“อาการแพนิค” หรือชื่อภาษาไทยที่ถูกเรียกว่า “โรคตื่นตระหนก” โดยเป็นเป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่งที่มีความวิตกกังวลสุดขีด หรือมีความกลัว ความอึดอัด ไม่สบายอย่างรุนแรง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและถึงขีดสูงสุดในเวลา 10 นาที คงอยู่สักระยะหนึ่ง แล้วค่อยๆ ทุเลาลงและอาการมักจะหายในเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง โดยการเกิดอาการตื่นตระหนกเช่นนี้มักพบบ่อยในวัยผู้สูงอายุตอนต้นและมักเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งกระตุ้น จึงอาจทำให้ผู้สูงอายุที่มีอาการนี้เกิดความวิตกกังวลจนนำไปสู่โรคร้ายแรงอื่นๆ ได้ในที่สุด
“อาการแพนิคในผู้สูงวัย” ไม่ใช่แค่ “ขี้ตกใจ” เท่านั้น
หลายๆ คนมักเข้าใจไปว่า “การแพนิค” คืออาการของคนที่มักจะ “ตกใจ” เกินเหตุ และไม่ว่าจะเกิดเหตุการอะไรก็มักจะมีคำพูดติดปากที่ว่า “ตั้งสติ อย่าแพนิค” นั่นจึงยิ่งทำให้เจ้าอาการชนิดนี้ดูเป็นเพียงอาการที่แสดงถึงความขี้ตกอกตกใจเท่านั้น แต่แท้จริงเราอาการนี้มีอะไรมากกว่าที่ทุกคนคิดและยิ่งหากเกินในผู้สูงอายุยิ่งไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เลยทีเดียว
โรคตื่นตระหนก คือ โรคที่เกิดจากฮอร์โมนลดหรือเปลี่ยนแปลงกระทันหัน ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ เหมือนไฟฟ้าลัดวงจร ระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของร่างกายในหลายๆ ส่วน จึงเกิดอาการหลายอย่างร่วมกัน เช่น หัวใจเต้นแรง เหงื่อออก หายใจไม่ทัน เป็นต้น อีกทั้งเป็นอาการที่เกิดขึ้นฉับพลันโดยที่ไม่มีสาเหตุหรือมีเรื่องให้ต้องตกใจ
โรคแพนิคกับสาเหตุที่แท้จริง
สาเหตุของโรค เชื่อว่ามีปัจจัยหลายประการที่อาจประกอบกันทำให้เกิดอาการ เช่น
-
ทางด้านร่างกาย
มีปัญหาในการทำงานของสมองส่วนควบคุมความกลัว ซึ่งเป็นความผิดปกติของสารสื่อนำประสาทบางอย่าง
-
ทางพันธุกรรม
อาจพบได้จากสมาชิกในครอบครัวเดียวกัน หากใครคนใดคนหนึ่งมีประวัติการเป็นโรคนี้มาก่อน บุตรหลานรุ่นต่อๆ มาก็อาจจะมีอาการนี้ได้ด้วยเช่นเดียวกัน
-
ทางด้านจิตใจ
ความตึงเครียดในชีวิต ได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรง
-
โรคทางอายุรกรรม หรือ สารจากยาบางชนิด
ผู้สูงอายุในบางรายอาจไม่ได้มีปัจจัยทางด้านร่างกาย พันธุกรรม และจิตใจ มากระตุ้นให้เกิดอาการและถึงแม้ว่าสิ่งกระตุ้นได้หมดไปแล้วก็ตาม แต่ผู้ป่วยสูงอายุบางรายก็ยังคงมีอาการจู่โจมเกิดขึ้นต่อไป

อาการที่สังเกตได้
สารพัดอาการของโรคแพนิคที่เห็นได้ชัด และดูใกล้เคียงกับโรคหัวใจจนหลายคนมักเข้าใจผิด ได้แก่ ใจสั่น ใจเต้นเร็ว มือชา หายใจไม่อิ่ม เป็นต้น และในผู้สูงอายุบางรายอาจเกิดอาการวิตกกังวล กลัวว่าอาการจะกลับมา กลัวจะเสียสติและเสียชีวิต โดยอาการกังวลดังกล่าวผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยโรคนี้จะไม่สามารถควบคุมตนเองได้
- ใจสั่น ใจเต้นแรง แน่นหน้าออก
- เหงื่อออกมาก รู้สึก ร้อนๆ หนาวๆ
- หายใจถี่ หายใจไม่อิ่ม
- วิงเวียนศีรษะ คล้ายจะเป็นลม
โรคแพนิคอันตรายต่อผู้สูงอายุถึงชีวิตหรือไม่?
ต้องบอกก่อนว่าโรคนี้เป็นโรคที่ไม่ได้เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่ก็ไม่ควรปล่อยไว้ หากบุตรหลานในครอบครัวได้พบว่าผู้ใหญ่ในบ้านมีอาการข้างต้นหรือมีสัญญาณอื่นๆ ที่บ่งบอกว่าท่านจะเป็นโรคตื่นตระหนก ก็ควรรีบพาท่านไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรีบทำการรักษาให้โดยเร็ว เพราะแม้ตัวโรคจะไม่ได้เป็นอันตรายแต่ก็เป็นสาเหตุของโรคร้ายแรงอื่นๆ ตามมานั่นเอง
-
สามารถทำการรักษาได้ 2 แบบ คือ
รักษาด้วยยา
ยารักษากลุ่มอาการตื่นตระหนกแบ่งตามการออกฤทธิ์ได้ ดังนี้
-
ยากลุ่มออกฤทธิ์เร็ว: ยากลุ่มนี้ควบคุมอาการของโรคได้เร็ว แต่หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้ดื้อยา แพทย์จึงมักให้เพื่อคุมอาการเท่านั้น
-
ยากลุ่มออกฤทธิ์ช้า: ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ช้า โดยใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์จึงจะเห็นผล เนื่องจากตัวยาจะเข้าทำการเปลี่ยนแปลงระดับสารสมอ
รักษาด้วยกันดูแลตนเอง
สามารถทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น
-
งดการทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความเร่งรีบจนเกินไป
-
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ งดแอลกอร์ฮอล์ และสารเสพติดอื่นๆ
-
ไม่ใช้เวลาที่อยู่กับหน้าจอคอมหรือโทรศัพท์นานๆ
-
ฝึกหายใจเข้า-ออก และเรียนรู้ที่จะผ่อนคลายตัวเองเสมอเมื่อเกิดอาการวิตกกังวล
อย่างไรก็ดี “อาการแพนิค” ยังคงเป็นกลุ่มอาการที่ได้รับสนใจกันมากในปัจจุบัน ดังนั้นการเตรียมพร้อมที่จะรับมือเป็นสิ่งดีแต่การรับมืออย่างถูกต้องเป็นสิ่งที่ดีกว่า บุตรหลานในทุกๆ บ้านควรให้ความสำคัญและเรียนรู้เกี่ยวกับข้อมูลของโรคนี้อย่างถูกต้อง โดยอาจจะขอคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญประกอบด้วย เพื่อที่จะนำไปดูแลคุณพ่อคุณแม่ที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
สังเกตภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มีความอันตรายอย่างไร
“โรคความดันสูง” ในผู้สูงอายุ กับ 8 ภาวะแทรกซ้อนมีอะไรบ้าง
5 นวัตกรรมของใช้ผู้สูงอายุสุดล้ำ-เพื่อผู้สูงวัยยุค 2022
บทความอื่นๆ
ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ดูแลอย่างไรดี?
ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว ในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร?
5 ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรง