5 ข้อเท็จจริงเรื่องสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่ลูกหลานควรรู้

“สุขภาพจิต” อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญในการดำเนินชีวิตของคนเรา เรามักจะได้รับคำอวยพรและอวยพรให้กับคนอื่นๆว่า “ขอให้มีความสุข สุขภาพร่างกายแข็งแรง” หากแต่ก็จะมีสุขได้นั้นไม่ได้มีปัจจัยมาจากความแข็งแรงทางกายภาพอย่างเดียวเพราะยังมีเรื่องของความรู้สึกนึกคิดและเรื่องจิตใจที่ต้องคอยดูแลด้วย ยิ่งหากเป็นผู้สูงอายุยิ่งต้องคอยทำความเข้าใจและเรียนรู้วิธีที่จะรับมือกับภาวะอารมณ์ของพวกท่านนั่นเอง

5 ข้อเท็จจริงเรื่องสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่ลูกหลานควรรู้

“สุขภาพจิตผู้สูงอายุ” สำคัญอย่างไร

เมื่อยิ่งชราลงแน่นอนว่าระบบการทำงานในร่างกายย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ทั้งทางร่างกายที่มีความเสื่อมของอวัยวะต่างๆเกิดขึ้น เช่น ตามข้อต่างๆ หัวเข่า ความสามารถในการมองเห็นที่อาจะเลอะเลือน เป็นต้น และ ทางจิต ที่ก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกันเพราะพวกท่านเป็นวัยที่ผ่านประสบการณ์ในชีวิตมามากมาย โดยเฉพาะบางท่านที่ผ่านการสูญเสียมา เช่น การสูญเสียคู่ชีวิต หน้าที่การงาน ประเด็นเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผู้สูงอายุต้องคอยปรับตัวอยู่เสมอ เพราะหากปรับตัวและภาวะอารมณ์ไม่ได้จนสะสมเป็นเวลานานๆก็จะส่งผลเสียต่อตัวท่านเอง ในกรณีที่แย่ที่สุดคือการเป็น “โรคซึมเศร้า” ซึ่งเกิดขึ้นในผู้สูงอายุมากถึง 75,564 รายและมีความคิดที่อยากฆ่าตัวตายถึงร้อยละ 1.17 นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเรื่องของความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ของพวกท่านจึงสำคัญ

5 ข้อเท็จจริงของสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่ลูกหลานควรรู้

1. ผู้สูงอายุอย่างน้อย 1 ใน 4 มีความผิดปกติทางจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล หรือภาวะสมองเสื่อม

จากการศึกษาร่วมกันระหว่างองค์การอนามัยโรค มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและธนาคารโลกคาดการณ์ว่า ภายในปีพ.ศ. 2563 ภาวะซึมเศร้าจะเป็นปันหาสาธารณสุขอันดับ 1 ของโลก และเป็นสาเหตุการตายและการสูญเสียที่สำคัญเป็นลำดับที่ 2 ของโลก รองจาก
โรคหัวใจ ขาดเลือด และในประเทศสหรัฐอเมริกาพบผู้สูงอายุที่มีปัญหาซึมเศร้าจนนำไปสู่การฆ่าตัวตายสูงถึงร้อยละ 16 โดยในผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป มีอัตราการฆ่าตัวตาย 14 คน ต่อ ผู้สูงอายุ 100,000 คนและพบมากที่สุดในผู้สูงอายุ 85 ปี ขึ้นไป มีอัตราการฆ่าตัวตาย 47 คน ต่อ ผู้สูงอายุ 100,000 คนเลยทีเดียว ซึ่งของประเทศไทยเองในปี พ.ศ. 2560 พบว่ามีคนไทยป่วยซึมเศร้า 1.5 ล้านคน หากพิจารณาตามเพศและอายุของผู้ป่วย โรคซึมเศร้า พบว่า ผู้หญิงเสี่ยงป่วยมากกว่าผู้ชาย 1.7 เท่า โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานอายุ 25-59 ปี ร้อยละ 62 รองลงมาเป็นวัยสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 26.5 ซึ่งในผู้สูงอายุ พบว่า ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุร้อยละ 77 มีภาวะซึมเศร้า มีอัตราการเพิ่มสูงขึ้นตามอายุที่มากขึ้น โดยผู้สูงอายุ 60-69 ปี ร้อยละ 4.2 ผู้สูงอายุ 70-79 ปีร้อยละ 4.8 และผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไปร้อยละ 7 และมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายมากที่สุด ร้อยละ 8.7 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเช่น การมีโรคประจำตัว สถานภาพ รายได้ ภาวะสมองเสื่อม ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เป็นต้น

2. อาการซึมเศร้าเป็นปัญหาทางจิตที่พบบ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ

ภาวะซึมเศร้า หรือ โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มักเกิดในช่วงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยมี 2 ลักษณะ คือ มีอาการซึมเศร้าที่เป็นมาก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ และที่เกิดในช่วงที่เข้าสู่วัยผู้สูงอายุแล้ว เป็นการเจ็บป่วยทางจิตใจชนิดหนึ่งเมื่อเกิดขึ้น จะทำให้ผู้สูงอายุไม่มีความสุข หดหู่ เบื่อหน่ายสิ่งต่างๆ รอบตัว มองโลกในแง่ร้าย ชอบอยู่เงียบๆ ตามลำพัง รู้สึกชีวิตสิ้นหวัง มองว่าตนไม่มีคุณค่าและบางรายถึงขั้นมีปากเสียงกับลูกหลานอยู่บ่อยครั้งและมีความคิดที่จะทำร้ายตนเอง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุมีภาวะทางจิตเช่นนี้มาจากหลายๆปัจจัย ประกอบด้วย

  • ความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย

เป็นความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ เช่น ระบบความจำ ความสามารถทางการมองเห็นและการได้ยินลดลง และเริ่มมีข้อจำกัดในการเคลื่นไหวแม้แต่การเดินที่ต้องพึ่งคนอื่น เป็นต้น

  • ความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และจิตใจ

ผู้สูงอายุจะมีอาการซึมเศร้า หงุดหงิด ขี้ระแวง วิตกกังวล โกรธง่าย เอาแต่ใจ เกิดขึ้นจากความเสื่อมของสมองและระดับฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลเหมือนเดิม ซึ่งอาจเกิดจากการสูญเสียคนใกล้ตัว คู่ชีวิต เพื่อนสนิท ทำให้เกิดความเหงาและขาดที่พึ่งทางใจ

  • ความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม

การมีบทบาททางสังคมลดลงทำให้ผู้สูงอายุสูญเสียความมั่นคงในชีวิต รู้สึกว่าหมดความสำคัญในสังคม อยู่ในสภาวะที่ไร้คุณค่า สูญเสียความภาคภูมิใจในตนเอง และรู้สึกว่าตนเองกำลังเริ่มเป็นภาระของครอบครัว

 

3. ผู้ที่มีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวกับทางจิตจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป

คนที่มีพ่อแม่หรือพ่อน้องเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะทางจิตมีความเสี่ยงที่จะแสดงอาการของโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป 1.5 – 3 เท่า เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล เป็นต้น แต่นั่นไม่ได้แปลว่าโรคต่างๆเหล่านี้จะถูกถ่ายทอดผ่านทางยีน ต่างจากโรคไบโพลาร์ที่มีพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก

4. 2 ใน 3 ของผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพทางจิตมักไม่ได้รับการรักษาที่ต้องการ 

จากคอลัมน์ “Behavioral Health at Any Age: No One Needs to Struggle Alone” จากเว็บไซท์ Healthy minds philly ได้ระบุไว้ว่าโดยส่วนใหญ่แล้วปัญหาเรื่องภาวะทางจิตในผู้สูงอายุมักถูกมองข้ามจากสมาชิกในครอบครัวอยู่บ่อยครั้งเนื่องจากพวกเขามองว่าภาวะทางอารมณ์เหล่านี้เป็นสัญญาณปกติของความ “อ่อนแอ” ของผู้สูงอายุอยู่แล้วจึงทำให้จำนวนผู้ป่วยในผู้สูงวัยที่มีปัญหาด้านสุขภาพเชิงพฤติกรรมเช่นนี้มักถูกวินิจฉัยไม่สูงมากนัก อย่างไรก็ตาม   NIMH (สถาบันสนับสนุนการวิจัยด้านสุขภาพจิตสหรัฐอเมริกา) ได้ตั้งข้อสังเกตว่าอาการซึมเศร้าที่มีจุดอ่อนทางร่างกายของวัยชราหลายประการทำให้เกิดอาการไม่ชัดเจน ทำให้ลูกๆ หลานๆ เพิกเฉยต่อสัญญาณบ่งชี้ปัญหาภาวะจิตที่อาจเกิดขึ้นได้

5. จำนวนประชากรผู้สูงอายุที่มีปัญหาภาวะทางจิตอาจเพิ่มขึ้น 2 เท่าภายในปี พ.ศ. 2573

เนื่องจากหลายๆประเทศในปัจจุบันเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์กันแล้วและประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือเมื่อประชากรวัยพึ่งพิงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผู้ป่วยที่ปัญหาทางภาวะจิตก็จะเพิ่มขึ้นด้วยนั่นเอง ในปัจจุบันผู้สูงอายุยังคงเป็นคุณพ่อคุณแม่หรือปู่ย่าตายาย แต่ในอนาคตเราก็จะเป็นหนึ่งในผู้สูงวัยเช่นเดียวกัน ฉะนั้นการเตรียมความพร้อมโดยการเริ่มทำความเข้าใจกับเรื่องและโรคต่างๆที่จะส่งผลต่อทางจิตของผู้สูงอายุควรเป็นสิ่งที่พึงกระทำไว้ก่อน อาจะจะขอรับคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องด้วย

ท้ายที่สุด “สุขภาพจิตผู้สูงอายุ” นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากและเป็นสิ่งที่ลูกหลานไม่ควรมองข้ามหรือละเลยแม้แต่น้อย เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าท่านรู้สึกหรือนึกคิดอย่างไร ดังนั้นสมาชิกในบ้านควรหมั่นประเมินอาการและดูแลท่านภายใต้คำแนะนำที่ถูกต้องของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ผู้ใหญ่ในบ้านรู้สึกไม่โดดเดี่ยวและพึงระลึกว่ายังมีลูกหลานอยู่ข้างๆ ท่านเสมอ

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สังเกตภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มีความอันตรายอย่างไร

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome) คืออะไร?

การดูแลผู้สูงอายุอย่างไรให้สุขภาพดี มีความสุข อายุยืนยาว

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง