โรควิตกกังวล กล้ามเนื้อกระตุก ในผู้สูงวัย เกิดจากอะไรกันแน่

โรควิตกกังวล กล้ามเนื้อกระตุก สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกายของเรา โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ที่เมื่อพวกท่านต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก หรือสถานการณ์ที่ยากจะรับมือ อาจทำให้เกิดอาการวิตกกังวล ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น เมื่อร่างกายเกิดความวิตกกังวลจะทำให้หัวใจของท่านเริ่มเต้นแรงขึ้น บางครั้ง ความวิตกกังวล ทำให้กล้ามเนื้อกระตุกได้อีกด้วยนั่นเอง ซึ่งหากเกิดภาวะเช่นนี้ บุตรหลานควรรับมืออย่างไร?

โรควิตกกังวล กล้ามเนื้อกระตุก ในผู้สูงวัย เกิดจากอะไรกันแน่

โรควิตกกังวล กล้ามเนื้อกระตุก ในผู้สูงวัย เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่?

อาการกระตุกนั้นเป็นอาการอย่างหนึ่งเมื่อร่างกายเกิดความวิตกกังวล แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกๆ คนที่มีอาการวิตกกังวลจะเกิดอาการกระตุกได้ อาการกระตุก เป็นอาการของกล้ามเนื้อ หรือกลุ่มของกล้ามเนื้อเกิดการสั่นไหว เคลื่อนไหว โดยที่ไม่ได้ผ่านการสั่งการจากสมอง ซึ่งอาจจะเป็นเพียงการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยไปจนถึงการเคลื่อนไหวที่มากขึ้น เช่น มือกระตุกขยับขึ้นลง

อาการกล้ามเนื้อกระตุกที่เกิดจากความวิตกกังวล นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในกล้ามเนื้อทุกๆ ส่วนของร่างกาย เมื่อเกิดอาการกระตุกอาจจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วินาที หรืออาจจะเกิดขึ้นนานกว่านั้นก็ได้ สำหรับบางคนอาจจะมีอาการกระตุกเกิดขึ้นได้เรื่อยๆ กล้ามเนื้อที่ได้รับผลจากความวิตกกังวลมากที่สุดคือ กล้ามเนื้อบริเวณดวงตา อาการกล้ามเนื้อกระตุกที่เกิดจากความวิตกกังวลนั้นมักจะรุนแรงในช่วงก่อนนอน เพราะเป็นช่วงที่เรามักจะคิดวนเวียนถึงเรื่องที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล แต่เมื่อหลับไปแล้วอาการกล้ามเนื้อกระตุกก็จะหายไปเอง แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณมีเรื่องให้คิดจนมีความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น ก็จะส่งผลให้อาการกล้ามเนื้อกระตุกนั้นรุนแรงขึ้นได้ อย่างไรก็ตามเมื่ออาการวิตกกังวลหายไป แต่อาการกล้ามเนื้อกระตุกอาจจะยังคงอยู่สักพัก และจะค่อยๆ หายไปเองได้

สาเหตุที่ความวิตกกังวล ทำให้กล้ามเนื้อกระตุก

ความวิตกกังวล

ความวิตกกังวลจะทำให้ระบบประสาทปล่อยสารสื่อประสาทออกมา ซึ่งสารสื่อประสาทบางชนิดจะไปส่งสารให้กล้ามเนื้อนั้นเกิดการขยับ จึงทำให้ร่างกายเกิดอาการกระตุก

ความเครียด

ความเครียดทำให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาทนั้นตึง เมื่อกล้ามเนื้อและเส้นประสาทนั้นตึงมากๆ จะทำให้การไหลเวียนของเลือดและฮอร์โมนในกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ จนทำให้กล้ามเนื้อเกิดการตอบสนองจนเกิด อาการกล้ามเนื้อกระตุกแบบไม่รุนแรง (Benign fasciculation syndrome)

อะดรีนาลีน

เมื่อเกิดความวิตกกังวล ร่างกายจะปลดปล่อยฮอร์โมนแห่งความเครียด เช่น อะดรีนาลีน (Adrenaline) และคอร์ติซอล (Cortisol) เมื่อร่างกายถูกปลดปล่อยให้อะดรีนาลีนพลุ่งพล่านจะทำให้กล้ามเนื้อนั้นมีพลังงานมากขึ้น จนทำให้บางคนรู้สึกอยากขยับหรือใช้กล้ามเนื้อ แต่สำหรับบางคนอาจจะแสดงออกมาในรูปแบบของอาการกล้ามเนื้อกระตุก

อาการกล้ามเนื้อกระตุกจากการวิตกกังวล

ผู้ป่วยจะเกิดอาการกระตุก สั่น เกร็งของเส้นใยกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้อมัดเดี่ยวขนาดเล็กทันทีทันใด ส่วนมากมักจะเกิดขึ้นทีละจุด แต่ในบางครั้งอาจเกิดได้พร้อมกันทั่วร่างกาย หากอาการที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมากก็อาจกระทบต่อการรับประทานอาหาร การพูด หรือการเดิน

โดยทั่วไปกล้ามเนื้อกระตุกจะเกิดชั่วคราวและค่อย ๆ หายได้เองภายในไม่กี่วัน แต่ในกรณีที่มีอาการถี่มากขึ้น เป็นต่อเนื่อง หรือมีอาการอื่นร่วมด้วยในบริเวณที่เกิดการกระตุก เช่น รู้สึกเหน็บชา กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือกล้ามเนื้อดูฝ่อลง ควรไปพบแพทย์ เพื่อค้นหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกวิธี เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคอื่น

 

แนวทางป้องกันอาการกล้ามเนื้อกระตุกที่เกิดจากความวิตกกังวล

วิธีที่จะช่วยป้องกันอาการ กล้ามเนื้อกระตุกที่เกิดจากความวิตกกังวล นั้นคือ พยายามจัดการกับความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น แต่นอกจากนี้ยังมีวิธีการป้องกันที่น่าสนใจอีกมากมาย ดังนี้

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ อย่างเพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ ร่างกายจะสามารถจัดการและตอบสนองต่อความเครียดได้ดีขึ้น

  • หลีกเลี่ยงการบริโภคคาเฟอีน

คาเฟอีนนั้นไม่ได้ส่งผลต่อความวิตกกังวลโดยตรง แต่เมื่อไรก็ตามที่ร่างกายเกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุก ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคคาเฟอีน เพราะคาเฟอีนจะยิ่งทำให้อาการกล้ามเนื้อกระตุกนั้นแย่ลง

  • ลดความเครียด

ยิ่งหลีกเลี่ยงและจัดการ กับความเครียดและความวิตกกังวลได้ดีเท่าไร ก็จะยิ่งลดอัตราการเกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุกได้มากขึ้นเท่านั้น

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

เพราะการออกกำลังกายจะช่วยให้กล้ามเนื้อได้ใช้พลังงาน จึงทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุกได้น้อยลง แต่สำหรับบางคนการออกกำลังกายอย่างเข้มข้นอาจเป็นสาเหตุทำให้กล้ามเนื้อกระตุกมากขึ้น

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง เพื่อช่วยให้ร่างกายและเส้นประสาทได้พักฟื้น

การรักษาอาการกล้ามเนื้อกระตุก

อาการกล้ามเนื้อกระตุกทั่วไปมักไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา เพราะอาการจะค่อย ๆ ลดลงและหายไปเองภายใน 2-3 วัน แต่ในรายที่เกิดกล้ามเนื้อกระตุกมากอาจบรรเทาอาการให้ดีขึ้นด้วยการใช้ยา

ตัวอย่างกลุ่มยาที่ใช้รักษาอาการกล้ามเนื้อกระตุก

  • คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เช่น ยาเบต้าเมทาโซน ยาเพรดนิโซโลน
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ (Muscle Relaxants) เช่น คาริโซโพรดอล ยาไซโคลเบนซาพรีน
  • ยาหย่อนกล้ามเนื้อ (Neuromuscular Blockers) เช่น โบทูลินั่มท็อกซิน ชนิดเอ โบทูลินั่มท็อกซิน ชนิดบี
  • ยาคลายเครียด (Tranquilizers) เช่น ยาโคลนาซีแพม

ท้ายที่สุด อาการ โรควิตกกังวล กล้ามเนื้อกระตุก ในผู้สูงวัยนั้นอาจจะดูเป็นเรื่องที่น่าห่วง แต่จริง ๆ แล้วไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งการเพิกเฉย ไม่สนใจต่ออาการกระตุกที่เกิดขึ้นเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดความกังวลและช่วยลดอาการกระตุกที่เกิดขึ้นได้ เพราะอาการกล้ามเนื้อกระตุกมักจะแย่ลง เมื่อผู้สูงอายุมีความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การลดความวิตตกกังวลจึงเป็นวิธีแก้ที่ดีที่สุด หากความวิตกกังวลและอาการกล้ามเนื้อกระตุกที่เกิดขึ้นหนักจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันควรพาผู้สูงวัยไปปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาต่อไป


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง