การเดินของผู้สูงอายุผิดปกติ? อาจเสี่ยงภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง

การเดินของผู้สูงอายุผิดปกติ เชื่อว่าบุตรหลานหลายๆ คนต้องเคยเห็นการเดินผิดปกติของผู้สูงอายุที่บ้านกันมาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการเดินเซ เดินแล้วทรงตัวไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าเมื่อเราแก่ตัวลง สมรรถภาพทางร่างกายก็จะเสื่อมลงไปตามวัย แต่สิ่งที่เรารู้กันมานั้นถูกต้องทั้งหมดหรือไม่ เพราะการเดินผิดปกติเช่นนี้อาจไม่ได้มาจากความเสื่อมของเข่าและขาของผู้สูงวัยอย่างเดียว

การเดินของผู้สูงอายุผิดปกติ? อาจเสี่ยงภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง

การเดินของผู้สูงอายุผิดปกติ คืออะไร ทำไมจึงเสี่ยงภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง?

สมองของเราจะมีโพรงอยู่ภายใน โพรงสมองจะมีน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ป้องกันดูดซับแรงกระทบกระแทกจากภายนอก ในสภาวะที่การดูดซึมของน้ำผิดปกติ จะมีน้ำคั่งและดันให้โพรงสมองมีขนาดใหญ่ขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง

ภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง คือ…

สมองของมนุษย์นั้นไม่ใช่ก้อนเนื้อตัน แต่มีโพรงน้ำอยู่ภายใน น้ำดังกล่าว คือ น้ำหล่อสมองและไขสันหลัง ซึ่งในที่นี้จะเรียกสั้นๆว่า น้ำ  ซึ่งน้ำดังกล่าวจะทำหน้าที่ดูดซับแรงกระเทือน และถ่ายเทสารเคมีหลายอย่าง ในสภาวะที่การดูดซึมของน้ำผิดปกติไปก็จะมีน้ำคั่งดันโพรงสมองให้โตผิดปกติ และเกิดภาวะน้ำเกินในโพรงสมองนั่นเอง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดโรค

  • ผู้สูงอายุ อายุมากกว่า 60 ปี
  • ภาวะติดเชื้อในสมอง
  • เลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง
  • หรืออาจเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุก็ได้

จะรู้ได้อย่างไรว่ามีภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการเดินร่วมกับสติปัญญาลดลง หรือ ปัสสาวะราด คือ ผู้ที่เข้าข่ายน่าสงสัย ว่าจะมีโรคนี้และสมควรได้รับการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT Scan) หรือ แม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI) ถ้าแพทย์พบว่าขนาดของโพรงสมองจากการตรวจดังกล่าว โตผิดปกติ จะถือว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเป็นโรคนี้ และจะแนะนำให้ทำการตรวจเพิ่มเติม หรือ ทำการรักษาต่อไป

ภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง  มีอาการอย่างไร?

โรคนี้มักจะเป็นในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจะมีอาการเดินผิดปกติ เช่น เดินช้า ก้าวขาไม่ออก ยกขาไม่พ้นจากพื้น เดินซอยเท้า ทรงตัวไม่ดี ล้มบ่อย คนไข้บางคนมาโรงพยาบาลด้วยเรื่องล้มบ่อยๆ โดยไม่รู้ว่ามีโรคนี้แอบแฝงอยู่ การเดินจะแย่ลงช้าๆ จนอาจจะเดินไม่ได้เลย ในท้ายที่สุด นอกจากเรื่องเดินผิดปกติแล้วผู้ป่วยอาจจะมีปัญหาสมองเสื่อม ญาติอาจจะสังเกตว่าคนไข้จะคิดช้า เฉื่อยชาไม่ค่อยสนใจ รวมทั้งยังมีความจำที่แย่ลง หลงลืม พูดน้อยลง ตอบสนองช้า นอนมาก ในระยะท้ายผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาปัสสาวะราด โดยอาจจะปัสสาวะออกมาโดยไม่บอก หรือ ปัสสาวะราดออกมาโดยเข้าห้องน้ำไม่ทัน

 

แนวทางการรักษา

การผ่าตัดฝังท่อระบายน้ำ โดยส่วนใหญ่มักจะผ่าตัดฝังท่อระบายน้ำจากโพรงสมองเข้าสู่ช่องท้อง จะทำให้อาการต่างๆดีขึ้น ได้แก่ การเดินผิดปกติ ภาวะหลงลืม และกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ในการผ่าตัดอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้บ้าง เช่น เลือดออกในสมองและเกิดการติดเชื้อ แต่พบได้น้อย

หากสังเกตผู้สูงอายุในบ้านมีอาการ เดินไม่คล่อง ความจำไม่ดี อย่าคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาของคนแก่ และปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำอะไร ควรพามาพบแพทย์จะได้ตรวจหาสาเหตุโดยแน่ชัดและแก้ไขได้ทันท่วงที

กายภาพบำบัดสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะน้ำเกินในโพรงสมอง

เน้นไปที่การปรับท่า เพิ่มความมั่นคง ในการเดิน เพื่อลดความเสี่ยง ในการล้ม โดยวิธีการรักษาทาง กายภาพบำบัด มีดังนี้

การออกกำลังกาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ

โดยเน้นกล้ามเนื้อ ในกลุ่มที่หดสั้นจากการก้มตัว ไหล่งุ้มไปด้านหน้า ได้แก่ กล้ามเนื้อหน้าอก กล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง เพื่อให้ปรับท่าเดินได้ง่ายยิ่งขึ้น กล้ามเนื้องอเข่า กล้ามเนื้อน่อง เพื่อให้เหยียดสะโพก ได้ดีขึ้น และ ลงน้ำหนักได้เต็มเท้า

การออกกำลังกาย เพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อ

โดยต้องเน้นให้ผู้สูงอายุกล้ามเนื้อเหยียดหลัง เพื่อช่วยในการยืดตัวขึ้น กล้ามเนื้อเหยียดสะโพก กล้ามเนื้อกางสะโพก เพื่อเพิ่มความมั่นคงในการเดิน

ฝึกการทรงตัวในท่ายืน

ซึ่งอาจฝึกในท่ายืนนิ่ง เช่น การต้านแรงขณะยืนนิ่ง ไปจนถึงการเคลื่อนไหว ในขณะยืน เช่น ยืนเอื้อมมือแตะ หลายทิศทาง ยืนย่ำเท้า ยืนยกขา เป็นต้น (เรียงลำดับการฝึกจากง่าย-ยาก)

ฝึกการทรงตัวในท่าเดิน

เพื่อเพิ่มความมั่นคง ในการเดิน เช่น การเดินตามจุด ที่กำหนดไว้ การเดินต่อเท้า เป็นต้น จะช่วยให้เดินลงน้ำหนักได้เต็มเท้ามากขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยก้าวสั้น ก้าวถี่ลดลง

การปรับท่าเดินโดยเน้นการเหยียดหลัง

รวมถึงการยืดตัว เหยียดสะโพก และมีจังหวะในการเดิน เพื่อให้ผู้ป่วย ควบคุมความเร็ว ในการเดิน ลงน้ำหนักได้เต็มเท้า ลดความเสี่ยงในการล้ม

อย่างไรก็ดี บุตรหลานหลายๆ คนอาจไม่ทราบว่า การเดินของผู้สูงอายุผิดปกติ และปัญหาเรื่องการทรงตัวนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากโรคน้ำเกินในโพรงสมองด้วย ดังนั้น หากรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยโรคนี้ได้สำเร็จ ก็จะเท่ากับเป็นการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุไปในตัวด้วย ซึ่งถ้าสมาชิกทุกคนในบ้านหมั่นสังเกตอาการผิดปกติและพาผู้สูงอายุมาตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวินิจฉัยโรคและนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้อง ช่วยลดโอกาสเสี่ยงหกล้มได้อย่างน่าพอใจทีเดียว


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง