“ท่าบริหารเส้นเลือดตีบ” แม้จะเป็นวิธีง่ายๆ แต่ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงภาวะเส้นเลือดตีบและอุดตันในผู้สูงอายุได้เป็นอย่างมาก โดยส่วนใหญ่แล้วปัญหาของผู้สูงที่มักพบเจอ นอกจากโรคต่างๆ ก็จะมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวที่ยังคงมีผลต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงวัยเสมอ บุตรหลานบางท่านอาจมองว่าเป็นปัญหาเล็กน้อย แต่แท้จริงแล้วการที่ผู้สูงอายุขยับร่างกายได้น้อย กลับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เส้นเลือดของพวกท่านเกิดการอุดตันได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
“ท่าบริหารเส้นเลือดตีบ” วิธีง่ายๆ ช่วยผู้สูงวัยห่างไกลภาวะเส้นเลือดอุดตัน
โรคหลอดเลือดสมอง หรือที่รู้จักกันในปัจจุบันกันว่าเป็นอาการ อัมพฤกษ์ อัมพาต เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองเป็นอาการที่คนทั่วไปโดยเฉพาะผู้สูงอายุจะกลัวกันมาก เมื่อมีอาการแขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายแล้วมักจะไม่ค่อยหาย หรือหายแต่ไม่หายสนิท ต้องใช้เวลาฟื้นฟูสมรรถภาพค่อนข้างนาน มีความพิการหลงเหลืออยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย สาเหตุของอาการมีได้หลายอย่าง แต่ที่พบบ่อยที่สุด คือ โรคหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอ จนทำให้สมองขาดเลือด และทันทีที่สมองขาดเลือด เซลล์สมองต่างๆ จะค่อยๆถูกทำลาย ส่งผลให้สมองสูญเสียหน้าที่จนเกิดเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้
ประเภทของโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ
โดยทั่วไปโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุจะเหมือนกับภาวะที่เกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1. กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลัน (ischemic stroke)
สาเหตุเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปยังสมองลดลงเกิดการตายของเนื้อสมอง ซึ่งกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองชนิดนี้จะรวมกลุ่มโรค Transient Ischemic Attack (TIA) ซึ่งเป็นภาวะที่จากระบบประสาทขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราวส่งผลให้สมองหรือจอประสาทตาขาดเลือด ทำให้ระบบประสาทเกิดความผิดปกติโดยจะใช้ระยะเวลาจะน้อยกว่า 24 ชั่วโมงก็จะกลับมาเป็นปกติ
2. กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง (hemorrhagic stroke)
สาเหตุเกิดจากมีการแตกของหลอดเลือดแบ่งออกเป็น ICH (Intracerebralhemorrhage),IVH (Intraventricular hemorrhage) มักเกิดร่วมกับการมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง, SAH (Subarachnoid hemorrhage) ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดแดงโป่งพองเฉพาะที่ภายในสมอง
สาเหตุของโรคหลอดเลือดในสมองตีบ
- ไขมันไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบและขาดความยืดหยุ่น
- เกิดจากการฉีกของผนังหลอดเลือดด้านใน ทำให้เส้นเลือดอุดตัน
- เกิดลิ่มเลือดขนาดเล็กแข็งตัวและเกาะที่ผนังหัวใจและลิ้นหัวใจ จากนั้นหลุดลอยตามกระแสเลือดไปอุดตันหลอดเลือดในสมอง
ปัญหาและความต้องการพื้นฐานของผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง
เมื่อผู้สูงอายุที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมองผ่านการรักษาในภาวะวิกฤตแล้วผู้สูงอายุเหล่านี้ต้องกลับไปดำเนินชีวิตที่บ้านของตนเอง อย่างไรก็ตามปัญหาและความต้องการขั้นพื้นฐานที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษจากญาติผู้ดูแล คือปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
1. ปัญหาการเคลื่อนไหวของร่างกาย
ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองจะมีปัญหาไม่ สามารถสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวได้จึงทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงลีบและไม่สามารถใช้งานได้เกิดข้อติดแข็งจากการที่ร่างกายไม่สามารถขยับข้อต่อของร่างกายได้เต็มที่และในบางราย มีโอกาสเกิดแผลกดทับจากการนอนท่าเดียวเป็นเวลานานๆและเกิดปัญหามือบวมมีปัญหามือเท้าบวมเนื่องจากการไหลเวียนเลือดกลับไม่ดีอันเป็นผลจากการเคลื่อนไหวของแขนขาลดลงในข้างที่เป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต และผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุจะเกิดปัญหาเกิดแผลได้ง่าย
2. การพูดและการติดต่อสื่อสารผู้สูงอายุโรคหลอด
เลือดสมองอาจจะมีภาวะ Aphasia หรือ ความผิดปกติของภาษา (language) การพูด (speech) การสื่อสาร(communication) ทำให้เกิดการสื่อสารอย่างไม่ตั้งใจ
3. ปัญหาการกลืน ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง
จะมีปัญหาในการเคี้ยวและการกลืน หรือที่เรียกว่า ภาวะกลืนลำบาก (dysphagia) และทำให้มีโอกาสเกิดการสำลัก ขณะที่รับประทานอาหารส่งผลให้เกิดปอดอักเสบได้ง่าย
แนวทางในการดูแลผู้สูงอายุ
-
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
จำพวกผักผลไม้ให้มากขึ้น และเน้นอาหารจำพวกเนื้อปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เนื่องจากโอเมก้า 3 ในปลาช่วยลดการอักเสบซ่อนเร้น และมีไขมันที่ดีต่อสุขภาพ
-
ลดการบริโภคอาหารไขมันสูง
เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน ไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์ รวมถึงลดการรับประทานอาหารที่มีรสเค็มหรือมีโซเดียมสูง
-
ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ
โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งต้องดูแลทั้งด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย รวมทั้งการใช้ยารักษาอย่างเหมาะสม
-
ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
ดูแลสุขภาพอนามัย และฟื้นฟูร่างกาย โดยการทำกายภาพบำบัด ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังและส่งผลให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานดีขึ้น
5 ท่าบริหารเส้นเลือดตีบ สำหรับผู้สูงอายุ
ท่าที่ 1 หมุนข้อเท้า
ยกเท้าทั้งสองข้างขึ้นจากพื้นเล็กน้อย หมุนข้อเท้าเป็นวงกลมให้ปลายเท้าหมุนเข้าหากัน ทำอย่างช้า ๆ 10 ครั้ง จากนั้นหมุนข้อเท้าเป็นวงกลมให้ปลายเท้าหมุนออกจากกัน ทำอย่างช้าๆ 10 ครั้ง
ท่าที่ 2 เขย่งเท้า
วางเท้าทั้งสองข้างไว้กับพื้น กระดกปลายเท้าขึ้นโดยให้ส้นเท้าอยู่กับพื้น ค้างไว้ 5 วินาที จากนั้นกระดกปลายเท้าลงนิ้วเท้าให้แตะพื้น ยกส้นเท้าสูงขึ้น ค้างไว้ 5 วินาที ทำแบบเดียวกัน 10 ครั้ง
ท่าที่ 3 ยกเข่า
วางเท้าทั้งสองข้างไว้กับพื้น ยกเข่าข้างหนึ่งขึ้นเล็กน้อย ค้างไว้ 5 วินาที จากนั้นสลับไปยกเข่าอีกข้างหนึ่ง ทำข้างละ 10 ครั้ง
ท่าที่ 4 หมุนคอ
เอียงคอไปด้านซ้าย หมุนคอทวนเข็มนาฬิกาช้า ๆ 10 ครั้ง จากนั้นสลับหมุนคอตามเข็มนาฬิกาช้า ๆ อีก 10 ครั้ง
ท่าที่ 5 หมุนไหล่
หมุนไหล่ทั้งสองข้างไปด้านหน้า 10 ครั้ง หมุนไหล่ทั้งสองข้างไปด้านหลัง 10 ครั้ง
อย่างไรก็ดี การดูแลให้ผู้สูงอายุ ทำกายบริหารทั้ง 5 ท่าดังกล่าวนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแนวทางการดูแลและป้องกันเท่านั้น สิ่งสำคัญคือต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมกับวัยของพวกท่าน เช่น การนอนพักผ่อน การรับประทานอาหาร และการ ลด-เลิก บุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอร์ฮอล์ ก็สามารถช่วยได้อย่างมากทีเดียว ทั้งนี้บุตรหลานอาจพาผู้สูงวัยเข้าพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการรักษาและป้องกันภาวะนี้อย่างถูกต้องต่อไป
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
บทความอื่นๆ
ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ดูแลอย่างไรดี?
ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว ในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร?
5 ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรง