6 ปัญหาของผู้สูงอายุ ยิ่งชรายิ่งต้องเจอ

“ปัญหาของผู้สูงอายุ” สิ่งไม่พึงประสงค์ที่ผู้สูงวัยมีอายุที่มากขึ้น เราทุกคนต่างรู้ดีว่า เมื่อเราแก่ตัวลง ร่างกายของเรานั้นก็จะทำงานได้ไม่เหมือนเดิม ระบบต่างๆ อวัยวะต่างๆ ก็มีประสิทธิภาพที่ไม่เท่าสมัยหนุ่มสาว นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมผู้สูงอายุจึงมีปัญหาเรื่องสุขภาพได้มากกว่าคนวัยอื่นๆ ซึ่งปัญหาที่ว่านั้น ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง บทความนี้เราจะมาคุยกัน

6 ปัญหาของผู้สูงอายุ ยิ่งชรายิ่งต้องเจอ

“ปัญหาของผู้สูงอายุ” ที่มักพบเจอ มีอะไรบ้าง?

ปัญหาของผู้สูงอายุที่พบบ่อยนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกคือ กลุ่มโรคสามัญทั่วไป ที่เป็นได้แม้ยังไม่เข้าสู่วัยผู้สูงอายุ เช่น เบาหวาน ความดัน หัวใจ ไต ซึ่งเกิดได้กับคนทุกวัย แต่พออายุมากขึ้น ก็ยิ่งมีโอกาสเป็นมากขึ้น ส่วนกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มอาการที่เกิดเฉพาะกับผู้สูงอายุ คือ เกิดจากความชราภาพของร่างกาย หรือจากผลข้างเคียงจากโรคที่มารุมเร้าทำให้การดูแลตนเองถดถอยลง

6 ปัญหาสุขภาพของผู้สูงวัย ยิ่งปล่อยไว้ ยิ่งน่ากลัว

1. ความเสื่อมของสติปัญญา

เนื่องจากเซลล์สมองจะน้อยลง ขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากเลือดไหลเวียนสมองน้อยลงและภาวะขาดอาหารและวิตามินบางชนิด ผู้สูงอายุจะมีความจำเสื่อม หลงลืม นอนไม่หลับ ภาวะสมองเสื่อมอาจนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ เช่น การพลัดหลง, อุบัติเหตุ, การขาดอาหาร, การติดเชื้อ ฯลฯ

การป้องกันและการดูแล

ถ้าคนในครอบครัวสังเกตเห็นว่าผู้สูงอายุเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด ความจำ จนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินอาการและรับการรักษา แม้ว่าภาวะความจำเสื่อมจะไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็มีวิธีที่จะช่วยชะลอการดำเนินไปของโรคได้ อาทิ การทำกิจกรรมต่างๆ ที่กระตุ้นสมอง เช่น ทำงานหรือทำงานบ้านเท่าที่ทำได้ เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมกับครอบครัวและเพื่อนๆ อ่านหนังสือ เล่นเกม ออกกำลังกาย เป็นต้น

2. การหกล้ม

โดยเฉพาะเพศหญิง อัตราการหกล้มสูงถึง 30% ในแต่ละปี และสัดส่วนจะสูงขึ้นตามอายุการทรงตัวจะเสียไป และทำให้เซ่ได้ง่ายในผู้สูงอายุ ทำให้หกล้มได้ง่าย สาเหตุทำให้เกิดการหกล้ม เช่น เลือดไหลเวียนสมองน้อยลง อัมพาต ปอดบวม หัวใจขาดเลือด การเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นลื่น เป็นต้น ยาและแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุเสริมที่พบได้บ่อย นอนไม่หลับปัสสาวะไม่ทัน เท้าและอาการบวมก็เป็นปัญหาได้

สาเหตุสำคัญที่สุด

คือ การเสียการทรงตัวและกลัวจะหกล้ม การทรงตัวที่ผิดปกติอาจมีสาเหตุจากความเสื่อมตามอายุ โรคของระบบประสาท เช่น อัมพาต ระบบประสาทอัตโนมัติ และระบบประสาทส่วนปลายเสื่อม เบาหวาน แอลกอฮอล์ ภาวะทุพโภชนาการและโรคของสมองส่วนที่ควบคุมการทรงตัว ความดันโลหิตตกเมื่อเปลี่ยนท่าจากการใช้ยาบางชนิด หรือเกิดภายหลังการนอนที่นานเกินไป ภาวะทางจิต เช่น ความเครียดหรือซึมเศร้าก็อาจมีส่วนเช่นกัน

การล้มเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะทุพพลภาพที่สำคัญของผู้สูงอายุและอาจจะมีภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เสียชีวิตได้ การป้องกันการล้มโดยการจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้าน การใช้อุปกรณ์ในการช่วยการเคลื่อนที่ที่เหมาะสม การรักษาโรคกระดูกและข้อ และรักษาโรคทางกายต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุให้ผู้สูงอายุเกิดการหกล้มเป็นสิ่งจำเป็น ผู้สูงอายุทุกคนควรได้รับการประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดการหกล้มอย่างสม่ำเสมอและได้รับการฝึกใช้อุปกรณ์ช่วยเดินในกรณีที่จำเป็น

การป้องกันและการดูแล

  • หลีกเลี่ยงยาที่ทำให้ง่วงซึมหรือความดันโลหิตตก
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเน้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการทรงตัว
  • ปรับสิ่งแวดล้อม เช่น เพิ่มไฟสว่าง พื้นกันลื่น มีราวจับ
  • ตรวจมวลกระดูกเพื่อประเมินหาโรคกระดูกพรุนและรับการรักษาตามความเหมาะสม
 

3. การเคลื่อนไหวลำบาก

เนื่องจากการปวดอ่อนแอ การเสียการทรงตัว และปัญหาทางจิต ทำให้ผู้สูงอายุต้องนอนอยู่เฉย ๆ ภาวะทุพโภชนาการ ความผิดปกติของเกลือแร่ โลหิตจาง ระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อ นอกจากนี้อาจมีสาเหตุร่วมจากโรคทางข้อ เช่น รูมาตอยด์ เกาต์ โรคพาร์กินสัน และยารักษาโรคจิต อาการเจ็บปวดจากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้สูงอายุไม่อยากเคลื่อนไหวได้

การป้องกันและการดูแล

  • ผู้สูงวัยที่ยังแข็งแรงอยู่ ควรออกกำลังกายให้ครบทั้ง 3 รูปแบบ คือ คาร์ดิโอ (เดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน แอโรบิคเบาๆ) เล่นเวทเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อและฝึกการทรงตัวเพื่อให้สามารถเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว
  • ผักผลไม้ที่รับประทานง่ายและไม่หวานจัด จะช่วยให้ผู้สูงอายุได้รับวิตามินและกากใยอาหารอย่างพอเพียง
  • หากผู้สูงอายุมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ หอบเหนื่อย ซึมลง อาเจียนหรือท้องเสีย ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 – 2 วัน ควรรีบผู้สูงอายุมาโรงพยาบาล ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง

4. ภาวะซึมเศร้า

เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคเรื้อรังทางกาย ขาดสมรรถภาพ และขาดความเอาใจใส่จากญาติพี่น้อง ผู้ป่วยจะมีอาการหลายอย่าง ได้แก่ ความผิดปกติของการนอน ขาดความสนใจ รู้สึกผิด ขาดสมาธิ เบื่ออาหาร ถ้ามีอาการรุนแรงอาจมีความคิดฆ่าตัวตาย

การป้องกันและการดูแล

  • เอาใจใส่ดูแล และเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วย โดยพูดคุยกันและฟังกันให้มากขึ้น
  • เก็บของมีคม อาวุธ หรือสารพิษ ให้ไกลมือผู้ป่วย
  • ไม่ทิ้งผู้ป่วยไว้เพียงลำพัง ควรมีคนดูแลอยู่เสมอ
  • ไม่ควรปรับลดหรือเพิ่มยาเอง

5. อาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้

การอักเสบของทางเดินปัสสาวะ ช่องคลอด หรือทางเดินปัสสาวะฝ่อและอักเสบ และผลข้างเคียงของการใช้ยาและรักษาหลายโรค เช่น ยาคลายเครียด ยารักษาอาการซึมเศร้า หรือยารักษาความดันบางชนิด ยาขับปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะมาก ก็อาจทำให้ปัสสาวะไม่ทันได้ นอกจากนี้ยังมีภาวะปัสสาวะไม่สะดวกเรื้อรัง ซึ่งเป็นผลจากความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ

การป้องกันและการดูแล

  • ปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แก้ไขได้ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • ออกกำลังกายและขยับเขยื้อนให้กล้ามเนื้อร่างกายแข็งแรงขึ้น
  • ฝึกการขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานวันละ 50-100 ครั้ง
  • ฝึกการกลั้นปัสสาวะโดยปัสสาวะเป็นเวลาและค่อยๆ ยืดเวลาระหว่างการปัสสาวะ เพื่อฝึกกระเพาะปัสสาวะให้สามารถกลั้นได้มากขึ้น

6. ผลกระทบจากการใช้ยา

ด้วยเหตุผลหลายประการ ทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสจะมีผลข้างเคียงจากการใช้ยามากกว่าคนทั่วไป 2 – 3 เท่า การกำจัดของเสียในร่างกายช้าลงมาก เนื่องจากการทำงานของไตและตับเสื่อมลง การตอบสนองต่อยาก็ต่างจากคนทั่วไป เช่น ไวต่อตระกูลฝิ่นและยาต้านการแข็งตัวของเลือด ผู้ป่วยสูงอายุอาจมีภาวะผิดปกติหลายอย่างจึงมีโอกาสได้รับยาหลายขนาน ทั้งที่แพทย์สั่งและซื้อกินเอง โอกาสเกิดผลข้างเคียงจึงมากขึ้น ดังนั้นการเลือกใช้ยาเท่าที่จำเป็นและอย่างเหมาะสมจึงจำเป็นมากเพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียดังกล่าว

การป้องกันและการดูแล

เนื่องจากผู้สูงอายุมีสภาพร่างกายที่เสื่อมลงทุกระบบ การใช้ยาจึงมีความเสี่ยงกว่าวัยอื่น ยกตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุมักเกิดอาการหน้ามืดเวลาเปลี่ยนท่าลุกขึ้นยืนจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ เมื่อรับประทานยาลดความดันโลหิตอาจยิ่งทำให้เสี่ยงต่อการเป็นลม ล้ม หรือเกิดอุบัติเหตุได้ ผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่าหรือปวดข้อที่ต้องรับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ซึ่งมีฤทธิ์ระคายเคืองทางเดินอาหาร การรับรู้ทางกายที่ลดลงอาจทำให้ไม่รู้สึกถึงอาการเจ็บปวด กว่าจะตรวจพบสาเหตุก็อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ ผู้ดูแลและตัวผู้สูงอายุเองควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติ เช่น หากพบปัสสาวะหรืออุจจาระมีสีคล้ำซึ่งเป็นสัญญาณของอาการเลือดออกในทางเดินอาหาร ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

อย่างไรก็ดี ปัญหาของผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่ลูกหลานไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง เพราะแม้ในช่วงเริ่มต้นจะดูเป็นเรื่องที่เล็กน้อย แต่หากปล่อยไว้ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและร่างกายของผู้สูงวัยได้ในที่สุด ดังนั้นผู้สูงอายุควรได้รับการตรวจสมรรถภาพร่างกายผู้สูงอายุ (Geriatric Assessment) และการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อพบโรคหรือความผิดปกติต่าง ๆ ควรรับการตรวจรักษาและดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงเหมาะสมกับวัยนั่นเอง


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง