“ทางเดินหายใจ” ในผู้สูงอายุ ดูแลให้ดี ป้องกันปอดอักเสบ

“ทางเดินหายใจ” เป็นระบบที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากกับมนุษย์เรา ยิ่งในยุคนี้ที่มีโรคระบาดอย่าง Covid-19 ที่ส่งผลต่อปอดของเราโดยตรง ก็ยิ่งทำให้ระบบนี้เป็นระบบที่เราไม่ควรละเลยในการดูแลกันเลยทีเดียว โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่เมื่ออายุพวกท่านเพิ่มมากขึ้น การทำงานของระบบต่างๆ ก็จะเสื่อมถอยไปตามกาลเวลา ดังนั้น บุตรหลานจึงควรดูแลเอาใจใส่ และหมั่นสังเกตการหายใจของพวกท่านเสมอ เพราะบางครั้งอาการผิดปกติบางอย่างอาจหมายถึงโรคปอดอักเสบโดยที่ไม่ทันตั้งตัว

"ทางเดินหายใจ" ในผู้สูงอายุ ดูแลให้ดี ป้องกันปอดอักเสบ

“ทางเดินหายใจ” ในผู้สูงอายุ สำคัญอย่างไร ทำไมต้องดูแล?

โรคภัยไข้เจ็บสำหรับผู้สูงอายุ นอกจากโรคประจำตัวทั่วๆ ไป อย่าง เบาหวาน ความดันโลหิตสูงแล้ว ภาวะปอดติดเชื้อหรือปอดอักเสบ ยังเป็นภัยใกล้ตัวที่มักเกิดขึ้น โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนฤดู หากไม่มีการป้องกันหรือรักษาอย่างถูกวิธีอาจร้ายแรงถึงขั้นติดเชื้อในการะแสเลือด เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตในที่สุด

โรคที่มักส่งผลต่อ “การหายใจ”

  • โรคหวัดหรือไข้หวัด (Acute Rhinopharyngitis : Common Cold)

เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยมากที่สุดโรคหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งมีหลายสายพันธุ์ พบบ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว หรือโดยเฉพาะช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง

  • โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza)

เป็นโรคติดต่อที่เกิดการระบาดใหญ่เป็นครั้งคราว เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza Virus) หรือไวรัสไข้หวัดใหญ่ พบบ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ซึ่งสามารถแพร่ระบาดได้ในทุกๆ วัย แต่หากเป็นผู้สูงอายุเมื่อติดเชื้อจะมีอาการรุนแรงกว่าและอาจส่งผลถึงปอดด้วยนั่นเอง

  • โรคคออักเสบ (Acute Pharyngitis)

เกิดจากเยื่อบุภายในคออักเสบ เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยมากส่วนใหญ่ สามารถพบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงอายุ  ความรุนแรงของโรคไม่มาก มักมีอาการกลืนเจ็บ แสบคอ และสามารถหายได้เองภายในไม่กี่วัน

  • ปอดอักเสบ (Pneumonia)

หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า  “ปอดบวม” เป็นโรคที่เกิดการติดเชื้อบริเวณปอด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย และทำให้เกิดการอักเสบ บวม มีน้ำหรือหนองอยู่ภายในถุงลมปอด มีโอกาสเกิดความรุนแรงของโรคได้มากกว่า โรคปอดอักเสบทำให้เกิดอาการไอ หายใจลำบาก และหายใจหอบเหนื่อย ในรายที่มีอาการมากอาจเสียชีวิตได้

 

“ปอดอักเสบ” ในผู้สูงอายุ อันตรายกว่าที่คิด

จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เมื่อปีพ.ศ. 2561 พบว่ามีผู้ป่วยโรคปอดอักเสบมากถึง 131,247 ราย เสียชีวิต 96 ราย  โดยกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป ถือเป็นกลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยมากที่สุดอีกด้วย

สาเหตุ

โรคปอดอักเสบในผู้สูงอายุส่วนใหญ่เกิดจากการได้รับเชื้อผ่านทางเดินของหายใจ ทำให้ปอดเกิดการอักเสบ  ส่งผลให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนอากาศได้ตามปกติ มักพบเป็นอาการที่ต่อเนื่องมาจากโรคไข้หวัดใหญ่ การติดเชื้อปอดอักเสบสามารถพบได้ทุกช่วงอายุ โดยระดับความรุนแรงของโรคจะมีความแตกต่างกัน ผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 65 ปี มีความต้านทานโรคต่ำ จึงมีความเสี่ยงเกิดความรุนแรงของโรคถึงขั้นเสียชีวิตมากที่สุด

ลักษณะอาการ

ภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อแต่ละชนิด ส่งผลให้ระยะเกิดโรคแตกต่างกัน  เชื้อบางชนิดอาจเกิดภายในเวลาสั้นๆเพียง 1-3 วัน หรือบางชนิดอาจใช้เวลาฟักตัวนานเป็นสัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดหลังจากเริ่มป่วยเป็นไข้หวัด หากพบว่าผู้ป่วยมีไข้สูง อ่อนเพลีย ไอ มีเสมหะร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน  หายใจลำบาก เจ็บแน่นหน้าอก  โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยสูงอายุเริ่มมีอาการสับสนหรือซึมลง ทั้งๆ ที่ไข้ลดลง ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เนื่องจากอาจมีการติดเชื้อในปอด

“ปอดอักเสบในผู้สูงอายุ” ป้องกันอย่างไร?

  • ลดการออกไปในสถานที่แออัดในช่วงที่มีไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ระบาด

  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกปี เนื่องจากเชื้อโรคมีการกลายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา ประสิทธิภาพของวัคซีนสามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ประมาณ 70-80% ควรฉีดก่อนหน้าฝนราวเดือนพฤษภาคม–มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่ไข้หวัดใหญ่ระบาด

  • ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย

  • ผู้สูงอายุควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ใช้ช้อนกลาง หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดและไขมันสูง ดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู่ป่วยโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่

  • ไม่สัมผัสกับผู้ป่วย หลีกเลี่ยงการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น

อย่างไรก็ดี การป้องกันโรคที่เกี่ยวกับปอดหรือที่เกี่ยวกับระะของการหายใจเช่นนี้ ต้องเฝ้าระวังไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งลูกหลานต้องหมั่นสังเกตและค่อนข้างเอาใจใส่ในการดูแล เพราะถ้าหากผู้สูงอายุเกิดการติดเชื้อขึ้นมาแล้วล่ะก็ ค่อนข้างจะรักษาและฟื้นตัวได้ยากลำบากกว่าวัยอื่นๆ ดังนั้น บุตรหลานจึงไม่ควรละเลย ผ่าไปฉีดวัคซีน และดูแลให้ท่านออกกำลังกายอยากสม่ำเสมอเพื่อให้ปอดของท่านทำงานได้อย่างแข็งแรงสมวัยนั่นเอง


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง