“โรคความดันสูง” มักได้รับการขนานว่า เป็น “ฆาตรกรเงียบ” หรือ “เพชฌฆาตเงียบ” เนื่องจากโรคนี้ไม่มีอาการชัดเจนในระยะเริ่มแรก ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้มักละเลยต่อการรักษา ควบคุม และดูแลตนเองให้ถูกต้องเหมาะสมและยิ่งหากเป็นในผู้ป่วยสูงอายุก็ยิ่งจำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะสามารถเป็นโรคนี้ได้ง่ายมาก แต่หลังจากนั้นแล้วสิ่งที่แย่กว่าคือการที่มีโรคแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์ตามมา
“โรคความดันสูง” ในผู้สูงอายุเกิดจาก…
กลไกการของการเกิดโรคนี้ เกิดจากการเพิ่มขึ้นของปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาที ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาทีได้แก่ ปริมาตรเลือดที่เพิ่มขึ้น และการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุนั้นแตกต่างจากในผู้ใหญ่ เนื่องจากมีปัจจัยที่เพิ่มขึ้นจากความสูงวัย คือ จากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเมื่ออายุมากขึ้น ได้แก่ การที่หลอดเลือดแดงตีบแข็งเนื่องจากมีไขมันอุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
ลักษณะอาการของโรคความดันโลหิตสูง
โดยทั่วไปภาวะความดันโลหิตสูงมักไม่มีสัญญาณหรืออาการใด ๆ แม้ว่าค่าความดันโลหิตจะอยู่ในระดับที่สูงเกินปกติ บางรายที่มีภาวะความดันโลหิตสูงอาจมีอาการปวดศีรษะ หายใจถี่ หรือมีเลือดกำเดาไหล อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้มักไม่แสดงจนกว่าภาวะความดันโลหิตจะอยู่ในขั้นรุนแรง
การวินิจฉัยโรค
ความดันโลหิตสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังต่อไปนี้
-
ความดันปกติ
ระดับความดันที่ต่ำกว่า 120/80 มม. ถือว่าอยู่ในระดับปกติ
-
ความดันสูงเล็กน้อย
ความดันโลหิตระหว่าง 120/80 – 129/80 มม.
-
ความดันโลหิตสูงระยะที่ 1
หากความดันโลหิตอยู่ระหว่าง 130-139/80-89 มม. ปรอทถือว่าเป็นความดันโลหิตสูงระยะที่ 1
-
ความดันโลหิตสูงระยะที่ 2
หากความดันโลหิตมีค่าเกินกว่า 140/90 ขึ้นไปถือเป็นความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงและถือว่าเป็นความดันโลหิตสูงระยะที่ 2
8 ภาวะแทรกซ้อนที่มักตามมากับความดันสูง
ระดับความดันโลหิตสูงและอาการความดันสูงเฉียบพลันขึ้นมักก่อให้เกิดความเสียหายที่มากขึ้นตามไปด้วย ภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างเกิดจากความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ มีดังต่อไปนี้
1. หัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง
2. โรคสมองเสื่อม
3. ปัญหาเกี่ยวกับความจำหรือความเข้าใจ
4. โรคเมตาบอลิก หรือ ภาวะที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญ
5. หลอดเลือดในดวงตาหนาหรือแคบ
6. หลอดเลือดในไตแคบลง
7. หัวใจล้มเหลว
8. โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและการรักษาตัวที่บ้าน
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการดำเนินชีวิต สามารถช่วยฟื้นฟูและป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงได้ เช่น
1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
ควรเลือกอาหารที่ใส่เกลือ หรือน้าปลาน้อยที่สุด รวมทั้งงดรับประทานผงชูรส ป้องกันอาการท้องผูก โดยการรับประทานผัก ผลไม้ให้มาก ดื่มน้าให้พอเพียง และ ควรบริโภคอาหารที่มีไขมันและคลอเลสเตอรอลต่า มีเส้นใยอาหารสูง
2. จำกัดปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เพราะแอลกอฮอล์ในปริมาณมากจะทาให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
3. ห้ามสูบบุหรี่
เพราะบุหรี่จะทาให้เกิดโรคแทรกซ้อน โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจตีบตันเร็วขึ้นและยังทาให้ดื้อต่อยาที่รักษา
4. พยายามลดความเครียด
ทำจิตใจให้ผ่องใส ปล่อยวาง เพื่อลดความเครียดและพยายามนอนพักผ่อนให้เพียงพอ
5. ติดตามผลความดันโลหิตที่บ้าน
หากในครอบครัวใดที่มีผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นความดัน ควรมีเครื่องวัดความดันสักเครื่องที่บ้านเพื่อที่บุตรหลานจะได้จะสามารถวัดให้ท่านได้เองและไม่เสียเวลาในการเดินทางมาโรงพยาบาล
“โรคความดันสูง” เป็นโรคที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา การรักษาความดันโลหิตถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง และจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่อาจเกิดตามมา โดยหากลูกหลานครอบครัวใดที่ทราบว่าผู้สูงวัยในบ้านของตนเองเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้ว ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัย ตรวจภาวะหัวใจโต ตรวจภาวะไตเสื่อม และตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ รวมถึงตรวจหาโรคร่วมที่มาพร้อมกับความดันโลหิตสูงต่อไป
บทความอื่นๆ
ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ดูแลอย่างไรดี?
ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว ในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร?
5 ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรง