“ผู้สูงอายุฉีดวัคซีน” ประเด็นสำคัญที่บรรดาลูกหลานเริ่มให้ความสำคัญกันมากขึ้นหลังจากการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 แต่ทุกคนทราบหรือไม่ว่าผู้สูงอายุนั้นต้องฉีดวัคซีนเป็นทุนเดิมอยู่แล้วเช่นเดียวกับเด็กๆ ที่ต้องฉีดวัคซีนในแต่ละช่วงวัยเพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ซึ่งผู้สูงอายุก็ต้องฉีดไว้เพื่อเหตุผลเดียวกัน
ผู้สูงอายุฉีดวัคซีนเพื่ออะไร ?
สาเหตุเพราะเมื่อมนุษย์เราอายุเพิ่มมากขึ้น ภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรคต่างๆ จึงลดน้อยลงและมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเป็นโรคต่างๆ สูง รวมถึงเกิดภาวะแรกซ้อนได้ง่าย โดยผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปก็จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น ดังนั้นวัคซีนจึงจำเป็นต่อผู้สูงอายุเป็นอย่างมากเพราะต้องฉีดเพื่อป้องกันโรคร้ายที่ไม่พึงประสงค์นั่นเอง
5 เกร็ดความรู้! เมื่อผู้สูงอายุฉีดวัคซีน…
1. ผู้สูงอายุฉีดวัคซีนอะไรบ้าง
-
วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
หากเกิดแผลในผู้สูงอายุจะมีโอกาสติดเชื้อบาดทะยักได้ง่าย ทำให้เกิดกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง หายใจลำบาก โรคคอตีบที่รุนแรงทำให้หายใจลำบาก ทั้งโรคบาดทะยักและคอตีบหากมีอาการรุนแรงอาจเสียชีวิตได้ และโรคไอกรนทำให้ไอต่อเนื่องอย่างรุนแรง
คำแนะนำในการฉีด
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน 1 เข็ม และ วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก-คอตีบ ทุก 10 ปี
-
วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด
หากเคยเป็นอีสุกอีใสแล้วก็จะไม่แปลกใจกับโรคงูสวัดสักเท่าไหร่ เนื่องจากทั้ง 2 โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสตัวเดียวกันและมีอาการที่ใกล้เคียงกันคือมีตุ่มใสขึ้นแต่โรคงูสวัดจากขึ้นตามแนวประสาท และบางรายอาจมีอาการแทรกซ้อน เช่น แสบร้อนตามผิวหนัง
คำแนะนำในการฉีดวัคซีนของผู้สูงอายุ
ฉีดวัคซีนป้องกัน โรคงูสวัด 1 เข็ม เพียงครั้งเดียว (ฉีดได้ตั้งแต่ผู้สูงวัยอยู่ในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป)
-
วัคซีนป้องกันโรคปอดบวมแบบรุนแรง
“เชื้อนิวโมค็อกคัส” เป็นเชื้อที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคปอดบวมในผู้สูงอายุ ซึ่งถือเป็นโรคที่ทำให้ผู้สูงอายุเสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ เลยทีเดียว เพราะเจ้าเชื้อตัวนี้นอกจากทำให้ปอดบวมแบบรุนแรงแล้วยังอาจส่งผลให้ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดและเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้อีกด้วย
คำแนะนำในการฉีด
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดบวมชนิด 13 สายพันธุ์ 1 เข็ม ตามด้วยชนิด23 สายพันธุ์ 1 เข็ม ห่างกัน 1 ปี38
-
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่นับเป็นอีกโรคหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคนี้เสียชีวิตได้ง่าย ซึ่งอาจเกิดจากหลอดลมอักเสบและปอดบวมร่วมด้วย
คำแนะนำในการฉีด
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 1 เข็ม ทุกปี
-
วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบชนิดต่างๆ
เป็นภาวะที่เกิดการอักเสบของตับ จากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซึ่งมีหลายสายพันธุ์ ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี ดี และอี โดยไวรัสทั้งหมดมีการติดต่อแตกต่างกันไปตามชนิดและลักษณะเฉพาะ ผู้สูงอายุจึงควรเข้ารับวัคซีนเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน
คำแนะนำในการฉีด
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบเอและตับอักเสบบี 3 เข็ม ตามลำดับ วัคซีนเข็มที่สองไม่ควรฉีดก่อนหนึ่งเดือน หากเลยกำหนดหนึ่งเดือนให้ฉีดเข็มที่สองทันทีที่นึกได้ และนับต่อไปอีกห้าเดือนสำหรับเข็มที่สาม (เนื่องจากไวรัสับอักเสบมีหลายชนิดดังนั้นการฉีดวัคซีนจำเป็นต้องฉีดป้องกันตามชนิด ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทุกๆ ครั้งในการฉีด)
2. ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนในผู้สูงอายุ
ผลข้างเคียงจากวัคซีนมักเป็นผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรงและไม่ได้เกิดกับทุกคน ผลข้างเคียงที่พบบ่อย เช่น อาการปวดบริเวณที่ฉีดยา หรือมีไข้ต่ า เป็นต้น อาการเหล่านี้มักจะหายได้เองในเวลา 1-2 วันอย่างไรก็ตาม หากผู้สูงอายุกำลังมีไข้หรือเจ็บป่วยเฉียบพลัน แนะนำว่าควรให้หายดีแล้วจึงมารับวัคซีนในภายหลังเพื่อความปลอดภัย

3. ประโยชน์ของวัคซีนที่ส่งผลต่อผู้สูงอายุ
ถือว่าเป็นประโยชน์เป็นอย่างมากสำหรับการฉีดวัคซีนให้กับผู้อายุเนื่องจากเมื่อเริ่มอายุมากขึ้น ร่างกายของผู้สูงอายุนั้นไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ได้เหมือนเช่นก่อน ดังนั้นการฉีดวัคซีนเช่นนี้จึงช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มเกิดขึ้นอีกทั้งยังลดความเสี่ยงที่ผู้อายุจะป่วยอย่างรุนแรงและยาวนานอีกด้วย
4. วัคซีนมีข้อจำกัดในผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวหรือไม่
โดยทั่วไปผู้ที่มีโรคประจำตัวสามารถรับวัคซีนได้และได้ประโยชน์เช่นเดียวกัน แต่หากมีโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือรับประทานยาที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันควรขอรับคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อพิจารณารับเฉพาะวัคซีนชนิดไม่มีเชื้อหรือวัคซีนเชื้อตาย และหลีกเลี่ยงวัคซีนที่มีเชื้ออ่อนกำลัง เพราะผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ อาจติดเชื้อจากวัคซีนที่มีเชื้ออ่อนกำลังได้หากไม่มั่นใจว่าโรคประจำตัวของผู้สูงอายุท่านนั้นๆ ที่เป็นอยู่ทำให้มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือไม่ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแลประจำก่อนรับวัคซีนเพื่อความมั่นใจ
5. หากผู้สูงอายุไม่ได้รับการฉีดวัคซีนจะเป็นอย่างไร
ยังไม่มีข้อมูลใดระบุไว้อย่างชัดเจนว่าหากผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนแต่ละชนิดที่จำเป็นต่อชีวิตจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่ก็อาจจะพออนุมานได้ว่าหากผู้สูงอายุท่านนั้นๆ ไม่ได้รับวัคซีนชนิดใดก็ตามก็จะลดภูมิคุ้มกันของโรคต่างๆนั้นลง และหากผู้สูงอายุเกิดเป็นโรคใดๆ ก็ตามขึ้นมาก็จะไม่มีภูมิที่จะมาช่วยลดความรุนแรงของอาการโรคได้นั่นเอง
ท้ายที่สุด การฉีดวัคซีนถือเป็นการป้องกันโรคให้กับผู้สูงอายุที่เสถียรที่สุดอีกหนทางหนึ่งที่ลูกหลานจะดูแลพวกท่านได้ ดังนั้นการพาท่านไปรับวัคซีนให้ตรงตามเวลาและเหมาะสมวัยจึงเป็นสิ่งที่ลูกๆ หลานๆ พึงกระทำเป็นอย่างยิ่ง
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
สังเกตภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มีความอันตรายอย่างไร
บทความอื่นๆ
ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ดูแลอย่างไรดี?
ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว ในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร?
5 ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรง