การดูแลแผลกดทับในผู้ป่วยสูงอายุ

การดูแลแผลกดทับในผู้ป่วยสูงอายุ

“แผลกดทับ” เป็นหนึ่งในบรรดาแผลหลายๆ ประเภทที่ส่งผลต่อชีวิตของเราได้โดยตรง เนื่องจากเกิดการกดทับเนื้อจนกลายเป็นเนื้อตายและมีแผลเกิดขึ้นมา การมีแผลชนิดนี้ทำให้เงื่อนไขและข้อจำกัดของการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นและทำกิจกรรมในระหว่างวันได้น้อยลงโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ก็มีความเสี่ยงในการเกิดแผลที่น่ากลัวนี้ได้เช่นเดียวกันเพราะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในการดูแล ดังนั้นหากเป็นแล้วต้องรีบรักษาให้หายโดยเร็วที่สุดเพราะมิเช่นนั้นอาจเกิดการติดเชื้อและเสียชีวิตได้     มารู้จัก “แผลกดทับ” คืออะไร แผลชนิดนี้เกิดจากการที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง (เฉพาะที่) ถูกกดทับมาเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงบริเวณที่ถูกกดทับได้อย่างสะดวกและส่งผลให้ผิวหนังบริเวณดังกล่าวเกิดรอยแดง บาดแผลและเนื้อตายในที่สุด ทั้งนี้อาจมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วยโดยมักพบแผลชนิดนี้ตามตำแหน่งที่ผิวหนังติดกับกระดูกต่างๆ เช่น ส้นเท้า สะโพก และก้นกบเป็นต้น โดยส่วนใหญ่ปัญหาจากแผลชนิดนี้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุเนื่องจากไม่สามารถดูแลและทำแผลเองได้ ตำแหน่งที่มักเจอแผลกดทับ จากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าแผลชนิดนี้มักอยู่ตามบริเวณผิวหนังที่ติดกับกระดูก ดังนั้นตำแหน่งที่มักพบเจอจะประกอบด้วย บริเวณด้านหลังศีรษะและหู (เป็นบริเวณที่หากเกิดแผลก็จะสามารถเห็นความลึกได้ชัดเจนมากเนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ไม่มีเนื้อเยื่อใต้ชั้นผิวหนังนั่นเอง)  บริเวณหัวไหล่ บริเวณข้อพับแขน บริเวณก้น บริเวณสะโพกและเข่า บริเวณส้นเท้า สาเหตุที่ทำให้เกิดแผลชนิดนี้มีอะไรบ้าง แม้จะเป็นแผลที่เกิดจากการกดทับก็จริงแต่ปัจจัยที่ทำให้เกิดนั้นมีมากมาย โดยประกอบด้วยสาเหตุต่างๆ ดังนี้ 1. ขาดการเคลื่อนไหว เป็นสาเหตุที่ทักพบเจอในผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุ เนื่องจากสภาวะทางร่างกายที่ไม่สามารถขยับไปไหนได้มากจึงทำให้ขาดการเคลื่อนไหวและนอนติดเตียงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ร่างกายถูกกดทับเป็นเวลานานๆ ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงไม่พอ 2. ผิวแห้งเพราะขาดความชุ่มชื้น “ผิวแห้ง” เป็นปัญหาสภาพผิวที่สามารถพบเจอได้ในทุกเพศทุกวัยซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากต่อมไขมันผลิตน้ำมันหล่อเลี้ยงผิวได้น้อยกว่าปกติ จึงทำให้ผิวไม่สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ได้นานและทำให้ผิวแห้งและเกิดแผลขึ้นมาได้ 3. โภชนาการไม่เพียงพอ ถือว่าเป็นหนึ่งสาเหตุที่สำคัญเนื่องจากปัญหานี้อาจมีเรื่องของสุขภาพจิตร่วมอยู่ด้วย “อาหาร” นั้นนับได้ว่าเป็นยาอีกแขนงหนึ่งที่ซึ่งหากเรารับประทานสิ่งที่มีประโยชน์ก็จะช่วยเสริมสร้างภูมิให้แก่ร่างกายได้ก็เป็นอย่างดีแต่หากสารอาหารที่ได้รับเข้าไปไม่เพียงพอก็อาจเกิดโทษกับร่างกายได้เช่นเดียวกัน จากการที่มีเรื่องสุขภาพจิตร่วมด้วยดังที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น อาการหลักๆ คือการที่ผู้ป่วยไม่อยากอาหารและรับประทานไม่ลงจึงส่งผลให้โภชนาการไม่พอต่อความต้องการในการร่างกายนั่นเอง […]

พลัดตกหกล้ม อุบัติเหตุในผู้สูงอายุที่ต้องระวัง

พลัดตกหกล้ม อุบัติเหตุในผู้สูงอายุที่ต้องระวัง

“พลัดตกหกล้ม” เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในกลุ่มของการบาดเจ็บโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งรองจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน โดย 1 ใน 3 พบว่ามักอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 65-75 ปีขึ้นไปและดูเหมือนว่าจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่ตามมาก็คือการบาดเจ็บหลังจากการอุบัติเหตุ ซึ่งในผู้สูงอายุมักพบการสระดูกสะโพกแตกหรือหักและกรณีที่แย่กว่านั้นคือการกระทบกระเทือนสมอง ดังนั้นอุบัติเหตุเช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่ลูกหลานในครอบครัวไม่ควรนิ่งนอนใจ สาเหตุของการพลัดตกหกล้มเกิดจากอะไรได้บ้าง แม้จะดูเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ง่ายแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะป้องกันไม่ได้เลย ซึ่งก่อนที่เราจะรู้ว่าเราสามารถป้องกันการพลัดตกหกล้มให้กับผู้สูงอายุของครอบครัวของเราได้นั้นเราต้องทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงการเกิดอุบัติเหตุเหล่านี้ให้ได้เสียก่อน โดยสาเหตุหลักๆ ประกอบด้วย 1. สาเหตุทางร่างกายและสุขภาพ มักจะเกิดจากการความเสื่อมถอยของอวัยวะทั้งภายในและภายนอกร่างกาย เช่น กระดูก ข้อต่อต่างๆ ของหัวเข่า เป็นต้น รวมไปถึงความสามารถในการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมือนเดิม เช่น การทรงตัว การเดิน แขนขาอ่อนแรง อาการบ้านหมุน อีกทั้งยังมีปัญหาสายตาที่ทำให้การมองเห็นของผู้สูงอายุไม่ชัดเจนเหมือนเดิมนั่นเอง 2. สาเหตุทางสภาพแวดล้อม เป็นสาเหตุหลักๆ ของการอุบัติเหตุในผู้สูงอายุเลยก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัยรวมไปถึงอุปกาณ์ในการช่วยพยุงการเดินต่างก็เป็นสิ่งแวดล้อมที่ผู้สูงวัยต้องใช้ในชีวิตประจำวันทั้งสิ้น ซึ่งมักจะเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น พื้นห้องน้ำเปียก พื้นลื่น พื้นหรือบันไดมีระดับต่างกันอย่างกระทันหัน อุปกรณ์ช่วยพยุงเกิดการชำรุด และสะดุดชายเสื้อผ้าที่ยาวเกินไป โดยประเด็นดังกล่าวไม่ควรถูกปล่อยปะละเลยอย่างยิ่ง การบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นหลังจากได้รับอุบัติเหตุ จากที่กล่าวไว้ตอนต้น หลังจากได้รับอุบัติเหตุ (ในกรณีที่เกิดขึ้นจริง) แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคืออาการบาดเจ็บที่ได้รับโดยอาการบาดเจ็บต่างๆ ก็จะแตกต่างกันออกไปซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับความร้ายแรงจากอุบัติเหตุที่ผู้สูงอายุท่านั้นๆได้ประสบมา แล้วการบาดเจ็บที่ว่านั้นสามาารถเกิดขึ้นไปในทิศทางไหนได้บ้าง? 1. […]

10 ท่าออกกำลังกายผู้สูงอายุ ที่เหมาะสมกับวัย

10 ท่าออกกำลังกายผู้สูงอายุ ที่เหมาะสมกับวัย

การออกกำลังกายผู้สูงอายุ แม้ “วัยชรา” จะเป็นวัยที่ร่างกายของเรานั้นเสื่อมถอยได้ง่ายที่สุด แต่การออกกำลังกายที่สม่ำเสมอและมีความพอดีกับร่างกายก็สามารถสร้างภูมิคุ้มกันและความแข็งแรงให้กับเราได้อย่างเหลือเชื่อ ดังนั้นการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากทีเดียว ยิ่งอายุมาก การออกกำลังกายยิ่งสำคัญ โดยส่วนมากแล้วเรามักมีความเชื่อที่ว่าวัยสูงอายุคือวัยแห่งการพักผ่อน อย่าออกแรงเยอะหรือทำกิจกรรมอะไรที่ส่งผลเสียต่อระบบการเคลื่อนไหวของร่างกาย จึงไม่น่าแปลกที่ลูกๆ ในครอบครัวจะเป็นกังวลเมื่อคุณพ่อคุณแม่ต้องทำกิจกรรมอะไรสักอย่างที่อาจเกิดอุบัติเหตุกับพวกท่าน เช่น การหกล้ม ตกบันได พลัดตกเตียง  ท้ายที่สุดจึงเลือกที่จะหลีกเลี่ยงให้ท่านทำกิจกรรมเหล่านี้ด้วยตนเองแม้จะเป็นกิจวัตรประจำวันก็ตาม ความกลัวเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งผิด แต่ทว่าก็กลายเป็นดาบสองคมที่อาจทำให้ร่างกายของผู้สูงอายุเริ่มมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง เคลื่อนไหวได้ไม่คล่องแคล่วตามต้องการเช่นเดียวกัน ฉะนั้นหากผู้สูงอายุเหล่านี้ได้ออกกำลังกายในท่าที่เหมาะสมและทำอย่างสม่ำเสมอนั้นก็จะช่วยให้ร่างกายของพวกท่านมีชีวิตชีวา กระชุ่มกระชวย และมีภูมิคุ้มกันที่ดีด้วยนั่นเอง รักษ์คุณ โฮมแคร์ จึงคัด 10 ท่าออกกำลังกายที่ผู้สูงอายุสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเองมาฝากกัน 10 ออกกำลังกายผู้สูงอายุ ที่เหมาะสมกับวัย แบ่งออกเป็น 4 แบบบริหารตามระบบต่างๆ ของร่างกาย ดังนี้ ท่าออกกำลังกายผู้สูงอายุที่ช่วยบริหาร “หัวใจ” แต่ละท่าของการออกกำลังกายชุดนี้ ผู้สูงอายุสามารถนั่งทำบนเก้าอี้ได้ ทำประมาณท่าละ 60 วินาที  โดย 30 วินาทีแรกให้ทำตามความเร็วปกติและอีก 30 วินาทีหลังก็ให้พยายามทำให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ 1. ท่าสลับเท้าพร้อมยกมือชก ทำได้โดยการเหยียดขาและแขนออกมาพร้อมกัน แต่ทำสลับกันคนละข้าง โดยขานั้นจะอยู่ในลักษณะเหยียดตรง ส่วนแขนก็จะเหยียดตรงเช่นกันพร้อมกับทำมือเป็นกำปั้นคล้ายท่าชกมวย […]

สังเกตภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มีความอันตรายอย่างไร

สังเกตภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มีความอันตรายอย่างไร

ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเป็นภาวะหนึ่งที่ลูกหลานจะต้องให้ความสนใจเพราะว่าสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้สูงวัยที่มักจะเกิดขึ้นในผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไป วันนี้เรามีวิธีสาเหตุของการเกิดภาวะซึมเศร้า อาการและวิธีป้องกันมาฝากกันค่ะ   ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ คืออะไร? อาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ คือ อาการป่วยของโรคชนิดหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ในกลุ่มผู้สูงอายุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ก่อนเข้าวัยสูงอายุและหลังจากเข้าสู่วัยสูงอายุ ซึ่งอาการของโรคจะมีความรุนแรงตั้งแต่ภาวะซึมเศร้าเล็กน้อยไปจนถึงอาจมีอาการจิตเวชร่วมด้วย อารมณ์ไม่แจ่มใส รู้สึกหดหู่ บางเคสอาจมีความคิดสั้น คิดฆ่าตัวตาย สามารถรักษาได้ด้วยการเข้าพบจิตแพทย์ สาเหตุของโรคซึมเศร้าในสูงอายุ ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุนั้นหากไม่ใช่อาการป่วยที่ติดตัวมาตั้งแต่สมัยวัยรุ่นหรือวัยทำงาน ก็มักจะเกิดในวัยผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นการสูญเสียคู่ชีวิตที่อยู่ร่วมกันมาทั้งชีวิตหรือคนในครอบครัว ในบางรายอาจจะเกิดจากการสูญเสียสถานะทางสังคม เช่น ชีวิตหลังเกษียณที่เคยทำงาน เคยพบเจอสังคม เจอเพื่อน และเมื่อมาอยู่ในบ้านคนเดียวก็ไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิต หรือ เกิดความกังวลเรื่องรายได้ และบางรายก็เกิดจากการเหงาโดดเดี่ยวที่ต้องอยู่บ้านคนเดียวตามลำพังปราศจากลูกหลานห้อมล้อม แต่ในบางกรณีโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุนั้น บางครั้งก็ถูกกระตุ้นโดยโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ไขมันในเลือด ความดัน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคสมองเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคพาร์กินสันจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป อาการของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ อาการของโรคซึมเศร้าของผู้สูงวัย คนในครอบครัวสามารถสังเกตอาการของได้ ดังนี้ ทานอาหารได้น้อยลงกว่าปกติ แม้จะเป็นอาหารที่ชอบ ในบางรายอาจจะทานได้เยอะกว่าเดิม นอนน้อยกว่าปกติ ตื่นกลางดึก หรือในบางรายก็มักจะนอนทั้งวัน ดูคล้ายกับมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง […]

บ้านพักคนชรา VS เนอร์สซิ่งโฮม เหมือนและต่างกันอย่างไร

บ้านพักคนชรา VS เนอร์สซิ่งโฮม เหมือนและต่างกันอย่างไร

เนอร์สซิ่งโฮมหมายถึงบ้านพักคนชราหรือเปล่า? เชื่อว่าหลายๆ คนมักจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับบ้านพักผู้สูงอายุและเนอร์สซิ่งโฮมว่ามีความเหมือนกัน เพราะเป็นที่ดูแลผู้สูงอายุเหมือนกัน แต่ความจริงแล้วทั้งคู่มีความแตกต่างกัน แต่จะมีความแตกต่างกันอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาช่วยไขข้อข้อสงสัยให้ฟังกันค่ะ บ้านพักคนชรา VS เนอร์สซิ่งโฮม เหมือนและต่างกันอย่างไร จุดที่เหมือนกันของบ้านพักผู้สูงอายุกับเนอร์สซิ่งโฮม คือ ทั้งสองที่เป็นสถานบริการดูแลผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุมีชีวิตการเป็นอยู่ที่เหมาะสมในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย อาหารการกินที่ถูกหลักโภชนาการ ซึ่งที่บ้านพักผู้สูงอายุนั้นจะมีทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่คอยให้การดูแลตลอดเวลา เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีลูกหลานคอยดูแลสามารถเข้ามาอยู่ที่บ้านพักได้แบบระยะยาวได้ จุดที่แตกต่างกันของบ้านพักผู้สูงอายุกับเนอร์สซิ่งโฮม คือ บ้านพักผู้สูงอายุจะเน้นการดูแลผู้สูงอายุแบบระยะยาว และผู้สูงอายุจำเป็นต้ิงมีความสามารถในการดูแลตัวเองได้ เช่น สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เดินเหินได้ปกติ ทานข้าวเองได้ เปลี่ยนเสื้อผ้า ทำความสะอาดร่างกายได้เอง ไม่มีภาวะป่วยหนักจนไม่สามารถดูแลตัวเองได้ หรือ มีภาวะติดเตียง ส่วนเนอร์สซิ่งโฮมจะเน้นการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลตลอดเวลา 24 ชั่วโมง หรือผู้ป่วยสูงอายุที่เพิ่งเข้ารับการผ่าตัดต้องการใช้เวลาในการพักฟื้น และผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยติดเตียง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ต้องมีคนดูแล ป้อนอาหาร ทำความสะอาดร่างกายให้ ซึ่งที่เนอร์สซิ่งโฮมจะมีทีมแพทย์ พยายาม นักกายภาพบำบัด และนักโภชนาการที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสูง ซึ่งจะช่วยดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด 24 ชั่วโมง และช่วยฟื้นฟูอาการเจ็บป่วยให้หายอย่างรวดเร็ว มีการบริการครบวงจรเหมาะสำหรับผู้สูงอายุระยะสั้นๆ และในมุมที่แตกต่างกันตรงนี้เอง จึงสรุปได้ว่า […]

เนอร์สซิ่งโฮม (Nursing Home) คืออะไร? สำคัญอย่างไรในปัจจุบัน

เนอร์สซิ่งโฮม (Nursing Home) คืออะไร ทำไมถถึงเป็นที่นิยม

  เนอร์สซิ่งโฮมคืออะไร? เนอร์สซิ่งโฮม เป็นอีกชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกหรือบ้านพักสำหรับดูแลผู้สูงอายุที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน หลายๆ อาจจะคิดว่า คือบ้านพักคนชรา แต่ความจริงแล้วหน้าที่ของเนอร์สซิ่งโฮมมีมากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ทุพพลภาพ ผู้สูงอายุที่ผ่านการผ่าตัดที่ต้องการพักฟื้น ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาตที่ต้องได้รับการดูแลและการทำกายภาพบำบัด โดยที่เนอร์สซิ่งโฮมจะมีทีมแพทย์ พยาบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำกายภาพ นักโภชนาการด้านอาหารและพนักงานที่ผ่านการอบรมดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ซึ่งสถานที่แห่งนี้นอกจากจะดูแลสุขภาพกายให้สมบูรณ์แข็งแรงแล้วยังต้องดูแลสุขภาพใจให้ผู้สูงอายุอีกด้วย ทำไมเนอร์สซิ่งโฮมถึงแตกต่างจากบ้านพักคนชรา หลายคนไม่น้อยที่เข้าใจผิดว่าเนอร์สซิ่งโฮมนั้นเป็นสถานบริการที่ไม่มีความแตกต่างกับบ้านพักผู้สูงอายุ ซึ่งความจริงแล้วไม่จริงเลย เพราะเนอร์สซิ่งโฮมจะเน้นการดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจรที่เป็นทั้งสถานพยาบาลและดูแลผู้ป่วยพักฟื้น โดยจะแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้ กลุ่มผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หมายถึง ผู้สูงอายุที่ไม่ได้ต้องการการดูแล 24 ชั่วโมง ไม่มีภาวะป่วยติดเตียง สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตัวเอง กลุ่มผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หมายถึง ผู้สูงอายุที่ร่างกายไม่แข็งแรง มีภาวะติดเตียง ป่วยเป็นโรคบางอย่างที่จำเป็นต้องมีคนคอยดูแลใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งที่เนอร์สซิ่งโฮมจะเป็นสถานบริการที่คอยดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ โดยที่มีทีมงาน ทีมแพทย์ พยาบาลดูแลในความสะดวกอยู่ตลอดเวลา โดยที่นี่จะมีความสะดวกสบายกว่าบ้านพักคนชราตรงที่จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ในการดูแลครบครับเช่น รถเข็น กริ่งขอความช่วยเหลือ กล้องวงจรปิด ราวพยุง อุปกรณ์ช่วยชีวิต และรถพยาบาลที่สามารถพาไปรักษาได้ตลอดหากเกิดเหตุไม่คาดคิด มีสะดวกสบายไม่ต่างจากบ้านเพราะเจ้าหน้าที่ทุกคนจะถูกอบรมการดูแลเอาใจผู้ป่วยและผู้สูงอายุให้มีสุขภาพกายสุขภาพใจแข็งแรงอย่างใกล้ชิดและยังมีกิจกรรมต่างๆ ให้ทำเพื่อคลายเหงามีความสุขอีกด้วย ซึ่งที่เนอร์สซิ่งโฮมจะตอบโจทย์ได้ทั้งผู้ป่วยระยะสั้นและระยะยาว […]

กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ มีความสำคัญอย่างไร

กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ สำคัญอย่างไร

เนื่องจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุมักจะมีอาการปวดเมื่อยบริเวณข้อเข่าจากการเคลื่อนไหวตัวที่ไม่สะดวกหรือจากโรคเรื้อรังต่างๆ ดังนั้นการทำกายภาพบำบัดผู้อายุจึงเป็นหนึ่งในการรักษาแบบฟื้นฟูร่างกายที่นอกจากจะช่วยเสริมสุขภาพที่ป่วยอยู่ในดีขึ้นแล้ว ยังสามารถป้องกันและรักษาโรค เช่น โรคเรื้อรัง โรคข้ออักเสบ และโรคกระดูกพรุนได้ดีอีกด้วย วันนี้รักษ์คุณจึงจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับการทำกายภาพบำบัดในกลุ่มผู้สูงอายุให้ฟังกันค่ะ กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ คืออะไร? กายภาพบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ (Geriatric Physical Therapy) เป็นการกายภาพบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและยืดหยุ่นให้กับร่างกาย ที่ค่อนข้างเหมาะกับผู้สูงอายุที่ป่วย เช่น สูญเสียภาวะการทรงตัว สมรรถภาพการมองเห็นลดลง โรคทางสมองและระบบประสาท โรคข้ออักเสบ โรคกระดูกพรุน โรคอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดในสมอง โรคปัสสาวะเล็ด ผู้สูงอายุที่ผ่านการรักษาทางการแพทย์ด้วยการผ่าตัดสะโพกและผู้ที่จำเป็นต้องใส่ข้อเข่าเทียม การทำกายภาพบำบัดผู้สูงอายุ จำเป็นอย่างไร? สาเหตุที่การทำกายภาพบำบัดมีความสำคัญกับผู้สูงอายุเนื่องจาก การทำกายภาพบำบัดจะช่วยฟื้นฟูร่างกายของผู้สูงอายุให้สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย เพราในบางครั้งอาการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุบางอย่างอาจส่งผลต่อการขยับร่างกายที่ยากขึ้น ส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้สูงอายุที่อาจจะรู้สึกอ่อนแอ สิ้นหวัง รู้สึกเป็นภาระของลูกหลาน แต่หากได้รับการรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดนั้น จะช่วยรักษา และช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้ท่านได้ ซึ่งประโยชน์ของกายภาพบำบัดนั้นก็มีประโยชน์มากมายเลยค่ะ  ประโยชน์ของกายภาพบำบัดผู้สูงอายุ ลดและบรรเทาอาการเจ็บปวดจากอาการป่วยตามกล้ามเนื้อ ช่วยเพิ่มสมรรถภาพร่างกายของผู้สูงอายุให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ บรรเทาอาการปวดตามข้อต่อ กระดูก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อและข้อต่อ เพิ่มความสมดุลในร่างกาย ช่วยเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุให้สามารถเคลื่อนไหวได้ดีและปลอดภัย ช่วยฝึกการใช้เครื่องมือพยุงร่างกาย เช่น ไม้เท้า การลดความเสี่ยงจากเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้ม ตกจากที่สูง […]

เกณฑ์ในการเลือกบ้านดูแลผู้สูงอายุ บ้านพักคนชราที่ดีที่สุด

เกณฑ์ในการเลือกบ้านดูแลผู้สูงอายุ บ้านพักคนชราที่ดีที่สุด

บ้านดูแลผู้สูงอายุ ควรเลือกอย่างไร? เนื่องจากในปัจจุบันนั้นแนวโน้มว่าจะเกิดสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการเตรียมความพร้อม หรือ การเตรียมความพร้อมของการมองหาสถานบริการดูแลผู้สูงอายุนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก วันนี้เราจึงจะมาช่วยแนะนำวิธีการเลือกสถานบริการเพื่อการดูแลผู้สุงอายุว่า ควรเลือกจากปัจจัยใดเป็นสำคัญ   บ้านดูแลผู้สูงอายุ มีความสำคัญอย่างไร? หลายๆ ท่านเมื่อพูดถึงบ้านดูแลผู้สูงวัย เนอร์สซิ่งโฮม มักจะรู้สึกไม่ค่อยดีเนื่องจากมักจะติดภาพว่าบ้านดูแลผู้สูงวัย ก็คือบ้านพักคนชราที่ใช้สำหรับพักพิงผู้สูงอายุที่ไม่มีญาติหรือลูกหลานดูแล ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่เลยนะคะ เนื่องจากบ้านดูแลผู้สูงวัยในปัจจุบันนั้นเป็นสถานบริการที่ใช้สำหรับดูแลผู้สูงอายุที่อาจมีอาการป่วยด้วยโรคประจำตัวที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันวัยหนุ่มสาวส่วนใหญ่มักจะต้องออกไปทำงานนอกบ้าน และเหลือผู้สูงวัยไว้ที่บ้านเพียงลำพัง ซึ่งอาจจะตอบโจทย์ด้านค่าใช้จ่ายแต่ไม่ตอบโจทย์การดูแลผู้สูงอายุที่บางคนอาจจะต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวไม่ได้ หรือผู้สูงอายุที่ต้องการเพื่อนคุย เนื่องจากก่อนที่จะเกษียณอายุจากการทำงานก็มักจะได้พบปะกับผู้คนตลอด เมื่อต้องมาอยู่บ้านคนเดียวก็รู้สึกเหงาเป็นเหตุในปัจจุบันมีผู้สูงอายุหลายๆ ท่านประสบต่อภาวะซึมเศร้า ทั้งหมดนี้ทำให้ในปัจจุบันธุรกิจเกี่ยวกับบ้านดูแลผู้สุงวัย บ้านพักคนชรา หรือเนอร์สซิ่งโฮมจึงเป็นที่น่าจับตาและเป็นที่นิยมมากขึ้นในกลุ่มของคนรุ่นใหม่ ที่นอกจากจะมองหาบ้านพักสำหรับดูแลญาติผู้ใหญ่อันเป็นที่รักแล้ว มีกลุ่มวัยทำงานที่เป็นหนุ่มสาวอีกไม่น้อยที่มองหาบ้านพักหลังวัยเกษียณสำหรับตนเองเพื่อจะได้ไม่เป็นภาระการดูแลของลูกหลาน และยังสามารถมีสังคมของตนเองได้เหมือนเดิม เกณฑ์ในการเลือกบ้านดูแลผู้สูงอายุที่ดีที่สุดสำหรับคุณ 1. ทีมงานควรมีความเชี่ยวชาญ สิ่งสำคัญอันดับหนึ่งที่ต้องมองหาใน คือ บ้านพักแห่งนั้นจะต้องมีพนักงานที่ประจำอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง และพนักงานทุกคนควรที่จะผ่านการอบรมและผ่านประสบการณ์การดูแลผู้สูงอายุมาแล้ว เนื่องจากนิสัยของผู้สูงอายุหลายๆ มักจะใจร้อน บางครั้งก็มีความเจ้าระเบียบสูง พนักงานควรมีเทคนิคการรับมือที่ดี และควรจะมีรักใจในการบริการเพราะผู้สูงอายุบางท่านอาจจะต้องการความช่วยเหลือบ่อย เช่นผู้ป่วยติดเตียง หรือไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ดังนั้นพนักงานจึงต้องมีความเชี่ยวชาญสูง 2. […]

การดูแลผู้สูงอายุอย่างไรให้สุขภาพดี มีความสุข อายุยืนยาว

การดูแลผู้สูงอายุอย่างไรให้สุขภาพดี มีความสุข อายุยืนยาว

เทคนิคการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้อาวุโสในบ้านของเรา ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ลูกหลานจะต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เนื่องจากอายุที่สูงวัยขึ้นส่งผลให้กระดูกข้อต่อต่างๆ ทำงานได้ไม่คล่องแคล่วเช่นเดิม ทำให้การเคลื่อนไหวตัวช้าลง และมักจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ดังนั้นวันนี้ทางรักษ์คุณโฮมแคร์จึงมีเทคนิคการดูแลผู้สูงวัยที่บ้านให้มีสุขภาพทั้งกายใจดี แข็งแรง มีความสุข และมีอายุยืนยาวให้ฟังค่ะ   ดูแลผู้สูงอายุอย่างไรให้ถูกต้อง 1.อาหารการกิน สำหรับการดูแลผู้สูงอายุนั้น อาหารการกินประจำวันถือเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอันดับ 1 เพราะเมื่ออายุมากขึ้น ระบบเผาผลาญภายในร่างกายก็ทำงานได้น้อยลงไม่เต็มประสิทธิภาพเหมือนเดิม การที่ทานอาหารที่เต็มไปด้วยไขมันสูง คอเลสเตอรอลสูง อาจจะนำพาไปสู่โรคต่างๆ เช่น โรคความดัน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง ดังนั้นควรระมัดระวังการทานอาหารของผู้สูงวัยในบ้านให้ดี ไม่ควรทานเนื้อติดมัน อาหารทอด ปิ้งย่าง หรืออาหารที่มีส่วนผสมของกะทิมากจนเกินไป ควรจัดอาหารตามโภชนาการที่เหมาะสมทั้ง 5 หมู่ ทั้ง 3 มื้อก็จะช่วยให้คนที่คุณรักห่างไกลจากโรคแล้วค่ะ 2.ออกกำลังกายของการดูแลผู้สูงอายุ การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ควรทำในทุกเพศ ไม่จำกัดวัยเลย เพราะการออกกำลังกายเป็นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระตุ้นให้ภายในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ เพียงแต่การออกกำลังกายแต่ละช่วงวัยนั้นก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ในวัยเด็กอาจจะชอบเล่นผาดโผน เน้นการออกแรงเยอะ วัยผู้ใหญ่อาจจะเน้นการสร้างกล้ามเนื้อ เช่นคาร์ดิโอ วิ่ง เล่นกีฬาแนวปะทะได้ แต่ในหมู่ผู้สูงวัยนั้นการออกกำลังกายแบบใช้แรงเยอะอาจจะเสี่ยงต่อการบาดเจ็บกล้ามเนื้อได้  ดังนั้นการออกกำลังกายของผู้สูงอายุก็คือ การออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดินแกว่งแขน รำไทเก๊ก โยคะ […]

กระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า รักษาโรคอะไรได้บ้าง?

เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (Transcranial Magnetic Stimulation: TMS) เป็นเครื่องมือที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Field) ไปกระตุ้นการทำงานของ เซลล์สมอง เซลล์ประสาท บริเวณที่ถูกกระตุ้นจะหลั่งสารสื่อประสาทที่ใช้ในการซ่อมแซมเซลล์ประสาทส่วนที่มีปัญหา เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้าจึงถูกนำมาใช้ในการรักษาและฟื้นฟูการเจ็บป่วยของโรคทางสมองและระบบประสาท กระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า คืออะไร?  ก่อนอื่นเราลองมาทำความรู้จักเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้ากันนะคะ ว่าเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (Transcranial Magnetic Stimulation: TMS) ทำงานอย่างไร? นั่นก็คือ เซลล์ต่างๆ ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์ประสาท จะทำงานโดยการเปลี่ยนแปลงของประจุไฟฟ้า ทำให้เกิดการสั่งการและควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกาย เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (Transcranial Magnetic Stimulation: TMS) จะปล่อยคลื่นแม่เหล็กผ่านทางหัวกระตุ้น (Coil) ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าในบริเวณที่กระตุ้น และบริเวณใกล้เคียง เพื่อกระตุ้นการทำงานของเซลล์ โดยตำแหน่งที่จะกระตุ้นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้กำหนดตำแหน่ง เพื่อให้เหมาะสมกับการรักษาผู้ป่วยแต่ละคน   ใครที่เหมาะกับการรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (Transcranial Magnetic Stimulation: TMS)? องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration: FDA) ได้อนุมัติการใช้เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (Transcranial Magnetic […]