อัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ อันตรายอย่างไร?

“อัลไซเมอร์” กับความเชื่อของคนส่วนใหญ่ที่คิดผิดๆ ว่าโรคนี้เป็นโรคที่ผู้สูงอายุทุกคนต้องและเป็นโรคที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่าแท้จริงแล้วไม่ได้เป็นตามที่ทุกคนคิดแต่อย่างใดอีกทั้งยังต่างกับความเชื่อเหล่านี้อย่างสิ้นเชิง เริ่มตั้งแต่ผู้สูงอายุทุกคนไม่จำเป็นต้องเป็นโรคนี้กันทุกคนเมื่ออายุพวกท่านมากขึ้นและไม่ได้เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติแต่มีสิ่งที่กระตุ้นให้โรคนี้เกิดขึ้น

 

อัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ อันตรายอย่างไร?

“อัลไซเมอร์” คืออะไร อันตรายต่อผู้สูงวัยมากหรือไม่?

“โรคอัลไซเมอร์” เกิดจากความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อของสมองซึ่งมักพบในผู้สูงอายุแต่ไม่ใช่ความเสื่อมโดยธรรมชาติเพราะผู้สูงอายุทุกคนไม่จำเป็นต้องเป็นโรคนี้กันทุกคน แต่เป็นความเสื่อมที่เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (ชนิดไม่ละลายน้ำ) ซึ่งเมื่อไปจับกับเซลล์สมองจะส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อมและฝ่อลง รวมถึงทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเสียหายจากการลดลงของสารอะซีติลโคลีนซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลโดยตรงกับความทรงจำนั่นเอง

การสะสมของเบต้า-อะไมลอยด์ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองค่อยๆ ลดลง เริ่มจากสมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่มีบทบาทสำคัญในการจดจำข้อมูลใหม่ๆ เมื่อเซลล์สมองส่วนนี้ถูกทำลาย ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาเรื่องความจำโดยเฉพาะความจำระยะสั้น จากนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้นจะแพร่กระจายไปสู่สมองส่วนอื่นๆ และส่งผลต่อการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิด ภาษา และพฤติกรรม

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค

1. อายุเพิ่มขึ้น

โดยพบว่าหลังอายุ 65 ปี ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเพิ่มเป็น 2 เท่าในทุกๆ 5 ปีที่อายุมากขึ้น อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปีด้วยเช่นกัน

2. พันธุกรรม

เช่น มีญาติสายตรงในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคนี้หลายคน แต่พบเป็นส่วนน้อย คือประมาณร้อยละ 5 เท่านั้น

3. โรคดาวน์ซินโดรม

ผู้ป่วยถือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค เนื่องจากพบว่าผู้ป่วยโรคนี้มีความผิดปกติของการสะสมของโปรตีนบางชนิดที่ทำให้เกิดโรคของการเสียความทรงจำระยะสั้นได้เช่นกัน

4. การได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ

มีรายงานการศึกษาหลายรายงานพบว่า ผู้ป่วยโรคประเภทนี้จากสาเหตุอื่นๆ มีประวัติเคยได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะมากกว่าคนที่ไม่มีสมองเสื่อม อย่างไรก็ตามในบางการศึกษาไม่พบว่าการได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะมาก่อนเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะสมองเสื่อม

5. โรคของหลอดเลือด

ซึ่งประกอบด้วย

  • น้ำหนักเกินมาตรฐาน

  • สูบบุหรี่หนัก

  • ขาดการออกกำลังกาย

  • ไขมันในเลือดสูง

 

“อัลไซเมอร์” กับวลี “ความจำสั้นแต่รักฉันยาว”

หากจะกล่าวกันตามจริง อัลไซเมอร์ คือโรคที่เริ่มต้นด้วยการที่ผู้ป่วยจะมีอาการสูญเสียความทรงจำในระยะสั้นซึ่งคล้ายคลึงกับการขี้หลงขี้ลืมของผู้สูงวัยทั่วๆ ไป หากแต่หลังจากนั้นผู้ป่วยร้อยละ 80-90 จะเริ่มมีอาการจิตเวชร่วมอยู่ด้วยซึ่งอาจสังเกตพฤติกรรมตัวละครจากภาพยนตร์หลายๆ เรื่องที่มักจะมีอาการก้าวร้าว หนีออกจากบ้าน ถามคำถามซ้ำๆ เป็นต้น ซึ่งนั่นก็ทำให้การดูแลผู้สูงวัยหรือผู้ป่วยของโรคนี้ดูแลยากขึ้นไปอีก

เมื่อความจำอยู่ได้เป็นระยะ

โดยทั่วไปแล้วอาการทั่วไปของโรคนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะหลักๆ โดยมีอาการที่รุนแรงเพิ่มขึ้นตามลำดับ ดังนี้

ระยะที่แรก

ระยะแรกเริ่มนี้เป็นระยะที่คนรอบข้างหรือลูกหลานยังสามารถดูแลได้

  • ผู้ป่วยจะมีความจำถดถอยจนตัวเองรู้สึกได้
  • ชอบถามซ้ำ พูดซ้ำๆ เรื่องเดิม สับสนทิศทาง
  • เริ่มเครียด อารมณ์เสียง่ายและซึมเศร้า แต่ยังสื่อสารและทำกิจวัตรประจำวันได้

ระยะกลาง

เป็นระยะที่อาการเริ่มรุนแรงขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งบางรายถึงกับเปลี่ยนบุคลิกไปเลยทีเดียว

  • ความจำแย่ลง บางรายเดินออกจากบ้านอย่างไร้จุดหมาย
  • บุคลิกและพฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น จากเคยเป็นคนใจเย็นก็กลายเป็นคนฉุนเฉียว เกรี้ยวกราดง่าย
  • เริ่มมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันและหวาดระแวงเรื่องต่างๆ เช่น ชงกาแฟไม่ได้ ใช้โทรศัพท์ไม่ได้ คิดไปเองว่าคู่สมรสนอกใจ เริ่มมีปัญหาในการเข้าสังคม

ระยะสุดท้าย

ถือว่าเป็นระยะที่อาการหนักที่สุด โดยอาการหลักๆ คือตอบสนองกับสิ่งรอบข้างน้อยลงรวมไปถึงอาจเป็นผู้ป่วยติดเตียงได้เลย

  •  รับประทานได้น้อยลง
  • การเคลื่อนไหวน้อยลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลย
  • ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
  • สมองเสื่อมเป็นวงกว้าง
  • ภูมิคุ้มกันอ่อนแอซึ่งมักนำไปสู่การติดเชื้อและเสียชีวิตในที่สุด

ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ช่วงเวลาของระยะอาการตั้งแต่แรกจนถึงสุดท้าย (ตั้งแต่วินิจฉัยว่าเป็นโรคจนกระทั่งเสียชีวิต) จะใช้ไปทั้งหมดประมาณ 8-10 ปี โดยในช่วงที่เป็นนั้นต้องพาไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเรื่อยๆ เพื่อสังเกตและประเมินอาการ

เมื่อ “ฉัน(กลัว)ความจำเสื่อม..” จะทำอย่างไร

แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากประสบกับชะตากรรมในการเป็นผู้ป่วยความจำสั้นหรือเสื่อม ฉะนั้นสิ่งที่ควรทำคือต้องป้องกันตนเองเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคนี้ แต่หากไม่สามารถเลี่ยงได้เราควรดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวเราตามคำแนะนำ ดังนี้

วิธีป้องกันโรคอัลไซเมอร์

เนื่องจากโรคสูญเสียความทรงจำนั้นมีสาเหตุที่แน่ชัดมากนัก ดังนั้นการป้องกันจึงอิงตามปัจจัยเสี่ยง คือ

1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และโคเลสเตอรอลสูง

2. รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐาน

3. ไม่สูบบุหรี่และเลี่ยงการที่อยู่ใกล้บริเวณที่มีควัน

4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและดูแลตนเองไม่ให้เกินอุบัติเหตุ

ดูแลผู้สูงอายุ-ผู้ป่วยโรคความจำเสื่อม

1. รักษาด้วยการไม่ใช้ยา

1.1 กิจวัตรประจำวันและการฝึกทักษะการเข้าสังคม

ให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมและทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองทั้งในภายในครอบครัวและสังคมภายนอก

1.2 สิ่งแวดล้อม

ดูแลปรับสภาพสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อที่จะลดสิ่งที่กระตุ้นให้อาการรุนแรงขึ้น เช่น เสียงดังรบกวน ของเกะกะ เป็นต้น

1.3 พฤติกรรมและจิตบำบัด

เป็นเรื่องปกติสำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยโรคนี้ที่ว่าจะมีอาการหงุดหงิดและฉุนเฉียวง่าย ดังนั้นผู้ดูแลจะต้องคอยพูดจาโน้มน้าวหรือเบี่ยงเบนให้ผู้ป่วยที่โมโหสนใจประเด็นอื่นหรือมีดนตรีบำบัดร่วมด้วย

2. รักษาด้วยการใช้ยา

2.1 ยาที่ใช้รักษาตามอาการด้านการรู้คิด

  • เช่น  ยา donepezil, galantamine, rivastigmine เป็นต้น สามารถใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยถึงรุนแรง ทำให้มีสื่อประสาทในการรู้สึกและตอบสนองเพิ่มขึ้น เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการแรกเริ่มหรือน้อย
  • ยากลุ่ม NMDA receptor antagonist ทำให้ลดการเกิดพิษต่อเซลล์ประสาท ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรง

2.2 ยาที่ใช้รักษาปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ และความผิดปกติทางจิต

  • เช่น ยาต้านเศร้า ยาลดอาการหลงผิดประสาทหลอนและอาการกระวนกระวาย ยาคลายกังวลหรือยานอนหลับ โดยแพทย์อาจจะปรับยาตามอาการเพื่อให้สมดุลโดยพิจารณาถึงประโยชน์และผลข้างเคียงของการใช้ยา

ท้ายที่สุด ไม่ว่าจะเป็นโรคความจำเสื่อมทั้งระยะสั้นหรือระยะยาวก็ต่างส่งผลอันตรายให้กับผู้สูงอายุทั้งสิ้น เนื่องจากพวกท่านมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคนี้ ส่งผลให้อาการแย่ลงเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงเสียชีวิตในที่สุด ดังนั้นการดูแลรักษาจึงต้องประเมินจากหลายๆ องค์ประกอบไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของประสาทการรับรู้-ตอบสนอง สุขภาพจิต และพฤติกรรม เพื่อให้คุณภาพการรักษาดีที่สุดต่อผู้ป่วย

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สังเกตภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มีความอันตรายอย่างไร

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) คืออะไร?

การดูแลผู้สูงอายุอย่างไรให้สุขภาพดี มีความสุข อายุยืนยาว

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง