อาการปวดหลัง อาการที่ผู้สูงอายุต้องเจอเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น เนื่องจากอวัยวะเสื่อมถอยลงไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น และแม้ว่าการปวดหลังนี้จะเป็นโรคที่สามารถเป็นกันได้ทุกเพศทุกวัย แต่ ผู้สูงอายุ ยังคงเป็นวัยของผู้ป่วยที่มีความน่าเป็นห่วงกว่าวัยอื่นๆ เพราะถ้าหากมีอาการเจ็บป่วยขึ้นมา ก็จะรักษายากกว่าวัยหนุ่มสาวนั่นเอง อย่างไรก็ดี อาการปวดกล้ามเนื้อหลังในผู้สูงอายุเช่นนี้ จะตามมาด้วยอาการไม่พึงประสงค์อื่นๆ อีก นั่นจึงเป็นเหตุผลที่บุตรหลานควรดูแลและพาผู้สูงอายุไปรักษาให้หายหรือบรรเทาอาการให้ดีขึ้น “อาการปวดหลัง” ในผู้สูงอายุ เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่? หลายๆ คนอาจสงสัยว่า ทำไมยิ่งเราอายุมากขึ้น การปวดหลังก็เหมือนจะเป็นปัญหาที่กลายเป็นเงาตามตัวมากขึ้น เพราะไม่ว่าจะทำอะไร เคลื่อนไหวไปไหน การปวดเช่นนี้ก็จะเกิดขึ้นตามมาเสมอ อย่างไรก็ดี ในผู้สูงอายุนั้น การมีอายุมากขึ้นไม่ได้เป็นเพียงปัจจัยเดียวที่ทำให้เกิดการปวดหลัง หากแต่ยังมีอีกหลายๆ ปัจจัยและพฤติกรรมอื่นๆ ที่ส่งผลให้มีอาการปวดเช่นนี้ด้วย สาเหตุของการปวดหลังในผู้สูงอายุ ยกของหนักเป็นประจำ หรือทำกิจกรรมที่ต้องก้มๆ เงยๆ ตลอดเวลา สูบบุหรี่บ่อย ทำให้ร่างกายไม่สามารถลำเลียงสารอาหารไปยังหมอนรองกระดูกสันหลังได้เพียงพอ ที่นอนแข็งหรือนุ่มเกินไป รวมทั้งระดับความสูงของหมอนที่ไม่เหมาะสม ออกกำลังกายหักโหมหนักจนเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อทำงานหนัก หรือเกิดจากการขาดการออกกำลังกาย ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแอ กระดูกสันหลังเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน โรคประจำตัว เช่น โรคข้ออักเสบ มะเร็ง น้ำหนักตัวมากเกินไป ภาวะกระดูกพรุน ภาวะซึมเศร้า – วิตกกังวล 7 […]
Category Archives: การดูแลผู้สูงอายุ
“ระบบทางเดินอาหาร” เป็นอีกระบบหนึ่งที่สำคัญของร่างกายมนุษย์เรา โดยเฉพาะในวัยผู้สูงอายุ ที่เมื่อมีอายุที่เพิ่มขึ้น ระบบต่างๆ ในร่างกายก็จะเสื่อมลงไปตามการเวลา โดยระบบของทางเดินอาหารนี้ หากมองเผินๆ หลายๆ คนอาจมองว่าเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับท้องหรือลำไส้เท่านั้น แต่เเท้จริงแล้วการที่ผู้สูงวัยสักคนจะมีปัญหาเรื่องระบบย่อยอาหารหรือทางเดินอาหารได้นั้น ไม่จำเป็นต้องมีปัญหามาจากกระเพาะของพวกท่านอย่างเดียว แต่บุตรหลานต้องดูแลตั้งแต่สุขภาพช่องปากและระบบอื่นด้วย “ระบบทางเดินอาหาร” ของผู้สูงอายุ เมื่อเริ่มเสื่อม ต้องดูแลอย่างไร? สำหรับวัยสูงอายุนั้น ระบบร่างกายจะเสื่อมประสิทธิภาพลง ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น เกิดโรคภัยไข้เจ็บ หรือทำให้ระบบร่างกายทำงานผิดปกติได้ ระบบทางเดินอาหาร ก็เป็นระบบที่มีความสำคัญต่อร่างกายของคนเรา เพราะร่างกายของเราต้องการอาหารในทุกวัน และวันละ 3 มื้อเป็นอย่างน้อย สิ่งเหล่านี้ ทำให้เมื่อร่างกายทำงานผิดปกติ จึงเกิดผลตามมานั่นเอง ระบบอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับทางเดินอาหาร 1. ช่องปากและฟัน เยื่อบุช่องปาก เยื่อบุช่องปากบางลง แต่ยังสามารถแบ่งตัวเป็นปกติ น้ำลายจากต่อมน้ำลายลดลงบ้าง เนื้อฟันในผู้สูงอายุจะลดความทึบลง เหงือกร่นลงจากคอฟัน เนื่องจากความเสื่อมของ alveolar bone ขณะที่กระดูกขากรรไกรหดลงเรื่อย ๆ ทำให้ฟันเริ่มโยกคลอนได้ง่าย 2. หลอดอาหาร การไหลผ่านของอาหารจากลำคอสู่กระเพาะอาหารช้าลง เนื่องด้วย ความเสื่อมโทรมของร่างกาย 3. กระเพาะอาหาร […]
“ภาวะสับสนเฉียบพลัน” เป็นภาวะที่ผู้สูงอายุในหลายๆ ครอบครัวกำลังประสบปัญหาอยู่ โดยอาการของภาวะนี้จะส่งผลให้ ผู้สูงอายุมักไม่ให้ความสนใจกับการตอบคำถาม ถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย อาจจะวุ่นวายหรือซึมหลับมากก็ได้ อาการมักเป็นๆ หายๆ มักเป็นช่วงพลบค่ำหรือกลางคืน พูดจาคนละเรื่อง หลงวัน จับต้นชนปลายไม่ถูก มีความสับสนมากๆ อย่างไรก็ดี ภาวะนี้เป็นกรณีเร่งด่วนที่บุตรหลานไม่ควรนิ่งนอนใจควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด “ภาวะสับสนเฉียบพลัน” คืออะไร และมีสาเหตุมาจากอะไร? ภาวะ Delirium คือ ภาวะที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ โดยมาจากการนอนติดเตียงเป็นเวลานานหรือหลังการพักฟื้นที่โรงพยาบาล มักมีอาการไม่คงที่ ความอันตรายของภาวะนี้อาจทำให้ผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้า อาการหลงลืมแย่ลง และเป็นเหตุให้ เกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่ายขึ้น เกิดภาวะทุพพลภาพ เสี่ยงต่อกระดูกหักตามมาอาจส่งผลต่อการฟื้นฟูโดยรวมและทำให้อาการป่วยทรุดลงได้ในที่สุด สาเหตุของภาวะนี้ เกิดได้จาก… อาการสับสนเฉียบพลันถือเป็นภาวะค่อนข้างเร่งด่วนที่ต้องไปพบแพทย์ เนื่องจากเกิดจากความผิดปกติบางอย่างของร่างกายที่ซ่อนอยู่ ซึ่งไม่ได้เกิดจากโรคทางจิตใจเสมอไปหากแต่เป็นความผิดปกติทางกายที่สำคัญที่มักเป็นสาเหตุของอาการนี้ อาการทางกายดังกล่าว ประกอบด้วย ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมอยู่เดิม จะยิ่งมีโอกาสเกิดอาการสับสนเฉียบพลันได้ง่าย ในบางรายแค่เปลี่ยนผู้ดูแลหรือย้ายมานอนในโรงพยาบาลก็ทำให้มีอาการสับสนได้เช่นเดียวกัน โรคติดเชื้อ โดยไม่จำเป็นตัองติดเชื้อในสมองเพียงอย่างเดียว ผู้สูงอายุอาจติดเชื้อที่อื่นก็ได้ เช่น ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ติดเชื้อที่ปอด เป็นต้น รับประทานยาหลายชนิด เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ยิ่งถ้ารับประทานยาหลายชนิด ยิ่งมีโอกาสเกิดสูงที่จะเกิดภาวะนี้ รวมไปถึงการปรับขนาดยาก็สามารถทำให้ผู้สูงวัยเกิดความสับสนเฉียบพลันได้ โรคอื่นๆ เช่น โรคหัวใจวาย […]
“APHASIA” หรือ อะฟาเซีย คือความบกพร่องทางด้านการสื่อสาร ส่วนมากพบในผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการสื่อสารรวมถึงทักษะการคำนวณ การสะกดคำ การพูด การเขียน และ การฟัง ซึ่งอาการจะแตกต่างไปในแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับบริเวณที่สมองได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ดี อาการนี้มีสาเหตุมากจากอะไรกันแน่ และมีวิธีการป้องกันให้กับผู้สูงอายุอย่างไรบ้าง เป็นคำถามที่บุตรหลานต้องศึกษาเพื่อหาคำตอบ “APHASIA” เกิดจากอะไร และมีอาการอย่างไรบ้าง? ภาวะนี้คือ ความบกพร่องทางการสื่อความ เป็นความผิดปกติทางการสื่อสาร ซึ่งมักเป็นผลมาจากสมองได้รับความเสียหายจากภาวะเส้นเลือดในสมองแตกหรือการได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ ทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติในด้านทักษะของการสื่อสารและการใช้ภาษา ไม่สามารถโต้ตอบหรือทำความเข้าใจได้ และอาจมีปัญหาทางด้านการอ่านและการเขียนร่วมด้วย สาเหตุ ภาวะบกพร่องทางการสื่อความเป็นผลมาจากการที่สมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้ภาษาได้รับความเสียหาย ทำให้การลำเลียงเลือดเข้าสู่ในบริเวณดังกล่าวถูกขัดขวางจนทำให้เนื้อสมองตายในที่สุด ซึ่งภาวะ Aphasia อาจเกิดขึ้นได้อย่างกะทันหันหลังเกิดภาวะเส้นเลือดในสมองแตก ภาวะสมองขาดเลือด การได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะหรือการเข้ารับการผ่าตัดสมอง นอกจากนี้ ในบางรายอาการอาจจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ โดยสาเหตุอาจมาจากเนื้องอก การติดเชื้อในสมอง โรคทางระบบประสาท หรือภาวะเสื่อมถอยของสมองอย่างโรคสมองเสื่อม เป็นต้น ประเภทของภาวะบกพร่องทางการสื่อสาร 1. ความบกพร่องทางด้านความเข้าใจ ผู้ป่วยมีปัญหาทางด้านการฟังและการอ่าน ผู้ป่วยพูดได้ปกติ แต่ไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นพูด ไม่สามารถใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง มีแนวโน้มที่จะพูดประโยคยาว ๆ หรือประโยคที่ซับซ้อนติดต่อกันโดยไม่มีความหมาย ใช้คำที่ไร้สาระ คำฟุ่มเฟือย หรือใช้คำไม่ถูก […]
“อาหารย่อยง่าย” ค่อนข้างสำคัญสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากเมื่อพวกท่านอายุมากขึ้น ระบบต่างๆ ในร่างกายก็จะยิ่งทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าเมื่อก่อน โดยเฉพาะระบบย่อยอาหารที่อาจทำงานได้ไม่เต็มที่ และยิ่งถ้าหากท่านได้รับประทานอาหารที่ย่อยยากๆ ด้วยแล้ว แน่ใจได้เลยว่าจะมีผลเสียตามมาอย่างแน่นอน เช่น ท่านอาจมีอาการแน่นท้อง กรดไหลย้อน หรืออาการปวดท้องอื่นๆ ซึ่งอาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของโรคร้ายแรงอื่นๆ ตามมา ดังนั้น บุตรหลานจึงควรดูแลให้พวกท่านทานอาหารที่ย่อยง่ายเข้าไว้นั่นเอง “อาหารย่อยง่าย” สำคัญต่อผู้สูงอายุอย่างไร? การทานอาหาร เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับมนุษย์ โดยเฉพาะวัยสูงอายุที่มีการเสื่อมถอยของร่างกาย จึงต้องทานอาหารที่เหมาะสม เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนอีกทั้งยังต้องมีความย่อยง่ายเพื่อไม่ให้มีปัญหากับท้องและกระเพาะอาหารของผู้สูงอายุท่านนั้นๆ ซ้ำอีกด้วย ทำไมผู้สูงอายุต้องรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย 1.ปัญหาสุขภาพช่องปาก เช่น การสูญเสียฟัน ฟันผุและรากฟันผุ เหงือกอักเสบ เป็นแผลและมะเร็งช่องปาก ฟันสึก ภาวะน้ำลายแห้ง ซึ่งส่งผลต่อการบดเคี้ยวอาหารภายในปาก ทำให้รู้สึกเจ็บปวดเวลาทานอาหาร วิธีแก้ไข : จัดเตรียมอาหารที่รับประทานง่าย เคี้ยวง่าย ในกรณีที่ผู้สูงอายุไม่สามารถเคี้ยวได้ อาจจะให้ทานอาหารประเภทซุป โจ๊ก ข้าวต้ม ควรพาผู้สูงอายุไปตรวจสุขภาพเหงือกและฟัน เป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อรักษาปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตรงจุด หลังรับประทานอาหารควรแปรงฟัน หรือบ้วนปากในกรณีที่มีปัญหากับการแปรงฟันทุกครั้ง 2.ปัญหาสุขภาพจิต รู้สึกเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล กับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวัยสูงอายุ วิธีแก้ไข : หากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด สร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง […]
“ดนตรีบำบัด” หลายๆ คนอาจมองว่าเป็นเพียงเรื่องของความบันเทิงเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว ดนตรี มีความมหัศจรรย์และประโยชน์มากกว่าที่คิด สำหรับคนธรรมดานั้นอาจฟังดนตรีเพียงเพื่อคลายเหงา หรือฟังเพลินๆ เท่านั้น หากแต่สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าแล้ว “บทเพลง” เป็นเสมือนหมอผู้ช่วยที่ทำงานควบคู่กันกับยาต่างๆ เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคทางจิตใจให้ดีขึ้น โดยเฉพาะโรคที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุซึ่งเป็นวัยที่รักษาค่อนข้างยากกว่าผู้ป่วยวัยอื่นๆ ให้มีความสุขขึ้นได้ “ดนตรีบำบัด” ไม่ใช่แค่บทเพลง แต่เป็นยาช่วยคลายเศร้า ทฤษฎี Music Therapy ถือเป็นทฤษฎีทางการแพทย์ที่หลอมรวมเอาเรื่องของศาสตร์ด้านจิตวิทยาและศิลป์ทางด้านดนตรีเข้าไว้ด้วยกันและนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับการรักษา พัฒนา รวมถึงการบำบัดในด้านสุขภาวะของร่างกาย จิตใจ และสังคมสำหรับคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพโดยเฉพาะ จากการวิจัยทางการแพทย์ของ Buckwalter et.al 1985 ระบุไว้ว่า การรักษาโรคทางจิตใจด้วยการใช้ดนตรีเพื่อบำบัดจะช่วยทำให้ลดความกังวล ความกลัว เพิ่มการเคลื่อนไหว และสร้างแรงจูงใจขึ้นมาได้มากยิ่งขึ้นรวมถึง การใช้ดนตรีในการบำบัดนั้นยังช่วยบำบัดโรคร้ายแรงด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจ เพื่อช่วยลดการกระตุ้นที่ทำให้เกิดการเจ็บปวดที่เกิดจากการรักษาได้ ซึ่งในปัจจุบันเห็นได้จากการนำมารักษาควบคู่กับการให้ยาในโรคมะเร็งที่ช่วยลดความกังวลให้กับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี เสียงดนตรีมีส่วนช่วยบำบัดโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้อย่างไร ซึ่งสิ่งที่ทำให้ดนตรีมีประโยชน์ทางการบำบัดได้ถึงขนาดนั้น ก็เป็นเพราะองค์ประกอบต่างๆ ของดนตรีมีผลในด้านจิตวิทยาและการทำงานของสมองโดยตรงนั่นเอง องค์ประกอบของดนตรีที่ทำให้มีผลต่อการบำบัดโรค จังหวะ (Rhythm) หากเล่นในจังหวะ70-80 ครั้ง/นาที (เท่ากับอัตราการเต้นของหัวใจ) จะทำให้คนฟังรู้สึกผ่อนคลาย มีสมาธิ จากการที่สมองลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) หรือสารแห่งความสุขออกมา ระดับ (Pitch) […]
“ข้อเข่าเสื่อม” โรคที่ผู้สูงอายุไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูกเมื่อบุคคลนั้นๆ มีอายุที่มากขึ้น ซึ่งโรคนี้สามารถพบได้ในผู้สูงวัยที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ดี ผู้สูงอายุใช่ว่าจะต้องเป็นผู้ป่วยโรคนี้กันทุกคน แต่บุตรหลานก็ควรเตรียมตัวป้องกันให้กับผู้สูงวัยไว้ก่อน เพราะถ้าหากป่วยเป็นโรคข้อเข่าขึ้นมา แน่นอนว่าจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของท่านโดยตรง และอาจจะรักษายากกว่าผู้ป่วยวัยอื่นๆ ด้วย “ข้อเข่าเสื่อม” เกิดจากอะไร และมีอาการอย่างไร? การปวดข้อ ปวดเข่า ถือเป็นโรคที่พบได้ในทุกเพศและทุกวัย ซึ่งหากเป็นวัยหนุ่มสาวทั่วไป ปัจจัยหลักๆ ก็จะเกิดจากน้ำหนักตัวที่ค่อนข้างเกินมาตราฐานจึงทำให้หัวเข่าและกระดูกบริเวณใกล้เคียงรับไม่ไหวและสำหรับผู้สูงอายุเองนั้น สาเหตุก็คงไม่พ้นความเสื่อมของโครงสร้างกระดูกที่พอเมื่อแก่ตัวลงก็จะถดถอยลงเรื่อยๆ โดยโรคนี้ทำให้ผู้สูงอายุเกิดอาการปวดเข่า บวมแดง เข่าฝืดยึด มีเสียงดังในเข่า ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ดังปกติ ซึ่งมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไป สาเหตุของการเกิดภาวะข้อหัวเข่าเสื่อม 1. อายุที่มากขึ้น โดยอาการนี้มักจะพบในผู้สูงวัยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปและมักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเพศหญิงมากกว่าเพศชายด้วย 2. น้ำหนักตัว ซึ่งมากเกินมาตราฐานของดัชนีมวลกายของแต่ละท่าน คือมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 23 กก/ม2 3. ความผิดปกติของข้อเข่า เป็นความผิดปกติของรูปเข่าและขา เช่น มีข้อเข่าผิดรูป ขาโก่ง หรือมีเข่าชนกัน เป็นต้น 4. การใช้ข้อเข่าหักโหมซ้ำๆ ซึ่งนอกจากจะใช้เข่าอย่างหักโหมแล้วก็อาจจะเกิดจากการเคลื่อนไหวในท่าบางท่าที่ต้องงอเข่าบ่อยครั้ง เช่น […]
“ปอดอักเสบ” เป็นภาวะปอดติดเชื้อที่น่าเป็นห่วงในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศหรือฤดูกำลังเปลี่ยน ซึ่งจะเป็นเวลาที่ปอดของผู้สูงอายุจะเกิดการติดเชื้อได้ง่าย และอีกหนึ่งเหตุผลที่โรคนี้เป็นโรคอันตรายในผู้สูงวัยที่ควรระวังก็เป็นเพราะเมื่ออายุยิ่งมากขึ้น สมรรถภาพของอวัยวะทุกๆ อย่างในร่างกายก็จะเริ่มเสื่อมลงไปตามเวลา การที่ผู้สูงอายุท่านใดท่านหนึ่งเกิดเป็นผู้ป่วยโรคปอดชนิดนี้ขึ้นมาก็จะทำให้การรักษาให้อาการดีขึ้นได้ยากกว่าวัยอื่นๆ นั่นเอง “ปอดอักเสบ” เกิดจากอะไร และมีอาการอย่างไร? ภาวะปอดติดเชื้อ เป็นอีกภัยใกล้ตัวที่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนฤดู โรคปอดติดเชื้อนี้ เป็นโรคติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียผ่านระบบทางเดินหายใจ มักเรียกง่ายๆ ว่า “โรคปอดบวม” นั่นเอง สาเหตุ โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อในตำแหน่งของหลอดลมฝอยลุกลามจนถึงถุงลมปอด ส่วนใหญ่เกินกว่าครึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังเกิดจากการติดเชื้อโรคชนิดอื่นได้ เช่น พยาธิและเชื้อรา ขึ้นอยู่กับระดับภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย เมื่อปอดติดเชื้อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะส่งเม็ดเลือดขาวมาที่เซลล์ปอด และเกิดปฏิกิริยาการอักเสบจากการทำลายเชื้อโรค เกิดหนองหรือของเหลวท่วมขังอยู่ภายในถุงลมปอด รวมทั้งทำให้เซลล์ปอดบวมใหญ่ขึ้น ระยะฟักตัว ระยะฟักตัวของโรคขึ้นอยู่กับเชื้อก่อโรค อาจใช้เวลา 1-3 วัน โดยผู้สูงอายุมักมีอาการเริ่มต้นคล้ายไข้หวัด ไข้สูง ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ อาการอาจรุนแรงขึ้นเมื่อเริ่มเจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ หากเป็นนานกว่า 2-3 วัน โดยไข้ไม่ลด ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการวินิจฉัยและทำการรักษา ลักษณะอาการ กลุ่มอาการเบื้องต้นที่สามารถสังเกตได้ ผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ อายุของผู้ป่วย และความรุนแรงของโรค […]
“โรคหลอดเลือดสมอง” หรือที่รู้จักกันในปัจจุบันกันว่าเป็นอาการ อัมพฤกษ์ อัมพาต โดยโรคทางสมองชนิดนี้นับว่าเป็นโรคที่น่ากลัวทั้งสำหรับบุคคลทั่วไปและผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็ง โดยเฉพาะในวัยชราที่มักจะพบผู้ป่วยโรคนี้เป็นจำนวนมากเนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น ความแข็งแรงของอวัยวะต่างๆ รวมถึงหลอดเลือดในสมองก็จะเสื่อมสมรรถภาพของการทำงานไปตามเวลา ดังนั้น บุตรหลานจึงต้องคอยเฝ้าระวังโรคที่มากับหลอดเลือดในสมองเหล่านี้ของผู้สูงอายุให้ดี เพราะโรคเหล่านี้ไม่ได้มีเพียงโรคเดียวเท่านั้น โรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ มีกี่ประเภท และมีแบบใดบ้าง? โรคหลอดเลือดในสมองเป็นภาวะที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตในผู้สูงอายุอันดับที่ 2 รองจากภาวะหัวใจขาดเลือด ทั้งนี้ภายหลังออกจากโรงพยาบาล ผู้ป่วยกลุ่มนี้ถือเป็นผู้ป่วยเรื้อรังที่ยังคงต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจากญาติผู้ดูแลเนื่องจากยังมีความบกพร่องทั้งทางร่างกายและมีความพิการหลงเหลือ จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาญาติผู้ดูแลในการทำกิจวัตรประจำวันและการทำกายภาพบำบัดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น ประเภทโรคหลอดเลือดในสมองของผู้สูงอายุ โดยทั่วไปโรคหลอดเลือดในสมองที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุจะเหมือนกับภาวะที่เกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ 1. กลุ่มโรคหลอดเลือดในสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลัน (ischemic stroke) สาเหตุเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปยังสมองลดลงเกิดการตายของเนื้อสมอง ซึ่งกลุ่มโรคหลอดเลือดในสมองชนิดนี้จะรวมกลุ่มโรค Transient Ischemic Attack (TIA) ซึ่งเป็นภาวะที่จากระบบประสาทขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราวส่งผลให้สมองหรือจอประสาทตาขาดเลือด ทำให้ระบบประสาทเกิดความผิดปกติโดยจะใช้ระยะเวลาจะน้อยกว่า 24 ชั่วโมงก็จะกลับมาเป็นปกติ 2. กลุ่มโรคหลอดเลือดในสมองชนิดเลือดออกในสมอง (hemorrhagic stroke) สาเหตุเกิดจากมีการแตกของหลอดเลือดแบ่งออกเป็น ICH (Intracerebralhemorrhage),IVH (Intraventricular hemorrhage) มักเกิดร่วมกับการมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง, SAH (Subarachnoid […]
“ผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ” เป็นโรคทางสมองที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะกังวลกันมาก เนื่องจากเป็นภาวะอาการที่มักพบในผู้สูงวัยที่มีอายุอยู่ช่วง 60 ปีขึ้นไป แถมยังเป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งอีกด้วย สาเหตุที่โรคหลอดเลือดสมองชนิดนี้น่ากลัวสำหรับผู้สูงวัยก็เป็นเพราะมันสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายกับพวกท่านนั่นเอง เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น ความแข็งแรงของหลอดเลือดหรือระบบประสาทต่างๆ ก็เสื่อมถอยตามกาลเวลา ดังนั้น จึงไม่แปลกอะไรที่พวกท่านจะมีวิตกกับโรคนี้ อย่างไรก็ดี ผู้สูงอายุบางท่านไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเป็นผู้ป่วยโรคนี้ได้ และกำลังประสบปัญหาต่างๆ กับการเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดนี้อยู่ เหตุการณ์เช่นนี้จึงพอจะเป็นเหตุผลที่มากพอให้บุตรหลานแต่ละบ้านศึกษาวิธีการดูแลผู้สูงวัยที่เป็นผู้ป่วยโรคนี้ให้ถูกวิธี ผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ มีอาการอย่างไร ต้องพบกับปัญหาอะไรบ้าง? โรคหลอดเลือดสมอง หรือที่รู้จักกันในปัจจุบันกันว่าเป็นอาการ อัมพฤกษ์ อัมพาต เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองเป็นอาการที่คนทั่วไปโดยเฉพาะผู้สูงอายุจะกลัวกันมาก เมื่อมีอาการแขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายแล้วมักจะไม่ค่อยหาย หรือหายแต่ไม่หายสนิท ต้องใช้เวลาฟื้นฟูสมรรถภาพค่อนข้างนาน มีความพิการหลงเหลืออยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย สาเหตุของอาการมีได้หลายอย่าง แต่ที่พบบ่อยที่สุด คือ โรคหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอ จนทำให้สมองขาดเลือด และทันทีที่สมองขาดเลือด เซลล์สมองต่างๆ จะค่อยๆถูกทำลาย ส่งผลให้สมองสูญเสียหน้าที่จนเกิดเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้ ประเภทของโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ โดยทั่วไปโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุจะเหมือนกับภาวะที่เกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ 1. กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลัน (ischemic […]