“โรคหลอดเลือดสมอง” หรือที่รู้จักกันในปัจจุบันกันว่าเป็นอาการ อัมพฤกษ์ อัมพาต โดยโรคทางสมองชนิดนี้นับว่าเป็นโรคที่น่ากลัวทั้งสำหรับบุคคลทั่วไปและผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็ง โดยเฉพาะในวัยชราที่มักจะพบผู้ป่วยโรคนี้เป็นจำนวนมากเนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น ความแข็งแรงของอวัยวะต่างๆ รวมถึงหลอดเลือดในสมองก็จะเสื่อมสมรรถภาพของการทำงานไปตามเวลา ดังนั้น บุตรหลานจึงต้องคอยเฝ้าระวังโรคที่มากับหลอดเลือดในสมองเหล่านี้ของผู้สูงอายุให้ดี เพราะโรคเหล่านี้ไม่ได้มีเพียงโรคเดียวเท่านั้น
โรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ มีกี่ประเภท และมีแบบใดบ้าง?
โรคหลอดเลือดในสมองเป็นภาวะที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตในผู้สูงอายุอันดับที่ 2 รองจากภาวะหัวใจขาดเลือด ทั้งนี้ภายหลังออกจากโรงพยาบาล ผู้ป่วยกลุ่มนี้ถือเป็นผู้ป่วยเรื้อรังที่ยังคงต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจากญาติผู้ดูแลเนื่องจากยังมีความบกพร่องทั้งทางร่างกายและมีความพิการหลงเหลือ จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาญาติผู้ดูแลในการทำกิจวัตรประจำวันและการทำกายภาพบำบัดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น
ประเภทโรคหลอดเลือดในสมองของผู้สูงอายุ
โดยทั่วไปโรคหลอดเลือดในสมองที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุจะเหมือนกับภาวะที่เกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1. กลุ่มโรคหลอดเลือดในสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลัน (ischemic stroke)
สาเหตุเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปยังสมองลดลงเกิดการตายของเนื้อสมอง ซึ่งกลุ่มโรคหลอดเลือดในสมองชนิดนี้จะรวมกลุ่มโรค Transient Ischemic Attack (TIA) ซึ่งเป็นภาวะที่จากระบบประสาทขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราวส่งผลให้สมองหรือจอประสาทตาขาดเลือด ทำให้ระบบประสาทเกิดความผิดปกติโดยจะใช้ระยะเวลาจะน้อยกว่า 24 ชั่วโมงก็จะกลับมาเป็นปกติ
2. กลุ่มโรคหลอดเลือดในสมองชนิดเลือดออกในสมอง (hemorrhagic stroke)
สาเหตุเกิดจากมีการแตกของหลอดเลือดแบ่งออกเป็น ICH (Intracerebralhemorrhage),IVH (Intraventricular hemorrhage) มักเกิดร่วมกับการมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง, SAH (Subarachnoid hemorrhage) ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดแดงโป่งพองเฉพาะที่ภายในสมอง

สาเหตุ อาการ และแนวทางการรักษา ของโรคหลอดเลือดในสมองชนิดต่างๆ
-
ชนิดขาดเลือดเฉียบพลัน (หลอดเลือดตีบ-ตัน)
สาเหตุ
เกิดจาก ไขมันไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบและขาดความยืดหยุ่น หรืออาจเกิดจากการฉีกของผนังหลอดเลือดด้านในก็ทำให้เส้นเลือดอุดตัน หรืออาจเป็นการเกิดลิ่มเลือดขนาดเล็กแข็งตัวและเกาะที่ผนังหัวใจและลิ้นหัวใจ จากนั้นหลุดลอยตามกระแสเลือดไปอุดตันได้เช่นเดียวกัน
ลักษณะอาการ
- มีอาการอ่อนแรงหรือชา ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย
- ตามัวหรือมองไม่เห็นทันทีทันใด โดยเฉพาะเป็นข้างเดียว
- ปวดศีรษะฉับพลันชนิดไม่เคยเป็นมาก่อน
- พูดตะกุกตะกัก ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด
- สับสน ถามตอบไม่เข้าใจ
- ชักเกร็งหมดสติ หายใจไม่สม่ำเสมอ ถ้าช่วยไม่ทันอาจเสียชีวิตได้
แนวทางการรักษา
การรักษาขึ้นอยู่กับชนิด และความรุนแรง ระยะเวลาที่มีอาการ ถ้ามารับการรักษาเร็วเท่าไหร่ความพิการ และอัตราการเสียชีวิตก็จะลดลงเท่านั้น อย่างไรก็ดี แนวทางที่ผู้ป่วยสูงวัยของโรคหลอดเลือดในสมองชนิดนี้ สามารถถูกรักษาได้ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
- รับยาที่ช่วยละลายลิ่มเลือด ยาจะช่วยเปิดเส้นเลือดให้หายอุดตัน
- รับยาที่ช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในอนาคต จะเป็นการป้องกันสมองขาดเลือดในอนาคต
-
ชนิดเลือดออกในสมอง (หลอดเลือดแตก)
สาเหตุ
เกิดจากลิ่มเลือดอุดตันในระบบไหลเวียนโลหิต หรืออาจเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ ไม่ยืดหยุ่น และประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลดลง ออกซิเจนในเลือดจึงไม่สามารถไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในสมองได้
ลักษณะอาการ
- รู้สึกชาตามตัว หรืออวัยวะ แขนขาอ่อนแรง ขยับตัวไม่ได้ หรือเป็นอัมพาตครึ่งซีก
- ใบหน้าบิดเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก พูดลำบาก พูดติดขัด สื่อสารไม่ได้ สับสนมึนงง และไม่เข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นพูด
- เสียสมดุลการทรงตัวและการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น เดินลำบาก เดินเซ ขยับแขนขาลำบาก
- มีปัญหาในการมองเห็น สายตาพร่ามัว มองไม่เห็น เห็นภาพซ้อน ตาบอดข้างเดียวในทันทีทันใด
- ในบางรายอาจพบอาการปวดหัวรุนแรงเฉียบพลัน เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
แนวทางการรักษา
- ต้องรับการรักษาเพื่อลดการเสียหายของเนื้อสมองจากการที่เลือดออกภายในและรอบๆ เนื้อสมอง
- หยุดยาที่ทำให้เลือดออกง่าย หรือลดขนาดยาลง
- ได้รับการผ่าตัดเพื่อเข้าไปซ่อมหลอดเลือดและหยุดเลือดออก (แต่อาจไม่สามารถทำได้ทุกราย)
อย่างไรก็ดี การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด บุตรหลานควรเตรียมตัวไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะเริ่มดูแลท่านอย่างจริงจัง เนื่องจากโรคหลอดเลือดในสมองทั้ง 2 ชนิดนี้สามารถเกิดแบบเฉียบพลันได้ ซึ่งนั่นหมายถึงมันอาจไม่มีสัญญาณเตือนว่าผู้สูงอายุจะล้มป่วยโรคนี้เมื่อไหร่ ดังนั้น การดูแลท่านให้ดีไว้ตั้งแต่เริ่มต้นจึงย่อมดีกว่ารอให้สายเกินไป หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อที่บุตรหลานจะการดูแลและป้องกันให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
บทความอื่นๆ
ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ดูแลอย่างไรดี?
ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว ในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร?
5 ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรง