TMS ผล ข้าง เคียง อันตรายแค่ไหน หากผู้สูงอายุได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้จะปลอดภัยหรือเปล่า? เป็นคำถามที่บุตรหลานหลายๆ คนต้องสงสัยเป็นอันดับแรกๆ เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่มักได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการใช้รักษาผู้สูงอายุในโรคระบบประสาทต่างๆ ซึ่งข้อดีของเจ้าเทคโนโลยีตัวนี้ก็มีอยู่มากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้นแน่นอนอยู่แล้วว่า ไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ที่มักมีความเสี่ยงสูง แต่ในการรักษาต่างๆ เมื่อมีข้อดีแล้ว ก็ย่อมมีผลข้างเคียงตามมา ซึ่ง TMS มีผลข้างเคียงไหม มีอย่างไร ในบทความนี้มีคำตอบ
TMS ผล ข้าง เคียง อันตรายหรือไม่ ผู้สูงอายุจะปลอดภัยหรือเปล่า?
ผู้ป่วยที่มีภาวะอ่อนแรงจากอัมพฤกษ์ อัมพาต จากโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง ไมเกรน ที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รวมไปถึงผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และผู้ป่วยที่มีภาวะความจำถดถอยจากโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการรักษาเพียงรับประทานยาหรือทำกายภาพบำบัด แต่ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) เข้ามารักษาและฟื้นฟูการทำงานของสมอง โดยไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย หากทำควบคู่กับกายภาพบำบัดหรือการรับประทานยา จะช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยได้ดีมากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) คืออะไร?
TMS (Transcranial Magnetic Stimulation) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คล้ายกับเครื่อง MRI เป็นคลื่นแม่เหล็กที่สามารถทะลุผ่านอวัยวะต่างๆ เข้าไปได้ลึก ประมาณ 1-3 เซนติเมตร เพี่อเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ส่งผลให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทที่จำเป็นต่อการซ่อมแซมและการสร้างวงจรระบบประสาทต่าง ๆ ภายในสมองของผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคซึมเศร้า ผู้ป่วยที่มีภาวะความจำถดถอยจากโรคอัลไซเมอร์ โดยการกระตุ้นสมองในตำแหน่งต่างๆ จะใช้หัว coil ในลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งรูปร่าง ความถี่ และความแรงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะและตำแหน่งรอยโรคของผู้ป่วยโดยไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะโดยรอบ
ใครบ้างที่เหมาะกับการรักษาด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)
- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันที่มีอาการมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน
- ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่รักษาด้วยยาในขนาดที่เหมาะสมมาแล้ว และอาการยังไม่ดีขึ้นภายในหนึ่งปีนับจากเริ่มทานยาต้านเศร้า
- ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้นถึงระยะปานกลาง
- ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง ไมเกรน

ผลข้างเคียงที่พบในการรักษาด้วย TMS
มีความร้อนบริเวณที่กระตุ้น เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กทำให้อุณหภูมิภายในสมองสูงขึ้นแต่น้อยมากจะมีปวดตึงศีรษะบริเวณที่ทำการกระตุ้น คลื่นไส้ วิงเวียน อาการชัก อารมณ์พลุ่งพล่าน สำหรับผู้ป่วยจิตเวช
ข้อควรระวังสำหรับผู้ป่วยที่เข้ารักษาด้วยวิธี TMS
- ไม่ควรมีอาการบาดเจ็บหรือมีแผลบริเวณที่จะกระตุ้น
- ไม่มีประวัติอาการชักมาก่อน
- ไม่มีประวัติเลือดออกง่าย
- ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ
ข้อห้ามในการรับรักษาด้วยวิธี TMS
แม้จะเป็นวิธีการรักษาที่ง่าย และ ปลอดภัย แต่ TMS ก็ยังมีข้อต่างๆ ที่ควรระมัดระวังอยู่เช่นกัน ดังนี้
ต้องไม่มีอุปกรณ์ฝังในร่างกาย
เช่น Permanent Pacemaker, Defibrillators, Dochlear implant, Deep brain stimulators, Ocular implants, Vagus nerve stimulators, Implanted medication pumps, Intracardiac lines
ต้องไม่ใส่วัสดุโลหะใดๆ บริเวณศีรษะ
เช่น Aneurysm clips or Stent, Metallic hair clips หรือกิ๊บติดผมชนิดโลหะ
อย่างไรก็ดี การรักษาด้วยวิธีกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กผ่านกะโหลกศีรษะ หรือ TMS นั้น เป็นวิทยาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่า สามารถใช้รักษาอาการป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญคือต้องมีการดูแลติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การรักษาเป็นผลดี ช่วยให้ผู้ป่วยหายจากโรค และสามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพแข็งแรงได้ตามปกติต่อไป
บทความอื่นๆ
ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ดูแลอย่างไรดี?
ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว ในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร?
5 ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรง