เนื่องจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุมักจะมีอาการปวดเมื่อยบริเวณข้อเข่าจากการเคลื่อนไหวตัวที่ไม่สะดวกหรือจากโรคเรื้อรังต่างๆ ดังนั้นการทำกายภาพบำบัดผู้อายุจึงเป็นหนึ่งในการรักษาแบบฟื้นฟูร่างกายที่นอกจากจะช่วยเสริมสุขภาพที่ป่วยอยู่ในดีขึ้นแล้ว ยังสามารถป้องกันและรักษาโรค เช่น โรคเรื้อรัง โรคข้ออักเสบ และโรคกระดูกพรุนได้ดีอีกด้วย วันนี้รักษ์คุณจึงจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับการทำกายภาพบำบัดในกลุ่มผู้สูงอายุให้ฟังกันค่ะ
กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ คืออะไร?
กายภาพบำบัดสำหรับผู้สูงอายุ (Geriatric Physical Therapy) เป็นการกายภาพบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและยืดหยุ่นให้กับร่างกาย ที่ค่อนข้างเหมาะกับผู้สูงอายุที่ป่วย เช่น
- สูญเสียภาวะการทรงตัว
- สมรรถภาพการมองเห็นลดลง
- โรคทางสมองและระบบประสาท
- โรคข้ออักเสบ
- โรคกระดูกพรุน
- โรคอัลไซเมอร์
- โรคหลอดเลือดในสมอง
- โรคปัสสาวะเล็ด
- ผู้สูงอายุที่ผ่านการรักษาทางการแพทย์ด้วยการผ่าตัดสะโพกและผู้ที่จำเป็นต้องใส่ข้อเข่าเทียม
การทำกายภาพบำบัดผู้สูงอายุ จำเป็นอย่างไร?
สาเหตุที่การทำกายภาพบำบัดมีความสำคัญกับผู้สูงอายุเนื่องจาก การทำกายภาพบำบัดจะช่วยฟื้นฟูร่างกายของผู้สูงอายุให้สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย เพราในบางครั้งอาการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุบางอย่างอาจส่งผลต่อการขยับร่างกายที่ยากขึ้น ส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้สูงอายุที่อาจจะรู้สึกอ่อนแอ สิ้นหวัง รู้สึกเป็นภาระของลูกหลาน แต่หากได้รับการรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดนั้น จะช่วยรักษา และช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้ท่านได้ ซึ่งประโยชน์ของกายภาพบำบัดนั้นก็มีประโยชน์มากมายเลยค่ะ
ประโยชน์ของกายภาพบำบัดผู้สูงอายุ
- ลดและบรรเทาอาการเจ็บปวดจากอาการป่วยตามกล้ามเนื้อ
- ช่วยเพิ่มสมรรถภาพร่างกายของผู้สูงอายุให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้
- บรรเทาอาการปวดตามข้อต่อ กระดูก
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อและข้อต่อ
- เพิ่มความสมดุลในร่างกาย
- ช่วยเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุให้สามารถเคลื่อนไหวได้ดีและปลอดภัย
- ช่วยฝึกการใช้เครื่องมือพยุงร่างกาย เช่น ไม้เท้า
- ลด
- ในกรณีกายภาพบำบัดผู้สูงอายุระยะพักฟื้น จะช่วยลดการเกิด
กายภาพบำบัดผู้สูงอายุมีกี่วิธี?
- กายภาพบำบัดทั่วไป (Manual Therapy) เป็นการกายภาพบำบัดด้วยมือของนักกายภาพบำบัดเพื่อให้ร่างกายผ่อนคลาย ลดอาการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อให้คลายตัวลง เพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ร่างกายและช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น
- กายภาพบำบัดประคบเย็น (Cold Therapy) เป็นการประคบเย็นด้วยอุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียสหลังมีการบาดเจ็บเฉียบพลันไม่เกิน 24-72 ชม. หรือหลังการผ่าตัด การประคบเย็นจะช่วยลดการเจ็บปวดและอาการอักเสบให้ทุเลาลง ใช้เวลาประคบประมาณ 15 – 20 นาทีต่อครั้ง
- กายภาพบำบัดประคบร้อน (Heat Therapy) เป็นกายภาพบำบัดที่เน้นการประคบร้อนบริเวณหลัง บ่า ไหล่ด้วยอุณหภูมิ 40 – 45 องศา นิยมใช้ประคบในช่วงก่อนหรือหลังการออกกำลังกาย ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายเลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น บรรเทาอาการผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเสื่อม
- กายภาพวารีบำบัด (Hydrotherapy) เป็นการทำกายภาพบำบัดชนิดหนึ่งที่ผู้สูงอายุจะต้องลงไปในสระว่ายน้ำหรือบ่อน้ำโดยอาศัยแรงต้านของน้ำมาช่วยในการรักษา ข้อดีของการรักษารูปแบบนี้จะช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่ออ่อนของร่างกาย ช่วยลดแรงกระแทกตามข้อต่อทำให้ไม่มีอาการเจ็บปวดระหว่างการทำกายภาพ ฝึกการทรงตัว เพิ่มความยืดหยุ่นในกล้ามเนื้อ
- กายภาพบำบัดด้วยการกระตุ้นไฟฟ้า เป็นการรักษาด้วยการเน้นกระตุ้นการทำงานของเซลล์ ลดอาการเจ็บปวดฟื้นฟูการเจ็บป่วยของโรคทางสมองและระบบประสาท กระตุ้นให้เลือดไหลเวียนได้ดี
- กายภาพบำบัดด้วยอัลตราซาวด์ (Ultrasound) เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เข้ามาประยุกต์ใช้กับศาสตร์กายภาพบำบัด โดยใช้คลื่นเสียงเข้าไปกระตุ้นการซ่อมแซมเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ เพื่อลดอาการปวด ลดอาการกล้ามเนื้อกระตุก หรือได้รับอาการบาดเจ็บแบบเฉียบพลัน เช่น หกล้ม
** ในแต่ละกรณีจำเป็นต้องได้รับการดูแลโดยทีมแพทย์ พยาบาลและนักกายภาพบำบัดอย่างใกล้ชิด เพื่อทำการประเมินร่างกายของผู้สูงอายุก่อนรับบริการทุกครั้งและจะประเมินแผนการรักษาในแต่ละประเภทให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน
บทความอื่นๆ
ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ดูแลอย่างไรดี?
ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว ในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร?
5 ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรง