ดูแลผู้สูงอายุยังไง? ให้แฮปปี้ทั้งผู้สูงวัยและตนเอง

“ดูแลผู้สูงอายุ” ตำแหน่งที่เป็นใครไม่ได้นอกจากลูกหลานในบ้านและถ้าหากคุณคือคนคนนั้นบทความนี้ก็เป็นบทความที่เหมาะกับคุณเป็นอย่างมาก นับว่าเป็นเรื่องที่ดีในการดูแลพ่อแม่ในยามที่ท่านเฒ่าชรา หากแต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นเดียวกัน เพราะในขณะที่เราต้องดูแลพวกท่านนั้นเราก็ต้องดูแลตัวเอง แล้วต้องทำอย่างไร? วันนี้ รักษ์คุณ มีคำตอบ…

ดูแลผู้สูงอายุยังไง? ให้แฮปปี้ทั้งผู้สูงวัยและตนเอง

 

“การดูแลผู้สูงอายุ” เมื่อคุณเป็นที่พึ่งพิงของวัยพึ่งพา

แม้จะไม่มีใครอยากเห็นคนที่คุณรักต้องมีบั้นปลายชีวิตที่เปลี่ยวเหงาเดียวดาย แต่การเลี้ยงดูผู้สูงอายุก็นับเป็น “การเสียสละ” อย่างหนึ่งของชีวิตเช่นเดียวกัน เนื่องจากผู้ที่ดูแลนั้นต้องจ่ายไปหลายอย่าง อาจไม่ใช่แค่เงิน ไม่ใช่แค่เวลา แต่เป็นทั้งสภาพร่างกายและจิตใจที่บางครั้งผู้ดูแลก็ต้องเหนื่อยล้าเป็นธรรมดาแม้ว่าจะมีความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นกับคุณพ่อคุณแม่วัยชรามากแค่ไหนก็ตามเพราะต้องทุ่มเททั้งพลังกายและใจไปกับคุณพ่อและคุณแม่จนละเลยการดูแลตนเองอยู่บ่อยครั้ง ดังนั้นจะดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อคุณต้องกลายเป็นผู้ดูแลผู้สูงวัยในครอบครัว

5 วิธีง่ายๆ ในการฝึกดูแลตนเองเมื่อคุณต้องเป็นผู้ดูแลพ่อแม่วัยชรา

1. จัดลำดับความสำคัญให้ได้

คุณจะไม่สามารถฝึกดูแลตนเองได้เลยหากไม่รู้ว่าสิ่งใดคือสิ่งที่ทำให้คุณมีความสุข บางท่านอาจเป็นผู้ที่ชื่นชอบในการสังสรรค์กับเพื่อนๆ บางท่านอาจเป็นผู้ที่รักในการวาดรูปหรือท่องเที่ยวออกไปจิบกาแฟ แต่หากคุณต้องเป็นหนึ่งในสมาชิกของครอบครัวที่มีหน้าที่ดูแลผู้สูงวัยในครอบครัวนั้นตารางกิจกรรมของคุณที่เคยมีก็ต้องปรับเปลี่ยนไป ดังนั้นเมื่อมีหน้าที่การเป็นผู้ดูแลเพิ่มขึ้นมาคุณจึงต้องคอยจัดลำดับความสำคัญว่าสิ่งใดควรทำก่อนหลังแต่ก็สามารถหาเวลาทำในสิ่งที่คุณรักได้ด้วย จริงอยู่ที่การดูแลพ่อแม่ในวัยชราเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยากที่จะทิ้งท่านไปไหนหรือทำอะไรนานๆ แต่หากจัดลำดับความสำคัญตามตารางเวลาได้ คุณก็สามารถทำในสิ่งที่คุณรักได้เช่นกัน

2. ขอความช่วยเหลือบ้าง

นักจิตวิทยากล่าวไว้ว่า  “ไม่มีใครสามารถทำหน้าที่นั้นได้ในระยะยาวด้วยตัวเอง” ดังนั้นเพียงเพราะคุณทำหน้าที่นี้เป็นหลักในบ้านแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องเป็น “ผู้ดูแล” คนเดียวเสมอไป ซึ่งบางครั้งคุณอาจจะขอความช่วยเหลือจากสมาชิกคนอื่นในบ้านให้ทำหน้าที่แทนคุณบ้างบางครั้ง เช่น การซักเสื้อผ้าของผู้สูงอายุ ทำอาหาร หรือกิจกรรมกายภาพบำบัดง่ายๆ เป็นต้น เพื่อให้คุณได้มีเวลาพักผ่อน หรือหากไม่มีใครในบ้านสะดวกทำหน้าที่แทนคุณได้จริงๆ ก็สามารถนำผู้สูงวัยเข้ารับบริการที่ศูนย์ดูแลผู้สูงวัย หรือ Home care สักแห่งเพื่อฝากดูแลพวกท่านในระหว่างวันที่คุณไม่อยู่เท่านั้น การทำเช่นนี้จะสามารถมั่นใจได้ว่ามีคนทำหน้าที่แทนคุณได้

 

3. คิดในแง่ดีเข้าไว้

ในวิธีนี้เป็นวิธีที่จะช่วยให้ลูกๆ หรือหลานๆ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลรู้สึกดีกับตนเองมากขึ้น วิธีการคือให้นึกถึงสิ่งที่เราทำให้ท่านอยู่ตอนนี้ว่าเป็นความกตัญญูอย่างหนึ่ง เป็นการตอบแทนที่ท่านเคยดูแลเรามาเพราะใช่ว่าลูกหลานทุกคนจะสามารถทำสิ่งนี้ให้กับพ่อแม่ในวัยเฒ่าชราได้กันทุกคน ดังนั้นจงภูมิใจในตัวเองให้มากๆ เพราะท่านก็คงอยากจะขอบคุณคุณมากๆ เช่นกัน

4. ออกไปเดินเล่น

การที่คุณต้องอยู่บ้านนานๆ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เพิ่มความเครียดให้กับตัวคุณเอง ฉะนั้นคงไม่เสียหายอะไรหากคุณจะออกมาเดินเล่นบ้างเพื่อปล่อยให้ตนเองได้ผ่อนคลายและออกมาสูดอากาศภายนอกโดยอาจจะใช้เวลาสัก 10-15 นาทีก็จะช่วยให้คุณดีขึ้นและลดความเครียดได้โดยอาจจะไปคนเดียวหรือพาคนสนิทสักคนไปด้วยก็ได้ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าการเดินเร็วหรือเดินเล่นในเวลาช่วงสั้นๆ เป็นการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนยาลดความซึมเศร้าในกรณีผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อยถึงปานกลาง ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟินทำให้รู้สึกดี ช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวล ดังนั้นเพื่อให้สุขภาพจิตดี การเดินเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง

5. คุยกับใครสักคน

นักจิตวิทยาได้กล่าวไว้ว่า “การดูแลผู้ที่อยู่ในวัยชราก็เปรียบเสมือนการนั่งรถไฟเหาะทางอารมณ์” กล่าวง่ายๆ คือจะมีหลากหลายอารมณ์ปะทะเข้ามาหาคุณในทุกช่วงเวลาที่คุณต้องดูแลผู้สูงวัย ไม่ว่าจะเป็น โกรธ เศร้า เหงา ขุ่นเคือง ก็ต่างเป็นอารมณ์ที่ผู้ดูแลต้องตั้งรับตลอดเวลา ดังนั้นสิ่งที่จะแก้ไขได้คือการที่คุณหันหน้าเพื่อพูดคุยกับใครสักคนเพื่อปรับอารมณ์และระบายความในใจมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นนักบำบัดโรค ผู้ให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา หรือเพื่อนที่ไว้ใจได้ ซึ่งคุณต้องมีร้านหรือสถานที่ที่คุณสามารถเปิดใจหรือซื่อสัตย์กับความรู้สึกของคุณเองสักแห่ง

ท้ายที่สุด โปรดจงมั่นใจว่าส่งที่คุณกำลังทำคือสิ่งที่ดีแล้วเพราะการดูแลใครสักคนไม่ใช่เรื่องง่ายเลย สิ่งสำคัญคือต้องรู้ตัวหรือตระหนักถึงตนเองว่าตอนนี้คุณรู้สึกอย่างไร ยังทำหน้าที่ตรงนี้ไหวหรือไม่ เนื่องจากภาวะทางจิตเป็นสิ่งสำคัญและ “ผู้ดูแลที่ดีที่สุดคือผู้ดูแลที่มีสุขภาพดีที่สุด” ยังคงเป็นประโยคที่ใช้ได้เสมอ หากวันหนึ่งคุณรู้สึกว่าอาจจะดูแลท่านไม่ไหวโปรดรู้ไว้ว่าไม่ใช่สิ่งผิด แต่สิ่งที่ต้องทำคือแบ่งหน้าที่ให้คนในครอบครัวหรือปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจากเนอร์ซิ่งโฮมสักแห่งเพื่อหาทางออกที่ดีให้กับตัวคุณและพ่อแม่ของคุณด้วยนั่นเอง


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง