Category Archives: Uncategorized

“ฟื้นฟูสมอง” สำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดสำคัญอย่างไร ทำวิธีไหนได้บ้าง?

"ฟื้นฟูสมอง" สำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดสำคัญอย่างไร ทำวิธีไหนได้บ้าง?

“ฟื้นฟูสมอง” สำหรับผู้ป่วยสูงอายุในกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน ถือเป็นวิธีสำคัญที่จะทำให้ผู้สูงอายุกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโรคหลอดเลือดเช่นนี้มีสถิติที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุมากเป็นอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ และเป็นสาเหตุหนึ่งที่พบบ่อยของความพิการ ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวัน เคลื่อนไหวและเดินได้ตามปกติ ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอีกด้วย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการฟื้นฟูระบบสมองของผู้สูงวัยหลังจากป่วยโรคนี้ให้ดีขึ้นนั่นเอง “ฟื้นฟูสมอง” คืออะไร ทำไมจึงสำคัญต่อผูป่วยโรคหลอดเลือดสมอง? โรคหลอดเลือดสมองถือเป็นโรคร้ายในลำดับต้นๆ ที่คร่าชีวิตคนไทยและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจนถึงปัจจุบัน นับเป็นโรคที่คนทุกวัยควรระวัง ทั้งผู้สูงอายุ คนวัยทำงาน หรือวัยรุ่น ก็อาจมีความเสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ด้วยสาเหตุที่ต่างกัน โดยเฉพาะช่วงอายุ 18 – 50 ปีจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น การสังเกตอาการและรู้ทันเพื่อรับมือให้ถูกวิธีจึงเป็นเรื่องสำคัญ โรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มหลอดเลือดสมองตีบ และ กลุ่มหลอดเลือดสมองแตก  ซึ่งเป็นภาวะที่สมองขาดเลือดและออกซิเจน เนื่องจากหลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือแตก เลือดจึงไม่สามารถไหลเวียนไปยังสมองได้ เมื่อเซลล์สมองถูกทำลายจนเซลล์ตาย จึงไม่สามารถควบคุมอวัยวะและระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายให้ทำงานได้ตามปกติ สาเหตุของการเกิดโรคเส้นเลือดสมองในผู้สูงอายุ โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่พบมากขึ้นในคนสูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อยจนถึงประเทศที่มีรายได้ปานกลางยิ่งมีอายุมากขึ้นก็จะยิ่งมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น ในต่างประเทศเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า domino effect ซึ่งสาเหตุที่สำคัญที่สุดของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ คือ เกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงตีบแข็งทั่วร่างกาย (atherosclerosis) […]

“เนอร์สซิ่งโฮม” คืออะไร ทำไมถึงได้รับความนิยม?

"เนอร์สซิ่งโฮม" คืออะไร ทำไมถึงได้รับความนิยม?

“เนอร์สซิ่งโฮม” สถานที่ดูแลผู้สูงอายุที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน สืบเนื่องจากว่าประเทศของเรานั้นกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว จึงไม่แปลกอะไรที่บ้านดูแลผู้สูงอายุจะได้รับความนิยม หลายๆ คนอาจจะกำลังเข้าใจว่าการที่หลายๆ ครอบครัวในปัจจุบันนำพ่อกับแม่มาฝากที่ศูนย์ดูแลผู้สูงวัยเป็นการกระทำที่ขัดหลักศีลธรรมในการดูแลพ่อแม่ตนเองยามแก่เฒ่า แต่แท้จริงแล้วสถานดูแลผู้สูงอายุเช่นนี้ ไม่ได้เป็นที่รองรับชุดความคิดผิดๆ เช่นนี้แต่อย่างใด แต่กลับกลายเป็นทางเลือกที่ทำให้ทั้งผู้เป็นบุตรหลานและผู้สูงอายุเองมีความสบายใจกันทั้ง 2 ฝ่าย เป็นเป็นที่ที่คอยดูแลผู้สูงวัยในยามที่บุตรหลานไม่สะดวกอยู่กับพวกท่านในระหว่างวันเท่านั้น   รู้หรือไม่! ทำไม “เนอร์สซิ่งโฮม” ถึงสำคัญและจำเป็นกับผู้สูงวัยในปัจจุบัน หลายๆ ท่านคงทราบดีว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจำนวนประชากรสูงวัยที่เพิ่มมากขึ้นกลายเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก สะท้อนให้เห็นว่าโลกของเรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างแท้จริง โดยในช่วง 2-3 ปีมานี้ จะเห็นได้ว่ามีบริการรูปแบบใหม่เกิดขึ้นเพื่อรองรับปรากฎการณ์ดังกล่าวอย่างมากมายทีเดียว Nursing Home คือ… Nursing Home หรือ บ้านพักผู้สูงอายุ เป็นสถานที่ดูแลพักฟื้น และให้การช่วยเหลือในกิจวัตรประจำวันแก่ผู้สูงอายุ ผู้ทุพพลภาพ ผู้ป่วยหลังผ่าตัด ผู้ป่วยที่ต้องการพักฟื้นระยะสั้น และผู้ป่วยที่ต้องการพักฟื้นระยะยาว เช่น ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษหรือการทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย โดยผู้สูงอายุจะได้รับการดูแลโดยทีมแพทย์ พยาบาล และผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะภายใต้การจัดการที่เป็นระบบ ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่ออำนวยความสะดวกและสอดส่องดูแลด้านความปลอดภัย ลักษณะเด่นของการดูแลรูปแบบนี้คืออะไร ต่างจากบ้านพักคนชราอย่างไร? โดยส่วนมากแล้วบ้านพักผู้สูงอายุที่ให้บริการในลักษณะ nursing […]

6 วิธีป้องกันผู้สูงวัย “ลื่นล้มในห้องน้ำ”

6 วิธีป้องกันผู้สูงวัย "ลื่นล้มในห้องน้ำ"

“ลื่นล้มในห้องน้ำ” อุบัติเหตุที่ไม่มีบุตรหลานคนไหนอยากให้เกิดกับผู้สูงวัยในครอบครัว ปฏิเสธไม่ได้ว่า ห้องน้ำ คือพื้นที่ที่คนในบ้านจำเป็นต้องใช้สอยทุกวัน รวมไปถึงผู้สูงอายุที่ท่านก็ต้องเข้าไปทำกิจธุระในห้องน้ำทุกวันเช่นกัน อย่างไรก็ดี แม้จะเข้าไปใช้ห้องน้ำจนชินแค่ไหนก็ตาม แต่อุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่เราไม่อาจคาดการได้ ดังนั้น สมาชิกในครอบครัวจึงจำเป็นที่จะต้องป้องกันไว้ ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น “ลื่นล้มในห้องน้ำ” อุบัติเหตุในผู้สูงอายุที่ไม่ควรมองข้าม ยิ่งอายุเพิ่มขึ้น สุขภาพก็ยิ่งเปลี่ยนไป ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของผู้สูงอายุที่สมรรถภาพทางร่างกายจะเริ่มเสื่อมลง ความแข็งแรงและระบบต่างๆ ในร่างกายก็จะทำงานได้ไม่เหมือนเมื่อก่อน อุบัติเหตุใดๆ ที่จะเกิดขึ้นกับพวกท่านก็อาจเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตได้ง่ายกว่าวัยหนุ่มสาวอีกด้วย จากสถิติการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าอุบัติเหตุหกล้มในผู้สูงวัยมักเกิดขึ้นกับเพศหญิงบ่อยกว่าเพศชายถึง 1.5 เท่า และร้อยละ 55 ของเพศหญิงมักเป็นอุบัติเหตุหกล้มในบริเวณบ้าน เช่น ห้องน้ำ ห้องนอน เป็นต้น สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุลื่นล้มในบริเวณห้องน้ำ สำหรับผู้สูงอายุนั้น สามารถแบ่งสาเหตุของการลื่นล้มได้เป็น 3 สาเหตุใหญ่ๆ ได้แก่ 1. ปัญหาสายตา แม้เราจะบอกว่าผู้สูงวัยที่สายตาดีนั้นก็มีอยู่มาก แต่หากพูดถึงในแง่ของความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน อาการสายตาสั้น หรือสายตาพร่ามัวในผู้ใหญ่ที่เกิดขึ้นตามวัยที่เปลี่ยนไปนั้น เป็นหนึ่งในสาเหตุอันดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายเมื่อเทียบกับช่วงวัยอื่นๆ 2. สภาพแวดล้อมในห้องน้ำ เช่น พื้นห้องน้ำลื่น แสงสว่างไม่เพียงพอ ของใช้หรืออุปกรณ์ต่างๆ […]

“ผมร่วง” ในผู้สูงอายุ 5 วิธีช่วยดูแลผมของคนวัยชรา

"ผมร่วง" ในผู้สูงอายุ 5 วิธีช่วยดูแลผมของคนวัยชรา

“ผมร่วง” ปัญหาพื้นฐานที่ไม่ว่าจะเพศไหนหรือวัยไหนก็พบเจอ หากแต่ถ้าเป็นปัญหาที่เกิดกับผู้สูงวัย ก็จะมีความน่าเป็นห่วงกว่าวัยหนุ่มสาว เป็นที่ทราบกันดีว่าในทุกๆ ส่วนของร่างกายคนเรานั้น จำเป็นต้องมีสารอาหารหรือสารต่างๆ มาเพื่อบำรุง รวมไปถึง เส้นผม ด้วยเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดี เมื่อผู้สูงอายุมีอายุที่เพิ่มขึ้น ระบบต่างๆ ในร่างกายก็จะเสื่อมสภาพตามไปด้วย นั่นก็รวมถึงการขาดหลุดร่วงของเส้นผมที่พอผมของพวกท่านร่วงไป แต่การงอกใหม่กลับมาดันมีโอกาสน้อยลงกว่าวัยอื่น “ผมร่วง” ในผู้สูงอายุ เกิดจากอะไร เป็นเรื่องปกติหรือไม่? ปัญหาเรื่องผมในผู้สูงอายุ เมื่อเข้าสู่วัยชรา จะมีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในร่างกาย ซึ่งจะเสื่อมโทรมลงเรื่อย ๆ รวมทั้งผมขาดหลุดร่วงด้วย เกิดจากความเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน เป็นต้นเส้นผมจะมีความหนาแน่นที่สุดและเส้นใหญ่ที่สุดถึงอายุประมาณ 30 ปี หลังจากนั้น เมื่ออายุมากขึ้น ความหนาแน่นและขนาดของเส้นผมจะเริ่มลดลง  เนื่องจากวงจรชีวิตของเส้นผมเริ่มสั้นลง ทําให้ผมเกิดการขาดร่วงถี่ขึ้นและบางลง จนในที่สุดวงจรของเส้นผมหยุดและไม่สร้างเส้นผมขึ้นมาใหม่อีกต่อไป สาเหตุการขาดหลุดร่วงของผมในผู้สูงอายุ พันธุกรรม สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ มีประวัติครอบครัวที่มีศีรษะล้าน  มีการศึกษาเชื่อว่าสาเหตุทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เช่น ความเครียด และมลภาวะ เป็นต้น ฮอร์โมน เนื่องจากยิ่งมนุษย์มีอายุเพิ่มมากขึ้นร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะการผลิตฮอร์โมนเพศลดลง ขณะที่อวัยวะส่วนต่างๆในร่างกายก็จะยิ่งอ่อนแอ ปลูกผม เส้นผมก็เช่นกัน รูขุมขนบนหนังศีรษะลดลง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาและเป็นไปตามธรรมชาติของผู้สูงอายุ เพราะเป็นอาการเสื่อมที่ทำให้เกิดอาการ […]

“ระบบทางเดินอาหารในผู้สูงอายุ” ยิ่งชรายิ่งต้องดูแล

"ระบบทางเดินอาหารในผู้สูงอายุ" ยิ่งชรายิ่งต้องดูแล

“ระบบทางเดินอาหาร” เป็นอีกระบบหนึ่งที่สำคัญของร่างกายมนุษย์เรา โดยเฉพาะในวัยผู้สูงอายุ ที่เมื่อมีอายุที่เพิ่มขึ้น ระบบต่างๆ ในร่างกายก็จะเสื่อมลงไปตามการเวลา โดยระบบของทางเดินอาหารนี้ หากมองเผินๆ หลายๆ คนอาจมองว่าเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับท้องหรือลำไส้เท่านั้น แต่เเท้จริงแล้วการที่ผู้สูงวัยสักคนจะมีปัญหาเรื่องระบบย่อยอาหารหรือทางเดินอาหารได้นั้น ไม่จำเป็นต้องมีปัญหามาจากกระเพาะของพวกท่านอย่างเดียว แต่บุตรหลานต้องดูแลตั้งแต่สุขภาพช่องปากและระบบอื่นด้วย “ระบบทางเดินอาหาร” ของผู้สูงอายุ เมื่อเริ่มเสื่อม ต้องดูแลอย่างไร? สำหรับวัยสูงอายุนั้น ระบบร่างกายจะเสื่อมประสิทธิภาพลง ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น เกิดโรคภัยไข้เจ็บ หรือทำให้ระบบร่างกายทำงานผิดปกติได้ ระบบทางเดินอาหาร ก็เป็นระบบที่มีความสำคัญต่อร่างกายของคนเรา เพราะร่างกายของเราต้องการอาหารในทุกวัน และวันละ 3 มื้อเป็นอย่างน้อย สิ่งเหล่านี้ ทำให้เมื่อร่างกายทำงานผิดปกติ จึงเกิดผลตามมานั่นเอง ระบบอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับทางเดินอาหาร 1. ช่องปากและฟัน เยื่อบุช่องปาก เยื่อบุช่องปากบางลง แต่ยังสามารถแบ่งตัวเป็นปกติ น้ำลายจากต่อมน้ำลายลดลงบ้าง เนื้อฟันในผู้สูงอายุจะลดความทึบลง เหงือกร่นลงจากคอฟัน เนื่องจากความเสื่อมของ alveolar bone ขณะที่กระดูกขากรรไกรหดลงเรื่อย ๆ ทำให้ฟันเริ่มโยกคลอนได้ง่าย 2. หลอดอาหาร การไหลผ่านของอาหารจากลำคอสู่กระเพาะอาหารช้าลง เนื่องด้วย ความเสื่อมโทรมของร่างกาย 3. กระเพาะอาหาร […]

ภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุอันตรายหรือไม่ ป้องกันอย่างไร?

ภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้สูงอายุอันตรายหรือไม่ ป้องกันอย่างไร?

“ภาวะสับสนเฉียบพลัน” เป็นภาวะที่ผู้สูงอายุในหลายๆ ครอบครัวกำลังประสบปัญหาอยู่ โดยอาการของภาวะนี้จะส่งผลให้ ผู้สูงอายุมักไม่ให้ความสนใจกับการตอบคำถาม ถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย อาจจะวุ่นวายหรือซึมหลับมากก็ได้ อาการมักเป็นๆ หายๆ มักเป็นช่วงพลบค่ำหรือกลางคืน พูดจาคนละเรื่อง หลงวัน จับต้นชนปลายไม่ถูก มีความสับสนมากๆ อย่างไรก็ดี ภาวะนี้เป็นกรณีเร่งด่วนที่บุตรหลานไม่ควรนิ่งนอนใจควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด “ภาวะสับสนเฉียบพลัน” คืออะไร และมีสาเหตุมาจากอะไร? ภาวะ Delirium คือ ภาวะที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ โดยมาจากการนอนติดเตียงเป็นเวลานานหรือหลังการพักฟื้นที่โรงพยาบาล มักมีอาการไม่คงที่ ความอันตรายของภาวะนี้อาจทำให้ผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้า อาการหลงลืมแย่ลง และเป็นเหตุให้ เกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่ายขึ้น เกิดภาวะทุพพลภาพ เสี่ยงต่อกระดูกหักตามมาอาจส่งผลต่อการฟื้นฟูโดยรวมและทำให้อาการป่วยทรุดลงได้ในที่สุด สาเหตุของภาวะนี้ เกิดได้จาก… อาการสับสนเฉียบพลันถือเป็นภาวะค่อนข้างเร่งด่วนที่ต้องไปพบแพทย์  เนื่องจากเกิดจากความผิดปกติบางอย่างของร่างกายที่ซ่อนอยู่  ซึ่งไม่ได้เกิดจากโรคทางจิตใจเสมอไปหากแต่เป็นความผิดปกติทางกายที่สำคัญที่มักเป็นสาเหตุของอาการนี้ อาการทางกายดังกล่าว ประกอบด้วย ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมอยู่เดิม จะยิ่งมีโอกาสเกิดอาการสับสนเฉียบพลันได้ง่าย  ในบางรายแค่เปลี่ยนผู้ดูแลหรือย้ายมานอนในโรงพยาบาลก็ทำให้มีอาการสับสนได้เช่นเดียวกัน โรคติดเชื้อ โดยไม่จำเป็นตัองติดเชื้อในสมองเพียงอย่างเดียว ผู้สูงอายุอาจติดเชื้อที่อื่นก็ได้ เช่น ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ติดเชื้อที่ปอด เป็นต้น รับประทานยาหลายชนิด เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ยิ่งถ้ารับประทานยาหลายชนิด ยิ่งมีโอกาสเกิดสูงที่จะเกิดภาวะนี้ รวมไปถึงการปรับขนาดยาก็สามารถทำให้ผู้สูงวัยเกิดความสับสนเฉียบพลันได้ โรคอื่นๆ เช่น โรคหัวใจวาย […]

6 วิธี ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดอย่างไรให้แข็งแรง

6 วิธี ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดอย่างไรให้แข็งแรง

“ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด” เป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งในการผ่าตัด เพราะแม้การผ่าตัดที่ถือว่าเป็นการรักษาที่เสี่ยงและอันตรายได้ผ่านมาแล้ว แต่การดูแลผู้ป่วยหลังจากการออกจากห้องผ่าตัดก็ถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะกับผู้ป่วยสูงอายุที่หากท่านไม่ได้รับการดูแลที่ถูกวิธีหรือเหมาะสมกับอาการก็อาจส่งผลให้อาการกำเริบได้ หรืออาจเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น แผลติดเชื้อ ฉีกขาด เป็นต้น ดังนั้น ลูกหลานจึงควรศึกษาวิธีการดูแลผู้ป่วยสูงอายุหลังผ่าตัดให้ดีเพื่อจะได้ไม่ส่งผลเสียนั่นเอง “ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด” ดูแลอย่างไรไม่ให้เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน สำหรับผู้ป่วยที่มีเคสหนักถึงขั้นผ่าตัดใหญ่ การดูแลทั้งก่อนและหลังผ่าตัดถือเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะจะช่วยให้การรักษาประสบผลสำเร็จมากขึ้น โดยก่อนผ่าตัดควรงดรับประทานอาหารและน้ำก่อนผ่าตัด 6 – 8 ชม. เพื่อป้องกันการสำลักอาหารระหว่างไม่รู้สึกตัว ทำความสะอาดร่างกาย ถอดเครื่องประดับ ของมีค่าต่างๆ ขับถ่ายให้เรียบร้อย ทำใจให้สงบ และพักผ่อนให้เพียงพอ ภาวะแทรกซ้อนที่มักพบเจอในผู้ป่วยหลังทำการผ่าตัด 1.เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ภาวะเลือดออก(bleeding) /แผลแยก 2.มีโอกาสและเสี่ยงต่อภาวะเสียสมดุลสารน้ำและเกลือแร่ 3.มีโอกาสและเสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย 4.ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัวจากปวดแผลผ่าตัด 5.ผู้ป่วยอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนเนื่องจากผลของยาระงับความรู้สึกหรือยาที่ได้รับหลังผ่าตัด 6.เสี่ยงต่อการติดเชื้อแผลผ่าตัดเนื่องจากความแข็งแรงของผิวหนังลดลง 7.เสี่ยงต่อการเกิดการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายลดลงเนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายลดลงทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันของหลอดเลือดดำส่วนปลาย 8.รู้สึกไม่สบายท้อง ท้องอืด แน่นท้องเนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายลดลง ลำไส้เคลื่อนไหวน้อยลงเนื่องจากผลของยาระงับความรู้สึก 9.การดูแลตนเองบกพร่อง เนื่องจากอ่อนเพลีย 10.มีความวิตกกังวลหรือกลัวเกี่ยวกับโรคและแผนการรักษา 6 วิธีดูแลผู้ป่วยสูงอายุหลังการผ่าตัด 1.ดูแลอาหาร “อาหารการกิน” ปัจจัยที่ทำได้ง่ายและมีผลต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายอย่างมาก โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ท่านอยู่ในวัยที่ไม่สามารถสร้างสารที่ช่วยกระตุ้นให้แผลหายเร็วได้เท่าวัยอื่นๆ ดังนั้น บุตรหลานจึงควรเน้นการเพิ่มโปรตีนที่มีส่วนสำคัญในการสร้างเซลล์และองค์ประกอบต่างๆ อย่างเช่น […]

จริงหรือไม่! อาการหูตึงในผู้สูงวัยเสี่ยงสมองเสื่อม

จริงหรือไม่! อาการหูตึงในผู้สูงวัยเสี่ยงสมองเสื่อม

“หูตึง” อาการที่มักมาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น โดยผู้สูงอายุจำนวนส่วนใหญ่มีปัญหากับอาการนี้อยู่ ซึ่ง 80% จะเกิดจากประสาทหูเสื่อมตามวัย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมผู้ใหญ่ในหลายๆ ครอบครัวประสบปัญหานี้ อาการทั่วไปที่เราพอจะสังเกตได้และเห็นกันอยู่บ่อยๆ ก็คือผู้สูงวัยท่านนั้นๆ จะมีความสามารทางการได้ยินเสื่อมถอยลง ได้ยินไม่ชัด ต้องให้บุตรหลานหรือผู้ที่กำลังพูดกับตนพูดซ้ำๆ หลายรอบ เป็นต้น แต่ที่ทุกคนไม่เคยทราบนั่นคืออาการนี้อาจส่งผลให้ผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะมีภาวะสมองเสื่อมได้ด้วยนั่นเอง “หูตึง” ในผู้สูงอายุ คืออะไร และมีอาการอย่างไร? การสูญเสียการได้ยิน  หมายถึง ภาวะที่ความสามารถในการได้ยิน/รับเสียงลดลง ซึ่งอาจเป็นเพียงเล็กน้อยหรือไม่ได้ยินเลยก็ได้ (หูหนวกสนิท) โดยสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคมักเกิดจาก ประสาทหูเสื่อมตามวัย ความผิดปกติแต่กำเนิด การได้ยินเสียงดังมากกว่าปกติเป็นเวลานาน การได้รับบาดเจ็บบริเวณหู ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด (โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะแบบฉีด) เป็นต้น ประเภทของการสูญเสียการได้ยิน การสูญเสียการได้ยินสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ 1.การสูญเสียการได้ยินชนิดการนำเสียงบกพร่อง (Conductive hearing loss) มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง (แต่ประสาทหูยังดีอยู่) ทำให้มีความผิดปกติในการส่งผ่านคลื่นเสียงไปยังส่วนของหูชั้นใน สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้ยาหรือการผ่าตัด โดยปกติคลื่นเสียงจากภายนอกเมื่อผ่านเข้าไปในช่องหูจะไปกระทบกับเยื่อแก้วหู แล้วมีการส่งต่อและขยายเสียงไปยังส่วนของหูชั้นในต่อไป โดยสาเหตุมักเกิดจาก เยื่อแก้วหูทะลุ (Ruptured eardrum) ผู้ป่วยจะมีอาการเกิดขึ้นในทันทีภายหลังการได้รับบาดเจ็บ ขี้หูอุดตัน (Cerumen impaction) […]

ปวดศีรษะ ออฟฟิศ ซินโดรม รักษาอย่างไรดี?

กระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า

ออฟฟิศ ซินโดรม คืออะไร? ออฟฟิศ ซินโดรม คืออาการปวดกล้ามเนื้อ ที่เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง เช่น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ อยู่ท่าทางเดิมๆนานเดินไป ไม่ได้มีการผ่อนคลายหรือเปลี่ยนท่าทาง ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อขึ้น 5 อาการที่มักพบบ่อยในผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรม? ปวดศีรษะ ปวด ตึง กล้ามเนื้อบริเวณ คอ บ่า ไหล่ คอยื่น ไหล่ห่อ ชามือและแขนจากกล้ามเนื้อที่ตึง เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (Peripheral Magnetic Stimulation: PMS) เป็นเครื่องมือที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Field) ไปกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณที่มีปัญหา (Trigger Point) เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวออก และลดอาการปวด หากกระตุ้น Peripheral Magnetic Stimulation: PMS บริเวณเส้นประสาท จะเกิดการกระตุ้นการซ่อมแซมตัวเองของเส้นประสาท (Neuroplasticity) ทำให้ช่วยลดอาการปวดจากเส้นประสาทได้ Peripheral Magnetic Stimulation: PMS มีงานวิจัย ที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ในการรักษาโรคดังต่อไปนี้ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ เช่น […]