“โรคนอนไม่หลับ” เป็นอีกโรคหนึ่งที่เกิดจากการที่สมองทำงานไม่ปกติ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับการที่ผู้สูงอายุหมดสติและไม่ยอมฟื้นจนต้องรีบส่งโรงพยาบาลแต่การนอนไม่หลับในผู้สูงอายุนั้นไม่มีอาการที่ดูร้ายแรงอะไร ทุกๆ คนหรือแม้แต่ตัวผู้สูงอายุเองจึงเลือกที่จะปล่อยปละละเลยและในบางรายถึงกับต้องหันไปพึ่งยานอนหลับที่เลือกซื้อมาเองและใช้จนติดงอมแง การทำเช่นนี้ถือเป็นดาบสองคมที่ทำร้ายร่างกายอยู่เรื่อยๆ จากผลสำรวจพบว่าผู้สูงในวัยตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปต้องพบกับปัญหาของการนอนไม่หลับแต่ก็ไม่ได้เข้าพบแพทย์อย่างจริงจังเสียเท่าไหร่ทั้งที่แท้จริงแล้วการนอนไม่หลับเช่นนี้เป็นสัญญาณเตือนของโรคทางระบบสมองและอื่นๆ ด้วย
โรคนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ
ครอบครัวไหนมีผู้สูงอายุ อาจจะสังเกตเห็นได้ว่าเมื่อมีอายุที่มากขึ้นพฤติกรรมการนอนหลับของคุณปู่ ย่า ตา ยาย หรือ พ่อแม่ที่มีความเปลี่ยนแปลงไป เช่น การเข้านอนช้าแต่กลับตื่นเร็ว ใช้เวลาก่อนนอนกว่าจะหลับเป็นเวลานาน ตื่นมากลางดึกแล้วนอนไม่หลับจนเช้า นอนกลางวันตื่นตอนกลางคืน เป็นต้น ซึ่งหากเป็นเช่นนี้คำถามที่ตามมาคือ พฤติกรรมเหล่านี้ของพวกท่านเป็นปกติหรือไม่?
เป็นที่ทราบกันดีว่าไม่ว่าจะอยู่ในวัยใดคนเราทุกคนย่อมต้องพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 6-8 ชั่วโมง ดังนั้นคำตอบของคำถามที่ว่าพฤติกรรมการนอนไม่หลับของผู้สูงอายุเป็นปกติหรือไม่ คือ “ไม่ปกติ” อีกทั้งต้องเน้นย้ำว่า “ไม่ควรมองข้าม” ด้วยจึงจะถูก ผู้สูงอายุที่พบเจอกับปัญหานี้จะยิ่งทำให้ระบบต่างๆเสื่อมถอยลงไวขึ้นอีกเนื่องจากส่งผลต่อระบบสมองโดยตรง จะมีอาการอ่อนเพลีย คิดไม่ออกคิดช้า ต่อมรับรสอาหารเริ่มทำงานผิดเพี้ยน จนในที่สุดก็ก่อให้เกิดความวิตกกังวลได้
โรคนอนไม่หลับ มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง
1. ความชราสร้างความเปลี่ยนแปลง
โดยปกติแล้วยิ่งเราอายุเพิ่มขึ้นการทำงานของสมองก็จะเสื่อมถอยลงตามอายุของเราไปด้วย และแม้ว่าบทบัญญัติของการรักษาสุขภาพจะระบุไว้ว่าคนเราควรนอนให้ได้อย่างน้อย 8 ชั่วโมงแต่ผู้สูงอายุก็ไม่สามารถทำได้เนื่องด้วยการทำงานของสมองที่เปลี่ยนไปส่งผลให้พฤติกรรมการนอนเปลี่ยนตามไปด้วย
2. โรคประจำตัวกับการนอน
โรคประจำตัวบางโรคของผู้สูงวัยท่านนั้นๆ ส่งผลต่อการนอน เช่น โรคเบาหวาน ต่อมลูกหมากโต ที่มักต้องตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อลุกมาปัสสาวะหลายๆ ครั้งทำให้หลับสนิทได้ยาก รวมไปถึงการปวดข้อต่างๆ ตามร่างกายจึงอาจทำให้จัดท่านอนได้ลำบาก
3. ปัญหาทางสุขภาพจิต
การเกิดความเครียด ความวิตกกังวล รู้สึกเศร้า และคิดมากเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการนอนหลับในผู้สูงทั้งสิ้น ซึ่งบางรายอาจจะหลับยากตั้งแต่เริ่มล้มตัวนอนหรือบางรายก็นอนตามเวลาปกติแต่จะตื่นช่วงตี 3-4 หลังจากนั้นก็จะนอนไม่หลับอีกตลอดทั้งวัน
4. ยารักษาโรคบางชนิด
การรับประทานยาบางตัวของผู้สูงอายุส่งผลโดยตรงต่อการนอนซึ่งมีผลออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลาง หรือสมอง เช่น ยารักษาโรคพาร์กินสัน ยาไทรอยด์ ยาแก้ชัก ยารักษาโรคซึมเศร้า ยาสเตียรอยด์ ยารักษาภาวะสมองเสื่อม เป็นต้น

โรคนอนไม่หลับในผู้สูงอายุแก้ยังไง
ในขั้นต้น ผู้สูงอายุที่เริ่มประสบปัญหาการนอนไม่หลับ มีข้อปฏิบัติบางประการที่อาจช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับได้ ดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน
เป็นพฤติกรรมของผู้สูงอายุบางท่านที่มักนอนตอนกลางวันเนื่องจากระยะเวลาในการนอนกลางคืนไม่เพียงพอ หรือบางท่านคือนอนทั้งกลางคืนและกลางวันด้วยจนเป็นนิสัย ดังนั้นลูกหลานควรอธิบายและแนะนำให้ท่านหลีกเลี่ยงการนอนกลางวันเพื่อที่จะสามารถบรรเทาอาการการนอนหลับไม่สนิทในช่วงกลางคืนได้
2. หลีกเลี่ยงการดื่มนอนก่อนนอน
หากจะให้ดีควรเว้นการดื่มน้ำทีละมากๆ ช่วง 4-5 ชั่วโมงก่อนเข้านอนเพื่อจะช่วยลดการปวดปัสสาวะบ่อยครั้งในตอนกลางดึก
3. เพิ่มกิจกรรมออกกำลังกาย
โดยเพิ่มกิจกรรมให้ท่านได้ออกแรงออกกำลังในช่วงกลางวัน การได้ออกกำลังกายนั้นจะทำให้ท่านได้เผาผลาญและหลับสบายมากขึ้นในช่วงกลางคืน
4. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่ไม่ควร
เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน ชา เนื่องจากเครื่องดื่มเหล่านี้มีคาเฟอีนที่ทำให้ร่างกายหลับได้ยาก ดังนั้นควรหลีกเลี่ยง
5. สภาพแวดล้อมในห้องนอน
ผู้สูงอายุควรมีห้องนอนที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม หลักๆ เลยควรมีความเงียบและมืดพอสมควร มีอากาศที่ถ่ายเท ไม่ร้อนหรือไม่หนาวจนเกินไป
วิธีการรักษาหากหลีกเลี่ยงไม่ได้
1. ยานอนหลับไม่ใช่ทางออก
สิ่งแรกที่ควรทำคือหากผู้สูงอายุท่านนั้นๆ กำลังใช้ยานอนหลับในการรักษาต้องรีบให้หยุดทานโดยทันทีเพราะนอกจากจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุแล้วยังถือเป็นการทำร้ายร่างกายของผู้สูงอายุเองด้วย
2. ฝังเข็ม
เป็นวิธีตามตำราแพทย์จีนโบราณ ที่จะส่งผลให้เลือดลมหมุนเวียนได้ดี แต่การรักษาโดยใช้วิธีนี้ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพราะถือว่าเป็นการรักษาที่เฉพาะทางมากๆ ลูกหลานที่จะพาผู้สูงอายุไปรักษาด้วยวิธีนี้จึงควรศึกษาให้เข้าใจและขอคำแนะนำที่ถูกต้องร่วมด้วย
กล่าวโดยสรุป “ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ” เป็นปัญหาหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะการนอนหลับเป็นเวลาที่ร่างกายจะได้พักผ่อนและฟื้นฟูซ่อมแซมส่วนต่างๆ อีกทั้งยังเป็นการส่งสัญญาณเตือนโรคต่างๆ ที่เราอาจไม่รู้ด้วย ดังนั้นสมาชิกในครอบครัวอย่านิ่งนอนใจหากทำการดูแลและรักษาเบื้องต้นแล้วไม่ได้ผล ควรพาผู้สูงอายุไปพบหมอหรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อการรักษาต่อไป
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
สังเกตภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มีความอันตรายอย่างไร
บทความอื่นๆ
ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ดูแลอย่างไรดี?
ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว ในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร?
5 ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรง