“ข้อเข่าเสื่อม” โรคในผู้สูงอายุที่คงไม่มีบุตรหลานคนไหนอยากให้เกิดกับผู้ใหญ่ในครอบครัวของตนเอง เพราะถือได้ว่าเข่าหรือข้อต่างๆ เป็นฟันเฟืองสำคัญในการดำเนินชีวิตของคนเราเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในทุกๆ การเคลื่อนไหวไม่ว่าจะ เดิน วิ่ง นั่ง ต่างก็ต้องใช้กระดูกและข้อเหล่านี้ในการเคลื่อนไหว หากแต่อวัยวะในร่างกายของเรานั้นย่อมเสื่อมถอยตามกาลเวลาเมื่อเราชราลงอย่างเลี่ยงไม่ได้และมักส่งผลอันตราย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงต้องเฝ้าระวังให้ผู้สูงวัยในบ้านนั่นเอง
“ข้อเข่าเสื่อม” ปัญหาใหญ่กวนใจผู้สูงอายุ
การปวดข้อ ปวดเข่า ถือเป็นโรคที่พบได้ในทุกเพศและทุกวัย ซึ่งหากเป็นวัยหนุ่มสาวทั่วไป ปัจจัยหลักๆ ก็จะเกิดจากน้ำหนักตัวที่ค่อนข้างเกินมาตราฐานจึงทำให้หัวเข่าและกระดูกบริเวณใกล้เคียงรับไม่ไหวและสำหรับผู้สูงอายุเองนั้น สาเหตุก็คงไม่พ้นความเสื่อมของโครงสร้างกระดูกที่พอเมื่อแก่ตัวลงก็จะถดถอยลงเรื่อยๆ โดยโรคนี้ทำให้ผู้สูงอายุเกิดอาการปวดเข่า บวมแดง เข่าฝืดยึด มีเสียงดังในเข่า ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ดังปกติ ซึ่งมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไป
8 สาเหตุของอาการเข่าเสื่อมที่ผู้สูงวัยพึงระวัง
1. อายุที่มากขึ้น
โดยอาการนี้มักจะพบในผู้สูงวัยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปและมักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเพศหญิงมากกว่าเพศชายด้วย
2. น้ำหนักตัว
ซึ่งมากเกินมาตราฐานของดัชนีมวลกายของแต่ละท่าน คือมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 23 กก/ม2
3. ความผิดปกติของข้อเข่า
เป็นความผิดปกติของรูปเข่าและขา เช่น มีข้อเข่าผิดรูป ขาโก่ง หรือมีเข่าชนกัน เป็นต้น
4. การใช้ข้อเข่าหักโหมซ้ำๆ
ซึ่งนอกจากจะใช้เข่าอย่างหักโหมแล้วก็อาจจะเกิดจากการเคลื่อนไหวในท่าบางท่าที่ต้องงอเข่าบ่อยครั้ง เช่น คุกเข่า นั่งยองๆ ฯลฯ
5. กรรมพันธุ์
โดยอาจเป็นความไม่แข็งแรงที่ส่งต่อกันทางพันธุกรรม โดยครอบครัวอาจมีประวัติเป็นโรคเข่าเสื่อมมาก่อน
6. เชื้อชาติ
โดยจากการศึกษาพบว่าชาวเอเชีย (บางกลุ่ม) จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าชาวผู้ภูมิภาคอื่นๆ จากการเป็นโรคข้อเสื่อม
7. มีประวัติการติดเชื้อที่ข้อเข่า
หรืออาจเป็นโรคข้ออักเสบต่างๆ เช่น โรคเก๊าท์ โรคอักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น
8. มีประวัติการเกิดอุบัติเหตุ
ซึ่งอาจเกิดจากการ พลัดตกหกล้ม หรือ การบาดเจ็บจากกีฬา ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดการเข่าเสื่อมมากขึ้น

การปฏิบัติตัวและป้องกันการเข่าเสื่อม
- ลดน้ำหนักตัวในผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
- ออกกำลังกายกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรงสม่ำเสมอ
- ลดการใช้หัวเข่าอย่างหักโหม หรือ ใช้งานจนหนักเกินไป
- หากผู้สูงอายุมีอุปกรณ์ที่ช่วยในการพยุงหัวเข่า เช่น สนับเข่า เป็นต้น ก็ควรใช้อยู่เสมอ
- ในกรณีที่ปวดข้อเข่าอย่างเรื้อรังควรรีบพาผู้สูงวัยไปพบแพทย์
อย่างไรก็ดี ผู้สูงอายุที่มีปัญหาโรคข้อเข่าเสื่อม ปวดเข่าเข่าอักเสบหรือผู้ได้รับอุบัติเหตุที่หัวเข่าจากอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬา การรักษาข้อเข่าเสื่อมถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะนอกจากจะช่วยให้หายจากอาการเจ็บปวดแล้ว ยังทำให้ท่านสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติและยังช่วยให้ผู้สูงอายุมีความสุขและมีสุขภาพจิตใจที่แข็งแรงด้วย
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
บทความอื่นๆ
ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ดูแลอย่างไรดี?
ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว ในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร?
5 ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรง