ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว แน่นอนว่าทุกคนต้องเคยมีอาการปวดหัว ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดหัวข้างเดียว ปวดขมับ ปวดท้ายทอย หรือ การปวดไม่เกรน เป็นต้น ซึ่งจะมีสาเหตุและลักษณะอาการแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ดี เมื่อกล่าวว่า “ทุกคน” ล้วนต้องเคยปวดหัว นั่นจึงหมายถึงผู้สูงอายุอยู่ด้วย สิ่งที่น่าเป็นห่วงในอาการปวดหัวของผู้สูงอายุนั่นก็คือ สาเหตุของการปวดหัวนั้นๆ สามารถมาได้จากหลายปัจจัยมากๆ และการรักษาให้หายขาดก็จะยากกว่าวัยอื่นๆ ด้วย
ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว ในผู้สูงวัย เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรได้บ้าง?
อาการปวดศีรษะลักษณะนี้ พบได้บ่อย มักมีอาการปวดที่ต้นคอ อาจร้าวไปขมับสองข้างหรือปวดทั่วศีรษะ ปวดตื้อ มึน เหมือนอะไรมาบีบมารัด อาการค่อยๆ เป็น มักเริ่มตอนบ่ายหรือเย็น อาการปวดอาจเป็นชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน หรือปีก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเครียดและการพักผ่อน โดยทั่วไปมักไม่ปวดรุนแรงแต่ทำให้เกิดความทรมานและสูญเสียการงาน เมื่อได้พักผ่อนหรือรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อหรือยากล่อมประสาทอาการก็จะดีขึ้น
อาการปวดหัวจากกล้ามเนื้อเกร็ง เกิดจาก…
สาเหตุของอาการปวดเกิดจากความแปรปรวนของสิ่งแวดล้อมหรือจิตใจ ภาวะเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ ทำให้เกิดความเครียดต่อร่างกายและสมองส่วนที่ควบคุมอารมณ์ ทำให้เกิดความไม่สมดุลในระบบประสาทอัตโนมัติจึงเกิดกล้ามเนื้อตึงตัวนั่นเอง
ลักษณะอาการ
ผู้สูงอายุจะมีอาการปวดตื้อๆ หนักๆ ที่ขมับ หน้าผาก กลางศีรษะหรือท้ายทอยทั้ง 2 ข้าง หรือทั่วศีรษะหรือปวดรอบศีรษะคล้ายเข็มขัดรัด อาจมีอาการปวดร้าวมาสะบักไหล่ทั้ง 2 ข้าง นาน 30 นาทีถึง 1 สัปดาห์ ส่วนใหญ่มักจะเป็นนานเกิน 24 ชั่วโมง โดยอาการทั่วไปนั้น ผู้สูงอายุจะมีอาการปวดอย่างคงที่ และจะมีอาการปวดเล็กระดับน้อยจนถึงระดับปานกลางเท่านั้น ซึ่งจะเป็นส่วนน้อยที่จะปวดมากจนกระทบต่อชีวิตประจำวัน โดยหากปวดระดับรุนแรงจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น

แนวทางการรักษา
สำหรับแนวทางการรักษาภาวะปวดหัวเช่นนี้สามารถแบ่งออกได้หลักๆ เป็น 2 แนวทาง คือ
- รักษาด้วยตนเอง
ซึ่งวิธีนี้ต้องพึ่งการดูแลของบุตรหลานในครอบครัวหรือจากคนดูแลประจำของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากวิธีที่ใช้จะเป็นวิธีการออกกำลังกาย ซึ่งจะวิธีการนี้จะช่วยกระตุ้นให้ระบบในร่างกายของผู้สูงวัยกลับมาทำงานได้ดีขึ้น และจะทำให้โอกาสของการปวดศีรษะลดลง โดยท่ากายบริหารอาจเป็นท่าง่ายๆ ที่ผู้สูงวัยสามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่บุตรหลานอาจต้องคอยดูแลอยู่ใกล้ๆ เพื่อไม่ให้ท่านหักโหมจนเกินไปและส่งผลเสียมากกว่าผลดี
- รักษาด้วยเครื่องกระตุ้นสมองแม่เหล็กไฟฟ้า TMS
เทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS หรือ การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาอาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว (Tension Headache) เพื่อลดความรุนแรงของอาการปวดและความถี่ของการกำเริบ ควบคู่ไปกับการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ได้แก่ ความเครียด การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ โดยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS มีความปลอดภัยสูงมาก เนื่องจากมีผลอยู่ในวงจำกัดที่แคบมาก เพียง 1-3 เซนติเมตร จากหัวกระตุ้น จึงไม่มีผลกระทบที่อันตรายต่ออวัยวะของร่างกาย
ท่าออกกำลังกายลดอาการปวดหัวจากกล้ามเนื้อเกร็งในผู้สูงอายุ
การออกกำลังกายในผู้สูงอายุนั้น ควรเริ่มจากท่าพื้นฐานง่ายๆ ก่อน แล้วจึงค่อยไต่ระดับความยากไปเรื่อยๆ เพราะหากเลือกท่าที่ไม่เหมาะสมกับพวกท่านตั้งแต่แรก ก็อาจกลายเป็นการหักโหมเอาได้ โดยท่าพื้นฐานอาจเริ่มด้วยท่าต่างๆ ดังนี้
การยืดกล้ามเนื้อคอ
เกี่ยวมือ 2 ข้างไว้หลังศีรษะโดยให้หลังตรงและเกร็งท้องไว้ โน้มข้อศอกเข้าใกล้กันที่สุด กางศอก 2 ข้างแอ่นไปด้านหลังให้มากที่สุด
การหันศีรษะ
ค่อยๆ หันศีรษะไปทางขวาโดยไม่ต้องหันตัวไป ค่อยๆ หันกลับมาอยู่ในแนวตรง หันศีรษะต่อไปทางซ้ายแล้วค่อยๆ หันกลับมาอยู่ในแนวตรง
การเอียงคอ
เอียงคอไปทางขวาเข้าหาไหล่ขวา จากนั้นเอียงกลับมาท่าตรง แล้วเอียงคอไปทางซ้ายเข้าหาไหล่ซ้าย จากนั้นเอียงกลับมาท่าตรง
การยกไหล่
ค่อยๆ ยกไหล่ทั้ง 2 ข้างเข้ามาหาหู หายใจเข้าลึกๆ ผ่อนไหล่กลับมาที่เดิม
อย่างไรก็ดี บุตรหลานต้องคอยหมั่นสังเกตผู้สูงอายุอยู่เสมอ ว่าพวกท่านมีอาการที่น่าผิดสังเกตหรือไม่ หากมีอาการปวดตื้อๆ หนักๆ ที่ขมับ หน้าผาก ปวดท้ายทอยมากกว่า 2 ครั้ง/สัปดาห์ และแต่ละครั้งปวดนานมากกว่า 3-4 ชั่วโมง หรือปวดรุนแรง หรือต้องใช้ยาแก้ปวดบ่อยมาก อย่าชะล่าใจปล่อยให้อาการรุนแรง ควรรีบมาพบแพทย์และทำการรักษาแต่เนิ่นๆ เพื่อให้กลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีดังเดิม
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
บทความอื่นๆ
ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ดูแลอย่างไรดี?
ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว ในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร?
5 ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรง