6 วิธีป้องกันผู้สูงวัย “ลื่นล้มในห้องน้ำ”

“ลื่นล้มในห้องน้ำ” อุบัติเหตุที่ไม่มีบุตรหลานคนไหนอยากให้เกิดกับผู้สูงวัยในครอบครัว ปฏิเสธไม่ได้ว่า ห้องน้ำ คือพื้นที่ที่คนในบ้านจำเป็นต้องใช้สอยทุกวัน รวมไปถึงผู้สูงอายุที่ท่านก็ต้องเข้าไปทำกิจธุระในห้องน้ำทุกวันเช่นกัน อย่างไรก็ดี แม้จะเข้าไปใช้ห้องน้ำจนชินแค่ไหนก็ตาม แต่อุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่เราไม่อาจคาดการได้ ดังนั้น สมาชิกในครอบครัวจึงจำเป็นที่จะต้องป้องกันไว้ ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น

6 วิธีป้องกันผู้สูงวัย "ลื่นล้มในห้องน้ำ"

“ลื่นล้มในห้องน้ำ” อุบัติเหตุในผู้สูงอายุที่ไม่ควรมองข้าม

ยิ่งอายุเพิ่มขึ้น สุขภาพก็ยิ่งเปลี่ยนไป ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของผู้สูงอายุที่สมรรถภาพทางร่างกายจะเริ่มเสื่อมลง ความแข็งแรงและระบบต่างๆ ในร่างกายก็จะทำงานได้ไม่เหมือนเมื่อก่อน อุบัติเหตุใดๆ ที่จะเกิดขึ้นกับพวกท่านก็อาจเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตได้ง่ายกว่าวัยหนุ่มสาวอีกด้วย

จากสถิติการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าอุบัติเหตุหกล้มในผู้สูงวัยมักเกิดขึ้นกับเพศหญิงบ่อยกว่าเพศชายถึง 1.5 เท่า และร้อยละ 55 ของเพศหญิงมักเป็นอุบัติเหตุหกล้มในบริเวณบ้าน เช่น ห้องน้ำ ห้องนอน เป็นต้น

สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุลื่นล้มในบริเวณห้องน้ำ

สำหรับผู้สูงอายุนั้น สามารถแบ่งสาเหตุของการลื่นล้มได้เป็น 3 สาเหตุใหญ่ๆ ได้แก่

1. ปัญหาสายตา

แม้เราจะบอกว่าผู้สูงวัยที่สายตาดีนั้นก็มีอยู่มาก แต่หากพูดถึงในแง่ของความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน อาการสายตาสั้น หรือสายตาพร่ามัวในผู้ใหญ่ที่เกิดขึ้นตามวัยที่เปลี่ยนไปนั้น เป็นหนึ่งในสาเหตุอันดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายเมื่อเทียบกับช่วงวัยอื่นๆ

2. สภาพแวดล้อมในห้องน้ำ

เช่น พื้นห้องน้ำลื่น แสงสว่างไม่เพียงพอ ของใช้หรืออุปกรณ์ต่างๆ วางกีดขวางทางเดิน เป็นต้น ซึ่งการเกิดอุบัติเหตุในห้องน้ำจะส่งผลรุนแรงแค่ไหน ยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมภายในห้องน้ำร่วมด้วย โดยเฉพาะกรณีล้มในห้องน้ำ หัวฟาดพื้น ที่มักเกิดขึ้นจากลักษณะพื้นกระเบื้องที่ลื่น หรือ ความสูงต่ำของพื้นห้องน้ำร่วมด้วย

3. ระบบการทรงตัวของผู้สูงอายุ

ที่เกิดจากความเสื่อมสภาพของกระดูกและกล้ามเนื้อต่างๆ ตามอายุการใช้งาน จนส่งผลกระทบต่อลักษณะการเดินในชีวิตประจำวัน เช่น เดินเซ เดินช้า ซึ่งเป็นผลจากอาการปวดข้อ กล้ามเนื้อ และการรับรู้ของระบบประสาทของผู้สูงวัยทำงานได้ช้าลง นั่นเอง

 

6 วิธีป้องกันผู้สูงวัยเกิดอุบัติเหตุในห้องน้ำ

1.เพิ่มความสว่างภายในห้องน้ำ

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็นให้ผู้สูงวัยให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งควรเป็นไฟส่องสว่างสีขาว ไม่กระทบเงามากจนเกินไป เพราะภาพที่ได้อาจส่งสัญญาณรบกวนจนวิงเวียนศีรษะขึ้นได้ และไม่ใช่แค่การติดตั้งความสว่างภายในห้องน้ำเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ควรติดตั้งหลอดไฟต่างๆ ไว้ในพื้นที่ที่ถูกใช้เป็นประจำภายในบ้านอย่างทั่วถึง

2.เพิ่มอุปกรณ์ช่วยลดอุบัติเหตุ

อาทิเช่น เก้าอี้นั่งสำหรับอาบน้ำ สำหรับผู้สูงวัยที่มีปัญหาด้านการทรงตัว หรือการยืนมากเป็นพิเศษ การใช้แผ่นพื้นกันลื่นจะช่วยลดโอกาสหกล้ม หรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นหลังการอาบน้ำให้น้อยลงได้ รวมถึงการใช้โครงเหล็ก 4 ขา (Walker) เพื่อช่วยพยุงการเดิน หรือการทำกิจกรรมต่างๆ ภายในห้องน้ำให้ผู้สูงวัยรู้สึกปลอดภัยและมั่นคงขึ้น

3.ติดตั้งราวจับ

การกำหนดพื้นที่ที่ปลอดภัยด้วยราวจับ นับเป็นสิ่งที่ควรมีอยู่ในห้องน้ำมากที่สุดเพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น การลื่นล้มในห้องน้ำ หัวฟาดพื้น เพราะการเดินโดยมีราวจับจะทำให้ผู้สูงวัยมีหลักยึดและเดินไปด้วยความมั่นคง ทั้งยังเป็นการประคับประคองตนเองในเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี

4.จัดวางสิ่งของให้เรียบร้อย

การจัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการใช้งานของผู้สูงวัย นับเป็นหนึ่งในวิธีช่วยเพิ่มความปลอดภัย และลดโอกาสการล้มในห้องน้ำได้เป็นอย่างดี โดยการเลือกใช้อุปกรณ์เท่าที่จำเป็น ไม่วางสิ่งของระเกะระกะ โดยเฉพาะบริเวณพื้นห้องน้ำ ควรปล่อยให้เป็นพื้นที่สะอาด แห้ง และเปิดโล่งไว้เสมอ

5.เสริมความแข็งแรงให้กับระบบทรงตัวของผู้สูงอายุ

การเสริมความแข็งแรงให้กับระบบการทรงตัวของผู้สูงอายุนั้น จะช่วยให้ร่างกายมีการทรงตัวได้ดีขึ้น กล้ามเนื้อและข้อต่อ แข็งแรงขึ้น อีกทั้งยังป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุได้ และการออกกำลังกายแบบนี้ สามารถทำได้บ่อยและฝึกได้เอง

6. แยกโซนพื้นที่

อุบัติเหตุในบางครั้งเกิดจากการที่พื้นห้องน้ำลื่น การทำพื้นให้แห้งอยู่เสมอจึงสำคัญและควรมีตัวช่วย หากมีพื้นที่ค่อนข้างมากและพอมีงบประมาณ ควรแยกโซนเปียก โซนแห้ง ออกจากกัน รวมถึง การที่มีพื้นต่างระดับ ก็อาจจะมีสีของกระเบื้องแบ่งแยกให้ชัดเจน

ท้ายที่สุด การป้องกันไว้ก่อนย่อมดีกว่าเสมอ เพราะถ้าหากเทียบกับการที่ผู้สูงอายุในครอบครัวต้องเกิดการเจ็บตัวจากอุบัติเหตุแล้วนั้น การป้องกัน ถือเป็นเรื่องที่คุ้มค่ากว่าเยอะ อย่างไรก็ดีสิ่งสำคัญอีกอย่างที่ขาดไม่ได้นอกจากเรื่องสภาพแวดล้อมในห้องน้ำแล้ว บุตรหลานควรดูแลในเรื่องของการส่งเสริมความแข็งแรงทางร่างกายให้กับผู้สูงอายุด้วย เพราะแม้จะป้องกันดีเพียงใด แต่อุบัติเหตุก็เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อโดยที่เราไม่ได้คาดคิด


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง