมาข้างหน้า ทุกสิ่งทุกอย่างก็ก้าวตามมาด้วยเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเทคโนโลยีและวิถีชีวิตก็ต่างเป็นสิ่งที่เราต้องปรับตัวตามเพื่อความอยู่รอดทั้งสิ้น รวมถึงอุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุที่ถูกพัฒนาถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาให้ไม่เป็นเพียงตัวช่วยผู้สูงวัยเท่านั้นแต่ยังเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์การดำเนินชีวิตในแต่ละวันของวัยชราในยุคนี้อีกด้วย “5 ของใช้ผู้สูงอายุ” สินค้าผู้สูงวัยสุดล้ำที่คุณอาจไม่เคยรู้จักมาก่อน 1.หุ่นยนต์ ElliQ ElliQ เป็นตัวช่วยเพิ่มความแอคทีฟให้กับผู้สูงอายุ ให้สามารถเชื่อมต่อกับโลกภายนอก ติดต่อกับครอบครัว หรือเพื่อนได้ผ่านการแชท ผ่านเกมออนไลน์ และโซเชียลมีเดีย จากการวิจัยพบว่า เมื่อผู้สูงอายุรู้สึกโดดเดี่ยว จะส่งผลให้สุขภาพกายและใจถดถอย จึงทำการคิดค้นและออกแบบ ElliQ ขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้สูงอายุที่ต้องอาศัยอยู่ลำพัง และไม่เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งนับเป็นอุปสรรคในด้านการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนหรือครอบครัว ให้สามารถติดต่อกับโลกภายนอกได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้ยังสามารถกล่าวอรุณสวัสดิ์และบอกสภาพอากาศของวันนั้นๆ ได้อีกด้วย 2. โถสุขภัณฑ์ TrueLoo Vik Kashyap ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Toi Labs ตั้งเป้าที่จะเปลี่ยนห้องน้ำให้เป็นแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพที่ประโยชน์ หลังจากที่ตระหนักว่าสิ่งที่ถูกชะล้างออกไปนั้นสามารถชี้ให้เห็นถึงปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ Kashyap ได้สร้างฝารองนั่งชักโครกที่เรียกว่า TrueLoo ด้วยความสามารถในการเข้ากับห้องน้ำ TrueLoo มีเซ็นเซอร์ที่สามารถระบุได้ว่าผู้ใช้เป็นใคร จากนั้นจะสแกนโถชักโครกเพื่อกำหนดขนาด สี ความสม่ำเสมอ ความถี่และรูปร่างของอุจจาระ […]

“โรคความดันสูง” ในผู้สูงอายุ กับ 8 ภาวะแทรกซ้อนมีอะไรบ้าง

"โรคความดันสูง" ในผู้สูงอายุ กับ 8 ภาวะแทรกซ้อนมีอะไรบ้าง

“โรคความดันสูง” มักได้รับการขนานว่า เป็น “ฆาตรกรเงียบ” หรือ “เพชฌฆาตเงียบ”  เนื่องจากโรคนี้ไม่มีอาการชัดเจนในระยะเริ่มแรก ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้มักละเลยต่อการรักษา ควบคุม และดูแลตนเองให้ถูกต้องเหมาะสมและยิ่งหากเป็นในผู้ป่วยสูงอายุก็ยิ่งจำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะสามารถเป็นโรคนี้ได้ง่ายมาก แต่หลังจากนั้นแล้วสิ่งที่แย่กว่าคือการที่มีโรคแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์ตามมา “โรคความดันสูง” ในผู้สูงอายุเกิดจาก… กลไกการของการเกิดโรคนี้ เกิดจากการเพิ่มขึ้นของปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาที ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาทีได้แก่ ปริมาตรเลือดที่เพิ่มขึ้น และการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุนั้นแตกต่างจากในผู้ใหญ่ เนื่องจากมีปัจจัยที่เพิ่มขึ้นจากความสูงวัย คือ จากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเมื่ออายุมากขึ้น ได้แก่ การที่หลอดเลือดแดงตีบแข็งเนื่องจากมีไขมันอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ ลักษณะอาการของโรคความดันโลหิตสูง โดยทั่วไปภาวะความดันโลหิตสูงมักไม่มีสัญญาณหรืออาการใด ๆ แม้ว่าค่าความดันโลหิตจะอยู่ในระดับที่สูงเกินปกติ บางรายที่มีภาวะความดันโลหิตสูงอาจมีอาการปวดศีรษะ หายใจถี่ หรือมีเลือดกำเดาไหล อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้มักไม่แสดงจนกว่าภาวะความดันโลหิตจะอยู่ในขั้นรุนแรง  การวินิจฉัยโรค ความดันโลหิตสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังต่อไปนี้ ความดันปกติ ระดับความดันที่ต่ำกว่า 120/80 มม. ถือว่าอยู่ในระดับปกติ ความดันสูงเล็กน้อย ความดันโลหิตระหว่าง 120/80 – 129/80 มม. ความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 หากความดันโลหิตอยู่ระหว่าง 130-139/80-89 มม. ปรอทถือว่าเป็นความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 ความดันโลหิตสูงระยะที่ 2 หากความดันโลหิตมีค่าเกินกว่า 140/90 ขึ้นไปถือเป็นความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงและถือว่าเป็นความดันโลหิตสูงระยะที่ 2 8 ภาวะแทรกซ้อนที่มักตามมากับความดันสูง ระดับความดันโลหิตสูงและอาการความดันสูงเฉียบพลันขึ้นมักก่อให้เกิดความเสียหายที่มากขึ้นตามไปด้วย ภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างเกิดจากความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ มีดังต่อไปนี้ 1. หัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง  2. โรคสมองเสื่อม 3. ปัญหาเกี่ยวกับความจำหรือความเข้าใจ 4. โรคเมตาบอลิก หรือ ภาวะที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญ […]