Category Archives: การรักษาโรค

5 โรคตาในผู้สูงอายุที่มักพบบ่อยมีอะไรบ้าง รักษาอย่างไร?

5 โรคตาในผู้สูงอายุที่มักพบบ่อยมีอะไรบ้าง รักษาอย่างไร?

โรคตาในผู้สูงอายุ นับเป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานที่พบในผู้สูงอายุ เริ่มตั้งแต่ค่าสายตายาว สายตาสั้น ตาฝ้าฟาง ตาพร่ามัว เป็นต้น ซึ่งเราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าเมื่อเราอายุมากขึ้น เราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงเจ้าโรคทางตาและสายตาเช่นนี้ได้เลย ในวัยผู้สูงอายุนั้น การมีปัญหาสายตาเป็นเรื่องที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ซึ่งบุตรหลานอาจจะต้องศึกษาเกี่ยวกับโรคทางนี้ไว้ เพื่อเป็นการป้องกันและคอยระวังให้กับผู้สูงอายุอยู่เสมอ โรคตาในผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง แต่ละโรครักษาอย่างไร? เมื่ออายุมากขึ้นอวัยวะต่างๆ ในร่างกายที่เราใช้งานมาหลายสิบปีก็ย่อมเสื่อมสภาพเป็นเรื่องปกติ และ “ดวงตา” คือหนึ่งในอวัยวะที่มักพบความผิดปกติได้หลายรูปแบบ และนี่คือ 5 โรคตาที่ผู้สูงวัยไม่ควรมองข้าม เพราะโรคตาบางโรค…หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาก็อาจร้ายแรงถึงขั้นตาบอดได้ 5 โรคตาที่มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ 0 1 โรคต้อกระจก เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ดวงตาที่ถูกใช้งานมานานหลายสิบปีย่อมเสื่อมลง อย่างเลนส์ตาธรรมชาติที่ทำหน้าที่รับแสงมานานก็จะเกิดสีขุ่นขึ้นจนกลายเป็นสีเหลือง สีชา หรือกลายเป็นสีขาวขุ่นๆ ซึ่งนั่นคือต้นเรื่องของโรคต้อกระจก ที่ผู้สูงวัยในอายุ 50 ปีขึ้นไปควรระวัง รวมไปถึงผู้ที่ยังอายุไม่มากแต่มีคุณพ่อคุณแม่เป็นตาต้อกระจกก็จะมีโอกาสเสี่ยงสูงขึ้น ลักษณะอาการ: เพราะเลนส์ตามีความขุ่นมัวมากขึ้น ทำให้การมองเห็นภาพมีลักษณะคล้ายเป็นหมอก หรือมีควันขาวๆ บัง สายตา การโฟกัสไม่ดีเหมือนเดิม ในผู้ป่วยต้อกระจกบางชนิดอาจมีอาการแพ้แสง และหากต้อกระจกเข้มมากจนสุก ก็จะบังลูกตาจนสูญเสียการมองเห็นได้ แนวทางการรักษา: การรักษาต้อกระจก ทำได้โดยการผ่าตัดนำเลนส์แก้วตาที่ขุ่นออกแล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่ โดยวิธีการผ่าตัดที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่ […]

“อรรถบําบัด” การบำบัดช่วยฟื้นฟูการพูดและการกลืนในผู้สูงอายุ

"อรรถบําบัด" การบำบัดช่วยฟื้นฟูการพูดและการกลืนในผู้สูงอายุ

“อรรถบําบัด” วิธีที่ช่วยกระตุ้นและฟื้นฟูการพูดและกลืนอาหารให้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองประเภทต่างๆ ให้กลับมาทำงานได้ปกติและรวดเร็วมากขึ้น บุตรหลานหลายๆ ท่านอาจเคยได้ยินและคุ้นเคยกับการทำกายภาพบำบัดให้กับผู้สูงอายุเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจไม่เคยได้ทำความรู้จักกับวิธีการบำบัดการพูดเช่นนี้มาก่อน โดยในบทความนี้เราจะมาพูดคุยกันว่าวิธีการฟื้นฟูทักษะการพูดและการกลืนอาหารเช่นนี้ คืออะไร และช่วยผู้สูงอายุได้จริงหรือไม่ “อรรถบําบัด” คืออะไร ทำไมจึงเหมาะกับผู้สูงอายุในโรคหลอดเลือดสมอง? การบำบัดการพูด เป็นการฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคลด้านการกลืน และการพูดเพื่อการสื่อสาร การบำบัดนี้เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า การแก้ไขการพูด การบำบัดการพูโจะสามารถรักษาผู้ป่วยในทุกช่วงอายุโดยเฉพาะผู้สูงวัย ในทุกรูปแบบความผิดปกติ Speech Therapy คือ… การรักษาความผิดปรกติทางภาษาและการพูด เป็นวิธีฟื้นฟูในผู้ป่วยที่มีภาวะเสียการสื่อความหมายจากโรคหลอดเลือดสมอง มีความพิการทางสมอง ผู้ป่วยที่มีเสียงผิดปกติ พูดไม่ชัด โดยนักกายภาพฟื้นฟูด้านการสื่อสาร (Speech-Language pathologist) จะทำการทดสอบความสามารถทางภาษาและการพูดเพื่อประเมินสภาพความผิดปรกติต่างๆ และบำบัดแก้ไขและฟื้นฟูสมรรถภาพความผิดปกติทางการความเข้าใจภาษาและการพูด อันเนื่องมาจากความบกพร่องของการทำงานของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดหรือการได้ยิน เป็นต้น ความผิดปกติด้านการพูดของผู้ป่วยว่ามีกลุ่มใดบ้าง? ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าความผิดปกติด้านการควบคุมการพูดที่เกิดขึ้นอยู่ในกลุ่มใด โดยแบ่งออกเป็น  2 กลุ่ม คือ  กลุ่มที่การควบคุมกล้ามเนื้อในการพูดผิดปกติ (Dysarthria) และกลุ่มที่การควบคุมโปรแกรมการพูดผิดปกติ (Apraxia) ดังนั้นจึงควรทราบว่าผู้ป่วยที่เราดูแลจัดอยู่ในกลุ่มใด กลุ่มการควบคุมกล้ามเนื้อในการพูดผิดปกติ (Dysarthria) จะมีลักษณะการพูดไม่ชัดที่เกิดจากความบกพร่องของเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดทำให้กล้ามเนื้อของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดมีการอ่อนแรง เกร็ง หรือทำงานไม่ประสานสัมพันธ์กัน การพูดไม่เป็นความ ทำให้มีการพูดเสียงเบา เสียงขึ้นจมูก จังหวะของการพูดช้า พูดไม่ชัด กลุ่มการควบคุมโปรแกรมการพูดผิดปกติ (Aphasia) […]

“ท่าบริหารเส้นเลือดตีบ” 5 ท่าง่ายๆ สำหรับผู้สูงอายุ

"ท่าบริหารเส้นเลือดตีบ" 5 ท่าง่ายๆ สำหรับผู้สูงอายุ

“ท่าบริหารเส้นเลือดตีบ” แม้จะเป็นวิธีง่ายๆ แต่ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงภาวะเส้นเลือดตีบและอุดตันในผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมาก โดยส่วนใหญ่แล้วปัญหาของผู้สูงที่มักพบเจอ นอกจากโรคต่างๆ ก็จะมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวที่ยังคงมีผลต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงวัยเสมอ บุตรหลานบางท่านอาจมองว่าเป็นปัญหาเล็กน้อย แต่แท้จริงแล้วการที่ผู้สูงอายุขยับร่างกายได้น้อย กลับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เส้นเลือดของพวกท่านเกิดการอุดตันได้ง่ายขึ้นนั่นเอง   “ท่าบริหารเส้นเลือดตีบ” วิธีง่ายๆ ช่วยผู้สูงวัยห่างไกลภาวะเส้นเลือดอุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง หรือที่รู้จักกันในปัจจุบันกันว่าเป็นอาการ อัมพฤกษ์ อัมพาต เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองเป็นอาการที่คนทั่วไปโดยเฉพาะผู้สูงอายุจะกลัวกันมาก เมื่อมีอาการแขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายแล้วมักจะไม่ค่อยหาย หรือหายแต่ไม่หายสนิท ต้องใช้เวลาฟื้นฟูสมรรถภาพค่อนข้างนาน มีความพิการหลงเหลืออยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย สาเหตุของอาการมีได้หลายอย่าง แต่ที่พบบ่อยที่สุด คือ โรคหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอ จนทำให้สมองขาดเลือด และทันทีที่สมองขาดเลือด เซลล์สมองต่างๆ จะค่อยๆถูกทำลาย ส่งผลให้สมองสูญเสียหน้าที่จนเกิดเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้ ประเภทของโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ โดยทั่วไปโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุจะเหมือนกับภาวะที่เกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ 1. กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลัน (ischemic stroke) สาเหตุเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปยังสมองลดลงเกิดการตายของเนื้อสมอง ซึ่งกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองชนิดนี้จะรวมกลุ่มโรค Transient Ischemic Attack (TIA) ซึ่งเป็นภาวะที่จากระบบประสาทขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราวส่งผลให้สมองหรือจอประสาทตาขาดเลือด ทำให้ระบบประสาทเกิดความผิดปกติโดยจะใช้ระยะเวลาจะน้อยกว่า […]

ท้องอืด ท้องผูก – 5 วิธีช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ผู้สูงวัย

ท้องอืด ท้องผูก - 5 วิธีช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ผู้สูงวัย

“ท้องอืด ท้องผูก” ความผิดปกติของระบบขับถ่ายที่ส่งผลให้ขับถ่ายไม่ออก หรือใช้เวลานานกว่าจะขับถ่ายได้ในแต่ละครั้ง โดยปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ เนื่องจากระบบขับถ่ายของพวกท่านนั้นค่อนข้างมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง จึงทำให้พวกท่านมีปัญหาเรื่องระบบขับถ่ายอยู่บ่อยครั้ง ท้องอืด มีแก๊สเยอะ ท้องผูก ขับถ่ายไม่ออก เป็นต้น “ท้องอืด ท้องผูก” ในผู้สูงอายุเกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไรดี? ท้องอืด นอกจากจะเป็นสิ่งที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงการทำงานของลำไส้ซึ่งมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้ลดน้อยลง กระทั่งพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่มีแก๊สสูง ทำให้เกิดภาวะท้องอืด ส่วน ท้องผูก คืออาการถ่ายอุจจาระลำบาก ต้องเบ่งและใช้เวลานาน อุจจาระมีลักษณะแข็งมาก หลังจากถ่ายเสร็จแล้วยังปวดท้องและมีความรู้สึกว่าถ่ายไม่หมด รวมถึงการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ สาเหตุของปัญหาระบบขับถ่ายและย่อยอาหารในผู้สูงอายุ ท้องอืด แน่นท้อง ในผู้สูงอายุ สาเหตุของอาการท้องอืดและท้องเฟ้อในผู้สูงอายุมาจากการที่ลำไส้บีบตัวได้น้อยลง เนื่องจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นย่อมทำให้อวัยวะดังกล่าวทำงานได้ลดลง และส่วนหนึ่งมาจากการกินอาหารที่มีแก๊สในปริมาณสู  เช่น อาหารกลุ่มโปรตีนอย่างถั่วหรือน้ำอัดลมรวมถึงบริโภคอาหารในกลุ่มที่ย่อยยาก เช่น เนื้อแดง (ผู้สูงอายุสามารถบริโภคเนื้อแดงได้ แต่ควรหั่นให้ชิ้นเล็ก อีกทั้งต้องเคี้ยวให้ละเอียด) และอย่างที่กล่าวไปว่า เมื่ออายุมากขึ้น เอนไซม์ช่วยย่อยทำงานลดลง อีกทั้งกรดและด่างในกระเพาะอาหารก็ทำงานผิดเพี้ยนไป ประสิทธิภาพการช่วยย่อยก็ลงน้อยลงเช่นกัน นั่นจึงเป็นสาเหตุหลักๆ ของปัญหาดังกล่าว ท้องผูก […]

6 ปัญหาของผู้สูงอายุ ยิ่งชรายิ่งต้องเจอ

6 ปัญหาของผู้สูงอายุ ยิ่งชรายิ่งต้องเจอ

“ปัญหาของผู้สูงอายุ” สิ่งไม่พึงประสงค์ที่ผู้สูงวัยมีอายุที่มากขึ้น เราทุกคนต่างรู้ดีว่า เมื่อเราแก่ตัวลง ร่างกายของเรานั้นก็จะทำงานได้ไม่เหมือนเดิม ระบบต่างๆ อวัยวะต่างๆ ก็มีประสิทธิภาพที่ไม่เท่าสมัยหนุ่มสาว นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมผู้สูงอายุจึงมีปัญหาเรื่องสุขภาพได้มากกว่าคนวัยอื่นๆ ซึ่งปัญหาที่ว่านั้น ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง บทความนี้เราจะมาคุยกัน “ปัญหาของผู้สูงอายุ” ที่มักพบเจอ มีอะไรบ้าง? ปัญหาของผู้สูงอายุที่พบบ่อยนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกคือ กลุ่มโรคสามัญทั่วไป ที่เป็นได้แม้ยังไม่เข้าสู่วัยผู้สูงอายุ เช่น เบาหวาน ความดัน หัวใจ ไต ซึ่งเกิดได้กับคนทุกวัย แต่พออายุมากขึ้น ก็ยิ่งมีโอกาสเป็นมากขึ้น ส่วนกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มอาการที่เกิดเฉพาะกับผู้สูงอายุ คือ เกิดจากความชราภาพของร่างกาย หรือจากผลข้างเคียงจากโรคที่มารุมเร้าทำให้การดูแลตนเองถดถอยลง 6 ปัญหาสุขภาพของผู้สูงวัย ยิ่งปล่อยไว้ ยิ่งน่ากลัว 1. ความเสื่อมของสติปัญญา เนื่องจากเซลล์สมองจะน้อยลง ขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากเลือดไหลเวียนสมองน้อยลงและภาวะขาดอาหารและวิตามินบางชนิด ผู้สูงอายุจะมีความจำเสื่อม หลงลืม นอนไม่หลับ ภาวะสมองเสื่อมอาจนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ เช่น การพลัดหลง, อุบัติเหตุ, การขาดอาหาร, การติดเชื้อ ฯลฯ การป้องกันและการดูแล […]

5 วิธี “กระตุ้นสมอง” สำหรับผู้สูงวัย พิชิตโรคหลอดเลือดสมอง

5 วิธี "กระตุ้นสมอง" สำหรับผู้สูงวัย พิชิตโรคหลอดเลือดสมอง

“กระตุ้นสมอง” ขั้นตอนสำคัญหลังทำการรักษาทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคสมองให้กับผู้สูงอายุ จริงอยู่ที่ขั้นตอนการรักษาทางการแพทย์เป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากการเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนใดๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลานี้ แต่ช่วงการพักฟื้นของผู้สูงอายุหลังจากนั้นก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกเช่นเดียวกัน เพราะผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยโรคทางสมองจะกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติได้มากน้อยแค่ไหนนั้นก็จะขึ้นอยู่กับขั้นตอนนี้ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เราต้องมีการรักษาและกิจกรรมที่กระตุ้นสมองไว้เพื่อฟื้นฟูผู้สูงวัยนั่นเอง “กระตุ้นสมอง” คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร และมีวิธีใดบ้าง? โรคทางสมอง เป็นโรคที่สามารถพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งอันดับต้นๆ จะเป็นอาการของภาวะสูญเสียความทรงจำ หรือที่เราเรียกกันว่าสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ ภาวะหลอดเลือดในสมองตีบและตัน เป็นต้น อย่างไรก็ดีการป้องกันโรคเหล่านี้ไว้ก่อนย่อมดีที่สุด และถึงแม้จะป้องกันไม่ได้ก็สามารถฟื้นฟูผู้ป่วยสูงอายุทางโรคสมองต่างๆ ได้ ด้วยวิธีกระตุ้นสมองในแบบต่างๆ ที่จะทำให้ผู้สูงอายุกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติมากขึ้น โรคทางสมองที่มักพบเจอบ่อยในผู้สูงอายุ โรคสมองเสื่อม เป็นภาวะที่ความสามารถทางสติปัญญาลดลง คิดและจำไม่ได้ เป็นโรคที่มักพบในผู้สูงอายุทำให้ผู้ที่เป็นมีอาการหลงลืม การใช้ภาษาผิดปกติ และพฤติกรรมรวมถึงอารมณ์เปลี่ยนไปซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งที่แก้ไขได้และแก้ไขไม่ได้ โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มหลอดเลือดสมองตีบและกลุ่มหลอดเลือดสมองแตก นั่นเอง และหากผู้ป่วยหลอดเลือดสมองทั้งสองกลุ่มผ่านพ้นช่วงวิกฤติแล้ว สมองจะสามารถฟื้นตัวได้เร็วและทำให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ถ้าผู้ป่วยได้รับการดูแลและการฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเหมาะสม โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อของสมองซึ่งมักพบในผู้สูงอายุแต่ไม่ใช่ความเสื่อมโดยธรรมชาติเพราะผู้สูงอายุทุกคนไม่จำเป็นต้องเป็นโรคนี้กันทุกคน แต่เป็นความเสื่อมที่เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (ชนิดไม่ละลายน้ำ) ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองค่อยๆ ลดลง เริ่มจากสมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่มีบทบาทสำคัญในการจดจำข้อมูลใหม่ๆ เมื่อเซลล์สมองส่วนนี้ถูกทำลาย ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาเรื่องความจำโดยเฉพาะความจำระยะสั้น อัมพฤกษ์ […]

APHASIA- พูดลำบาก พูดไม่ได้ ความบกพร่องทางภาษาในผู้สูงอายุ

APHASIA- พูดลำบาก พูดไม่ได้ ความบกพร่องทางภาษาในผู้สูงอายุ

“APHASIA” หรือ อะฟาเซีย คือความบกพร่องทางด้านการสื่อสาร  ส่วนมากพบในผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการสื่อสารรวมถึงทักษะการคำนวณ การสะกดคำ การพูด การเขียน และ การฟัง ซึ่งอาการจะแตกต่างไปในแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับบริเวณที่สมองได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ดี อาการนี้มีสาเหตุมากจากอะไรกันแน่ และมีวิธีการป้องกันให้กับผู้สูงอายุอย่างไรบ้าง เป็นคำถามที่บุตรหลานต้องศึกษาเพื่อหาคำตอบ “APHASIA” เกิดจากอะไร และมีอาการอย่างไรบ้าง? ภาวะนี้คือ ความบกพร่องทางการสื่อความ เป็นความผิดปกติทางการสื่อสาร ซึ่งมักเป็นผลมาจากสมองได้รับความเสียหายจากภาวะเส้นเลือดในสมองแตกหรือการได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ ทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติในด้านทักษะของการสื่อสารและการใช้ภาษา ไม่สามารถโต้ตอบหรือทำความเข้าใจได้ และอาจมีปัญหาทางด้านการอ่านและการเขียนร่วมด้วย สาเหตุ ภาวะบกพร่องทางการสื่อความเป็นผลมาจากการที่สมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้ภาษาได้รับความเสียหาย ทำให้การลำเลียงเลือดเข้าสู่ในบริเวณดังกล่าวถูกขัดขวางจนทำให้เนื้อสมองตายในที่สุด ซึ่งภาวะ Aphasia อาจเกิดขึ้นได้อย่างกะทันหันหลังเกิดภาวะเส้นเลือดในสมองแตก ภาวะสมองขาดเลือด การได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะหรือการเข้ารับการผ่าตัดสมอง นอกจากนี้ ในบางรายอาการอาจจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ โดยสาเหตุอาจมาจากเนื้องอก การติดเชื้อในสมอง โรคทางระบบประสาท หรือภาวะเสื่อมถอยของสมองอย่างโรคสมองเสื่อม เป็นต้น ประเภทของภาวะบกพร่องทางการสื่อสาร 1. ความบกพร่องทางด้านความเข้าใจ  ผู้ป่วยมีปัญหาทางด้านการฟังและการอ่าน  ผู้ป่วยพูดได้ปกติ แต่ไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นพูด ไม่สามารถใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง มีแนวโน้มที่จะพูดประโยคยาว ๆ หรือประโยคที่ซับซ้อนติดต่อกันโดยไม่มีความหมาย ใช้คำที่ไร้สาระ คำฟุ่มเฟือย หรือใช้คำไม่ถูก […]

“ดนตรีบำบัด” ช่วยรักษาโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

"ดนตรีบำบัด" ช่วยรักษาโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

“ดนตรีบำบัด” หลายๆ คนอาจมองว่าเป็นเพียงเรื่องของความบันเทิงเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว ดนตรี มีความมหัศจรรย์และประโยชน์มากกว่าที่คิด สำหรับคนธรรมดานั้นอาจฟังดนตรีเพียงเพื่อคลายเหงา หรือฟังเพลินๆ เท่านั้น หากแต่สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าแล้ว “บทเพลง” เป็นเสมือนหมอผู้ช่วยที่ทำงานควบคู่กันกับยาต่างๆ เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคทางจิตใจให้ดีขึ้น โดยเฉพาะโรคที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุซึ่งเป็นวัยที่รักษาค่อนข้างยากกว่าผู้ป่วยวัยอื่นๆ ให้มีความสุขขึ้นได้ “ดนตรีบำบัด” ไม่ใช่แค่บทเพลง แต่เป็นยาช่วยคลายเศร้า ทฤษฎี Music Therapy ถือเป็นทฤษฎีทางการแพทย์ที่หลอมรวมเอาเรื่องของศาสตร์ด้านจิตวิทยาและศิลป์ทางด้านดนตรีเข้าไว้ด้วยกันและนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับการรักษา พัฒนา รวมถึงการบำบัดในด้านสุขภาวะของร่างกาย จิตใจ และสังคมสำหรับคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพโดยเฉพาะ จากการวิจัยทางการแพทย์ของ Buckwalter et.al 1985 ระบุไว้ว่า การรักษาโรคทางจิตใจด้วยการใช้ดนตรีเพื่อบำบัดจะช่วยทำให้ลดความกังวล ความกลัว เพิ่มการเคลื่อนไหว และสร้างแรงจูงใจขึ้นมาได้มากยิ่งขึ้นรวมถึง การใช้ดนตรีในการบำบัดนั้นยังช่วยบำบัดโรคร้ายแรงด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจ เพื่อช่วยลดการกระตุ้นที่ทำให้เกิดการเจ็บปวดที่เกิดจากการรักษาได้ ซึ่งในปัจจุบันเห็นได้จากการนำมารักษาควบคู่กับการให้ยาในโรคมะเร็งที่ช่วยลดความกังวลให้กับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี เสียงดนตรีมีส่วนช่วยบำบัดโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้อย่างไร ซึ่งสิ่งที่ทำให้ดนตรีมีประโยชน์ทางการบำบัดได้ถึงขนาดนั้น ก็เป็นเพราะองค์ประกอบต่างๆ ของดนตรีมีผลในด้านจิตวิทยาและการทำงานของสมองโดยตรงนั่นเอง องค์ประกอบของดนตรีที่ทำให้มีผลต่อการบำบัดโรค จังหวะ (Rhythm) หากเล่นในจังหวะ70-80 ครั้ง/นาที (เท่ากับอัตราการเต้นของหัวใจ) จะทำให้คนฟังรู้สึกผ่อนคลาย มีสมาธิ จากการที่สมองลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) หรือสารแห่งความสุขออกมา ระดับ (Pitch) […]

อัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ อันตรายอย่างไร?

อัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ อันตรายอย่างไร?

“อัลไซเมอร์” กับความเชื่อของคนส่วนใหญ่ที่คิดผิดๆ ว่าโรคนี้เป็นโรคที่ผู้สูงอายุทุกคนต้องและเป็นโรคที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่าแท้จริงแล้วไม่ได้เป็นตามที่ทุกคนคิดแต่อย่างใดอีกทั้งยังต่างกับความเชื่อเหล่านี้อย่างสิ้นเชิง เริ่มตั้งแต่ผู้สูงอายุทุกคนไม่จำเป็นต้องเป็นโรคนี้กันทุกคนเมื่ออายุพวกท่านมากขึ้นและไม่ได้เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติแต่มีสิ่งที่กระตุ้นให้โรคนี้เกิดขึ้น   “อัลไซเมอร์” คืออะไร อันตรายต่อผู้สูงวัยมากหรือไม่? “โรคอัลไซเมอร์” เกิดจากความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อของสมองซึ่งมักพบในผู้สูงอายุแต่ไม่ใช่ความเสื่อมโดยธรรมชาติเพราะผู้สูงอายุทุกคนไม่จำเป็นต้องเป็นโรคนี้กันทุกคน แต่เป็นความเสื่อมที่เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (ชนิดไม่ละลายน้ำ) ซึ่งเมื่อไปจับกับเซลล์สมองจะส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อมและฝ่อลง รวมถึงทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเสียหายจากการลดลงของสารอะซีติลโคลีนซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลโดยตรงกับความทรงจำนั่นเอง การสะสมของเบต้า-อะไมลอยด์ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองค่อยๆ ลดลง เริ่มจากสมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่มีบทบาทสำคัญในการจดจำข้อมูลใหม่ๆ เมื่อเซลล์สมองส่วนนี้ถูกทำลาย ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาเรื่องความจำโดยเฉพาะความจำระยะสั้น จากนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้นจะแพร่กระจายไปสู่สมองส่วนอื่นๆ และส่งผลต่อการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิด ภาษา และพฤติกรรม ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค 1. อายุเพิ่มขึ้น โดยพบว่าหลังอายุ 65 ปี ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเพิ่มเป็น 2 เท่าในทุกๆ 5 ปีที่อายุมากขึ้น อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปีด้วยเช่นกัน 2. พันธุกรรม เช่น มีญาติสายตรงในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคนี้หลายคน แต่พบเป็นส่วนน้อย คือประมาณร้อยละ 5 เท่านั้น 3. โรคดาวน์ซินโดรม ผู้ป่วยถือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค เนื่องจากพบว่าผู้ป่วยโรคนี้มีความผิดปกติของการสะสมของโปรตีนบางชนิดที่ทำให้เกิดโรคของการเสียความทรงจำระยะสั้นได้เช่นกัน 4. การได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ มีรายงานการศึกษาหลายรายงานพบว่า […]

กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ มีความสำคัญอย่างไร

กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ สำคัญอย่างไร

เนื่องจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุมักจะมีอาการปวดเมื่อยบริเวณข้อเข่าจากการเคลื่อนไหวตัวที่ไม่สะดวกหรือจากโรคเรื้อรังต่างๆ ดังนั้นการทำกายภาพบำบัดผู้อายุจึงเป็นหนึ่งในการรักษาแบบฟื้นฟูร่างกายที่นอกจากจะช่วยเสริมสุขภาพที่ป่วยอยู่ในดีขึ้นแล้ว ยังสามารถป้องกันและรักษาโรค เช่น โรคเรื้อรัง โรคข้ออักเสบ และโรคกระดูกพรุนได้ดีอีกด้วย วันนี้รักษ์คุณจึงจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับการทำกายภาพบำบัดในกลุ่มผู้สูงอายุให้ฟังกันค่ะ กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ คืออะไร? กายภาพบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ (Geriatric Physical Therapy) เป็นการกายภาพบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและยืดหยุ่นให้กับร่างกาย ที่ค่อนข้างเหมาะกับผู้สูงอายุที่ป่วย เช่น สูญเสียภาวะการทรงตัว สมรรถภาพการมองเห็นลดลง โรคทางสมองและระบบประสาท โรคข้ออักเสบ โรคกระดูกพรุน โรคอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดในสมอง โรคปัสสาวะเล็ด ผู้สูงอายุที่ผ่านการรักษาทางการแพทย์ด้วยการผ่าตัดสะโพกและผู้ที่จำเป็นต้องใส่ข้อเข่าเทียม การทำกายภาพบำบัดผู้สูงอายุ จำเป็นอย่างไร? สาเหตุที่การทำกายภาพบำบัดมีความสำคัญกับผู้สูงอายุเนื่องจาก การทำกายภาพบำบัดจะช่วยฟื้นฟูร่างกายของผู้สูงอายุให้สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย เพราในบางครั้งอาการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุบางอย่างอาจส่งผลต่อการขยับร่างกายที่ยากขึ้น ส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้สูงอายุที่อาจจะรู้สึกอ่อนแอ สิ้นหวัง รู้สึกเป็นภาระของลูกหลาน แต่หากได้รับการรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดนั้น จะช่วยรักษา และช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้ท่านได้ ซึ่งประโยชน์ของกายภาพบำบัดนั้นก็มีประโยชน์มากมายเลยค่ะ  ประโยชน์ของกายภาพบำบัดผู้สูงอายุ ลดและบรรเทาอาการเจ็บปวดจากอาการป่วยตามกล้ามเนื้อ ช่วยเพิ่มสมรรถภาพร่างกายของผู้สูงอายุให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ บรรเทาอาการปวดตามข้อต่อ กระดูก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อและข้อต่อ เพิ่มความสมดุลในร่างกาย ช่วยเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุให้สามารถเคลื่อนไหวได้ดีและปลอดภัย ช่วยฝึกการใช้เครื่องมือพยุงร่างกาย เช่น ไม้เท้า การลดความเสี่ยงจากเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้ม ตกจากที่สูง […]