อาหารผู้สูงอายุเลือกอย่างไรให้เหมาะ- 8 วิธีนี้ช่วยได้

“อาหารผู้สูงอายุ” ปัญหาโลกแตกของหลายๆ ครอบครัว เนื่องจากบางครอบครัวนั้นคิดเมนูไม่ออก ไม่รู้ว่าจะทำเมนูไหนดี ไม่รู้ว่าจะเลือกให้ตรงโภชนาการได้อย่างไร หรือจะเลือกเมนูไหนให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวต่างๆ คำถามเหล่านี้ถูกตั้งขึ้นมาอย่างนับไม่ถ้วนเพราะผู้สูงวัยในแต่ละบ้านมีความต้องการไม่เหมือนกันนั่นเอง

อาหารผู้สูงอายุเลือกอย่างไรให้เหมาะ- 8 วิธีนี้ช่วยได้

“อาหารผู้สูงอายุ” สำคัญอย่างไร

แต่ละวัยย่อมต้องการสารอาหารที่แตกต่างกันและเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายไปตามอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายเจริญเติบโตสูงสุดและเกิดความเสื่อมได้มากกว่าวัยอื่น การเลือกอาหารผู้สูงอายุอย่างถูกวิธีเหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและชะลอให้ร่างกายไม่ทรุดโทรมก่อนเวลาอันควร

8 วิธีเลือกอาหารผู้สูงอายุให้เหมาะสม

เนื่องจากผู้สูงอายุนั้นมีปัญหาเรื่องสุขภาพไม่เหมือนกันความต้องการสารอาหารจึงแตกต่างกันออกไป เช่น บางท่านต้องการสารอาหารประเภทนี้แต่บางท่านกลับต้องลดสารอาหารประเภทเดียวกันลง  วิธีการช่วยเลือกอาหารสำหรับผู้สูงอายุทั้ง 8 วิธีจึงถูกแบ่งออกตามสภาพทางกายภาพ โรคประจำตัว และอาหารทางเลือกอื่นๆ ดังนี้

  • อาหารสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีฟัน

ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มากไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ จากความเสื่อมสภาพของร่างกายรวมถึงภาวะการ “ไม่มีฟัน” ซึ่งเกิดจากการสูญเสียฟันไปตามอายุขัย  ซึ่งทำให้เกิด “ภาวะขาดสารอาหาร” ตามมาทำให้ท่านเคี้ยวอาหารบางประเภทไม่ได้ กลืนลำบาก และต้องหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภทจนทำให้ขาดสารอาหาร ดังนั้นวิธีที่จะช่วยเลือก คือ

1. อาหารนุ่ม-บดละเอียด

อาจจะเป็นเมนูที่ผ่านการประกอบอาหารจนมีรสสัมผัสที่อ่อนนุ่มลงหรือนำมาบดละเอียดเพื่อให้ผู้สูงวัยที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพฟันได้ลองรับประทาน เช่น เมนูตุ๋นผักรวม ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง เนื้อตุ๋นเปื่อย เป็นต้น เพื่อให้รับประทานง่ายขึ้นนั่นเอง

2. สามารถกลืนได้ง่าย

ในข้อนี้จะเป็นวิธีที่ช่วยเลือกอาหารให้กับผู้สูงอายุที่อาจจะยังมีฟันทานอาหารได้ แต่ก็มีปัญหาในเรื่องของความแข็งแรงเนื่องจากบางรายอาจจะเจ็บหรือปวดฟันในเวลาเคี้ยวส่งผลให้เลือกที่จะกลืนเลยทั้งๆ ที่อาหารยังมีขนาดชิ้นที่ใหญ่อยู่ ดังนั้นลูกๆ หลานๆ จึงควรเลือกเมนูที่สามารถกลืนง่ายไม่ลำบาก เช่น ซุปผักต่างๆ ข้าวหรือโจ๊กหมูสับ  เป็นต้น

  • อาหารสำหรับผู้สูงอายุที่ติดเตียง

เมื่อผู้สูงอายุเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จนกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ปัญหาที่สำคัญและพบได้บ่อยของผู้ป่วยติดเตียง คือปัญหาเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการซึ่งเป็นสภาวะของร่างกายที่ได้รับอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ได้รับสารอาหารไม่ครบ ทำให้ขาดสารอาหารร่วมกับการขาดพลังงาน ทำให้เกิดโรค เช่น โรคขาดโปรตีน โรคขาดวิตามินต่าง ๆ และภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ เป็นต้นดังนั้นวิธีที่จะช่วยเลือก คือ

3. เมนูสร้างเสริมสารอาหารให้ครบถ้วน

เมื่อผู้สูงอายุอยุ่ในสภาพการเป็นผู้ป่วยติดเตียงจึงมักมีภาวะแผลกดทับขึ้น  ร่างกายมีความจําเป็นในการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ต่อสู้กับการติดเชื้อ ซ่อมแซมกระดูก  ร่างกายมีความต้องการโปรตีนมากกว่า 2 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แหล่งโปรตีนจากอาหารได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ นม ชีส โยเกิร์ต ถั่วลิสง พืชตระกูลถั่ว เป็นต้น

4. ในกรณีให้อาหารทางสายยาง

การที่ผู้สูงอายุอยู่ในสถานภาพของผู้ป่วยติดเตียงนั้นมักทำให้ร่างกายของท่านเกิดปัญหาจากไม่สามารถขยับร่างกายจึงทำให้มีอาการท้องผูกและกล้ามเนื้อน้อย เพราะไม่มีการเคลื่อนไหวคอยทำให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวเพื่อทำการขับถ่ายและกล้ามเนื้อน้อยก็น้อยตามการขยับตัว ดังนั้นการเลือกอาหารให้ผู้สูงอายุติดเตียงในกรณีป้อนทางสายยางควรเลือกอาหารเสริมที่มีใยอาหารมากๆ หรือจุลินทรีย์ ที่ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกรวมถึงสร้างเสริมให้ท่าได้รับอาหารที่มีโปรตีนอย่างพอเพียงร่วมกับการขยับร่างกายมากขึ้นเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อมีมากขึ้นและแข็งแรงมากขึ้นด้วย

 
  • อาหารสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน

เป็นโรคที่มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากมีอินซูลินน้อย หรือร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ทำให้ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ตามปกติ มีอาการปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย น้ำหนักลด ผลในระยะยาวทำให้เกิดโรคเบาหวานข้นตา เบาหวานลงไต โรคหัวใจและหลอดเลือดตีบแข็งและอื่นๆ จึงควรได้รับสารอาหารและพลังงานที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายผู้สูงอายุแต่ก็ต้องคอยควบคุมปริมาณบางอย่างไม่เกินความต้องการในเวลาเดียวกัน

5. ประเภทอาหารที่ควรลด

เป็นอาหารที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่

– อาหารที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ

เช่น ของหวานต่างๆ คุกกี้ ไอศกรีม เป็นต้น

– เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล

เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ น้ำหวาน เป็นต้น

– ผลไม้เชื่อม ผลไม้ตากแห้ง น้ำผึ้ง และลูกอม

6. ประเภทอาหารที่ทานได้แต่ต้องมีปริมาณกำหนด

– อาหารประเภทแป้ง

อาหารประมาณนี้จะถูกย่อยสลายกลายเป็นน้ำตาลและถูกดูดซึมเข้ามาในร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานซึ่งผู้ป่วยเบาหวานต้องถูกจำกัด

– อาหารประเภทโปรตีน

จริงอยู่ที่ร่างกายต้องการโปรตีนต้องซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ แต่หากผู้ป่วยเบาหวานรับมากเกินไปก็จะทำให้ไตทำงานหนัก

– อาหารประเภทไขมัน

ให้พลังงานสูงและช่วยให้อาหารมีรสชาติมากขึ้น แต่ก็ทำให้ไขมันในเลือดสูง

– ผลไม้

มีวิตามิน มีเกลือแร่ แต่บางชนิดก็มีน้ำตาลสูงจึงควรทานในปรมาณที่เหมาะสม

– นมหรือผลิตภัณฑ์ที่มาจากนม

ควรดื่มนมจืดพร่องไขมัน ที่ไม่ปรุงแต่งรสวันละ 1-2 แก้ว หรือโยเกิร์ตพร่องไขมัน ไม่เกิน 1 ถ้วยตวงต่อวัน

– แอลกอฮอล์

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางชนิด เช่น ไวน์ เบียร์ มีส่วนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

– เกลือ

จะทำให้ความดันโลหิตสูง เพราะเกลือทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำไว้มากขึ้น แนะนำรับประทานไม่เกิน 2000 มิลลิกรัม/วัน

7. ประเภทอาหารที่ทานได้ไม่จำกัด

– ผักใบเขียวต่างๆ
– เครื่องเทศ
– ชา กาแฟ

(ไม่มีน้ำตาล ในปริมาณไม่เกิน 2 แก้วต่อวันตามปกติ)

– เครื่องปรุง
  • อาหารสำหรับผู้สูงอายุสำเร็จรูป

เป็นอาหารทางเลือกอีกประเภทหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่มาจากนักวิจัยจากสถาบันต่างๆ ได้จัดทำขึ้นเพื่อตอบโจทย์ให้กับทั้งผู้สูงอายุที่ได้รับสารอาหารและความสะดวกให้กับสมาชิกในครอบครัวในกรณีที่อาจไม่มีเวลาทำอาหารให้พวกท่านมากนัก

8. เลือกประเภทของอาหารสำเร็จรูปให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ

– ข้าวกล่องสำเร็จรูป

มีหลากหลายยี่ห้อให้ลูกหลานได้เลือกซึ่งบางยี่ห้อได้แบ่งเมนูไปตามโรคประจำตัวของผู้สูงอายุว่าโรคใดสามารถทานอะไรได้บ้าง

– อาหารสำเร็จรูปชนิดผง

จะเป็นลักษณะเดียวกับโจ๊กสำเร็จรูปคือเป็นผงบรรจุอยู่ในซองและนำมาละลายกับน้ำร้อนอีกครั้งเพื่อรับประทาน

– อาหารสำเร็จรูปชนิดเหลว

ส่วนใหญ่อาหารสำเร็จรูปชนิดเหลวจะผลิตมาเพื่อต่อเข้าสายยางให้กับผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงโดยสามารถต่อเข้ากับสายยางเพื่อเข้าทางจมูกหรือช่องท้องได้เลย

– อาหารสำเร็จรูปชนิดแคปซูล

ชนิดนี้จะทานง่ายที่สุดโดยส่วนใหญ่จะทานเป็นอาหารเสริม เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารครบถ้วนมากขึ้น

อย่างไรก็ดี การรับประทานอาหาร ไม่ได้เป็นเพียงการตอบสนองความต้องการทางร่างกายเท่านั้น แต่ยังเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขในการใช้ชีวิตด้วย ซึ่งในแต่ละข้อของ 8 วิธีนี้ไม่ได้จำกัดไว้เพื่อผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวโรคใดโรคหนึ่งเท่านั้น หากแต่บุตรหลานหรือสมชิกในครอบครัวสามารถเลือกนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับผู้สูงวัยในครอบครัว

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

8 โรคผู้สูงอายุที่ควรระวัง มีอะไรบ้าง?

5 ข้อเท็จจริงเรื่องสุขภาพจิตผู้สูงอายุที่ลูกหลานควรรู้

การดูแลผู้สูงอายุอย่างไรให้สุขภาพดี มีความสุข อายุยืนยาว

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง