“เลิกบุหรี่” สำหรับผู้สูบบุหรี่แล้วการทำสิ่งนี้คงเป็นเรื่องที่ยาก และหลายๆ คนก็ถอดใจไปก่อนที่จะเลิกได้ เราทุกคนทราบกันดีว่าการสูบบุหรี่นั้นเป็นเรื่องที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก อีกทั้งควันของมันก็ส่งผลเสียต่อคนรอบข้างด้วย อย่างไรก็ดี ผู้สูบบุหรี่นั้นก็มีอยู่ในหลายช่วงอายุ ตั้งแต่วัยรุ่นไปจนวัยชรา และยังมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ หลายคนพออยากจะเลิกสูบ ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร จะเริ่มจากตรงไหนก่อน บางคนคิดว่าติดบุหรี่มากๆ คงเลิกไม่ได้ และหากยิ่งเป็นผู้สูงอายุด้วยแล้ว ก็คงเป็นเช่นคำสุภาษิตที่ว่า “ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก” การจะยอมเลิกสูบคงยากกว่าวัยอื่นๆ หากแต่จริงแล้วมันมีวิธีง่ายๆ ที่ช่วยผู้สูงอายุให้เลิกสูบบุหรี่ได้อยู่
“เลิกบุหรี่” เลิกได้ ช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีขึ้น
ผู้สูบบุหรี่แต่ละคนเลิกสูบบุหรี่ด้วยเหตุผลที่ต่างกัน เป็นเหตุผลเฉพาะตน การรู้ว่าตนเองต้องการอะไรจากการเลิกสูบบุหรี่จะช่วยให้เกิดความมุ่งมั่นในการเลิกสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น ซึ่งการติดบุหรี่เกิดจากปัจจัยอยู่ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านนิสัยพฤติกรรม คือการสูบบุหรี่ร่วมกับการกระทำบางอย่าง เช่น สูบหลังกินข้าว กินเหล้าแล้วสูบ เป็นต้น ด้านความคิดและอารมณ์ คือ สูบบุหรี่เมื่อมีความคิดหรืออารมณ์บางอย่าง เช่น อารมณ์กังวล เบื่อ โดยทั้ง 2 ด้านนี้รวมเป็นความเคยชินในชีวิตประจำวันของแต่ละคน ด้านร่างกายหรือการติดนิโคติน ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีส่วนประกอบในบุหรี่
สาเหตุของการติดบุหรี่ เกิดจาก
“บุหรี่ติดง่าย แต่เลิกยาก” เป็นประโยคที่ไม่อาจปฏิเสธได้ สาเหตุที่เป็นเช่นกันก็เพราะในบุหรี่มีสาร “นิโคติน” (nicotine) เมื่อสูบเข้าไปจะทำให้มีการหลั่งสาร Dopamine เป็นสารสื่อประสาทที่ทำให้ผู้สูบมีความสุข และผ่อนคลาย จึงทำให้ผู้ที่สูบบุหรี่อยู่เป็นประจำ เลิกสูบบุหรี่ไม่ได้ เมื่อไหร่ที่หยุดสูบหรือไม่ได้สูบ สาร Dopamine ก็จะลดลง ทำให้เกิดความรู้สึกอยากสูบบุหรี่เพื่อที่จะเพิ่มระดับของสาร Dopamine ขึ้นมา นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงติดบุหรี่
ทั้งนี้ ผู้สูงอายุที่ติดบุหรี่บางรายอาจมีพฤติกรรมที่ทำร่วมด้วย เช่น การสูบบุหรี่หลังดื่มกาแฟ สูบหลังเลิกงาน หรือสูบเมื่อเรื่องที่เครียดหรือกังวล เป็นต้น เนื่องจากการสูบบุหรี่จะทำให้ผู้ที่ติดการสูบได้ใช้ความคิดและระบายความเครียดออกมา พฤติกรรมเหล่านี้ก็เป็นความเคยชินที่ทำให้สูบได้แม้ ณ ขณะนั้นผู้สูงอายุไม่ได้ความอยากสูบบุหรี่เลยก็ตาม
โรคที่มาพร้อมกับการสูบบุหรี่
- โรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
- โรคมะเร็งปอด และมะเร็งในส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น มะเร็งกล่องสียง หลอดอาหาร ลำคอ และกระเพาะปัสสาวะ
- โรคหลอดเลือดสมอง หรือหลอดอื่นส่วนอื่นๆ ตีบตัน และหลอดเลือดใหญ่ทรวงอก และช่องท้องโป่งพอง
- เส้นเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจขาดเลือด เสี่ยงหัวใจวายได้
- สมรรถภาพทางเพศเสื่อม จากการอุดตันของเส้นเลือดขนาดเล็กที่ไปเลี้ยงประสาท เกี่ยวกับการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
- เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงแขนและขาตีบตัน อาจถึงขั้นตัดแขนหรือขาทิ้งได้
พฤติกรรมที่บ่งบอกว่าผู้สูงอายุติดการสูบบุหรี่
1.สูบติดต่อกันเป็นเวลานาน
เป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนที่สุด โดยผู้สูงอายุจะมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ติดต่อกันหลายๆ ครั้งและสูบในปริมาณที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
2. ควบคุมตนเองไม่ได้
ในอาการนี้เป็นการที่ผู้สูงอายุไม่สามารถควบคุมความอยากสูบของตนเองได้ รวมถึงปริมาณบุหรี่ที่สูบและแม้อยู่ในสถานที่ที่ไม่เอื้ออำนวยให้สูบแต่ก็หาทางสูบจนได้
3. เลิกทำกิจกรรมอื่นๆ
ผู้สูงอายุบางท่านอาจเลิกทำกิจกรรมที่ท่านเคยทำในระหว่างวันบางกิจกรรมอันมีผลมาจากบุหรี่ เช่น ท่านเคยเดินออกกำลังกายตอนเช้า แต่อาจเดินไม่ไหวเพราะรู้สึกเหนื่อยง่าย
4. เกิดอาการข้างเคียงต่างๆ
เช่น ปวดหัว คลื่นไส้ กระวนกระวาย หงุดหงิด เป็นต้น เนื่องจากร่างกายเริ่มขาดนิโคติน โดยจะเกิดหลักจากไม่ได้สูบบุหรี่ได้ 3 วัน

3 วิธีช่วยผู้สูงอายุเลิกสูบบุหรี่ด้วยตนเอง
วิธีในการช่วยให้ผู้สูงอายุหยุดสูบบุหรี่ได้นั้นแบ่งออกได้เป็นกลุ่มใหญ่ 3 วิธีด้วยกัน ดังนี้
1.กิจกรรมและการปรับพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน เช่น
- กำหนดเป้าหมายและแรงจูงใจว่าต้องเลิกให้ได้ เพื่อตนเอง เพื่อลูกหลาน เป็นต้น
- เลิกสูบบุหรี่ด้วยมะนาว จากผลการวิจัยพบว่าในมะนาวมีวิตามินซีที่มีสารช่วยลดความอยากนิโคตินได้ และในผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ด้วยมะนาวส่วนใหญ่พบว่าเลิกสูบบุหรี่ได้ภายใน 2 สัปดาห์ และจะทำให้ไม่มีความอยากสูบบุหรี่อีก
- เคี้ยวหมากฝรั่ง เป็นวิธีที่ส่วนใหญ่ผู้ที่เริ่มต้นจะหยุดสูบบุหรี่จะลองทำกัน ซึ่งยังไม่มีผลวิจัยที่แน่ชัดว่าช่วยได้หรือไม่ แต่ก็เป็นหนึ่งในวิธีที่น่าลอง
- ดื่มน้ำให้มากขึ้น ในช่วง 2-3 อาทิตย์แรกในการเลิก ผู้สูงอายุจะมีอาการที่ค่อนข้างทรมานเนื่องจากร่างกายขาดนิโคติน แต่การดื่มน้ำให้มากขึ้นจะช่วยได้ โดยในหนึ่งวันควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย 10 แก้ว (ประมาณ 2 ลิตร ) จะช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย บรรเทาความหงุดหงิดลงได้บ้าง
2. อาหารที่ช่วยในการเลิกสูบบุหรี่
- นมสด ช่วยลดปริมาณการสูบบุหรี่ลงได้ เพราะการดื่มนมสดจะช่วยให้รสชาติของบุหรี่แย่ลงได้
- ผักใบเขียว ยิ่งเขียวยิ่งดี เนื่องจากผักที่มีความเขียวจัด จะมีฤทธิ์ที่ทำให้ไม่อยากสูบบุหรี่และยังมีคลอโรฟิลล์ สารต้านอนุมูลอิสระ
- ไข่ อกไก่ ถั่ว อาหารเหล่านี้จะสร้างสารซีโรโทนิน (Serotonin) ที่จะช่วยให้การเลิกสูบบุหรี่ง่ายขึ้น โดยอาหารทั้ง 3 อย่างนี้ ถูกนำโดยมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ ว่าเหมาะกับผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่
3. ใช้ยาในการเลิก
- นิโคติน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบแผ่นแปะ และแบบหมากฝรั่ง สามารถใช้ร่วมกันได้ทั้ง 2 แบบ หรือใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้สูงอายุ
- ยาแบบกิน แบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกันดังนี้
- Champix ตัวยาจะช่วยกระตุ้นสมองแทนนิโคตินให้ปล่อยสารเคมีออกมา และจะเข้าไปบล็อกนิโคตินไม่ให้ออกฤทธิ์ที่สมอง การใช้ยาชนิดนี้ผู้ป่วยจะมีเวลาในการตั้งตัวในการเลิกสูบบุหรี่ จะไม่มีอาการลงแดง แต่หากจะให้เห็นผลบุตรหลานอาจจะต้องให้ผู้สูงอายุใช้ยาอย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกัน
- Quomem โดยปกติแล้วตัวยาชนิดนี้เป็นยาแก้โรคซึมเศร้า แต่ทางการแพทย์พบว่าสามารถใช้เลิกสูบบุหรี่ได้ จึงนำมาใช้ในผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ด้วย ซึ่งต้องกินติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน แต่ในผู้ที่ติดบุหรี่มากๆ แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญอาจใช้ยาทุกชนิดเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ
ข้อดีของการเลิกสูบบุหรี่ในผู้สูงอายุ
-
ด้านสุขภาพ
ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ค่อยๆ ดีขึ้น เช่น อัตราการเต้นของหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ปอดเริ่มขจัดสารพิษออกไป รับรสและกลิ่นได้ดีขึ้น เป็นต้น
2. ด้านอื่นๆ
สุขภาพผิวและผิวพรรณดีขึ้น ลมหายใจสดชื่นขึ้น และมีความเครียดที่ลดลง
ท้ายที่สุด ทางรักษ์คุณ โอมแคร์ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้สูงอายุและบุตรหลานในทุกๆ ครอบครัวที่กำลังจะเลิกสูบบุหรี่ให้สามารถทำได้สำเร็จ การเลิกบุหรี่นั้นเป็นเรื่องที่ยาก แต่ถ้าหากผู้สูงอายุและบุตรหลานคอยดูแลให้ท่านทำตามคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอนั้น ก็เชื่อได้เลยว่าสามารถเลิกได้อย่างแน่นอน อย่างไรก็ดีขอให้อย่ายอมแพ้และถอดใจไปเสียก่อน สิ่งสำคัญกว่าร่างกายที่แข็งคือการมีจิตใจที่ “เข้มแข็ง” นั่นเอง
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
บทความอื่นๆ
ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ดูแลอย่างไรดี?
ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว ในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร?
5 ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรง