ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ดูแลอย่างไรดี?

ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ถือเป็นโรคที่พบเจอบ่อยมากทีเดียวสำหรับโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ แม้จะไม่ใช่อาการทางสมองที่พบเจอในผู้สูงวัยทุกคน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ผู้สูงอายุหลายๆ ท่านต้องเจ็บปวดและใช้ชีวิตประจำวันค่อนข้างยากลำบากเนื่องจากภาวะอาการของโรคนี้ โดยเฉพาะกิจกรรมง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็น การกิน การแต่งตัว และ การนอน เป็นต้น โดยเมื่อกล่าวถึงการนอนของผู้สูงอายุในโรคอัลไซเมอร์นั้น ถือว่าค่อนข้างดูแลยากมากทีเดียว หากบุตรหลานไม่เข้าใจในภาวะอาการ

ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ดูแลอย่างไรดี?

ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ผู้สูงอายุมีอาการเช่นนี้ ต้องดูแลอย่างไร?

เป็นที่ทราบกันดีว่าโรคอัลไซเมอร์ เป็นภาวะอาการทางสมองที่เปลี่ยนแปลงไปในผู้สูงอายุ โดยต้องกล่าวก่อนว่าผู้สูงอายุทุกคนไม่ได้เป็นโรคนี้กันทุกคน แต่ก็ไม่ควรเป็นอาการที่บุตรหลานทุกคนจะปล่อยปละละเลยได้เช่นกัน อย่างไรก็ดีอาการที่แสดงออกของภาวะทางสมองนี้ไม่ได้เพียงแสดงออกถึงความขี้หลงขี้ลืมเท่านั้น จำอะไรได้เพียงสั้นๆ เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงกิจกรรมอื่นๆ ในชีวิตประจำวันด้วย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมผู้สูงวัยในโรคนี้จึงจำเป็นต้องมีคนดูแลอยู่เสมอ

อัลไซเมอร์ ส่งผลต่อพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุบ้าง?

จากที่กล่าวไปข้างต้นว่าแม้อัลไซเมอร์จะดูเป็นภาวะที่แสดงออกถึงอาการหลงลืมเสียมาก แต่ก็ความหลงลืมนี่เองที่ทำให้ ภาวะอารมณ์ และ การใช้ชีวิตของพวกท่านแปรปรวนกันเป็นอย่างมาก เช่น

การรับประทานอาหาร

สำหรับ การกิน นั้น ถือปัญหาที่พบบ่อยคือ จำไม่ได้ว่ากินอาหารไปแล้ว ไม่รู้จักวิธีการใช้ช้อนส้อม ปัญหาในการกลืน การเคี้ยวหรืออาจต้องป้อนอาหาร

การแต่งกาย

ปัญหาการแต่งตัว ที่มักพบ คือ จำไม่ได้ว่าเก็บเสื้อผ้าไว้ที่ไหน ไม่ทราบว่าจะต้องใส่อะไรก่อน – หลัง ไม่ทราบวิธีการใส่ ไม่รู้ว่าเสื้อผ้ามีเอาไว้ทำอะไร เป็นต้น

การลืมรับประทานยาประจำตัว

ผู้สูงอายุที่มีภาวะอาการ อัลไซเมอร์ หรือ สมองเสื่อม ส่วนใหญ่ต้องกินยาเป็นประจำ ผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมอาจกินยามากเกินไปพอ ๆ กับไม่ได้กิน เพราะจำไม่ได้ว่ากินยาแล้วหรือยัง

การขับถ่าย

ปัญหาที่มักพบ คือ ผู้สูงอายุมักจะไม่รู้ว่าเมื่อไรจึงจะใช้ห้องนํ้า อาจกลั้นอุจจาระไม่ได้ หาห้องนํ้าไม่พบเข้าไปในห้องนํ้าแล้วไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรและอาจถึงขั้นขับถ่ายไม่เป็นที่

การนอน

ปัญหาการนอน ปัญหาที่มักพบคือการไม่ยอมนอนตอนกลางคืน เดินไปเดินมา และการนอนหลับมากในตอนกลางวัน

 

ทำไมผู้ป่วยสูงอายุในโรคอัลไซเมอร์ จึงนอนหลับยาก?

หากจะกล่าวกันตามจริง ในทางการแพทย์นั้นก็ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าทำไมผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ถึงมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องการนอนหลับ แต่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเรื่องการนอนหลับเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสมอง เนื่องจาก ผู้สูงอายุที่เริ่มมีสมองเสื่อมในระยะแรกจะมีอาการนอนไม่หลับได้ เพิ่มจากอาการขี้หลงขี้ลืม หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่วนสาเหตุของสมองเสื่อมในผู้สูงอายุไทยมักเกิดจากการอุดตันของเส้นโลหิตในสมองที่เกิดซ้ำกันหลายๆ ครั้ง อาจจะมีหรือไม่มีอาการของอัมพาตร่วมด้วยก็ได้ นอกจากนั้นภาวะซึมเศร้าก็เป็นสาเหตุของการนอนยากในผู้สูงอายุได้ โดยผู้ป่วยมักจะมีลักษณะที่เข้านอนได้ตามปกติ แต่ตื่นขึ้นกลางดึกเช่น ตี 3-4 แล้วไม่สามารถนอนต่อได้อีก

ลักษณะอาการ

ลักษณะอาการของผู้สูงอายุในภาวะโรคนี้สามารถแสดงออกทางการนอนได้หลายอาการด้วยกัน เช่น

  • นอนหลับยาก
  • ตื่นในเวลากลางคืน
  • นอนนึ่งๆ ไม่เป็นต้องคอยเรียกคนดูแล
  • มีการหงีบหลับในเวลากลางวัน
  • กระสับกระส่าย หงุดหงิดเวลาบ่ายๆหรือเย็นๆ
  • ทั่วๆไปในเวลากลางคืนจะตื่นประมาณร้อยละ40ของเวลา คนที่เป็นมากจะตื่นกลางคืนและหลับกลางวัน

แนวทางการดูแลเมื่อผู้สูงอายุเกิดอาการ

หากบุตรหลานไม่แน่ใจว่าควรดูแลเบื้องต้นอย่างไร สามารถทำตามได้ก่อน ตามวิธีต่างๆ ดังนี้

  • คอยเตือนผู้สูงอายุเมื่อใกล้ถึงเวลานอน
  • พยายามหลีกเลี่ยงการนอนระหว่างวัน แต่อาจให้งีบหลับได้ในช่วงหลังอาหารกลางวัน แต่ไม่ควรเกินบ่าย 3 โมงเย็น ไม่เกิน 30 นาที
  • หลีกเลี่ยงคาเฟอีน (ชา กาแฟ) นํ้าอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง
  • ถ้าไม่นอนหลายคืนควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรให้ยานอนหลับเอง
  • พยายามจัดเวลานอนให้เป็นเวลา
  • มีแสงสว่างเพียงพอในห้องนอน
  • กระตุ้นให้มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอ เช่น พาเดินเป็นประจำในช่วงเช้า และช่วงเย็น

อย่างไรก็ดี ต้องขอเน้นย้ำอีกครั้งว่าผู้สูงอายุในภาวะโรคนี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลที่ค่อนข้างต้องได้รับความเอาใจใส่มากทีเดียว เนื่องจากภาวะอาการของอัลไซเมอร์สามารถส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก หากท่านต้องอยู่บ้านเพียงลำพังอาจเกิดเหตุอันตรายกับท่านได้ ดังนั้น หากบุตรหลานรู้ตัวว่าตนเองอาจไม่สะดวกดูแลในระหว่างวัน ก็สามารถพาท่านเข้ารับการดูแลที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในระหว่างที่ไม่อยู่บ้าน หรืออาจสลับกันดูแลภายในครอบครัวในระหว่างวัน ไม่ควรปล่อยพวกท่านไว้เพียงลำพัง


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง