5 ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรง

ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ วิธีการฟื้นฟูที่สำคัญในการเสริมสร้างกำลังให้กับกล้ามเนื้อหัวใจในผู้สูงอายุ เพราะ หัวใจ นั้นเป็นอวัยที่สำคัญของมนุษย์เรา จึงต้องดูแลเป็นอย่างดี ยิ่งในผู้สูงอายุนั้นการดูแลภาวะการทำงานของหัวใจเช่นนี้ก็สำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเมื่อแก่ตัวลง ร่างกายและการทำงานในส่วนต่างๆ ในร่างกายนั้นก็ย่อมทำงานไม่เหมือนสมัยหนุ่มสาว สมรรถภาพก็จะเสื่อมลง จึงเป็นเหตุผลให้บุตรหลานควรดูแลผู้สูงวัยและพาท่านทำกิจกรรมที่เสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหัวใจให้กับท่านด้วย

5 ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรง

ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ช่วยผู้สูงวัยห่างไกลโรคหัวใจต่างๆ

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโรคหัวใจนั้นเป็นโรคที่หลายๆ คนกังวลว่าจะเกิดขึ้นกับตนเองหรือคนในครอบครัวหรือไม่ เนื่องจากเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย แต่จะเกิดขึ้นได้ง่ายที่สุดกับผู้สูงอายุ เนื่องจากสาเหตุหลักที่ว่าการมีอายุที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลงอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยของผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ที่สุด เพราะนอกจากการเข้าพบแพทย์แล้ว อีกสิ่งที่สำคัญคือการดูแลจากลูกหลานนั่นเอง

โรคหัวใจในผู้สูงอายุ

จากรายงานของ กรมผู้สูงอายุ พบว่ามีโรคหัวใจมากมายที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุไทย และเป็น เป็นโรคที่พบได้บ่อยและยังเป็นโรคที่เป็นสาเหตุทำให้คนเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆในทุกประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะโรคหัวใจในผู้สูงวัย ต้องสังเกตสัญญาณเตือนของโรค มักจะมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกแรง รู้สึกหอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ ต้องหนุนหมอนสูง แน่นหน้าอก ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม กรณีสูงวัยมากๆ อาการอ่อนเพลีย เวียนหัว เบื่ออาหารที่ไม่มีสาเหตุชัดเจน อาจเป็นอาการจากโรคหัวใจได้เช่นกัน

โรคหัวใจที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่…

1.โรคหลอดเลือดหัวใจ

เกิดจากไขมันและเนื้อเยื่อสะสมในผนังของหลอดเลือด ทำให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดชั้นในตำแหน่งนั้นหนาตัวขึ้น ทำให้หลอดเลือดมีการตีบแคบลง ทำให้เลือดซึ่งนำออกซิเจนไหลผ่านได้น้อยลง ส่งผลให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่เพียงพอ จนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

2.โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ

มักเกิดจากความเสื่อมตามธรรมชาติของร่างกาย ทำให้มีหินปูนจับที่ลิ้นหัวใจจนลิ้นหัวใจหนาขึ้นและเปิดได้น้อยลง โรคนี้จึงพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

3.โรคหัวใจสั่นพลิ้ว

เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหนึ่ง คือหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ มีทั้งเต้นช้า เต้นเร็ว และเต้นไม่สม่ำเสมอ ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายลดลง Atrial Fibrillation (AF) เป็นอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบบ่อยที่สุด ถึงแม้ไม่ทำให้เสียชีวิตแต่อาจนำมาซึ่งภาวะรุนแรงมากขึ้น เช่น เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติชนิดอื่น ทำให้อ่อนเพลียเรื้อรัง อัมพฤกษ์ อัมพาต หัวใจล้มเหลว

4.ภาวะใจเต้นช้า

จากตัวกำหนดการเต้นของหัวใจเสื่อม เกิดจากความเสื่อมของหัวใจ ของผู้สูงอายุอาจมีอาการวูบ หวิว บางรายอาจเป็นลมหมดสติ

5.หัวใจล้มเหลว

ภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย หรือรับเลือดกลับสู่หัวใจได้ตามปกติ ภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ที่พบมากคือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นสาเหตุใหญ่ที่พบบ่อยที่สุด นอกจากนี้ โรคความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ สามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้เช่นกัน

 

แนวทางป้องกันและดูแลผู้สูงวัยจากโรคหัวใจ

สำหรับการดูแลผู้สูงวัยเพื่อให้ผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรงนั้น มี 3 แนวทางง่ายๆ  ได้แก่

1.อาหาร

อาหารดีสุขภาพดี เน้นทานปลา เนื้อไก่ ถั่ว เต้าหู้ จำกัดการทานเนื้อแดง ชีส หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น แฮม เบค่อน ไส้กรอก เป็นต้น ทานข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ขนมปังโฮวีท จำกัดการทานข้าวขาวและขนมปังขาว ทานผักให้หลากหลายสีหลากหลายชนิด ทานผลไม้เป็นประจำจำกัดผลไม้ที่หวานจัด ใช้น้ำมันที่ดีปริมาณไม่มาก เช่น น้ำมันมะกอก คาโนล่า จำกัดการบริโภคเนย หลีกเลี่ยงเนยเทียมและน้ำมันทอดซ้ำ ดื่มน้ำเปล่า ชา หรือกาแฟ (หวานน้อยหรือไม่หวานเลย) ดื่มนมไม่เกิน 1-2 แก้วต่อวัน,ดื่มน้ำผลไม้ไม่เกิน 1 แก้วต่อวัน หลีกเลี่ยงน้ำหวาน ครีมเทียม และเครื่องดื่ม 3-in -1

2. ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายที่เหมาะสม เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ปั่นจักรยาน กายบริหาร ประมาณ 150 นาทีต่อสัปดาห์

3.อารมณ์และการพักผ่อน

พบว่ามีผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวมีภาวะโรคซึมเศร้าซ่อนอยู่1 ใน 3 และ1 ใน 5 เป็นโรคซึมเศร้าชนิดรุนแรง ดังนั้นกายและใจต้องได้รับการรักษาไปพร้อมๆกัน และนอนหลับให้เพียงพอ

5 ท่าบริหารหัวใจสำหรับผู้สูงอายุ ช่วยให้แข็งแรง

สำหรับ ท่าบริหารหัวใจ 5 ท่านี้ เป็นท่าง่ายๆ และพื้นฐานสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งบุตรหลานสามารถดูแลให้ท่านทำตามได้ ดังนี้

ท่าที่ 1 ลุก-นั่ง จากเก้าอี้

ยังคงอยู่ในท่านั่งเก้าอี้ วางเท้าหลังหัวเข้า ค่อยๆโน้มตัวไปด้านหน้าและลุกขึ้นยืนโดยไม่ใช้มือช่วยพยุง ทำซ้ำ 10 ครั้ง

ท่าที่ 2 วิ่งอยู่กับที่

เป็นท่าที่ผู้สูงวัยสามารถนั่งบนเก้าอี้และออกกำลังกายได้อย่างสะดวก ซึ่งจะเริ่มจากการให้ผู้สูงอายุนั่งบนเก้าอี้ จากนั้นให้ท่านย้ำเท้าอยู่กับที่และแกว่งหัวไหล่พร้อมแขนคล้ายๆ ตอนที่ท่านกำลังเดินหรือวิ่งอยู่โดยทำซ้ำทั้งหมด 10 ครั้ง

ท่าที่ 3 ชูแขนแล้วยกส้นเท้า

อยู่ในท่านั่งเก้าอี้ เหยียดแขนยกขึ้นข้างบนให้สุด หลังตรง พร้อมยกส้นเท้า ทำซ้ำทั้งหมด 10 ครั้ง ท่านี้จะช่วยเรื่องไหล่ติดได้เป็นอย่างดี

ท่าที่ 4 ยืนขาเดียว ไม่ใช่ราวจับ

ยืนตรงมองไปข้างหน้า ยกขาข้างใดข้างหนึ่งขึ้น และยืนด้วยขาข้างเดียวนาน 10 วินาที จากนั้นเปลี่ยนข้าง ทำซ้ำข้างละ 10 รอบ

ท่าที่ 5 วางส้นเท้า สลับมือชก

นั่งบนเก้าอี้ จากนั้นให้เหยียดขาและแขนออกมา โดยแขนและขาข้างที่เหยียดออกมาจะเป็นคนละข้างกัน ไม่ให้ส้นเท้ากระแทกกับพื้น ทำซ้ำทั้งหมด 10 ครั้ง

ท้ายที่สุด ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ทั้ง 5 ท่าที่นำเสนอมานี้เป็นท่าที่สามารถช่วยให้ระบบการไหลเวียรโลหิตของผู้สูงอายุทำงานได้ดีมากขึ้น โดยที่จะส่งผลไปถึงอวัยวะอื่นๆ ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยนั่นเอง ทั้งนี้การดูแลในเรื่องของความเป็นอยู่และการออกกำลังกาย ต้องมาพร้อมกับการพาเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสมอ เพื่อเป็นการตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งจะช่วยให้ทุกคนในครอบครัวตั้งรับได้อย่างทันท่วงที รวมถึงผู้สูงอายุก็จะได้รับการรักษาที่รวดเร็วด้วย


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง