“รสอาหาร” เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการกิน แน่นอนว่าการรับประทานอาหารต่างๆ ไม่ว่าวจะคาวหรือจะหวาน ย่อมเป็นความสุขของมนุษย์เรา ไม่ว่าจะเป็นเพศไหน วัยไหน ก็ย่อมชอบที่รับประทานของอร่อยๆ ด้วยกันทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี แม้ว่าการกินอาหารจะเป็นสิ่งสำคัญในการที่ทำให้ชีวิตของเราดำเนินต่อไปได้ในแต่ละวัน แต่หากกินแบบผิดๆ ก็เสี่ยงต่อชีวิตได้เช่นกัน ในวัยหนุ่มสาวเรายังสามารถตามใจปากได้ อยากทานอะไรก็ได้ทาน แต่เมื่อชราลง ก็ยิ่งต้องเลือก เพราะมิเช่นนั้นอาจมีโรคถามหา
“รสอาหาร” มีกี่รส ผู้สูงวัยติดทานรสไหน เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง?
แน่นอนว่าความอร่อยต้องมาก่อนเสมอ แต่ความสมดุลก็เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญด้วย โดยการแพทย์จีนแนะนำให้กินอาหารที่มีรสชาติทั้งห้าในสัดส่วนที่สมดุลกันคือ รสเค็ม รสเปี้ยว รสหวาน รสขม และรสเผ็ด ซึ่งรสชาติถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้อวัยวะสำคัญได้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไม บุตรหลานจึงต้องคอยดูแลและใส่ใจที่จะคอยสังเกตว่าผู้สูงอายุในครอบครัวท่านติดทานรสชาติอาหารรสไหนเป็นพิเศษ เพราะถ้าหากทานรสใดรสหนึ่งมากจนสุดโต่ง ก็อาจจะส่งผลให้ผู้สูงอายุท่านนั้นๆ มีโรคต่างๆ ตามมา
เมื่อผู้สูงอายุติดทานอาหาร รส….
-
รสเค็ม
ประโยชน์:
ช่วยบำรุงไต เพราะไตมีหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกาย ออกไปทางปัสสาวะ และช่วยรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ไม่มากหรือต่ำเกินไป จึงควรทานอย่างเหมาะสมคือ บุตรหลานอาจจะดูแลให้ผู้สูงวัยบริโภคโซเดียมได้ไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน
ข้อเสีย:
รสเค็มจัดนั้น นอกจากจะส่งผลต่อไตแล้ว ยังมีผลต่อระบบไตและหลอดเลือดด้วย ซึ่งอาจเสี่ยงเป็นโรคความดันสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรค หลอดเลือดสมอง และเกิดภาวะตัวบวมได้นั่นเอง
โรคที่เสี่ยงเป็นได้หากติดทาน
- โรคไต
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคหัวใจ-หลอดเลือด
- โรคมะเร็งกระเพาะ
- เส้นเลือดสมองตีบ/แตก
-
รสหวาน
ประโยชน์:
ประโยชน์ของความหวานนั้น คือ สามารถช่วยลดความเครียดได้ดี เนื่องจากการที่เข้าไปกระตุ้นการหลั่งสารแห่งความสุขในสมองทำให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นนั่นเอง
ข้อเสีย:
การทานหวานมากสี่ยงเป็นเบาหวาน จากการที่ระดับน้ำตาลไม่สมดุล และยังเสี่ยง เป็นโรคต่างๆ ได้อีกด้วย เช่น โรคไมเกรน โรคมะเร็งบางชนิด โรควน โรคไขมันพอกตับ รวมถึงเกิดฟันผุได้อีกด้วย
โรคที่เสี่ยงเป็นได้หากติดทาน
- น้ำตาลในเลือดสูง
- โรคเบาหวาน
- โรคหัวใจ
- ไขมันพอกตับ
- โรคอ้วน
-
รสเปรี้ยว
ประโยชน์:
อาหารที่มีรสเปรี้ยวนั้น สามารถกระตุ้นการย่อยอาหาร และลดการกระหายน้ำ รวมถึงลดอาการระคายคอ หรือเจ็บคอ บรรเทาอาการหวัดได้ดี ทั้งนี้ก็ควรบุตรหลานควรดูแลให้ผู้สูงอายุทานรสเปรี้ยวที่มาจากธรรมชาติ เช่น มะนาว ส้ม สับปะรด มะกรูด ฯลฯ มากกว่าที่จะเป็นรสเปรี้ยวจากการสังเคราะห์
ข้อเสีย:
เมื่อผู้สูงอายุติดทานอาหารที่มีรสเปรี้ยวมากๆ จะทำให้กระเพาะอาหารเป็นกรดมากเกินไป จึงเสี่ยงเป็นโรคลำไส้แปรปรวน กรดไหลย้อน โรคท้องร่วง และยังเป็นผลต่อกระดูกผุ รวมถึงฟันผุ นอกจากนี้ยังมีผลต่อระบบน้ำเหลืองในร่างกาย ซึ่งอาจมีปัญหาร้อนในง่าย แผลหายช้าได้อีกด้วย
โรคที่เสี่ยงเป็นได้หากติดทาน
- ท้องร่วง
- กรดไหลย้อน
- ภาวะกระดูกผุ
- เสียวฟันเฉียบพลัน
-
รสเผ็ด
ประโยชน์:
สามารถช่วยระบบเผาผลาญร่างกายได้ดี และยังช่วยระบบหายใจให้หายใจโล่งขึ้นในผู้ที่ชอบคัดจมูกบ่อยๆ นอกจากนี้ยังช่วยเรื่องการป้องกันการเป็นโรคมะเร็งต่างๆ บรรเทาอาการปวด ลดการอุดต้นของเส้นเลือดเพื่อการไหลเวียนโลหิตที่ดีขึ้น มีสารต้านอนุมูลอิสระ แถมความเผ็ดที่ได้จากพริกยังมีวิตามินซีอีกด้วย นอกจากนี้ช่วยลดเสี่ยงการป็นโรคหัวใจได้ แต่ต้องทานอย่างพอดี ไม่ติดรสเผ็ดจัดเกินไป
ข้อเสีย:
แน่นอนว่าความเผ็ดมีผลต่อการระคายเคืองกระเพาะสูงมาก งมีผลต่อเกี่ยวช่องท้องโดยตรง เช่น โรคระบบทางเดินอาหาร ปวดท้อง แสบท้อง โรคกระเพาะ โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ รวมถึงโรคภูมิแพ้จมูก และโรคหัวใจได้ (จากการที่ระบบหมุนเวียนโลหิตทำงานมากขึ้น มีผลให้หัวใจทำงานหนักมากด้วย)
โรคที่เสี่ยงเป็นได้หากติดทาน
- ท้องเสีย-ท้องผูก
- ทางเดินอาหาร / กระเพาะอักเสบ
- ลำไส้อักเสบเรื้อรัง
- กรดไหลย้อน
อย่างไรก็ดี จะเห็นว่าแต่ละรสอาหารพวกนี้ก็มีทั้งข้อดี ข้อเสีย เพราะฉะนั้นหากผู้สูงอายุได้รับการดูแลจากบุตรหลานให้ทานอย่างพอดี ไม่ปรุงจัดจ้านจนเกินไปและหมั่นออกกำลังกาย ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมถึงตรวจสุขภาพทุกปี ก็ช่วยลดเสี่ยงและป้องกันไว้ก่อนที่จะเกิดโรคร้ายกับพวกท่านได้เป็นอย่างดี
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- อาหารผู้สูงอายุเลือกอย่างไรให้เหมาะ- 8 วิธีนี้ช่วยได้
- ผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบต้องดูแลอย่างไร?
- “ระบบทางเดินอาหารในผู้สูงอายุ” ยิ่งชรายิ่งต้องดูแล
บทความอื่นๆ
ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ดูแลอย่างไรดี?
ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว ในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร?
5 ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรง