“ปอดอักเสบ” โรคอันตรายในผู้สูงวัยที่ควรระวัง

“ปอดอักเสบ” เป็นภาวะปอดติดเชื้อที่น่าเป็นห่วงในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศหรือฤดูกำลังเปลี่ยน ซึ่งจะเป็นเวลาที่ปอดของผู้สูงอายุจะเกิดการติดเชื้อได้ง่าย และอีกหนึ่งเหตุผลที่โรคนี้เป็นโรคอันตรายในผู้สูงวัยที่ควรระวังก็เป็นเพราะเมื่ออายุยิ่งมากขึ้น สมรรถภาพของอวัยวะทุกๆ อย่างในร่างกายก็จะเริ่มเสื่อมลงไปตามเวลา การที่ผู้สูงอายุท่านใดท่านหนึ่งเกิดเป็นผู้ป่วยโรคปอดชนิดนี้ขึ้นมาก็จะทำให้การรักษาให้อาการดีขึ้นได้ยากกว่าวัยอื่นๆ นั่นเอง

"ปอดอักเสบ" โรคอันตรายในผู้สูงวัยที่ควรระวัง

“ปอดอักเสบ” เกิดจากอะไร และมีอาการอย่างไร?

ภาวะปอดติดเชื้อ เป็นอีกภัยใกล้ตัวที่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนฤดู โรคปอดติดเชื้อนี้ เป็นโรคติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียผ่านระบบทางเดินหายใจ มักเรียกง่ายๆ ว่า “โรคปอดบวม” นั่นเอง

สาเหตุ

โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อในตำแหน่งของหลอดลมฝอยลุกลามจนถึงถุงลมปอด ส่วนใหญ่เกินกว่าครึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังเกิดจากการติดเชื้อโรคชนิดอื่นได้ เช่น พยาธิและเชื้อรา ขึ้นอยู่กับระดับภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย เมื่อปอดติดเชื้อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะส่งเม็ดเลือดขาวมาที่เซลล์ปอด และเกิดปฏิกิริยาการอักเสบจากการทำลายเชื้อโรค เกิดหนองหรือของเหลวท่วมขังอยู่ภายในถุงลมปอด รวมทั้งทำให้เซลล์ปอดบวมใหญ่ขึ้น

ระยะฟักตัว

ระยะฟักตัวของโรคขึ้นอยู่กับเชื้อก่อโรค อาจใช้เวลา 1-3 วัน โดยผู้สูงอายุมักมีอาการเริ่มต้นคล้ายไข้หวัด ไข้สูง ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ อาการอาจรุนแรงขึ้นเมื่อเริ่มเจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ หากเป็นนานกว่า 2-3 วัน โดยไข้ไม่ลด ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการวินิจฉัยและทำการรักษา

ลักษณะอาการ

กลุ่มอาการเบื้องต้นที่สามารถสังเกตได้

ผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ อายุของผู้ป่วย และความรุนแรงของโรค มักมีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนนำมาก่อน เช่น มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ กลุ่มอาการที่พบบ่อยคือ

  • อาการเฉพาะที่ในระบบทางเดินหายใจ

โดยผู้สูงอายุอาจมี อาการไอ เสมหะเยอะ เสมหะสีเหลืองหรือเป็นหนอง หอบเหนื่อย หายใจลำบาก หายใจเร็ว

  • อาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง

เช่น มีไข้ บางรายอาจจะมีหนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย ซึมลง

กลุ่มอาการหลังจากเกิดภาวะได้ระยะหนึ่ง

  • การสำลักเชื้อที่สะสมรวมกลุ่มอยู่บริเวณทางเดินหายใจส่วนบนลงไปสู่เนื้อปอด

เช่น สำลักน้ำลาย อาหาร หรือสารคัดหลั่งในทางเดินอาหาร หากในระยะนี้ผู้ป่วยมีร่างกายอ่อนแอ มีการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนหรือมีโรคเรื้อรังร่วมด้วย ก็จะทำให้เกิดปอดติดเชื้อได้

  • การหายใจเอาเชื้อเข้าสู่ปอดโดยตรง

การสูดหายใจเอาเชื้อที่อยู่ในอากาศในรูปละอองฝอยขนาดเล็ก เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะปอดติดเชื้อจากกลุ่มเชื้อไวรัส เชื้อวัณโรค และเชื้อรา จึงทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อเหล่านี้ได้ง่ายในกลุ่มคนที่อยู่รวมกัน โดยเฉพาะครอบครัว ชั้นเรียน ห้องทำงาน สถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน หรือในบริเวณที่มีคนอยู่แออัด

  • การแพร่กระจายของเชื้อตามกระแสโลหิต

ซึ่งเป็นทางสำคัญที่ทำให้เกิดปอดติดเชื้อจากเชื้อที่ก่อโรคในอวัยวะอื่น

  • การลุกลามโดยตรงจากการติดเชื้อที่อวัยวะข้างเคียงปอด

เช่น เป็นฝีในตับแล้วแตกตัวเข้าสู่เนื้อปอด เป็นต้น

 

แนวทางการรักษา

แนวทางการรักษาของภาวะปอดติดเชื้อชนิดนี้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 แนวทางหลักๆ คือ

1.การรักษาจำเพาะ

  • ในรายที่เป็นโรคปอดติดเชื้อจากไวรัส

ไม่มียารักษาที่จำเพาะ ยกเว้นไข้หวัดใหญ่ที่มียาต้านไวรัส (oseltamivir or Tamiflu)

  • ในรายที่เป็นโรคปอดติดเชื้อจากแบคทีเรีย

ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเร็วที่สุดทันทีที่ได้รับการ วินิจฉัยว่ามีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย การพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะควรเลือกใช้ตามเชื้อที่คิดว่าเป็นสาเหตุในรูปแบบยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือยากิน พิจารณาตามความเหมาะสม

2. การรักษาแบบทั่วไป

  • ให้สารน้ำให้เพียงพอ แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ ในรายที่หอบมาก ท้องอืด รับประทานอาหารไม่ได้ แพทย์อาจให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและงดอาหารทางปาก
  • ใช้ยาขยายหลอดลมในรายที่มีหลอดลมตีบร่วมด้วย
  • ทำกายภาพบำบัดทรวงอก (chest physical therapy) เพื่อช่วยให้เสมหะถูกขับออกจากปอดและหลอดลมได้ดีขึ้น
  • การรักษาอื่นๆ ตามอาการ ได้แก่ การให้ยาลดไข้ ยาขับเสมหะ หรือยาละลายเสมหะในกรณีที่ให้สารน้ำเต็มที่ แต่เสมหะยังเหนียวอยู่

แนวทางการป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ในผู้สูงอายุ

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีผู้คนหนาแน่น เช่น ศูนย์การค้า โรงภาพยนตร์ โดยเฉพาะไม่ควรพาผู้สูงอายุและเด็กเล็กไปในสถานที่ดังกล่าว
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ภาวะทุพโภชนา ควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรืออากาศที่หนาวเย็น
  • ให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ และวัคซีน IPD ป้องกันแก่ผู้สูงอายุที่เสี่ยง

อย่างไรก็ดี การป้องกันไว้ก่อนย่อมดีกว่า เนื่องด้วยในปัจจุบันโรคที่เกี่ยวกับปอดค่อนข้างมีมากและยังไม่รวมถึงโรคติดต่ออย่าง Covid-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ ณ ขณะนี้ ดังนั้นการป้องกันโรคทางปอดให้ผู้สูงอายุไว้ก่อนจึงเป็นเรื่องที่บุตรหลานควรใส่ใจ เพราะปอดเป็นอวัยวะที่สำคัญและหากมีสัญญาณอันตรายก็ควรรีบพาผู้สูงวัยไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจเช็คให้แน่ใจและได้รับการดูแลที่ถูกต้องนั่นเอง


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง