“สายตายาว” ปัญหาของใครหลายๆ คน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ แท้จริงแล้วปัญหาทางสายนั้นมีได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น ยาว และเอียง ซึ่งตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าปัญหาเช่นนี้สามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัยเพราะนอกจากค่าสายตาจะเปลี่ยนไปตามอายุแล้ว บางรายก็ยังสามารถมีปัญหาสายตาตั้งแต่กำเนิดได้ด้วยนั่นเอง
ภาวะสายตายาวตามวัย
สายตายาวตามวัย ไม่ใช่ ภาวะสายตายาว
เป็นเรื่องที่มักเข้าใจผิดกันว่าปัญหาทางสายตา 2 แบบนี้คือปัญหาเดียวกัน แต่แท้จริงแล้วเรื่องของสายตายาวนั้น มีด้วยกัน 2 ประเภทหลักๆ อย่างแรก คือ สายตายาวตั้งแต่กำเนิด โดยจะเกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด อีกอย่าง หนึ่ง คือ สายตายาวตามวัย ซึ่งอาการสายตายาว 2 ประเภทนี้จะแตกต่างกันอย่างชัดเจน ดังนี้
-
สายตายาวตั้งแต่กำเนิด
เกิดจากขนาดของลูกตาที่มีขนาดเล็กเกินไป ทำให้จุดรวมแสงของภาพไม่ว่าวัตถุนั้นจะอยู่ใกล้หรือไกลไม่ไปโฟกัสบนจอประสาทตา จึงเป็นสาเหตุของการปวดตา และมองเห็น ไม่คมชัด
-
สายตายาวตามวัย
จะเกิดขึ้นหลังจากอายุ 40 ปี เป็นผลจากการปรับโฟกัสของเลนส์ตาแย่ลง ทำให้มองวัตถุระยะ ใกล้ไม่ชัด ทำให้ต้องยืดแขนออกเพื่อมองให้ชัด เพราะฉะนั้น อย่าสับสนระหว่างสองแบบนี้เด็ดขาด
ปัญหาสายตายาวในผู้สูงอายุ-อาการ
อาการของคนที่มีปัญหาสายตายาวสูงอายุ คือ มองระยะใกล้ไม่ชัด เวลาอ่านหนังสือต้องยื่นมือออกไป มากกว่าปกติ ในระยะแรก ๆ บางคนอาจจะยังสามารถมองเห็นระยะใกล้ได้ดีแต่ว่าไม่สามารถใช้สายตาระยะใกล้ติดต่อกันได้เป็นเวลานาน ๆ อาจจะมีอาการปวดตาหรือปวดหัว เมื่อใช้สายตาไปได้ซักระยะหนึ่ง โดยส่วนใหญ่ในคนที่มีสายตามองไกลปกติจะเริ่มมีปัญหาสายตายาวสูงอายุ ตอนอายุประมาณ 40 ปี แต่ถ้าในคนที่มีปัญหาสายตายาวโดยกำเนิดอยู่แล้วก็จะทำให้สามารถมีปัญหาสายตายาวสูงอายุเร็วกว่าคนอื่น
เรื่องสายตาแก้กันไม่ได้
ทางเลือกในการแก้ไขสายตายาวตามวัย มีได้หลายอย่าง เริ่มจากการใส่แว่นสายตายาวสำหรับอ่านหนังสือ (Reading Glasses) หรือในคนที่มีภาวะสายตาสั้นมาก่อนก็ต้องใช้แว่นชนิดโปรเกรสซีฟ หรือแว่น Bifocal ที่จะช่วยปรับการมองเห็นได้ทั้งระยะใกล้-ไกลนอกจากนี้ยังมีคอนแทคเลนส์สำหรับสายตายาวตามวัย ที่ออกแบบโดยเน้นพื้นที่การมองเห็นบนคอนแทคเลนส์ให้เหมาะสมกับขนาดรูม่านตา ซึ่งมีขนาดแตกต่างกันไปตามช่วงอายุที่เพิ่มขึ้นและค่าสายตาสั้น-ยาวอีกด้วย ปัญหาสายตายาวตามวัยเกิดขึ้นได้ กับทุกคน จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่า ที่คิด ควรสังเกตตัวเองเมื่อถึงเวลาที่สายตาเปลี่ยนแปลง และแก้ไขทันที เพื่อให้ใช้ชีวิตและสนุกกับทุกไลฟ์สไตล์ ได้อย่างเต็มที่แม้แต่คนที่ทานอาหารบำรุงสายตาเป็นประจำก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงปัญหานี้ได้
อย่างไรก็ดี แม้ปัญหานี้ในผู้สูงอายุจะไม่สามารถแก้ไขได้ก็ตาม แต่ก็ดูแลยังคงจำเป็นอยู่ ดังนั้นบุตรหลานควรพาท่านไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญอยู่สม่ำเสมอ เพื่อทำให้ผู้สูงวัยในครอบครัวสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเท่าที่ท่านจะสามารถทำได้นั่นเอง
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
บทความอื่นๆ
ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ดูแลอย่างไรดี?
ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว ในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร?
5 ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรง