8 ท่า กายภาพบําบัด ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก สำหรับผู้สูงวัย

กายภาพบําบัด ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก เป็นวิธีการที่ช่วยฟื้นฟูระบบการทำงานของกล้ามเนื้อผู้สูงอายุในผู้ป่วยอัมพาตได้เป็นอย่างดี เนื่องจากภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต คือ อาการที่อวัยวะบางส่วนของร่างกาย เช่น แขน ขา ไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือกระดุกกระดิกได้ และการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อบางส่วน ดังนั้นการทำกายภาพจึงค่อนข้างสำคัญต่อผู้สูงอายุในผู้ป่วยโรคอัมพาตครึ่งซีกนั่นเอง

8 ท่า กายภาพบําบัด ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก สำหรับผู้สูงวัย

“อัมพาตครึ่งซีก” คืออะไร เกิดจากอะไรได้บ้าง?

อัมพาตครึ่งซีกคือภาวะที่ร่างกายมีการสูญเสียการทำงานของแขนและขาในด้านเดียวกัน ของลำตัวสาเหตุมีหลายอย่างแต่ที่พบบ่อยที่สุดคือ สาเหตุจากโรคหลอดเลือดสมองซึ่งจำแนกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ

“อัมพาต” เกิดจาก….

1. หลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน

สาเหตุเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปยังสมองลดลงเกิดการตายของเนื้อสมอง ซึ่งกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองชนิดนี้จะรวมกลุ่มโรค Transient Ischemic Attack (TIA) ซึ่งเป็นภาวะที่จากระบบประสาทขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราวส่งผลให้สมองหรือจอประสาทตาขาดเลือด ทำให้ระบบประสาทเกิดความผิดปกติโดยจะใช้ระยะเวลาจะน้อยกว่า 24 ชั่วโมงก็จะกลับมาเป็นปกติ

2. หลอดเลือดสมองแตก

สาเหตุเกิดจากมีการแตกของหลอดเลือดแบ่งออกเป็น ICH (Intracerebralhemorrhage),IVH (Intraventricular hemorrhage) มักเกิดร่วมกับการมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง, SAH (Subarachnoid hemorrhage) ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดแดงโป่งพองเฉพาะที่ภายในสมอง

ทั้ง 2 ภาวะดังกล่าวทำให้เนื้อเยื่อสมองในบริเวณที่หลอดเลือดนั้นหล่อเลี้ยงเกิดอาการขาดเลือดทำให้การทำงานของสมองส่วนนั้นๆ ซึ่งควบคุมการทำงานของร่างกายทำหน้าที่บกพร่องไป

ดังที่ทราบกันแล้วว่าสมองมี 2 ซีก ซ้ายและขวาโดยปกติสมองซีก หนึ่งๆ จะควบคุมการทำงานของร่างกายด้านตรงข้ามเสมอ เช่น เมื่อสมองซีกขวามีปัญหาจึงส่งผลให้การทำงานของร่างกายซีกซ้ายเกิดการอ่อนแรง เป็นต้น

ลักษณะอาการของภาวะอัมพาตครึ่งซีก

  • แขนและขาข้างเดียวกันของลำตัวอ่อนแรง
  • เดินไม่ได้เป็นปัญหาที่เห็นได้ชัดเจนจึงทำให้ผู้ป่วยและญาติกังวลมากกว่าปัญหาอื่นๆ
  • การช่วยเหลือตนเองลดลงโดยเฉพาะกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน เช่น การรับประทานอาหาร การแต่งตัวการอาบน้ำ ล้างหน้า
  • แปรงฟัน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นกิจกรรมพื้นฐานที่ผู้ป่วยเคยทำได้แต่จำเป็นต้องพึ่งพาผู้ อื่นเมื่อเกิดโรคขึ้น
  • อารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่ายบ่อยครั้งที่เกิดอารมณ์ซึมเศร้าเนื่องจากมีความรู้สึกด้อยค่าในตัวเองจากความเจ็บป่วย
  • ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้แม้แต่กิจวัตรประจำวันพื้นฐาน
  • ปัญหาเรื่องการสื่อสารผู้ป่วยบางรายอาจพูดไม่ชัด พูดไม่ได้ หรือพูดได้แต่ไม่รู้เรื่อง เป็นต้น
 

8 ท่า กายภาพบําบัด ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก สำหรับผู้สูงวัย

  • การบริหารข้อไหล่

ควรประกอบด้วย ยกไหล่มาด้านหน้ากางไหล่ออกด้านข้างแล้วยกขึ้น หมุนไหล่เข้าและออก

  • การบริหารข้อศอก

ควรประกอบด้วย การงอและเหยียดข้อศอก คว่ำมือและหงายมือ

  • การบริหารข้อมือและนิ้วมือ

มือและนิ้วมือข้างที่เป็นอัมพาตของผู้ป่วยมักบวมซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงจึงไม่สามารถบีบตัวให้การไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองเป็นไปอย่างปกติการดูแลเบื้องต้นคือ ให้ใช้หมอนหนุนปลายมือให้สูงกว่าข้อศอกทั้งในท่านอนและท่านั่งนวดไล่จากปลายนิ้วมือเข้าหาต้นแขนและทำท่าบริหารโดยให้กระดกข้อมือขึ้นเหยียดนิ้วมือออกให้สุดและกางนิ้ว โป้งออกให้ง่ามนิ้วตึงการบริหารข้อสะโพกควรประกอบด้วย การงอและเหยียดกางออกหุบเข้า รวมทั้งหมุนสะโพก

  • การบริหารข้อเท้า

ควรกระดกข้อเท้าขึ้นให้เอ็นร้อยหวายตึงป้องกันการหดสั้นของเอ็นร้อยหวาย หากเอ็นร้อยหวายหดสั้นปลายเท้าจะจิกลงและขัดขวางการเดิน เมื่อผู้ป่วยแข็งแรงและพร้อมที่จะทำได้เองควรสอนให้ผู้ป่วยออกกำลังกาย โดยให้เอามือประสานกันแล้วยกแขน 2 ข้างขึ้นเหนือศีรษะเป็นการป้องกันข้อไหล่ติดสามารถทำได้ทั้งท่านั่งและท่านอนจากนั้นใช้มือข้างดีกระดกข้อมืออัมพาตเหยียดนิ้วให้ตรงรวมทั้งการนิ้วโป้งออกให้ง่ามนิ้วตึง

  • การบริหารการทรงตัว

หากผู้ป่วยยังลุกนั่งเองไม่ได้ ให้จับผู้ป่วยลุกนั่งและหากยังทรงตัวนั่งเองไม่ได้ควรนั่งโดยมีที่พิงบนเตียงให้ใช้หมอนวางเรียงประคองหลังกันผู้ป่วยล้มลงเมื่อลุกนั่งและไม่มีอาการเวียนศีรษะหน้ามืดควรนั่งให้ตรงประมาณ 70-90 องศา หากนั่งเอนมากๆ ลำตัวมักไม่มั่นคงเกิดการถูไถไปกับที่นอนและจะทำให้มีแผลกดทับเกิดตามมา ระยะแรกอาจให้นั่งเฉพาะมื้ออาหารเมื่อทนได้ดีขึ้นควรเพิ่มความถี่ของการนั่งให้มากขึ้น ระยะเวลาของการนั่งต่อครั้งควรค่อยๆ ปรับให้มากขึ้นตามความทนทานของผู้ป่วยตั้งแต่เวลาน้อยๆ เช่น 5 นาที และควรนั่งได้อย่างน้อย 30 นาทีต่อการลุกนั่ง 1 ครั้ง แต่ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมง เมื่อผู้ป่วยนั่งได้อย่างน้อย 30 นาที อาจย้ายมานั่งเก้าอี้ข้างเตียงได้ โดยนั่งเก้าอี้มีพนักพิงแล้วใช้หมอนประคองไหล่ แขนและมือข้องที่อ่อนแรงไว้ แขนและมือข้างที่อ่อนแรงไว้ด้วย

  • การบริหารโดยงอสะโพกยกขาขึ้น

นอนหงาย จากนั้นงอสะโพกขึ้นพร้อมเหยียดขาไว้ จากนั้นวางลงช้าๆ
  • การบริหารโดยยกขางอเข่างอสะโพก

นอนหงาย จากนั้นงอเข่าและสะโพกขึ้น แล้วเหยียดขาไปข้างหน้าตรงๆ
  • การบริหารโดยท่ากางขาหุบขานอนหงาย

จากนั้นกางขาออกด้านข้างตรงๆ ไม่งอสะโพก จากนั้นหุบขาเข้าตำแหน่งเดิม อาจะมีคนช่วยประคองใต้เข่าและข้อเท้าได้

ผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการฟื้นฟูได้ที่ดี ต้องมีลักษณะ ดังนี้

  1. ต้องได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและสังคมที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย
  2. มีการฟื้นตัวของความสามารถในการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้เร็ว ภายใน 1-2 สัปดาห์
  3. มีการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อลำตัว สะโพก หัวไหล่ โดยเร็ว โดยเฉพาะกล้ามเนื้อส่วนต้นได้ภายใน 2-4 สัปดาห์
  4. มีการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อแต่ละมัดโดยเร็ว สามารถควบคุมกล้ามเนื้อแต่ละมัดได้ภายใน 4-6 สัปดาห์
  5. อารมณ์ดีไม่มีอาการซึมเศร้า
  6. มีการรับรู้ที่ดี

อย่างไรก็ดี การ กายภาพบําบัด ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูให้พวกท่านกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยไวที่สุด แต่ก็ต้องทำควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเป็นอยู่ให้เหมาะสมกับสภาวะร่างกายของพวกท่านด้วย ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนให้เพียงพอ การรับประทานอาหารที่ไม่เสี่ยงต่อการเพิ่มไขมัน และการออกกำลังกาย เป็นต้น ทั้งนี้ สิ่งสำคัญอีกอย่างคือการได้รับกำลังใจจากคนในครอบครัว ที่จะผลักดันให้ผู้สูงวัยมีกำลังใจในการดูแลตนเองให้อยู่กับลูกหลานได้นานๆ


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง