ทรงตัวไม่ได้ ล้มง่ายในผู้สูงอายุ แก้ได้ด้วย 6 ท่ากายบริหาร

“ทรงตัวไม่ได้” ปัญหาที่ผู้สูงอายุในหลายๆ ครอบครัวกำลังพบเจอ บุตรหลานอาจมองว่า ระบบทรงตัวมีปัญหาในผู้สูงอายุ นั้นเป็นเรื่องทั่วไป ไม่ได้น่าเป็นห่วงเท่าไหร่ แต่แท้จริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้น เพราะมันหมายถึง ผู้สูงอายุมีปัจจัยที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะพลัดตกและหกล้มได้ง่ายนั่นเอง ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุเช่นนั้น ณ สถานที่ที่เป็นอันตราย เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว ฯลฯ ก็อาจส่งผลถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น สมาชิกในครอบครัวจึงต้องหมั่นดูแลและส่งเสริมในทุกๆ วิธีที่ช่วยในเรื่องระบบการทรงตัวของผู้สูงวัยนั่นเอง

ทรงตัวไม่ได้ ล้มง่ายในผู้สูงอายุ แก้ได้ด้วย 6 ท่ากายบริหาร

“ทรงตัวไม่ได้” ล้มง่าย ล้มบ่อย เกิดจากอะไร รักษาได้หรือไม่?

อาการเสียการทรงตัวในผู้สูงอายุเกิดได้จากหลายสาเหตุและปัจจัย โดยอาจมาจากความผิดปกติของสมองและระบบประสาท โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ หรือพฤติกรรมการเคลื่อนไหวบางท่าทางในชีวิตประจำวันก็อาจทำให้เกิดปัญหาด้านการทรงตัวได้

สาเหตุของการเสียการทรงตัวในผู้สูงอายุ

การทรงตัวต้องอาศัยระบบ 3 ระบบทำงานประสานกันเพื่อให้ทรงตัวได้อย่างเป็นปกติ ซึ่งประกอบด้วย

1.  หูชั้นใน

ซึ่งประกอบด้วยน้ำในหูและหินทรงตัว และเส้นประสาทการทรงตัวที่ช่วยให้เราทำกิจวัตรประจำวันในอิริยาบถต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การยืน การก้มหรือการหัน เป็นต้น

2. ระบบประสาทส่วนกลางและกล้ามเนื้อไขข้อ

ซึ่งเป็นระบบประสาทที่มีหน้าที่คอยสั่งงานกล้ามเนื้อและข้อต่างๆ ของร่างกายว่าต้องเดินและทรงตัวอย่างไรนั่นเอง

3. ตา

เราต้องใช้ตาในการมองทิศทาง สิ่งกีดขวางเพื่อระวังตัวไม่ให้เดินชน สะดุดหกล้ม ดังนั้นถ้ามีปัญหาตาบางอย่าง เช่น มองเห็นไม่ชัด มองในที่มืดได้ไม่ดี จะทำให้มีปัญหาเสียการทรงตัวมากขึ้น

อย่างไรก็ดี หากระบบใดระบบหนึ่งในที่นี้ทำงานผิดปกติไป จะทำให้เราสูญเสียการทรงตัวและมีแนวโน้มที่จะหกล้ม ได้รับบาดเจ็บบาดเจ็บ ในบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

ลักษณะอาการ

เป็นภาวะที่ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกตัวลอย โคลงเคลง ทรงตัวไม่ได้หรือเวียนศีรษะ / เวียนศีรษะหมุน หากกำลังยืนอยู่กับที่ นั่งหรือนอน อาจรู้สึกว่าตัวลอย หัวหมุน หากกำลังเดินอยู่อาจรู้สึกว่าตัวโคลงเคลง เซไปข้างใดข้างหนึ่งเหมือนกำลังจะหกล้มหรือหกล้ม นอกจากนี้ผู้สูงวัยอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น

  • คลื่นไส้ อาเจียน

  • วิตกกังวล

  • ตื่นตระหนก

โดยอาการเหล่านี้อาจเป็นอยู่เพียงชั่วครู่หรือระยะเวลานาน ทั้งนี้ ความรุนแรงและลักษณะของอาการเสียการทรงตัวก็จะต่างกันไป หากผู้สูงอายุเสียการทรงตัวอย่างฉับพลันมักจะเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ เช่น หกล้ม ตกบันได รถชน และอาจนำไปสู่การบาดเจ็บร้ายแรงและการเสียชีวิต

 

แนวทางการรักษา

การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้น ดังนั้น แพทย์จึงจะพิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย หลังการรักษา ผู้ป่วยภาวะเสียการทรงตัวบางรายยังอาจหลงเหลือความบกพร่องอยู่บ้าง เพราะฉะนั้นจึงต้องทำการบำบัดฟื้นฟูการทรงตัวอย่างต่อเนื่องหลังการรักษา

6 ท่ากายบริหาร ป้องกันการเสียการทรงตัวในผู้สูงอายุ

1.การฝึกเดินทรงตัว

ยืนตรง หน้ามองตรงไปด้านหน้า จากนั้นเดินเป็นเส้นตรงไปข้างหน้า โดยให้เท้าข้างหนึ่งอยู่ด้านหน้าเท้าอีกข้าง ขณะที่เดินให้ยกขาหลังขึ้นมา ค้างไว้ 1 วินาที ก่อนก้าวต่อไป ทำซ้ำเช่นนี้ 20 ก้าว

2.การฝึกกล้ามเนื้อขา

ยืนจับพนักเก้าอี้ กางเท้าทั้งสองข้าง ออกประมาณช่วงหัวไหล่ จากนั้นให้ย่อเข่าทั้งสองข้างลง (เหมือนจะนั่งลงเก้าอี้) ให้หลังและศีรษะตั้งตรงค้างไว้ประมาณ 1-2 วินาที และให้เหยียดเข่ายืนขึ้นสู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ 10 ครั้ง

3. ยืนยกขาเดียว

ยืนตรงเท้าชิด มือเท้าเอว จากนั้นยกขางอเข่าขึ้นมาหนึ่งข้าง โดยให้ต้นขาขนานกับพื้น ทำค้างไว้ อาจจะใช้โต๊ะหรือเก้าอี้มาวางไว้ข้าง ๆ เพื่อให้มือจับในการช่วยพยุงตัวป้องกันการล้ม หรือหากแข็งแรงมากขึ้นก็สามารถกางแขนเพื่อช่วยทรงตัวได้ แล้วค่อยลดขาลงไปอยู่ท่าเริ่มต้น ทำซ้ำเช่นนี้ ประมาณ 3-5 ครั้ง แล้วสลับทำอีกข้างขณะที่ยกขาขึ้นมานั้น ควรหลังตรง เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง ก้น และหายใจตามสบาย

4. บริหารศีรษะ

ขั้นตอนแรกให้ผู้สูงอายุหลับตา ก้มศีรษะเหมือนการคำนับ หลังจากนั้นค่อยๆ เงยหน้าขึ้นจนตั้งตรง แล้วแหงนต่อไปทางด้านหลังอย่างช้าๆ แล้วค่อยๆ เริ่มทำให้เร็วขึ้นจนครบ 20 ครั้ง หันศีรษะไปทางด้านซ้าย มองตรง และหันไปทางด้านขวา สลับไปมาอย่างช้าๆ แล้วค่อยๆ เริ่มทำให้เร็วขึ้นจนครบ 20 ครั้ง

5. ฝึกลุก-นั่ง

ให้ผู้สูงอายุนั่งเก้าอี้ หลังจากนั้นให้นำขาวางราบพื้นใช้สองมือค่อยๆยันลำตัวขึ้น ยืนตรงหย่อนก้นไปทางด้านหลัง แล้วค่อยๆ ย่อเข่า ลงนั่ง

6. เสริมความแข็งแรงให้บริเวณสะโพก

ในท่านี้ให้ผู้สูงอายุต้องมีอุปกรณ์เสริมคือ เก้าอี้ โดยขั้นตอนแรงให้ผู้สูงอายุยืนหลังพนักพิงโดยลำตัวจะหันข้างให้กับเก้าอี้ ใช้มือข้างนึงจับไว้ หลังจากนั้นให้กางขาออกไปทางด้านข้าง กล้ามเนื้อส่วนนี้ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงให้กับข้อสะโพกได้นั่นเอง

อย่างไรก็ดี ผู้สูงอายุเป็นช่วงวัยที่ร่างกายอ่อนแอและฟื้นฟูได้ช้า อีกทั้งร่างกายของผู้สูงอายุมักไม่สามารถฟื้นฟูกลับมาเหมือนเดิมได้เมื่อเทียบกับคนวัยหนุ่มสาว ดังนั้น หากผู้สูงอายุในครอบครัวใดเคยเผชิญกับปัญหานี้ มีอาการเสียการทรงตัวอย่างต่อเนื่อง หรือพบอาการอื่นในลักษณะคล้ายกัน ควรพาไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม หากผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุหรือมีปัญหาเสียการทรงตัวรุนแรง ควรพาไปพบแพทย์ทันที


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง