“ใจสั่น” อาการในผู้สูงอายุกับ 6 สาเหตุที่ไม่น่าวางใจ

“ใจสั่น” เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัย หากแต่ในผู้สูงวัยนั้นจะเกิดขึ้นบ่อยกว่าวัยอื่นๆ ซึ่งอาการประเภทนี้มักที่จู่ๆ ก็เกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุว่ามากจากอะไร บางรายอาจเกิดขึ้นสักครู่แล้วหายไปเองหรือบางรายอาจเป็นถี่ๆ เป็นหลายครั้งต่อวัน ซึ่งนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าผู้สูงอายุในครอบครัวของคุณอาจตกอยู่กับการเป็นโรคร้ายแรงหรือเปล่า

"ใจสั่น" อาการในผู้สูงอายุกับ 6 สาเหตุที่ไม่น่าวางใจ

จู่ๆ ก็ “ใจสั่น” อาการนี้คืออะไรกันแน่

เป็นความรู้สึกที่หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะช้า เร็ว กระตุก หรือสะดุด ผลของอาการประเภทนี้เป็นได้ตั้งแต่มีอาการรำคาญ เหนื่อยง่าย อัมพาต ไปจนถึงเสียชีวิตกะทันหัน อาการนี้พบได้บ่อยโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจและอาจพบร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย เวียนศีรษะ หรือหมดสติ เป็นต้น

การเต้นของหัวใจในภาวะปกติ

หัวใจเต้นได้โดยอัตโนมัติ โดยปกติแล้วหัวใจห้องบนจะเริ่มเต้นก่อน แล้วจึงส่งกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นหัวใจห้องล่าง อัตราการเต้นของหัวใจขึ้นกับสภาพร่างกายและกิจกรรมที่ทำ เช่น เวลานอนหลับหัวใจจะเต้นช้ากว่าเวลาที่ออกกำลังหรือภาวะไข้สูง หัวใจจะเต้นเร็วขึ้น การเต้นของหัวใจในภาวะปกติจะอยู่ในช่วง 50-100 ครั้งต่อนาที

 6 สาเหตุที่ไม่น่าวางใจ

โรคหัวใจหลาย ๆ ชนิด ทำให้เกิดอาการนี้ได้จากการที่มีหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เช่น โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหัวใจโตหรือในผู้ป่วยบางคนเกิดจากความผิดปกติของไฟฟ้าในหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิด นอกจากโรคหัวใจแล้ว มีอีกหลายภาวะที่อาจทำให้เกิดอาการได้ เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคโลหิตจาง หรือในบุคคลที่ใช้สารเสพติด เช่น ยาบ้าหรือยาอี เป็นต้น ซึ่งนอกจากเรื่องสุขภาพในบางรายที่อาจเป็นก็ยังมีสาเหตุอื่นๆ ได้อีก ดังนี้

1. ความเครียด วิตกกังวล โรคแพนิค

ทั้งสองปัจจัยนี้ มีผลเร่งการเต้นของหัวใจหลั่งออกมา เพื่อให้ร่างกายพร้อมที่จะเผชิญความกลัว แม้จะไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่เป็นอันตรายก็ตาม ส่งผลให้เกิดอาการ ใจเต้นเร็ว เหงื่อแตก สั่น หายใจติดขัด และเจ็บหน้าอกได้

2. ได้รับคาเฟอีนมากเกิน

เพราะคาเฟอีนเป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นการเต้นของหัวใจใจเร็วกว่าปกติได้ นอกจากกาแฟแล้ว คาเฟอีนยังพบจากอาหารหรือเครื่องดื่มอื่นๆ ได้อีก เช่น ชา ช็อกโกแลต โซดา เครื่องดื่มชูกำลังต่างๆ เป็นต้น

3. การออกกำลังกายที่มากเกินกำลัง

หากผู้สูงอายุทำการออกกำลังกายที่เกินกำลังมากๆ อาจทำให้หัวใจของท่านเต้นเร็วขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ทัน ทำให้หัวใจทำงานหนักเกินไป เต้นแรงและเร็วขึ้น จนกระทั่งเกิดอาการใจเต้นผิดปกติจนท่านรู้สึกได้

 

4. การรับประทานยาบางชนิด

ผู้สูงอายุบางรายอาจจะต้องรับประทานยาบางชนิดทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นสะดุดได้ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาลดน้ำหนัก หรือ ยาลดความดัน เป็นต้น ซึ่งหากรับประทานยาเหล่านี้ร่วมกันก็อาจทำให้มีอาการได้

5. ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำจนเกินไป

จริงอยู่ที่หากมีน้ำตาลในร่างกายของผู้สูงอายุมากๆ ก็จะไม่ดีนัก แต่ในข้อนี้บุตรหลานในครอบครัวควรใส่ใจให้มากๆ เนื่องจากหากมีระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงวัยจนต่ำเกินไปก็ส่งผลเสียในการทำงานของหัวใจของท่านเช่นเดียวกัน

6. การมีไข้หรือติดเชื้อ

การมีไข้มากกว่า 37.8°C เป็นหนึ่งในสภาวะที่เกิดขึ้นบ่อยเมื่อผู้สูงอายุป่วย ทำให้ร่างกายของท่านใช้พลังงานมากขึ้นเพื่อต่อสู้กับความเจ็บป่วย หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้หัวใจสูบฉีดแรงและเร็วขึ้นได้

ทำอย่างไรเมื่อผู้สูงอายุ “ใจสั่น”

  •  หยุดพัก หากผู้สูงอายุท่านนั้นๆ ได้ทำกิจกรรมอะไรที่ต้องออกแรงเยอะๆ เช่น การยกของที่ต้องใช้แรง ออกกำลังกาย เป็นต้น หากมีอาการใจเต้นเร็วผิดปกติ บุตรหลานควรดูแลให้ท่านหยุดทำกิจกรรมนั้นๆ โดยทันที
  • พบแพทย์ด่วน ถ้ามีอาการเหล่านี้ ได้แก่ เจ็บหน้าอก เหนื่อย เป็นลม
  • งดชา กาแฟ บุหรี่ เหล้า สารเสพติด หรือ เครื่องดื่มใดๆ ที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ

อย่างไรก็ดี หากหลีกเลี่ยงสาเหตุหรือสิ่งกระตุ้นดังกล่าว และปรับพฤติกรรมแล้วแต่ก็ยังไม่ได้ผล แนะนำให้มาทำการตรวจวินิจฉัย หรือหากมีอาการที่ผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เจ็บหน้าอก แน่นหายใจไม่ออก ควรเข้าพบแพทย์ทันทีเพื่อที่ผู้สูงอายุจะได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญที่ถูกต้องต่อไป


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง