8 โรคผู้สูงอายุที่ควรระวัง มีอะไรบ้าง?

โรคผู้สูงอายุ  “ยิ่งอายุเราเพิ่มขึ้นโรคภัยก็เพิ่มขึ้นตามมาด้วย” เป็นคำกล่าวไม่เกินจริงและปฏิเสธไม่ได้เลยเพราะเมื่ออายุเริ่มเข้าสู่การเป็นผู้สูงวัยไม่ว่าจะ 50 ปี หรือ 60 ปีขึ้นไป การหาหมอ-หาผู้เชี่ยวชาญก็กลายเป็นวงการที่เข้าแล้วออกยากขึ้นมาทันที อย่างไรก็ดีใช่ว่าโรคถามหาแล้วเราจะดูแลและป้องกันให้ผู้สูงวัยในครอบครัวไม่ได้เลยก็ไม่ใช่ซะทีเดียว ดังนั้นก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกับ 8 โรคผู้สูงอายุที่ควรระวังว่ามีอะไรบ้าง และแต่ละโรคมีการดูแลรักษาอย่างไร

8 โรคผู้สูงอายุที่ควรระวัง มีอะไรบ้าง?

มารู้จัก 8 โรคผู้สูงอายุที่ควรระวัง มีอะไรบ้าง

1.โรคหัวใจ

สาเหตุของโรคหัวใจ

เกิดจากความเสื่อมของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจซึ่งส่งผลให้การหมุนเวียนเลือดในหัวใจทำงานได้ไม่เต็มที่

อาการของโรคหัวใจ

  • อาการเหนื่อยง่าย เวลาออกแรง
  • หอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ ต้องหนุนหมอนสูง
  • แน่นหน้าอก
  • ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม

วิธีการป้องกันโรคหัวใจ

  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน
  • รับประทานอาหารที่มีประโยนช์และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ลดความเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ตรวจสุขภาพอยู่เสมอ

2. โรคต้อกระจกตา

สาเหตุของโรคต้อกระจกตา

เกิดจากเลนส์แก้วตาเสื่อมสภาพจนมีความขุ่นมัวเกิดขึ้น ทำให้บดบังแสงที่จะผ่านเข้าไปในตา แสงจึงส่งผ่านไปยังประสาทตาไม่เต็มที่ ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจนหรือมีอาการตามัวได้

อาการของโรคต้อกระจกตา

  • มองไม่ชัดอย่างช้า ๆ ไม่มีการอักเสบหรือปวด
  • ภาพซ้อน สายตาพร่า เกิดจากความขุ่นของเลนส์แก้วตาไม่เท่ากัน
  • สู้แสงสว่างไม่ได้ มองเห็นแสงไฟกระจาย โดยเฉพาะขณะขับรถในตอนกลางคืน
  • มองเห็นสีต่าง ๆ ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ต้องการแสงสว่างมากขึ้นในการมอง
  • เมื่อต้อกระจกสุกอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนและสูญเสียการมองเห็นได้

วิธีการป้องกันโรคต้อกระจกตา

  • สวมแว่นกันแดดเพื่อป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินเอ อี และซี ช่วยบำรุงสายตา
  • พยายามตรวจสายตาเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป

3. โรคความดันโลหิตสูง

สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง มักพบในผู้ป่วยวัยกลางคนและผู้สูงวัยซึ่งเกิดใาได้จากหลายสาเหตุ เช่น น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน, โรคอ้วน, การบริโภคเกลือเกิน, ภาวะเครียดและการมีโรคประจำตัวอื่นๆ ที่พบร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง เช่น เบาหวาน โรคไต

อาการของโรคความดันโลหิตสูง

โดยส่วนใหญ่แล้วโรคความดันโลหิตจะยังไม่แสดงอาการในระยะแรกๆ แต่ก็ยังพอมีอาการที่เด่นชัดให้พอสังเกตได้ เช่น

  • มีอาการเวียนศีรษะเป็นๆ หายๆ
  • ปวดบริเวณท้ายทอยช่วงเช้าหลังตื่นนอน
  • คลื่นไส้และอาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • หากเป็นผู้ที่มีอาการรุนแรงก็จะมีเลือดกำเดาไหล หอบ และไม่สามารถนอนราบได้ร่วมอยู่ด้วย

วิธีป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

เป็นการป้องกันโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ที่ทำในชีวิตประจำวัน
  • ลดความเครียด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกาลังกายที่เหมาะสมสาหรับผู้สูงอายุ
  • ลดอาหารเค็ม ควรเลือกอาหารที่ใส่เกลือ หรือน้าปลาน้อยที่สุด
  • งดหรือเลิกสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์

4. โรคข้อเข่าอักเสบ (เข่าเสื่อม, ปวดเข่า)

สาเหตุของโรคข้อเข่าอักเสบ

ผลสะสมจากความเสื่อมและการใช้ข้อเข่าที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่วัยหนุ่มสาว การที่มีน้ำหนักตัวมาก ๆ ทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในทุกขณะที่ก้าวเดิน หรือเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่ามาก่อน บางรายเคยมีการอักเสบติดเชื้อ หรือเป็นโรคไขข้อ บางชนิด

อาการของโรคข้อเข่าอักเสบ

  • เริ่มจากปวดเป็นระยะๆ เมื่อได้พักการใช้เข่าอาการปวดก็จะทุเลาแต่จะปวดมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานข้อนั้นมาก
  • ข้อฝืด ใช้งานได้ไม่ถนัดและในบางรายอาจรู้สึกได้ถึงการติดขัดของข้อ
  • ข้อผิดรูปและเข่าบวม
  • มักมีปัญหากับการเคลื่อนไหวในบางกิจกรรม เช่น ลุกและนั่งจากเก้าอี้ระดับต่ำ ขึ้นและลงบันได ฯลฯ

วิธีป้องกันโรคข้อเข่าอักเสบ

  • บริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า โดยอาจจะเป็นท่าบริหารง่ายๆ เช่น การเหยียดขาตรง นั่งไขว้สลับข้าง ครั้งละ 10-20 ครั้ง/ วันละ 2-3 ชุด
  • ใช้ข้ออย่างถูกวิธี เนื่องจากการบาดเจ็บข้อต่างๆอาจเกิดจากบางอริยาบทในชีวิตประจำวันที่ทำอย่างกระทันหันและไม่เหมาะสม จึงทำให้การเสื่อมของข้อเร็วขึ้นดังนั้นควรระมัดระวังให้มากขึ้นในการทำกิจกรรมเหล่านี้ เช่น การหมุนตัว การลุก การเดิน
  • ลดน้ำหนักหากเกินมาตรฐาน เพราะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ข้อต่างๆ หัวเขา และกระดูกต้องรับน้ำหนักตัว ดังนั้นจึงควรลดน้ำหนักเมื่อน้ำหนักเกินมาตราฐานเพื่อให้สมดุลกับร่างกายมากขึ้น
 

5. โรคไต

สาเหตุของโรคไต

ไต เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อสุขภาพมากๆ โดยไตมีหน้าที่ในการกำจัดของเสียออกจากร่างกายผ่านทางระบบขับถ่ายทางเดินปัสสาวะ ในผู้สูงอายุไตจะเกิดการเสื่อมสภาพ ทำให้สามารถทำงานได้ลดลง  ส่งผลถึงการทำงานของเนื้อเยื่ออวัยวะต่างๆ ทำให้ไม่สามารถทำงานต่อได้ปกติ จนในที่สุด อาจเกิดการเสียชีวิตจากภาวะไตวาย

อาการของโรคไต

  • ระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ ปัสสาวะเป็นเลือด มีความเสี่ยงอย่างมากที่จะเป็นโรคไต
  • การผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ เช่น การถ่ายปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะ ปัสสาวะแสบ
  • มีน้ำในร่างกายมากเพราะไตขับออกไม่ได้
  • ซีดหรือโลหิตจาง ร่วมกับอาการอ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย

วิธีป้องกันโรคไต

  • ควบคุมอาหารรสเค็มเพื่อไม่ให้ไตทำงานหนักและควบคุมความดันได้ในเวลาเดียวกัน
  • ลดอาหารที่มีไขมันสูง
  • ดื่มน้ำเปล่าที่มีอุณหภูมิห้องให้สม่ำเสมอ
  • ควบคุมยาที่มีผลกับไต โดยเฉพาะยาที่ไม่ทราบสรรพคุณที่แน่ชัด เช่น ยาสมุนไพรต่างๆ

6. โรคเบาหวาน

สาเหตุของโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และพบมากถึงร้อยละ 20 ในคนไทยที่อายุมากกว่า 60 ปี สาเหตุที่ผู้สูงอายุมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้มากกว่าคนที่อายุน้อยเนื่องจากอายุที่มากขึ้นจะมีการเสื่อมของตับอ่อนที่ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนอินสุลินที่ใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้การที่อายุมากขึ้นยังอาจทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินสุลินหรือทำให้ฮอร์โมนอินสุลินออกฤทธิ์ได้น้อยลงเช่นกัน

อาการของโรคเบาหวาน

  • ปัสสาวะบ่อยทีละปริมาณมากๆเนื่องจากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนล้นออกทางปัสสาวะ และดึงน้ำออกมาด้วย
  • หิวน้ำบ่อยและรับประทานอาหารได้มาก
  • ชาปลายมือและปลายเท้า จากการเสื่อมของเส้นประสาท
  • น้ำหนักลดหรืออ่อนเพลีย เนื่องจากน้ำตาลในร่างกายไม่สามารถถูกเผาผลาญมาเป็นพลังงานได้ ร่างกายจึงสลายเนื้อเยื่อบางส่วนมาใช้แทน

วิธีป้องกันโรคเบาหวาน

  • ใช้ยาที่ถูกต้องภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
  • รับประทานอาหารให้ตรงเวลาอยู่เสมอ
  • ลดการรับประทานอาหารมันและอาหารที่มีรสชาติหวานและเค็ม
  • ดื่มน้ำสะอาดวันละ 8 แก้ว

7. โรคในช่องปาก (เหงือกร่อน, เหงือกอักเสบ)

สาเหตุของโรคในช่องปาก

ปัญหาในช่องปากที่พบบ่อยในผู้สูงอายุทั่วไป ได้แก่ โรคฟันผุโดยเฉพาะฟันผุส่วนรากฟัน พบฟันสึกและเหงือกร่นได้บ่อย ปัญหาที่เกิดจากฟันเทียมหลวมหรือเสียดสี เป็นแผลที่เหงือก ที่ลิ้น หรือที่มุมปาก เป็นต้น ซึ่งบางรายอาจมาจากการแปลงฟันไม่สะอาดหรือสูบบุรี่ ทั้งนี้หากยิ่งเป็นผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพยิ่งต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

อาการของโรคในช่องปาก

  • ขอบเหงือกแดงและบวม
  • มีเลือดออกขณะที่แปลงฟัน
  • ฟันโยกและเหงือกร่น
  • เหงือกบวมมีหนอง
  • มีกลิ่นปาก

วิธีป้องกันโรคในช่องปาก

  • แปรงฟันให้สะอาดและคอยทำความความสะอาดซอกฟันอยู่เสมอ
  • พบหมอฟันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ควบคุมโรคเบาหวาน
  • หลีกเลี่งการสูบบุหรี

8. โรคหลอดเลือดสมอง

สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมองถือว่าเป็นโรคสาเหตุทำให้ผู้สูงอายุไทยสูญเสียปีสุขภาวะเป็นอันดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 10.6 และเป็นสาเหตุการ
เสียชีวิตในประชากรไทยสูงเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็งเลยทีเดียว สาเหตุเกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงตีบแข็งทั่วร่างกายเป็นภาวะที่สมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ทำให้สมองหยุดทำงานเฉียบพลัน มาจากอาการขาดอาหารและเลือดไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้เซลล์สมองตายในที่สุด

อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกาย ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานทุกระบบ เช่น การเคลื่อนไหว ระบบประสาทสัมผัสต่างๆ เป็นต้น สมองในตำแหน่งต่างๆทำหน้าที่แตกต่างกันไปแต่มีอาการหลักๆ ที่สามารถสังเกตได้ ดังนี้

  • ร่างกายครึ่งซีกอ่อนแรงและมีอาการชา
  • เวียนศีรษะและเดินเซ
  • ตาพล่ามัวและมองเห็นภาพซ้อน
  • พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง
  • เซื่องซึมโดยไม่รู้ตัว

วิธีป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

  • งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงดื่มเหล้า
  • หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ
  • ลดการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มจัด
  • บริโภคอาหารที่มีคอเลสเตอรอลและไขมันต่ำ อาหารที่มีเส้นใยสูง
  • รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

อย่างไรก็ดี ทั้ง 8 โรคผู้สูงอายุดังกล่าวนี้เป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น โดยยังมีอีกหลายโรคมากมายในผู้สูงอายุที่ลูกหลานทางบ้านพึงระวังให้กับผู้สูงอายุในครอบครัว สิ่งสำคัญคือการคอยดูแลและใส่ใจป้องกันภัยเงียบต่างๆเหล่านี้ภายใต้คำแนะนำที่ถูกต้องจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อสุขภาพที่ดีของสมาชิกสูงวัยในบ้านของเรา

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สังเกตภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มีความอันตรายอย่างไร

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) คืออะไร?

การดูแลผู้สูงอายุอย่างไรให้สุขภาพดี มีความสุข อายุยืนยาว

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง