6 เมนูลดไขมันในเลือด ช่วยลดปัญหาไขมันอุดตันให้ผู้สูงอายุ

“เมนูลดไขมันในเลือด” ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “อาหาร” คือปัจจัยและเป็นรากฐานที่สำคัญของการมีสุขภาพที่ดี ดังคำกล่าวที่ว่า “กินอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น” ก็เห็นจะจริง เพราะหากทานอาหารที่ดี ปัญหาเรื่องสุขภาพต่างๆ ก็สามารถลดไปได้กว่าครึ่ง แต่หากทานแต่สิ่งที่ไม่มีประโยชน์ก็จะให้โทษแก่ร่างกายอย่างมหาศาล โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ระบบย่อยอาหาร และระบบอื่นๆ ในร่างกายไม่ได้ทำงานได้ดีเช่นเมื่อก่อน ส่งผลให้ร่างกายของพวกท่านได้รับผลพวงหลายๆ อย่างที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น ไขมันเกิน เป็นต้น จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม บุตรหลานจึงควรดูแลและใสใจเรื่องอาหารของพวกท่านเป็นอย่างดี

6 เมนูลดไขมันในเลือด ช่วยลดปัญหาไขมันอุดตันให้ผู้สูงอายุ

“เมนูลดไขมันในเลือด” ลดปัญหาไขมันเกินในเลือดสำหรับผู้สูงอายุ

ไขมันในเลือด สูงเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการจากไขมันในเลือดสูงแต่อาจมีปัญหาระยะยาวจากการที่ไขมันในเลือดสูงติดต่อกันเป็นเวลานานแล้วทำให้หลอดเลือดแข็งตัว ตีบตัน ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆของร่างกายได้ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบ (โรคอัมพฤกษ์)

ไขมันในเลือดสูงในผู้สูงอายุ เกิดจาก…

ภาวะไขมันในเลือดสูงนั่นเกิดได้จากสาเหตุของ ความผิดปกติทางพันธุกรรม ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด แต่สาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง หรืออาหารที่มีพลังงานมากเกินความต้องการของร่างกายและการดื่มเครื่องดื่มในปริมาณมากเป็นประจำ รวมถึงการไม่ออกกำลังกายอีกด้วย

“ไขมันชนิดต่างๆ” ตัวการสำคัญของการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง

คอเลสเตอรอล

คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างเองได้ และจำเป็นต่อการสร้างเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย โดยจะพบได้ตรงผนังของเซลล์ และจัดเป็นไขมันที่สำคัญที่ร่างกายต้องการ โดยปกติแล้วคอเลสเตอรอลจะถูกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

: ทำหน้าที่ช่วยป้องกันการเกาะตัวของคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีที่จะมาเกาะตามผนังหลอดเลือด ทำให้ไม่เป็นหลอดเลือดตีบและช่วยนำคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีเดินทางไปยังตับเพื่อทำลาย

: จัดเป็นคอเลสเตอรอลที่อันตรายหากมีมากเพราะจะเกาะตัวตามผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบ ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายทำงานได้ลำบากมากขึ้นและยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอื่นๆ อีกด้วย

“ไตรกลีเซอไรด์” (Triglyceride)

เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเองจากน้ำตาล และแป้ง หรือจากอาหารที่รับประทานเข้าไป มีความสำคัญทางด้านโภชนาการหลายประการ นับตั้งแต่ให้พลังงาน ช่วยในการดูดซึมวิตามิน เอ ดี อี และเค ช่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นาน นอกจากนี้ ร่างกายยังเก็บสะสมไตรกลีเซอไรด์ไว้สำหรับให้พลังงานเมื่อมีความต้องการ

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้สูงอายุมีภาวะ ไขมันในเลือดสูง?

อย่างไรก็ดี จากที่กล่าวไปข้างต้นนั้น ในคนปกติจะต้องมีค่าคอเลสเตอรอลรวมน้อยกว่า 200 มก./ดล. ไตรกลีเซอไรด์น้อยกว่า 170 มก./ดล. ไขมันชนิดดี (HDL) ซึ่งเป็นไขมันที่ทำหน้าที่จับคอเลสเตอรอลจากเซลล์ของร่างกายและนำไปกำจัดทิ้งที่ตับ ควรมีค่ามากกว่า 60 มก./ดล. ส่วนไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ควรน้อยกว่า 130 มก./ดล. หากมากกว่านี้จะถือว่าค่าไขมันในเลือดผิดปกติ อีกทั้งหากพบว่ามีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง หรือพบว่าไขมันในเลือดสูงในคนที่มีคอเลสเตอรอลสูงอยู่แล้ว เชื่อว่ามีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมากขึ้น ระดับปกติในเลือด ไม่ควรเกิน 150 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร (ค่าปกติ 50 – 150 mg/dl)

โรคอื่นๆ ที่ตามมากับภาวะไขมันในเลือดสูง

ในปัจจุบันโรคไขมันในเลือดสูงเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการจากไขมันในเลือดสูง แต่อาจมีปัญหาระยะยาวจากการที่ไขมันในเลือดสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว ตีบตัน ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆของร่างกายได้ เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ อาจเป็นระดับคลอเลสเตอรอลสูง หรือระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสูงทั้งสองชนิด ซึ่งภาวะไขมันในเลือดสูงสามารถทำให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ อุดตัน ทำให้เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ต่ำ โรคตับ เป็นต้น

ผลข้างเคียงของไขมันในเลือดสูง มีอะไรบ้าง…

ภาวะที่มีระดับกลุ่มไขมัน LDL สูง ถือเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือด และอัมพฤกษ์ อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง จากการที่ไขมันในเลือดสูงไปทำให้หลอดเลือดแดงใหญ่แข็งตัว ซึ่งเรียกว่าโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)

ใครบ้างที่ควรตรวจระดับไขมันในเลือด

ควรตรวจเมื่ออายุเกิน 35 ปีขึ้นไป ถ้าปกติ และไม่ได้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ และอายุยังไม่เกิน 45 ปี (ผู้ชาย) หรือ 55 ปี (สำหรับผู้หญิง) ไม่มีประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจในครอบครัวตั้งแต่อายุน้อย (ผู้ชายไม่เกิน 55 ปี และผู้หญิงไม่เกิน 65 ปี) และยังไม่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง ควรตรวจซ้ำในอีก 5 ปีข้างหน้า หากมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแล้วและตรวจพบไขมันในเลือดปกติก็ตรวจซ้ำในอีก 1-3 ปี

6 เมนูลดไขมันในเลือด สำหรับผู้สูงอายุ

1. เมนูประเภทต้ม

เมนูอาหารประเภทต้มแบบไม่ใส่กะทิจัดว่าเป็นอาหารไขมันต่ำ คนที่อยากลดไขมันควรรับประทาน โดยสามารถเลือกกินเป็นต้มยำน้ำใส ต้มแซ่บ ต้มจืด หรือถ้าอยากกินต้มยำน้ำข้น ก็สามารถใช้นมอัลมอนด์ กะทิเทียม (จากน้ำมันรำข้าว) กะทิธัญพืช นมพร่องมันเนย หรือนมขาดมันเนยแทนการใส่กะทิแท้จากมะพร้าวได้ ส่วนเนื้อสัตว์ที่ควรเลือกแบบไขมันต่ำ เช่น ปลา ไก่ไม่ติดหนัง หมูไม่ติดมัน กุ้ง และจะดีมากหากเลือกกินผักให้มากขึ้น เช่น การทาน ต้มจับฉ่ายกระดูกหมู ต้มจืดผักกาดขาว ต้มจืดสาหร่าย ต้มจืดมะระหมูสับไม่ติดมัน ต้มจืดตำลึง ต้มยำปลา ต้มปลาทูสด ต้มยำเห็ด ต้มจืดฟัก ต้มจืดหัวไชเท้า ฯลฯ เพื่อให้ไฟเบอร์ในผักช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกายไปอีกทาง

2. เมนูประเภทผัด

อาหารประเภทผัดก็สามารถกินได้ แต่ควรเป็นอาหารที่ปรุงเอง เพราะจำเป็นต้อง เลือกปรุงด้วยน้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันข้าวโพด เมล็ดดอกคำฝอย เป็นต้น

3. เมนูประเภทนึ่ง

เราสามารถนำอาหารไปนึ่งได้หลายอย่าง โดยเฉพาะบรรดาผักนึ่งทั้งหลาย เช่น ฟักทองนึ่ง ผักกาดขาวห่ออกไก่นึ่ง จิ้มน้ำจิ้มสามรส หรือจะเป็นปลานึ่งมะนาว ปลานึ่งบ๊วย ปลานึ่งซีอิ๊ว ผู้สูงอายุสามารถทานแกล้มกับผักหลายๆ ชนิดก็เป็นเมนูเพื่อสุขภาพที่อร่อยและไขมันต่ำ ดีต่อผู้สูงอายุที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง

4. เมนูประเภทตุ๋น

นอกจากไข่ตุ๋นแล้วเรายังสามารถตุ๋นมะระยาจีน ปลาตุ๋นสมุนไพรจีน ตุ๋นอกไก่ฟักเขียว ผักกาดขาวตุ๋นเห็ดหอม กะหล่ำปลีตุ๋นเห็ดหอม ผักกาดดองตุ๋นกระดูกหมู เป็นเมนูกับข้าวซดน้ำร้อน ๆ คล่องคอ และยังมีผักเพิ่มไฟเบอร์ให้ร่างกาย อิ่มอร่อยแบบไขมันต่ำและดีต่อสุขภาพอีกด้วย

5. เมนูประเภทย่าง

มีวัตถุดิบหลากหลายอย่างที่บุตรหลานสามารถนำมาย่างได้เพื่อทำเป็นเมนูอาหารให้กับผู้สูงอายุได้รับประทาน นอกจากจะสามารถนำวัตถุดิบหลายๆ อย่างมาประกอบอาหารได้แล้ว การย่าง ยังถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้เกิดไขมันได้น้อยมากๆ อย่างไรก็ดี           เมนูย่างจะไขมันต่ำได้ ก็ต้องเลือกวัตถุดิบที่นำมาย่างด้วย เช่น ปลาย่าง ปลาเผาเกลือ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไก่ที่ลอกหนังออก หมูเนื้อแดงย่าง เห็ดย่าง ข้าวโพดย่าง กระเจี๊ยบเขียวย่าง บาร์บีคิวอกไก่ แต่ต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานเครื่องในสัตว์ทุกชนิด รวมทั้งเนื้อสัตว์แปรรูป ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง ส่วนอาหารทะเลก็อาจกินได้นานๆ ครั้ง เพราะมีคอเลสเตอรอลสูงนั่นเอง

6. เมนูประเภทแกง

เมื่อพูดถึงเมนูแกง ผู้สูงอายุที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงก็สามารถทานได้เช่นกัน โดยบุตรหลานอาจเลือกเป็น แกงส้ม แกงป่า แกงเลียง แกงไตปลา แกงเหลือง แกงเห็ด เช่น แกงเลียงกุ้งสด แกงส้มผักรวม แกงป่าไก่ แกงเห็ดรวม หรือหากอยากเปลี่ยนเมนูให้กับผู้สูงวัยเป็นแกงข้นๆ ก็ให้เลือกแกงที่ใส่นมพร่องมันเนย นมอัลมอนด์ กะทิธัญพืช หรือกะทิจากน้ำมันรำข้าว ที่ช่วยลดไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดก็ดี แค่เลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของกะทิจากมะพร้าวก็ทานได้เกือบทุกเมนูแกง

ท้ายที่สุด เมนูลดไขมันในเลือด เป็นเพียงอีกหนึ่งปัจจัยของการป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูงเท่านั้น บุตรหลานจำเป็นต้องดูแลให้ท่านออกกำลังกายและนอนพักผ่อนให้เพียงพอควบคู่กันไป นอกจากนี้หากผู้สูงอายุท่านใดที่ติดการสูบบุหรี่ หรือเครื่องดื่มแอลกอร์ฮอล ก็ควรดูลให้ท่านลดและเลิกให้ได้ เพื่อไม่ให้เป็นปัจจัยเสี่ยงในการส่งผลเสียต่อร่างกายต่อไป


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง