ไม้เท้าผู้สูงอายุเลือกอย่างไร 3 วิธีช่วยเลือกให้เหมาะ

“ไม้เท้า” อุปกรณ์ที่หลายๆ คนมองว่าเป็นเพียงสิ่งที่มาเป็นตัวช่วยให้กับผู้สูงเท่านั้น ซื้อแบบใดก็เหมือนกันไม่ต้องคัดสรรอะไรมากมาย หากแต่สำหรับผู้สูงอายุแล้วอุปกรณ์ช่วยเดินชนิดนี้อาจเป็นเพื่อนเก่าเพื่อนแก่และผู้ช่วยในยามยากของท่านก็เป็นได้ เพราะต้องคอยอาศัยไว้ช่วยเดินไปไหนมาไหนตามที่ต้องการ เปรียบเสมือนเป็นอีกหนึ่งอวัยวะในร่างกายเลยก็ว่าได้

ไม้เท้าผู้สูงอายุเลือกอย่างไร 3 วิธีช่วยเลือกให้เหมาะ

“ไม้เท้า” ผู้สูงอายุมีความสำคัญอย่างไร-ทำไมต้องพิถีพิถันในการเลือก

1. เพราะปัญหาด้านสุขภาพ

เนื่องจากวัยสูงอายุ เป็นวัยที่ประสบปัญหาทางต่างๆ ด้านสุขภาพอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นโรคประจำตัวเรื้อรัง หรือความอ่อนแอลงทางร่างกายตามกาลเวลา จนทำให้การเคลื่อนไหวในทุกๆ อิริยาบถในชีวิตประจำวันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ดังนั้น การดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด รวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆ สำหรับ ผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่บุตรหลานควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง

2. เพราะบางท่านจำเป็นต้องใช้

เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการเคลื่อนไหว นอกจากปัญหาในเรื่องสุขภาพแล้ว ผู้สูงอายุบางท่านประสบปัญหาการได้รับบาทเจ็บต่างๆ เช่น แผลจากการผ่าตัด โรคข้ออักเสบ เป็นต้น การมีอุปกรณ์ชนิดนี้จึงทำให้พวกท่านรู้สึกปลอดภัยยิ่งขึ้นเมื่อเริ่มเดิน ลุก นั่ง เพราะเป็นการช่วยพยุงร่างกายเอาไว้ให้เกิดความสมดุล และเพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวไปมาได้อย่างสะดวก

 

“3 วิธี” ช่วยเลือกอุปกรณ์ช่วยเดินให้เหมาะกับผู้สูงอายุ

คนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิดของผู้สูงอายุควรเลือกซื้อไม้ที่เหมาะแก่ปัญหาของพวกท่าน โดยอาจขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรืออ่านคู่มือประกอบ ซึ่งสามารถพิจารณาจากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ ดังต่อไปนี้

1. น้ำหนัก

หากไม้มีน้ำหนักที่เบา หรือหนักจนเกินไป อาจทำให้ผู้สูงอายุยกขึ้นยาก และอาจเสี่ยงต่อการล้มเจ็บได้ง่าย ดังนั้นอาจเลือกวัสดุที่มีน้ำหนักค่อนข้างพอดีอย่าง อลูมิเนียมอัลลอย ทดแทนไม้ที่ทำจากไม้อัดแข็งโดยตรง

2. สังเกตด้ามจับและปลายของไม้

ส่วนของด้ามจับควรพอดีมือแก่ผู้สูงอายุไม่ควรมีขนาดที่เล็กกะทัดรัด ซึ่งวัสดุที่ใช้ควรเป็นยาง หรือพลาสติกที่ป้องกันการลื่นจากเหงื่อได้เป็นอย่างดี และในส่วนของปลายไม้ที่ดีควรมีดอกยางที่ยึดเกาะพื้นผิวต่างๆ ไม่นิ่ม และต้องไม่รู้สึกลื่นจนเกินไป ไม่เช่นนั้น อาจทำให้ในการเคลื่อนไหวแต่ละครั้งของผู้สูงอายุไม่ปลอดภัย ดังนั้นจึงควรดูให้ดี

3. ระดับความสูง

วิธีการตรวจสอบคุณสามารถนำมาวัดได้ โดยการจับจะต้องอยู่ในท่าที่ไม่เกิดการโน้มตัวลง และลักษณะการจับข้อศอกของคุณจะอยู่ในมุมที่ค่อนข้างสบายโดยงอไปด้านหลังแบบอัตโนมัติประมาณ 15 องศา  เพื่อเป็นการทรงตัวเมื่อเริ่มเคลื่อนไหว

 อุปกรณ์ช่วยพยุงและเดิน 4 แบบ แบบใดเหมาะกับใครบ้าง?

1.ไม้เท้า

  • แบบทั่วไป

เป็นอุปกรณ์ช่วยเดินที่หลายคนรู้จักดี มีราคาที่ไม่แพง ไม้ชนิดนี้มักทำจากไม้เนื้อแข็งหรืออะลูมิเนียม ปรับความสูงได้ มีหลากหลายรูปแบบ

  • ไม้แบบ 3 ขา และ 4 ขา

ให้ความมั่นคงในการเดินมากกว่าไม้แบบทั่วไป แต่ใช้พื้นที่ในการเดินที่มากขึ้น ลักษณะเด่นของไม้ประเภทนี้คือมีจุดรองรับน้ำหนัก หรือ จุด มีฐานรองรับน้ำหนักที่กว้าง ทำจากอะลูมิเนียมหรือวัสดุอื่นๆ ซึ่งจะสามารถปรับความสูงได้ ง่ายต่อการใช้งาน เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเดียวกันกับไม้แบบทั่วไป

เหมาะสำหรับ:

ใช้กับคนที่มีอาการปวดเข่าหรือปวดสะโพก และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีปัญหาการอ่อนแรงครึ่งซีก

ไม่เหมาะกับ:

ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องกระดูกหัก เนื่องจากอาจจะรองรับน้ำหนักตัวได้ไม่เพียงพอ

2. วอล์คเกอร์ (Walker)

วอล์คเกอร์ เป็นอุปกรณ์ช่วยพยุงเดินที่มีความมั่นคงมากที่สุด เนื่องจากมีลักษณะจะมี ขา เป็นฐานการรองรับน้ำหนักที่กว้าง น้ำหนักเบาและเดินได้ง่าย นอกจากนี้ มีรุ่น 4 ขา แบบติด 2 ล้อหน้า

เหมาะสำหรับ:

ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาการทรงตัวไม่ดีใส่ขาเทียม

ไม่เหมาะกับ:

ผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงแขนทั้ง ข้างไม่สามารถยกวอร์คเกอร์ได้ หรือการทำงานของแขนไม่สัมพันธ์กัน เช่น ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

3.ไม้ค้ำยัน

ไม้ค้ำยัน เป็นอุปกรณ์ช่วยเดินที่จะเปลี่ยนการถ่ายน้ำหนักจากขาไปที่ส่วนบนของร่างกาย ซึ่งประเภทของไม้ค้ำยันมีให้เลือก 2 แบบใหญ่ๆ คือ ไม้ค้ำยันรักแร้ และ ไม้ค้ำยันท่อนแขน ขึ้นกับความถนัดของผู้ใช้ อาจจะใช้ในช่วงระยะสั้นๆ ระหว่างบาดเจ็บ เช่น กระดูกขาหัก ข้อเท้าแพลง เป็นต้น หรืออาจใช้ตลอดชีวิตเช่น ผู้พิการสูญเสียขา

เหมาะสำหรับ:

คนที่ไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้เต็มที่ หรือไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้

ไม่เหมาะกับ:

ผู้ต้องการไม้ทั่วไป

4.โรเลเตอร์ (Rollator)

รถเข็นช่วยเดินโรเลเตอร์ เป็นอุปกรณ์ช่วยเดินที่มีล้อแมกซ์ 3-4 ล้อ มีเบรกมือ สามารถเก็บสิ่งของ ปรับระดับความสูงได้

เหมาะสำหรับ:

ผู้สูงอายุที่ยังพอเดินได้บ้างและมีกิจกรรมชอบออกนอกบ้าน เช่น ไปจ่ายตลาด เดินเล่นในสวนสาธารณะ เป็นต้น

ไม่เหมาะกับ:

ผู้ต้องการไม้ทั่วไป

อย่างไรก็ดี อุปกรณ์ชนิดนี้เป็นชิ้นที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งตามข้อมูลที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากลูกหลานครอบครัวใดยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกแบบใดก็สามารถปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญได้เพื่อที่จะนำคำแนะนำมาใช้พิจารณาในการประกอบการตัดสินใจ เพราะการมีอุปกรณ์ผู้สูงอายุที่ดีและมีคุณภาพก็เท่ากับคนในบ้านสามารถวางใจในความปลอดภัยของผู้สูงอายุได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง