สังเกตภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มีความอันตรายอย่างไร

ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเป็นภาวะหนึ่งที่ลูกหลานจะต้องให้ความสนใจเพราะว่าสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้สูงวัยที่มักจะเกิดขึ้นในผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไป วันนี้เรามีวิธีสาเหตุของการเกิดภาวะซึมเศร้า อาการและวิธีป้องกันมาฝากกันค่ะ

สังเกตภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มีความอันตรายอย่างไร

 

ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ คืออะไร?

อาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุ คือ อาการป่วยของโรคชนิดหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ในกลุ่มผู้สูงอายุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ก่อนเข้าวัยสูงอายุและหลังจากเข้าสู่วัยสูงอายุ ซึ่งอาการของโรคจะมีความรุนแรงตั้งแต่ภาวะซึมเศร้าเล็กน้อยไปจนถึงอาจมีอาการจิตเวชร่วมด้วย อารมณ์ไม่แจ่มใส รู้สึกหดหู่ บางเคสอาจมีความคิดสั้น คิดฆ่าตัวตาย สามารถรักษาได้ด้วยการเข้าพบจิตแพทย์

สาเหตุของโรคซึมเศร้าในสูงอายุ

ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุนั้นหากไม่ใช่อาการป่วยที่ติดตัวมาตั้งแต่สมัยวัยรุ่นหรือวัยทำงาน ก็มักจะเกิดในวัยผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นการสูญเสียคู่ชีวิตที่อยู่ร่วมกันมาทั้งชีวิตหรือคนในครอบครัว ในบางรายอาจจะเกิดจากการสูญเสียสถานะทางสังคม เช่น ชีวิตหลังเกษียณที่เคยทำงาน เคยพบเจอสังคม เจอเพื่อน และเมื่อมาอยู่ในบ้านคนเดียวก็ไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิต หรือ เกิดความกังวลเรื่องรายได้ และบางรายก็เกิดจากการเหงาโดดเดี่ยวที่ต้องอยู่บ้านคนเดียวตามลำพังปราศจากลูกหลานห้อมล้อม

แต่ในบางกรณีโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุนั้น บางครั้งก็ถูกกระตุ้นโดยโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ไขมันในเลือด ความดัน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคสมองเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคพาร์กินสันจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป

อาการของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

อาการของโรคซึมเศร้าของผู้สูงวัย คนในครอบครัวสามารถสังเกตอาการของได้ ดังนี้

  • ทานอาหารได้น้อยลงกว่าปกติ แม้จะเป็นอาหารที่ชอบ ในบางรายอาจจะทานได้เยอะกว่าเดิม
  • นอนน้อยกว่าปกติ ตื่นกลางดึก หรือในบางรายก็มักจะนอนทั้งวัน
  • ดูคล้ายกับมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง
  • ไม่อยากทำอะไร ความสนใจต่อสิ่งต่างๆ ลดน้อยลง
  • เสียความมั่นใจรู้สึกว่าไร้ค่า ชอบพูดจาโทษตัวเอง
  • จากที่เคยเป็นคนที่เข้าสังคมก็ปิดกั้น ไม่พบเพื่อนฝูง เก็บตัวมากขึ้น
  • มีอารมณ์รุนแรง หงุดหงิดง่าย แต่ในบางครั้งก็มีอาการเศร้าซึม หดหู่
  • มีความพยายามจะทำร้ายตัวเอง หรือ มีแนวโน้มว่าคิดสั้น

วิธีรักษาและดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า

หากผู้สูงอายุที่บ้านมีแนวโน้มของอาการป่วยซึมเศร้า คนในครอบครัวควรที่จะรีบพามาปรึกษาจิตแพทย์เพื่อวางแผนการรักษา ซึ่งในขั้นตอนการรักษาจำเป็นต้องใช้ยาจิตเวชเป็นหลัก คนในครอบครัวควรดูแลการทานยาให้ตรงเวลาครบทุกมื้อตามที่แพทย์สั่งโดยที่ห้ามลดหรือเพิ่มขนาดยาเองและควรพาผู้ป่วยเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องตามนัดแพทย์ทุกครั้ง นอกจากนี้คนในครอบครัวควรที่จะให้กำลังใจและควบคุมปัจจัยกระตุ้นไม่ให้ผู้ป่วยเกิดอาการกำเริบขึ้นมาอีก ควรให้ความเอาใจใส่ พูดคุยให้บ่อยขึ้น ไม่ควรทิ้งผู้ป่วยไว้ตามลำพัง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีแนวโน้มทำร้ายตัวเอง คนในครอบครัวจะต้องเก็บของมีคมทุกชิ้นให้ห่างจากมือผู้ป่วยให้หมดเพื่อป้องกันเหตุไม่คาดฝัน

แต่สำหรับครอบครัวไหนเป็นครอบครัวที่ต้องออกไปทำงานกันทุกวัน ไม่มีใครสามารถดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดได้ สามารถใช้บริการบ้านพักผู้สูงอายุระยะสั้น หรือ เนอร์สซิ่งโฮมสำหรับดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะ ก็สามารถช่วยลดปัญหาการดูแลผู้ป่วยได้

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง