ผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบต้องดูแลอย่างไร?

“ผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ” เป็นโรคทางสมองที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะกังวลกันมาก เนื่องจากเป็นภาวะอาการที่มักพบในผู้สูงวัยที่มีอายุอยู่ช่วง 60 ปีขึ้นไป แถมยังเป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งอีกด้วย สาเหตุที่โรคหลอดเลือดสมองชนิดนี้น่ากลัวสำหรับผู้สูงวัยก็เป็นเพราะมันสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายกับพวกท่านนั่นเอง เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น ความแข็งแรงของหลอดเลือดหรือระบบประสาทต่างๆ ก็เสื่อมถอยตามกาลเวลา ดังนั้น จึงไม่แปลกอะไรที่พวกท่านจะมีวิตกกับโรคนี้ อย่างไรก็ดี ผู้สูงอายุบางท่านไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเป็นผู้ป่วยโรคนี้ได้ และกำลังประสบปัญหาต่างๆ กับการเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดนี้อยู่ เหตุการณ์เช่นนี้จึงพอจะเป็นเหตุผลที่มากพอให้บุตรหลานแต่ละบ้านศึกษาวิธีการดูแลผู้สูงวัยที่เป็นผู้ป่วยโรคนี้ให้ถูกวิธี

ผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบต้องดูแลอย่างไร?

ผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ มีอาการอย่างไร ต้องพบกับปัญหาอะไรบ้าง?

โรคหลอดเลือดสมอง หรือที่รู้จักกันในปัจจุบันกันว่าเป็นอาการ อัมพฤกษ์ อัมพาต เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองเป็นอาการที่คนทั่วไปโดยเฉพาะผู้สูงอายุจะกลัวกันมาก เมื่อมีอาการแขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายแล้วมักจะไม่ค่อยหาย หรือหายแต่ไม่หายสนิท ต้องใช้เวลาฟื้นฟูสมรรถภาพค่อนข้างนาน มีความพิการหลงเหลืออยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย สาเหตุของอาการมีได้หลายอย่าง แต่ที่พบบ่อยที่สุด คือ โรคหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอ จนทำให้สมองขาดเลือด และทันทีที่สมองขาดเลือด เซลล์สมองต่างๆ จะค่อยๆถูกทำลาย ส่งผลให้สมองสูญเสียหน้าที่จนเกิดเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้

ประเภทของโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ

โดยทั่วไปโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุจะเหมือนกับภาวะที่เกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้

1. กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลัน (ischemic stroke)

สาเหตุเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปยังสมองลดลงเกิดการตายของเนื้อสมอง ซึ่งกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองชนิดนี้จะรวมกลุ่มโรค Transient Ischemic Attack (TIA) ซึ่งเป็นภาวะที่จากระบบประสาทขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราวส่งผลให้สมองหรือจอประสาทตาขาดเลือด ทำให้ระบบประสาทเกิดความผิดปกติโดยจะใช้ระยะเวลาจะน้อยกว่า 24 ชั่วโมงก็จะกลับมาเป็นปกติ

2. กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง (hemorrhagic stroke)

สาเหตุเกิดจากมีการแตกของหลอดเลือดแบ่งออกเป็น ICH (Intracerebralhemorrhage),IVH (Intraventricular hemorrhage) มักเกิดร่วมกับการมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง, SAH (Subarachnoid hemorrhage) ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดแดงโป่งพองเฉพาะที่ภายในสมอง

 

สาเหตุของโรคหลอดเลือดในสมองตีบ

  • ไขมันไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบและขาดความยืดหยุ่น
  • เกิดจากการฉีกของผนังหลอดเลือดด้านใน ทำให้เส้นเลือดอุดตัน
  • เกิดลิ่มเลือดขนาดเล็กแข็งตัวและเกาะที่ผนังหัวใจและลิ้นหัวใจ จากนั้นหลุดลอยตามกระแสเลือดไปอุดตันหลอดเลือดในสมอง

ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ทำให้ให้เกิดโรค

  • ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง

มักมีไขมันสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดและกีดขวางการลำเลียงของเลือด ส่งผลทำให้เลือดแข็งทั่วร่างกาย

  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

เพราะในกลุ่มนี้มีน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งทั่วร่างกายได้เช่นกัน

  • การสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก

เพราะพวกนี้จะมีนิโคตินและคาร์บอนมอนนอกไซด์ที่ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนลดลง และเป็นตัวที่ทำลายผนังหลอดเลือด

  • ครอบครัวที่เคยมีประวัติเส้นเลือดในสมองตีบ

โดยผู้ที่ครอบครัวเคยมีประวัติของการเป็นโรคหลอดเลือดในสมองจะสามารถเป็นโรคได้ง่ายกว่าผู้ที่อยู่ในครอบครัวที่ไม่มีประวัติ

  • ผู้สูงอายุ

เพราะอายุที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้หลอดเลือดเสื่อมตามไปด้วย

ลักษณะอาการของผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ

จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสภาพร่างกายของแต่ละคน โรคเส้นเลือดสมองตีบมักพบอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดศีรษะ สายตาพร่ามัว

  • อัมพาตครึ่งซีก ใบหน้าบิดเบี้ยว สื่อสารไม่ได้

  • เสียการรับรู้ความรู้สึก การเคลื่อนไหวร่างกายและการทรงตัว เช่น รู้สึกชาตามตัว แขนขาอ่อนแรงหรือขยับไม่ได้ และเดินเซ เป็นต้น

ปัญหาและความต้องการพื้นฐานของผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง

เมื่อผู้สูงอายุที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมองผ่านการรักษาในภาวะวิกฤตแล้วผู้สูงอายุเหล่านี้ต้องกลับไปดำเนินชีวิตที่บ้านของตนเอง อย่างไรก็ตามปัญหาและความต้องการขั้นพื้นฐานที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษจากญาติผู้ดูแล คือปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน

1. ปัญหาการเคลื่อนไหวของร่างกาย

ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองจะมีปัญหาไม่ สามารถสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวได้จึงทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงลีบและไม่สามารถใช้งานได้เกิดข้อติดแข็งจากการที่ร่างกายไม่สามารถขยับข้อต่อของร่างกายได้เต็มที่และในบางราย มีโอกาสเกิดแผลกดทับจากการนอนท่าเดียวเป็นเวลานานๆและเกิดปัญหามือบวมมีปัญหามือเท้าบวมเนื่องจากการไหลเวียนเลือดกลับไม่ดีอันเป็นผลจากการเคลื่อนไหวของแขนขาลดลงในข้างที่เป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต และผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุจะเกิดปัญหาเกิดแผลได้ง่าย

2. การพูดและการติดต่อสื่อสารผู้สูงอายุโรคหลอด

เลือดสมองอาจจะมีภาวะ Aphasia หรือ ความผิดปกติของภาษา (language) การพูด (speech) การสื่อสาร(communication) ทำให้เกิดการสื่อสารอย่างไม่ตั้งใจ

3. ปัญหาการกลืน ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง

จะมีปัญหาในการเคี้ยวและการกลืน หรือที่เรียกว่า ภาวะกลืนลำบาก (dysphagia) และทำให้มีโอกาสเกิดการสำลัก ขณะที่รับประทานอาหารส่งผลให้เกิดปอดอักเสบได้ง่าย

4. ปัญหาการขับถ่ายผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง

จะมีปัญหาทั้งการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ โดยปัญหาท้องผูกอาจเนื่องจากมีการเคลื่อนไหวของลำไส้ทำงานลดลงเนื่องจากไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ อีกทั้งการนอนถ่ายอุจจาระจะยิ่งทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องการถ่ายอุจจาระจึงเกิดภาวะท้องผูก ส่วนปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะอาจเกิดปัญหาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะตามมานั่นเอง

ปัญหาของบุตรหลานที่ต้องพบเมื่อผู้สูงอายุป่วยโรคหลอดเลือดในสมองตีบ

จากสภาพดังกล่าวทำให้ผู้สูงอายุต้องมีภาวะพึ่งพาญาติผู้ดูแลเช่น สามีภรรยาลูกในการดูแลการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น แปรงฟัน อาบน้ำ แต ่งตัว หวีผม รับประทานอาหาร
การลุกนั่งการขับถ่ายและการออกกำลังกายเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ซึ่งการปฏิบัติการดูแลที่ค่อนข้างยาวนานเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อญาติผู้ดูแลหรือรวมทั้งผู้ที่ไม่ใช่ญาติแต่ต้องรับบทบาทผู้ดูแล 3 ด้าน ได้แก่

1. ด้านร่างกาย

เกิดความเสื่อมโทรม เหนื่อย พักผ่อนไม่เพียงพอ จากการต้องอุ้มผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวัน การขาดความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง

2.ด้านจิตใจเกิด

ความเครียด มีความวิตกกังวล จากการปรับเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้ดูแล

3. ด้านสังคมและเศรษฐกิจ

ในบางครอบครัวอาจมีรายได้ไม่เพียงพอจากรายจ่าย เพราะบางรายอาจต้องลาออกจากงานมาดูแลผู้ป่วยไม่มียานพาหนะพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาล จนในบางครั้งหากญาติผู้ดูแลไม่สามารถปรับบทบาทการเป็นผู้ดูแลที่มีประสิทธิภาพได้ก็อาจจะเกิดการกระทำบางอย่างที่มีผลเสียต่อผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบต้องดูแลอย่างไร?

แนวทางในการดูแลผู้สูงอายุ

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

จำพวกผักผลไม้ให้มากขึ้น และเน้นอาหารจำพวกเนื้อปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เนื่องจากโอเมก้า 3 ในปลาช่วยลดการอักเสบซ่อนเร้น และมีไขมันที่ดีต่อสุขภาพ

  • ลดการบริโภคอาหารไขมันสูง

เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน ไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์ รวมถึงลดการรับประทานอาหารที่มีรสเค็มหรือมีโซเดียมสูง

  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ

โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งต้องดูแลทั้งด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย รวมทั้งการใช้ยารักษาอย่างเหมาะสม

  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

ดูแลสุขภาพอนามัย และฟื้นฟูร่างกาย โดยการทำกายภาพบำบัด ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังและส่งผลให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานดีขึ้น

บทบาทของบุตรหลาน-ผู้ดูแล

  • กระตุ้นให้ผู้ป่วยปฏิบัติกิจวัตรประจำวันให้มากที่สุด

เช่น อาบน้ำ แปรงฟัน ขับถ่าย ทานอาหาร แต่งตัว และให้ความช่วยเหลือถ้า จำเป็น

  • กระตุ้นให้ผู้ป่วยใช้ร่างกายข้างที่อ่อนแรง เท่าที่สามารถจะทำได้

  • ช่วยเหลือกิจกรรมที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้

  • ให้กำลังใจและส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจในตนเอง

  • ช่วยทำกายภาพบำบัดให้ผู้ป่วย และดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง

  • ช่วยควบคุมปัจจัยเสี่ยงอย่างเคร่งครัด ห้ามขาดยา และมาพบตามแพทย์นัด

  • ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับน้ำและสารอาหารอย่างเพียงพอ

ในรายที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารทางปากไม่ได้สามารถให้อาหาร ทางสายยางได้อย่างถูกวิธี ในรายที่รับประทานอาหารเองได้ ให้ระวังการสูดสำลัก

อย่างไรก็ดี ผู้ดูแลคือหัวใจสำคัญในการดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุที่อาจจะมีความดูแลยากกว่าผู้ป่วยในวัยอื่นๆ เนื่องจากสมรรถภาพทางด้านร่างกายที่เสื่อมลงตามการเวลา จึงอาจทำให้ฟื้นตัวได้ช้ากว่านั่นเอง หากแต่ท่านจะสามารถหายได้ หรือสามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลของบุตรหลานว่าดูแลด้วยวิธีที่ถูกต้องหรือไม่และมีความใส่ใจมากน้อยเพียงใด เพราะผู้สูงอายุท่านจะฟื้นตัวเร็วได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับการดูแลของบุตรหลานนั่นเอง


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง