“ดนตรีบำบัด” ช่วยรักษาโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

“ดนตรีบำบัด” หลายๆ คนอาจมองว่าเป็นเพียงเรื่องของความบันเทิงเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว ดนตรี มีความมหัศจรรย์และประโยชน์มากกว่าที่คิด สำหรับคนธรรมดานั้นอาจฟังดนตรีเพียงเพื่อคลายเหงา หรือฟังเพลินๆ เท่านั้น หากแต่สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าแล้ว “บทเพลง” เป็นเสมือนหมอผู้ช่วยที่ทำงานควบคู่กันกับยาต่างๆ เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคทางจิตใจให้ดีขึ้น โดยเฉพาะโรคที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุซึ่งเป็นวัยที่รักษาค่อนข้างยากกว่าผู้ป่วยวัยอื่นๆ ให้มีความสุขขึ้นได้

"ดนตรีบำบัด" ช่วยรักษาโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

“ดนตรีบำบัด” ไม่ใช่แค่บทเพลง แต่เป็นยาช่วยคลายเศร้า

ทฤษฎี Music Therapy ถือเป็นทฤษฎีทางการแพทย์ที่หลอมรวมเอาเรื่องของศาสตร์ด้านจิตวิทยาและศิลป์ทางด้านดนตรีเข้าไว้ด้วยกันและนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับการรักษา พัฒนา รวมถึงการบำบัดในด้านสุขภาวะของร่างกาย จิตใจ และสังคมสำหรับคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพโดยเฉพาะ

จากการวิจัยทางการแพทย์ของ Buckwalter et.al 1985 ระบุไว้ว่า การรักษาโรคทางจิตใจด้วยการใช้ดนตรีเพื่อบำบัดจะช่วยทำให้ลดความกังวล ความกลัว เพิ่มการเคลื่อนไหว และสร้างแรงจูงใจขึ้นมาได้มากยิ่งขึ้นรวมถึง การใช้ดนตรีในการบำบัดนั้นยังช่วยบำบัดโรคร้ายแรงด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจ เพื่อช่วยลดการกระตุ้นที่ทำให้เกิดการเจ็บปวดที่เกิดจากการรักษาได้ ซึ่งในปัจจุบันเห็นได้จากการนำมารักษาควบคู่กับการให้ยาในโรคมะเร็งที่ช่วยลดความกังวลให้กับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี

เสียงดนตรีมีส่วนช่วยบำบัดโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้อย่างไร

ซึ่งสิ่งที่ทำให้ดนตรีมีประโยชน์ทางการบำบัดได้ถึงขนาดนั้น ก็เป็นเพราะองค์ประกอบต่างๆ ของดนตรีมีผลในด้านจิตวิทยาและการทำงานของสมองโดยตรงนั่นเอง

องค์ประกอบของดนตรีที่ทำให้มีผลต่อการบำบัดโรค

  • จังหวะ (Rhythm)

หากเล่นในจังหวะ70-80 ครั้ง/นาที (เท่ากับอัตราการเต้นของหัวใจ) จะทำให้คนฟังรู้สึกผ่อนคลาย มีสมาธิ จากการที่สมองลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) หรือสารแห่งความสุขออกมา

  • ระดับ (Pitch)

หากเล่นในจังหวะ70-80 ครั้ง/นาที (เท่ากับอัตราการเต้นของหัวใจ) จะทำให้คนฟังรู้สึกผ่อนคลาย มีสมาธิ จากการที่สมองลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) หรือสารแห่งความสุขออกมา

  • ความดัง (Volume/ Intensity)

จากงานวิจัยพบว่า เสียงที่เบานุ่มจะทำให้เกิดความสงบสุขและสบายใจ ในขณะที่เสียงดังทำให้เกิดการเกร็ง กระตุกของกล้ามเนื้อได้

  • การประสานเสียง (Harmony)

เพราะเป็นการร้องร่วมร้องเพลงด้วยกันหลายคน ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับการควบคุมตัวเองมักมีปฏิกิริยาที่แสดงออกมาเมื่อฟังเสียงประสานต่างๆ จากบทเพลง ซึ่งช่วยในการวัดระดับอารมณ์ความรู้สึกและทำการประเมินการรักษาได้ง่ายขึ้น

  •  ทำนอง (Melody)

ทำนองของเพลงคือส่วนที่ทำให้บทเพลงนั้นเข้าถึงอารมณ์คนฟังได้ดีที่สุด การเปิดทำนองเพลงที่ผู้ป่วยชื่นชอบจึงช่วยกระตุ้นให้เกิดการระบายความรู้สึกส่วนลึกของจิตใจ จนสุดท้ายช่วยลดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นตลอดการรักษาได้เป็นอย่างดี

 

ดนตรี กับ การบรรเทาความซึมเศร้า

จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าวิธีการบำบัดชนิดนี้สามารถส่งผลในการรักษาโรคซึมเศร้า จากคำอ้างของการวิจัย การใช้ดนตรีเพื่อบำบัดยิ่งมีประโยชน์มากยิ่งขึ้นสำหรับคนที่มีภาวะซึมเศร้าเมื่อมีการนำมาใช้ร่วมกับการรักษาตามปกติ (เช่นยารักษาอาการซึมเศร้าและจิตบำบัด)

จากการศึกษากลุ่มขนาดเล็กที่มีการตีพิมพ์ลงใน Journal of Affective Disorders  เมื่อปี 2015 ระบุไว้ว่าเมื่อมีการถูกนำมาใช้ร่วมกับการรักษารูปแบบอื่นๆ ดนตรีอาจช่วยลดความคิดหมกหมุ่นและความวิตกกังวลในคนที่มีภาวะโรคย้ำคิดย้ำทำ

ในปี 2016 นักวิจัยได้ศึกษาความเป็นไปได้ซึ่งพบว่าดนตรีสามารถทำงานร่วมกับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมในการรักษาภาวะซึมเศร้าแต่ขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องมีการค้นคว้าต่อจากผลที่ได้จากการเริ่มต้น

ประโยชน์ของการใช้บทเพลงในการบำบัด

การใช้และประโยขน์ของดนตรีในการบำบัดนั้นได้มีการค้นคว้ามานานนับหลายสิบปีแล้ว กุญแจหลักที่ได้จากการค้นหาจากการศึกษาในคลีนิคแสดงให้เห็นว่าดานตีบำบัดอาจช่วยคนที่มีภาวะซึมเศร้าและมีความวิตกกังวล มีปัญหาเรื่องการนอนหรือแม้แต่โรคมะเร็ง

5 ประโยชน์จากการใช้ดนตรีเพื่อบำบัดโรค

1. การจัดการความเครียดในผู้สูงอายุ
2. การกระตุ้นความจำในโรคสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ของผู้สูงอายุ
3. เพิ่มทักษะการสื่อสาร
4. บรรเทาอาการเจ็บปวดทั้งทางจิตใจและทางกาย
5. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย

ท้ายที่สุด ไม่ว่าดนตรีจะช่วยบำบัดความเศร้าผู้สูงอายุได้หรือไม่นั้นคงไม่สำคัญเท่ากับ บุตรหลานในครอบครัวได้ทำการดูแลและใส่ใจท่านมากหรือน้อยแค่ไหน เนื่องจากการฟังเพลงคลายความเศร้าอาจไม่ใช่สิ่งที่ผู้สูงวัยต้องการเพียงอย่างเดียว หากแต่แต่เป็นความรักและห่วงใยของลูกหลานในครอบครัวด้วย


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง