พลัดตกหกล้ม อุบัติเหตุในผู้สูงอายุที่ต้องระวัง

“พลัดตกหกล้ม” เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในกลุ่มของการบาดเจ็บโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งรองจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน โดย 1 ใน 3 พบว่ามักอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 65-75 ปีขึ้นไปและดูเหมือนว่าจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่ตามมาก็คือการบาดเจ็บหลังจากการอุบัติเหตุ ซึ่งในผู้สูงอายุมักพบการสระดูกสะโพกแตกหรือหักและกรณีที่แย่กว่านั้นคือการกระทบกระเทือนสมอง ดังนั้นอุบัติเหตุเช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่ลูกหลานในครอบครัวไม่ควรนิ่งนอนใจ

พลัดตกหกล้ม อุบัติเหตุในผู้สูงอายุที่ต้องระวัง

สาเหตุของการพลัดตกหกล้มเกิดจากอะไรได้บ้าง

แม้จะดูเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ง่ายแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะป้องกันไม่ได้เลย ซึ่งก่อนที่เราจะรู้ว่าเราสามารถป้องกันการพลัดตกหกล้มให้กับผู้สูงอายุของครอบครัวของเราได้นั้นเราต้องทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงการเกิดอุบัติเหตุเหล่านี้ให้ได้เสียก่อน โดยสาเหตุหลักๆ ประกอบด้วย

1. สาเหตุทางร่างกายและสุขภาพ

มักจะเกิดจากการความเสื่อมถอยของอวัยวะทั้งภายในและภายนอกร่างกาย เช่น กระดูก ข้อต่อต่างๆ ของหัวเข่า เป็นต้น รวมไปถึงความสามารถในการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมือนเดิม เช่น การทรงตัว การเดิน แขนขาอ่อนแรง อาการบ้านหมุน อีกทั้งยังมีปัญหาสายตาที่ทำให้การมองเห็นของผู้สูงอายุไม่ชัดเจนเหมือนเดิมนั่นเอง

2. สาเหตุทางสภาพแวดล้อม

เป็นสาเหตุหลักๆ ของการอุบัติเหตุในผู้สูงอายุเลยก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัยรวมไปถึงอุปกาณ์ในการช่วยพยุงการเดินต่างก็เป็นสิ่งแวดล้อมที่ผู้สูงวัยต้องใช้ในชีวิตประจำวันทั้งสิ้น ซึ่งมักจะเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น พื้นห้องน้ำเปียก พื้นลื่น พื้นหรือบันไดมีระดับต่างกันอย่างกระทันหัน อุปกรณ์ช่วยพยุงเกิดการชำรุด และสะดุดชายเสื้อผ้าที่ยาวเกินไป โดยประเด็นดังกล่าวไม่ควรถูกปล่อยปะละเลยอย่างยิ่ง

การบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นหลังจากได้รับอุบัติเหตุ

จากที่กล่าวไว้ตอนต้น หลังจากได้รับอุบัติเหตุ (ในกรณีที่เกิดขึ้นจริง) แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาคืออาการบาดเจ็บที่ได้รับโดยอาการบาดเจ็บต่างๆ ก็จะแตกต่างกันออกไปซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับความร้ายแรงจากอุบัติเหตุที่ผู้สูงอายุท่านั้นๆได้ประสบมา แล้วการบาดเจ็บที่ว่านั้นสามาารถเกิดขึ้นไปในทิศทางไหนได้บ้าง?

1. ฟกช้ำ

เป็นผลข้างเคียงเบื้องต้นที่มักเกิดขึ้นและมีความรุนแรงที่น้อยที่สุด เนื่องจากหลังจากการพลัดตกเตียงหรือหกล้มบนพื้นห้องนอนหรือห้องน้ำอาจเกิดการกระแทกกับอุปกรณ์อื่นๆ ในสถานที่ดังกล่าว การเกิดการฟกช้ำจึงเป็นอาการบาดเจ็บต้นๆ ที่เกิดขึ้นได้ง่ายที่สุด

2. ปวดส่วนต่างๆ ตามร่างกาย

เป็นอาการบาดเจ็บที่รองลงมาจากการฟกช้ำซึ่งส่วนใหญ่ผู้สูงอายุที่ได้รับอุบัติเหตุจะเกิดการปวดหลังหรือเกิดการระบมตรงส่วนที่กระแทกโดยตรงหรือเป็นอาการข้างเคียงที่ถูกกระทบถึง เช่น ในที่ล้มก้นอาจกระแทกแต่ว่าอาการบาดเจ็บดันกระทบมาถึงช่วงแผ่นหลังเพราะเป็นอวัยวะที่เชื่อมต่อกันนั่นเอง

3. กระดูกสะโพกและข้อต่อต่างๆ แตกหัก

มีความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นมาและอาจอาจทำให้ผู้สูงอายุที่มีอาการบาดเจ็บนี้ต้องเข้าโรงพยาบาลและรักษาตัวเป็นระยะเวลานานเพราะกระดูกหรือข้อต่อบางจุดในร่างกายนั้นหากเกิดการหักขึ้นอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดเรื้อรัง พิการ และที่หนักที่สุดคือเสียชีวิต (ในกรณีเสียชีวิตหากไม่ได้เกิดจากการบาดเจ็บโดยตรงก็จะมาจากภาวะแทรกซ้อนหรือการติดเชื้อจากแผลและการกดทับต่างๆได้ด้วย)

4. ระบบสมองกระทบกระเทือน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าระบบประสาทและสมองนั้นมีความสำคัญและอ่อนไหวเป็นอย่างมาก หากได้รับผลกระทบแค่เพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้เสียชีวิตหรือเจ็บป่วยขั้นรุนแรงได้เลยทีเดียว โดยเฉพาะการต้องพลัดตกหรือหกล้มที่อาจทำให้ศีรษะกระแทกเข้ากับพื้นบ้านหรือบันไดง่ายๆ และยิ่งหากเป็นผู้สูงอายุในบ้านยิ่งต้องคอยระวังเพราะง่ายต่อการเกิดอุบัติเหตุแต่ยากต่อการรักษานั่นเอง

 

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่สามารถทำได้

เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ “การปฐมพยาบาล” ก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับอุบัติเหตุในผู้สูงอายุที่อาจเกิดภายในบ้านหรือสถานที่ต่างๆ ที่ไกลมือแพทย์ ดังนั้นหากลูกหลานในครอบครัวใดต้องเจอเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์เช่นนี้และพบว่ายังพอที่จะปฐมพยาบาลได้ก่อนเพื่อลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บและเสียชีวิตก็สามารถทำได้ ซึ่งประกอบด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้

1. กรณีศีรษะกระแทก

หากพบว่าศีรษะของผู้สูงอายุท่านนั้นๆ ได้รับความกระทบกระเทือน หมดสติและไม่รู้สึกตัวให้นอนท่าเดิมและเรียกรถพยาบาล

2. กรณีรู้สึกตัวดีแต่มีอาการปวดส่วนต่างๆ ตามร่างกาย

ในกรณีที่ผู้สูงอายุที่ได้รับอุบัติเหตุยังรู้สึกตัวดีแต่มีอาการปวดส่วนต่างๆ ของร่างกายร่วมอยู่ เช่น ปวดตรงบริเวณต้นคอ ก็ให้นอนราบกับพื้นอย่าพยายามขยับร่างกายผู้สูงวัยที่ได้รับบาดเจ็บและไม่หาอะไรมาให้หนุน จากนั้นให้เรียกรถพยาบาล

3. กรณีปวดเฉพาะที่ เช่น สะโพกและต้นขา

เป็นอวัยวะที่ค่อนข้างอันตรายหากผู้ไม่มีความเชี่ยวชาญต้องเคลื่อนย้ายเพราะจะทำให้มีการเคลื่อนของกระดูกมากขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ทำได้คือการขยับให้ผู้สูงอายุที่ได้รับบาดเจ็บอยู่ในท่าที่เขาปวดสะโพกหรือต้นขาน้อยที่สุดแล้วจึงค่อยเรียกรถพยาบาล

4. กรณีที่ศีรษะกระแทกแต่ไม่ปวดต้นคอ

ในกรณีนี้หากศีรษะของผู้สูงอายุได้รับการกระแทกแต่ไม่ปวดต้นคอและยังรู้สึกตัวดี สมาชิกในครอบครัวสามารถนำส่งโรงพยาบาลได้เลยแต่หากมีเลือดออกก็ให้นำผ้าสะอาดกดบริเวณที่เลือดออกไว้ประมาณ 10-15 นาทีแล้วจึงนำส่งโรงพยาบาล

การป้องกันและดูแลเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ

อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้ในกรณีที่ทุกๆ ครอบครัวเมื่อไม่สามารถเลี่ยงอุบัติเหตุในผู้สูงอายุที่ไม่ได้ตั้งใจได้ คือการเรียนรู้ที่จะป้องกันและดูแลเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่พึงประสงค์ให้ได้นั่นเอง โดยจะแบ่งออกการป้องกันออกเป็น 2 ส่วนตามสาเหตุ ดังนี้

1. การป้องกันและดูผู้สูงอายุในครอบครัว

1.1 รู้ความเสี่ยงของตนเอง

ผู้สูงอายุควรได้รับการประเมินสุขภาพและร่างกายจากทั้งคนในครอบครัวหรือแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเพื่อรู้ความเสี่ยงของตนเองในการเกิดการพลัดตกหกล้มที่อาจเกิดขึ้นเพื่อจะได้มีความระมัดระวังมากขึ้นในการทำกิจกรรมต่างๆ ในระหว่างวัน

1.2 ตรวจสายตาและการมองเห็น

ผู้สูงอายุควรได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ที่เกี่ยวกับสายตาและการมองเห็น เพราะประสาทสัมผัสในการมองเห็นนั้นจำเป็นเป็นอย่างมากในการใช้ร่วมกับการเดินเหินไปยังที่ต่างๆ การตรวจไว้จึงย่อมดีกว่า

1.3  ฝึกการเดินและออกกำลังกาย

การดูแลในข้อนี้คือข้อที่ทำง่ายมากที่สุดเนื่องจากตัวผู้สูงอายุเองสามารถออกกำลังกายได้ด้วยตนเองและลูกหลานก็อยู่สังเกตได้อย่างใกล้ชิดอีกด้วย การฝึกเดินหรือการบริหารร่างกายมีหลายแบบซึ่งเลือกให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละท่านได้ตามความสะดวกอีกด้วย

1.4 เสื้อผ้าที่ควรมีขนาดที่พอดี

นอกจากจะสวมใส่สบายแล้วอีกสิ่งที่ญาติๆ ในครอบครัวควรคำนึงถึงคือขนาดของเสื้อผ้าที่ผู้สูงอายุสวมใส่ซึ่งแท้จริงแล้วควรมีขนาดที่พอดีและไม่ยาวจนเกะกะในการเดิน ส้นรองเท้าก็ต้องเป็นส้นเตี้ยเพื่อความมั่นคงในการเดิน

2. การป้องกันและดูแลสภาพแวดล้อม

2.1 บริเวณที่อยู่อาศัย

ผู้สูงอายุควรพักอาศัยในบ้านชั้นเดียวหรือพักชั้น 1 ในกรณีที่เป็นบ้าน 2 ชั้น

2.2 แสงสว่างตามบริเวณบ้าน

ในทุกๆ บริเวณภายในบ้านควรมีแสงสว่างให้ส่องไปถึงเนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่นั้นเริ่มมีประสาทในการมองเห็นเสื่อมถอยลง ดังนั้นบริเวณใดที่ผู้สูงอายุในครอบครัวต้องไปอยู่เป็นประจำสมาชิกในบ้านก็สามารถช่วยกันดูแลให้ท่านมองเห็นได้ถนัดขึ้น

2.3 ความเหมาะสมของเครื่องอำนวยความสะดวกในบ้าน

  • ราวบันได

ควรมีราวจับ 2 ข้างเพื่อไว้ช่วยพยุงและป้องกันการลื่นล้ม ควรสูงจากระดับพื้นประมาณ 80 เซนติเมตร (หากเป็นรูปตั้งควรสูงไม่เกิน 15 เซนติเมตรและ รูนอนไม่เกิน 28 เซนติเมตร) เพื่อความพอดีและมีแถบสีที่ชัดเจนคอยความสูงของราวบันไดบอกอยู่ด้วย

  •  เตียง

ห้องนอนของผู้สูงอายุควรมีความสูงเพียงข้อพับเข่าของท่านเพื่อให้ลุกจากเตียงได้อย่างสะดวก

  •  ห้องน้ำ

ควรมีห้องน้ำติดห้องนอนเพราะจะได้สะดวกในการเดินเข้าห้องน้ำโดยเฉพาะบ้านที่ผู้สูงอายุยังต้องทำธุระส่วนตัวด้วยตนเองยิ่งควรมี พื้นห้องน้ำไม่ลื่นและมีพื้นที่เอียงไปทางท่อระบายน้ำไม่ให้น้ำขังหรือมีราวจับในห้องน้ำเพื่อความมั่นใจว่าท่านสามารถพยุงตัวเองได้

  •  สวิตซ์ไฟ

สวิตซ์ควรสูงจากระดับพื้นประมาณ 120 เซนติเมตร และตั้วปลั๊กควรสูง 35-50 เซนติเมตร นอกจากนี้อุปกาณ์ในห้องครัวหรือห้องน้ำต่างๆ ควรคำนึงถึงความสูงหรือความสะดวกของผู้สูงอายุในครอบครัวเป็นอันดับต้นๆ เพื่อไม่ให้ท่านต้องเอื้อมหรือปีนขึ้นไป

อย่างไรก็ดี ไม่มีใครอยากให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่ได้ตั้งใจขึ้นกับคนในครอบครัวโดยเฉพาะกับผู้สูงอายุซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจของบ้าน ดังนั้นการป้องกันและการดูแลจึงเป็นสิ่งที่สมาชิกในบ้านควรให้ความสำคัญหรือหากหลีกเลี่ยงการที่ต้องให้ท่านอยู่บ้านลำพังไม่ได้จริงก็อาจจะพาท่านไปที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุสักแห่งเพื่อที่จะทำให้เราสบายใจได้ว่าจะมีคนดูแลท่านในระหว่างวันที่เราไม่อยู่ได้นั่นเอง


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

10 ท่าออกกำลังกายผู้สูงอายุ ที่เหมาะสมกับวัย

สังเกตภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มีความอันตรายอย่างไร

กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ มีความสำคัญอย่างไร

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง