เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (Transcranial Magnetic Stimulation: TMS) เป็นเครื่องมือที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Field) ไปกระตุ้นการทำงานของ เซลล์สมอง เซลล์ประสาท บริเวณที่ถูกกระตุ้นจะหลั่งสารสื่อประสาทที่ใช้ในการซ่อมแซมเซลล์ประสาทส่วนที่มีปัญหา เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้าจึงถูกนำมาใช้ในการรักษาและฟื้นฟูการเจ็บป่วยของโรคทางสมองและระบบประสาท
กระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า คืออะไร?
ก่อนอื่นเราลองมาทำความรู้จักเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้ากันนะคะ ว่าเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (Transcranial Magnetic Stimulation: TMS) ทำงานอย่างไร? นั่นก็คือ เซลล์ต่างๆ ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์ประสาท จะทำงานโดยการเปลี่ยนแปลงของประจุไฟฟ้า ทำให้เกิดการสั่งการและควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกาย เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (Transcranial Magnetic Stimulation: TMS) จะปล่อยคลื่นแม่เหล็กผ่านทางหัวกระตุ้น (Coil) ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าในบริเวณที่กระตุ้น และบริเวณใกล้เคียง เพื่อกระตุ้นการทำงานของเซลล์ โดยตำแหน่งที่จะกระตุ้นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้กำหนดตำแหน่ง เพื่อให้เหมาะสมกับการรักษาผู้ป่วยแต่ละคน
ใครที่เหมาะกับการรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (Transcranial Magnetic Stimulation: TMS)?
องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration: FDA) ได้อนุมัติการใช้เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (Transcranial Magnetic Stimulation: TMS) ในการรักษาโรคซึมเศร้า (Depression) โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder: OCD) ที่ไม่ตอบสนองเท่าที่ควรต่อการใช้ยาในขนาดที่เหมาะสมแล้ว และโรคไมเกรน (Migraine)
กระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า รักษาโรคอะไรได้บ้าง?
นอกจากนี้แล้วเครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (Transcranial Magnetic Stimulation: TMS) ยังมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ในการใช้รักษาโรคดังต่อไปนี้ โดยใช้ร่วมกับการรักษาหลัก
- โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต (Stroke)
- การสื่อสารผิดปกติจากโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต (Aphasia)
- ลดอาการปวดจากเส้นประสาท (Neuropathic pain)
- โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease)
- โรคเสียงดังในหู (Tinnitus)
- โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease)
- โรคเครียด วิตกกังวล (Anxiety)
- โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)
- ติดสุรา (Alcoholism) ติดบุหรี่ (Habitual Smoker) ติดเกมส์
เป็นต้น
เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า แตกต่างจากเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าแบบอื่นๆ อย่างไร?
- คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นที่มีความปลอดภัย ไม่มีรังสีตกค้างในร่างกาย มีการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในทางการแพทย์มาอย่างยาวนาน เช่น เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI)
- คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถเคลื่อนที่ผ่านกระโหลกศีรษะได้ จึงสามารถกระตุ้นเซลล์สมองได้ แตกต่างจากการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าบริเวณผิวหนังชนิดอื่นๆ ที่ไม่สามรถกระตุ้นผ่านกระโหลกศรีษะได้ หรือสามารถผ่านได้แค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
- เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (Transcranial Magnetic Stimulation: TMS) มีหัวกระตุ้น (Coil) หลายแบบ ทำให้สามารถควบคุมความกว้างและความลึก ชองบริเวณที่ถูกกระตุ้นได้ตามความต้องการของแพทย์ที่ทำการรักษา เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยแต่ละบุคคล
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้ และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมนักกายภาพบำบัด ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (Transcranial Magnetic Stimulation: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (Rehabilitation Center) ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง
หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.
Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)
Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์ :ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองโดยแพทย์เฉพาะทาง
บทความอื่นๆ
ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ดูแลอย่างไรดี?
ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว ในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร?
5 ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรง