“โรคไต” โรคน่ากลัวอีกโรคหนึ่งสำหรับผู้สูงอายุที่บุตรหลานควรเฝ้าระวัง เนื่องจากหากปล่อยให้ผู้สูงวัยอยู่ในอาการป่วยของโรคนี้นานๆ อาจทำให้ท่านกลายเป็นผู้ป่วยเรื้อรังเกี่ยวกับไตได้ สิ่งที่สำคัญสำหรับการป้องโรคนี้ให้กับผู้สูงอายุนั้นไม่เพียงแต่ต้องคอยดูแลเรื่องสุขภาพ หากแต่ต้องดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันของท่านด้วย เพราะหากปล่อยปะละเลยก็อาจทำให้เสี่ยงที่จะต้องเป็นโรคและเข้ารับการล้างไตที่ผู้สูงอายุมีความกังวลในที่สุด
“โรคไต” ในผู้สูงอายุเกิดจากอะไร และป้องกันอย่างไร?
โรคชนิดนี้ บ่อยครั้งทำให้ผู้สูงอายุตกใจอยู่ไม่น้อย กลัวว่าจะต้องฟอกไตหรือไม่ กังวลว่าสาเหตุเป็นจากอะไร ต้องทำอย่างไรต่อไป ค่าไตจะกลับมาเป็นปกติหรือไม่ จะใช้ยาอะไร ต้องกินยาล้างไตหรือไม่ ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของการทำงานของไตเมื่อย่างเข้าสู่วัยผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจนั่นเอง
สาเหตุของการเกิดโรคเกี่ยวกับไตในผู้สูงอายุ
การแบ่งสาเหตุของอาจจะแบ่งได้หลายแบบ ที่นิยมกันจะแบ่งตามสาเหตุ
-
เกิดจากกรรมพันธ์
ซึ่งสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลานได้ อาการมักจะเกิดตั้งแต่วัยรุ่น เช่นโรค polycystic kidney disease.
-
โรคที่พิการแต่กำเนิด
มักจะทำให้การขับปัสสาวะถูกอุดกกลั้นซึ่งจะก่อให้เกิดทางเดินปัสสาวะอักเสบ หากอุดกลั้นมากๆไตจะบวมและอาจจะเกิดไตวาย
-
โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
ผู้ที่เป็นโรคจะมีอาการปวดเอว ปัสสาวะสีแดง
-
ต่อมลูกหมากโต
เนื่องจากผู้สูงอายุมีการอุดกลั้นของปัสสาวะทำให้ไตวายได้
-
เกิดจากโรคความดันโลหิตสูง
เนื่องจากคนที่เป็นความดันโลหิตสูงนานๆจะทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบ ทำให้เกิดไตวายได้อีกด้วย
-
เกิดจากโรคเบาหวาน
ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดทั้งในกลุ่มผู้สูงอายุและวัยทั่วไป
ค่าไตและการเปลี่ยนแปลงของไตในผู้สูงอายุ
“ค่าไต” หรือ “ครีเอทินิน” เป็นตัวบ่งบอกการทำงานของไตที่เสื่อมลง เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ไตจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านโครงสร้างและการทำงานโดยรวม โดยไตจะมีขนาดเล็กลง น้ำหนักและปริมาตรจะลดลง ถ้าลองเปรียบเทียบกับคนหนุ่มสาว ไตปกติจะน้ำหนักประมาณ 245 – 290 กรัม แต่เมื่ออายุมากขึ้น เช่น อายุ 90 ปี น้ำหนักของไตจะลดลง 15 – 20% จากเดิม เหลือเพียง 180 – 200 กรัม กล่าวคือ ความสามารถของหน่วยไตในการกรองของเสียและน้ำ และการกักเก็บโปรตีนเข้าสู่กระแสเลือดจะลดลง เนื่องจากองค์ประกอบของหน่วยไตและเส้นเลือดในหน่วยไตโดยรวมนั้นจะฝ่อลงตามอายุนั่นเอง
ข้อสำคัญคือในผู้สูงอายุเมื่อเกิดความเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บของไตขึ้น การฟื้นฟูสภาพให้กลับมาดีดังเดิมนั้นจะค่อนข้างช้า เมื่อเทียบกับไตของคนหนุ่มสาว มีรายงานว่า การเสื่อมของไตที่เพิ่มขึ้นจะส่งเสริมอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดที่มากขึ้นตามมา
ระยะของโรค
โดยทั่วไปแล้ว ระยะของโรคนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 และ 2
ติดตามอย่างน้อยทุก 12 เดือน (ทุก 6 เดือน ถ้าตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ)
ระยะที่ 3
ติดตามอย่างน้อยทุก 6 เดือน (ทุก 12 เดือน ถ้าระดับการทำงานของไตคงที่และตรวจไม่พบโปรตีน ในปัสสาวะ)
ระยะที่ 4
ติดตามอย่างน้อยทุก 3 เดือน (ทุก 6 เดือน ถ้าระดับการทำงานของไตคงที่)
ระยะที่ 5
ติดตามอย่างน้อยทุก 3
แนวทางการรักษา
ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดร่วมด้วย
การรักษาด้วยการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจะป้องกันการเกิดและลดการเสียชีวิตจาก โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่สำคัญ ของผู้ป่วยไตเรื้อรัง
เมื่อไตวายมากจะไม่สามารถกรองของเสียหรือขับน้ำ
เตรียมผู้ป่วยเพื่อการบำบัดทดแทนไต เพื่อให้ผู้ป่วยไตเรื้อรังได้รับการเตรียมพร้อมสำหรับการบำบัดทดแทนไตในระยะเวลาที่เหมาะสม
เมื่อผู้สูงอายุเป็นผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวกับไตและไตเริ่มเสื่อม
การรักษาจะ ชะลอการเสื่อมของไตเท่านั้นทั้งนี้ เพื่อป้องกันหรือยืดระยะเวลาการเกิดภาวะแทรกซ้อนของไตเรื้อรังและความจำเป็นในการบำบัดทดแทนไต
ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะพบว่ามีโรคแทรกซ้อน
การประเมินและรักษาภาวะแทรกซ้อนของไตเรื้อรัง จะป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
การป้องกันและดูแลผูสูงอายุที่บ้าน
รับประทานพืชจำพวกแป้งและข้าวให้มากกว่าการรับประทานเนื้อสัตว์
และหากเลือกรับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ให้เลือก ปลา เป็ด ไก่ กุ้ง ไข่ขาวมากกว่าจำพวกเนื้อแดง เช่น หมู วัว ทั้งนี้เนื่องจากไตมีหน้าที่ในการกำจัดของเสีย ซึ่งได้มาจากการเผาผลาญจากโปรตีนจากเนื้อสัตว์ หากรับประทานอาหารกลุ่มนี้มากไตก็จะรับภาระทำงานมากขึ้น
จำกัดการรับประทานเกลือหรืออาหารที่มีรสเค็ม
เนื่องจากไตต้องรับภาระขับเกลือส่วนเกินออกทางปัสสาวะและเกลือยังมีผลต่อความดันโลหิต ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงควบคุมยากขึ้น
การเลือกรับประทานอาหารที่ครบ 5 หมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม
โดยเลือกรับประทานผักหรือผลไม้ให้มากขึ้น โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วหรือผัก เต้าหู้ เป็นต้น อาหารกลุ่มนี้จะเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ดี
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง
ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว หรือ 2 ลิตรต่อวัน, ควบคุมน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน หรือไม่ให้เกิดภาวะอ้วน, ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ เช่น เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แอโรบิค, หยุดสูบบุหรี่ ลดหรือหยุดดื่มแอลกอฮอล์, ตรวจวัดความดันอย่างสม่ำเสมอ และพยายามหลีกเลี่ยงความเครียดและผ่อนคลายอารมณ์ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี การป้องกันและชะลอการเสื่อมของไตให้กับผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญ หากสามารถดูแลไตโดยเลือกรับประทานอาหารที่ดี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นวัดความดัน รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีได้นั่นเอง
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
บทความอื่นๆ
ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ดูแลอย่างไรดี?
ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว ในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร?
5 ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรง