Category Archives: Uncategorized

tms ดีไหม รักษาโรคอะไรในผู้สูงอายุได้บ้าง?

tms ดีไหม รักษาโรคอะไรในผู้สูงอายุได้บ้าง?

tms ดีไหม? บุตรหลานหลายคนอาจไม่เคยได้ยินและไม่รู้จักกับเทคโนโลยีนี้มาก่อน แต่สำหรับในครอบครัวที่ผู้สูงอายุมีอาการทางประสาทหรือโรคที่เกี่ยวเนื่องกับระบบประสาทต่างๆ ต้องคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีแน่นอน เนื่องจากเทคโนโลยี TMS หรือ เครื่องกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า มักเป็นแนวทางการฟื้นฟูที่แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้ใช้ในการรักษาผู้สูงอายุ เนื่องด้วยเป็นวิธีที่รักษาได้ค่อนข้างง่าย ผลข้างเคียงน้อย อีกทั้ง สามารถฟื้นฟูสมรรถภาพทางสมองให้กับผู้สูงวัยโดยไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัดให้เกิดความเสี่ยงอีกด้วย อย่างไรก็ดี หากบุตรหลานคนไหนที่กำลังสงสัยว่าเจ้า TMS ตัวนี้ ดีจริงหรือไม่ รักษาอะไรในผู้ป่วยสูงอายุได้บ้าง ก็สามารถติดตามหาคำตอบได้จากบความนี้ tms ดีไหม รักษาโรคอะไรในผู้สูงอายุได้บ้าง? จากที่เคยกล่าวไปว่า เทคโนโลยี TMS หรือ เครื่องกระตุ้นสมองแม่เหล็กไฟฟ้า นั้น ค่อนข้างเป็นที่นิยมมากสำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยสูงวัยในโรคทางระบบประสาท เนื่องด้วยข้อดีที่เอื้ออำนวยต่อร่างกายผู้สูงวัย ซึ่งก็ถือเป็นข้อเท็จจริงที่ได้รับการยอมรับจากวงการแพทย์ เพราะในปัจจุบัน โรคทางระบบประสาทเป็นหนึ่งในโรคที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุมากที่สุดชนิดหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น โรคอัลไซเมอร์ โรคซึมเศร้า โรคหลอดเลือดในสมอง เป็นต้น นั่นจึงยิ่งเป็นข้อพิสูจน์เกี่ยวกับข้อดีของเจ้าเทคโนโลยีตัวนี้ TMS รักษาโรคอะไรได้บ้าง? เนื่องจากเป็นเครื่องกระตุ้นสมอง เจ้าเทคโนโลยีตัวนี้จึงสามารถฟื้นฟูผู้ป่วยในโรคระบบประสาทได้หลากหลาย เช่น โรคในระบบประสาทส่วนกลาง (สมองและไขสันหลัง) นวัตกรรมการรักษา rTMS ( Repetitive transcranial magnetic stimulation […]

5 ท่า กายภาพบําบัด ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ในผู้สูงอายุ

5 ท่า กายภาพบําบัด ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ในผู้สูงอายุ

กายภาพบําบัด ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ปัญหาเรื่องกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานในผู้สูงอายุ เนื่องจากเมื่อชราลง สมรรถภาพในการทำงานของกล้ามเนื้อก็ลดลง อีกทั้งในบางกรณี ผู้สูงอายุอยู่ในภาวะผู้ป่วยติดเตียง ก็จะยิ่งทำให้อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงเช่นนี้เกิดได้ง่ายขึ้นอีก ดังนั้น เมื่อบุตรหลานต้องคอยดูแลพวกท่านที่บ้าน ก็ควรมีท่ากายบริหารไว้เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ขยับร่างกายเพื่อป้องกันอาการแขนขาอ่อนแรงไม่ให้เกิดขึ้นกับพวกท่านนั่นเอง กายภาพบําบัด ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ในผู้สูงอายุ ยิ่งฟื้นฟูยิ่งแข็งแรงขึ้น ขาอ่อนแรงเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย เช่น ขาอ่อนแรงในเด็กที่มีผลมาจากพัฒนาการของสมอง ขาอ่อนแรงในวัยกลางคน เนื่องจากมีภาวะหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท หรือมีภาวะหลอดเลือดสมอง ที่ส่งผลให้เกิดอาการอ่อนแรงของร่างกาย นอกจากนี้ในผู้สูงอายุที่มีการเคลื่อนไหวน้อยลง กล้ามเนื้อฝ่อลีบลง ก็มักจะพบการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาร่วมด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การกายภาพบำบัดขาอ่อนแรงสามารถฟื้นฟูกล้ามเนื้อขา ทำให้ผู้ป่วยขาอ่อนแรงจากเกือบทุกสาเหตุสามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้เหมือนหรือใกล้เคียงปกติที่สุด สาเหตุของขาอ่อนแรงมีอะไรบ้าง? ขาอ่อนแรงเป็นอาการแสดงที่สำคัญของโรค หรือความผิดปกติของการทำงานของร่างกายหลายส่วน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ ขาอ่อนแรงจากระบบประสาท (Nervous system) จะรวมความผิดปกติของสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท ซึ่งทำหน้าที่สั่งการให้กล้ามเนื้อเกิดการเคลื่อนไหว เช่น การอ่อนแรงจากโรคหลอดเลือดสมอง การอ่อนแรงจากเส้นประสาทถูกกดทับหรือได้รับบาดเจ็บ ขาอ่อนแรงจากระบบกล้ามเนื้อ (Muscular system) เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นโดยตรงกับกล้ามเนื้อบริเวณขาเอง ซึ่งอาจจะเกิดการอ่อนแรงเพียงมัดเดียว แต่กล้ามเนื้อนั้นมีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหว หรือเกิดได้ที่กล้ามเนื้อหลายๆ มัดพร้อมกันก็ได้ เช่น กรณีการฝ่อลีบจากการไม่ได้ใช้งาน […]

คลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติ ในผู้สูงอายุ เสี่ยงโรคลมชัก?

คลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติ ในผู้สูงอายุ เสี่ยงโรคลมชัก?

คลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติ หลายคนอาจไม่เคยทราบว่าเป็นสาเหตุหลักๆ ของโรคลมชักเลยก็ว่าได้ ซึ่งโรคนี้ค่อนข้างน่ากลัวหากเกิดในผู้สูงอายุ เพราะอาการชักอย่างต่อเนื่องสามารถก่อให้เกิดความพิการทางสมองและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีและยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ถ้าไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลที่บุตรหลานควรทำความเข้าใจกับสาเหตุและวิธีการป้องกันให้ดีขึ้น เพื่อนำไปปฏิบัติดูแลผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ คลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติ คืออะไร ทำไมจึงเป็นสาเหตุของโรคลมชัก โรคลมชัก คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของร่างกาย จนทำให้เกิดอาการชัก โรคลมชักสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่พบมากในผู้สูงอายุเนื่องจากสมองที่เริ่มเสื่อมลง โดยโรคลมชักนั้นไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถช่วยให้อาการสงบและไม่มีอาการชักกำเริบได้ โรคลมชัก เกิดจาก… โรคลมชักเป็นอาการที่เกิดจาก “คลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติ ” เช่น อาจจะมีจุดที่ไฟฟ้าในสมองช็อตหรือลัดวงจรพูดง่ายๆ ทำให้อาการชักเกิดขึ้นโดยจะเกิดอาการได้หลายแบบ ซึ่งบางรายที่มาหาคุณหมอก็มีอาการแค่เหมือนเหม่อกะพริบตาแล้วก็ไม่รับรู้โลกภายนอกแค่กะพริบตาหรือขยับเคี้ยวปากนิดหน่อยขณะที่บางคนก็รับรู้ตัวโดยยังมีสติรับรู้อยู่เพียงแต่ว่าควบคุมอาการกระตุกหรืออาการสั่นที่เกิดขึ้นไม่ได้ มีการกระตุกหรือสั่นเป็นจังหวะ ซึ่งสาเหตุที่ชักจะมีหลายอย่าง จากปัจจัยทางสมองเองก็ได้โดยที่บางคนมีโรคความพิการทางสมองมาแต่กำเนิดหรือเป็นโรคทางพันธุกรรมมีประวัติครอบครัวมีอาการชักในบางรายมีเนื้องอกในสมอง หรือเคยมีเลือดออกในสมองมีแผลเป็นเนื้อสมองเกิดขึ้นเพราะสมองมีการพัฒนาการที่ผิดปกติหรือเกิดจากการติดเชื้อ มีลักษณะเนื้อสมองอักเสบหรือเป็นฝีในเนื้อสมองก็ได้ โรคลมชักในผู้สูงอายุ อันตรายอย่างไร? ความอันตรายของอาการชักคือผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ไม่รู้สึกตัว จึงอาจจะเกิดภาวะอุบัติเหตุแทรกซ้อน เช่น กำลังทำอะไรอยู่บนที่สูงขณะเกิดอาการชักก็อาจล้มหรือพลัดตกลงมา หรือหากชักขณะว่ายน้ำก็จมน้ำได้ หรือถือของร้อน ของแหลมของมีคมก็เกิดอันตรายจากอุบัติเหตุตามมาได้หรืออย่างกรณีที่กล่าวไปในเบื้องต้นคือ หากเกิดอาการชักอย่างต่อเนื่องสามารถก่อให้เกิดความพิการทางสมองและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที อีกกรณีหนึ่งที่อันตรายคือผู้สูงอายุเกิดอาการชักขณะกำลังขับรถนั่นเอง การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Brain) เพื่อหาสาเหตุลมชัก การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง หรือ EEG นั้น จะเป็นตัวบ่งถึงสัญญาณไฟฟ้าที่ผิดปกติว่ามาจากบริเวณไหน และความถี่ของการกระจายของไฟฟ้าส่วนหนึ่งเท่านั้นแต่ EEG […]

การใช้ยาในผู้สูงอายุ-ปัญหาการกินยาที่ไม่ควรปล่อยผ่าน

การใช้ยาในผู้สูงอายุ-ปัญหาการกินยาที่ไม่ควรปล่อยผ่าน

การใช้ยาในผู้สูงอายุ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่บุตรหลานไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากผู้สูงวัยในบางครอบครัวนั้นมักมีปัญหาสุขภาพหลายด้าน ทำให้ได้รับยาหลายรายการ ดังนั้นจึงอาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับยาเกินความจำเป็น อาจเกิดผลข้างเคียงหรืออันตรายจากการใช้ยานั่นเอง จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม ปัญหาเช่นนี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากที่ลูกหลานควรใส่ใจ การใช้ยาในผู้สูงอายุ มีปัญหาอย่างไรบ้าง และใช้อย่างไรให้ปลอดภัย? เมื่อต้องเริ่มเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ พบว่าปัญหาสุขภาพก็มักเกิดตามมาทั้งการเจ็บป่วยที่บ่อยขึ้น รุนแรงมากขึ้น โรคประจำตัวมากขึ้น ทำให้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีความจำเป็นในการใช้ยาหลายขนาน จนหลายครั้งผู้สูงอายุบางรายก็มีความกังวลใจ และเลี่ยงที่ไม่ใช้ยาเหล่านั้น เนื่องจากเกรงว่ายาซึ่งเป็นสารเคมีอย่างหนึ่ง หากได้รับเข้าไปมากหรือเป็นเวลานาน จะเกิดอันตรายต่อร่างกายได้มากกว่าประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น การใช้ยาสำหรับผู้สูงอายุ สำคัญอย่างไร? การใช้ยาในผู้สูงอายุนั้นมีความละเอียดอ่อนมากกว่าในบุคคลทั่วไป เนื่องจากร่างกายมีการตอบสนองต่อยาที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ความสูงวัยทำให้ การดูดซึมยาลดลง ซึ่งอาจเป็นเพราะมีการไหลเวียนเลือดที่ทางเดินอาหารน้อยกว่าเดิม มีน้ำย่อยในทางเดินอาหารน้อยลง นอกจากนี้เมื่ออายุมากขึ้น สัดส่วนของเนื้อเยื่อไขมันจะเพิ่มขึ้น เป็นผลให้ยานอนหลับบางชนิดเช่น ไดอะซีแพม (diazepam) ซึ่งชอบจับกับเนื้อเยื่อไขมัน อยู่ในร่างกายนานขึ้น และมีฤทธิ์นานกว่าเดิม ในส่วนของการกำจัดยาออกจากร่างกายนั้นพบว่า ผู้สูงอายุจะมีการเสื่อมถอยของอวัยวะต่างๆ ตับมีขนาดเล็กลง เลือดที่ไหลไปตับน้อยลง ปริมาณและความสามารถของเอนไซม์ในตับในการเปลี่ยนสภาพยาลดน้อยลง จำนวนหน่วยกรองในไตน้อยลง และเลือดที่มายังไตน้อยลง เป็นผลให้ยาถูกกำจัดออกทางตับและไต ได้น้อยลง และยามีระดับในเลือดสูงและอยู่นานกว่าในคนทั่วไป ดังนั้นการใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุ จึงต้องมีการปรับขนาดยาให้เหมาะสมตามสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล ภายใต้การดูแลของแพทย์ และเภสัชกรเพื่อความปลอดภัยสูงสุด สิ่งต้องระวังเกี่ยวกับการใช้ยาในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยสูงอายุ และผู้ดูแลควรหลีกเลี่ยงการซื้อยาสมุนไพร […]

การจัดท่าผู้ป่วยผ่าตัด แบบต่างๆ จัดอย่างไรให้ถูกต้อง

การจัดท่าผู้ป่วยผ่าตัด แบบต่างๆ จัดอย่างไรให้ถูกต้อง

“การจัดท่าผู้ป่วยผ่าตัด แบบต่างๆ” หนึ่งในวิธีการดูแลที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดสูงอายุ แม้จะเป็นเพียงการปรับและจัดท่านอน แต่ก็ส่งผลต่ออาการหลังผ่าตัดต่อผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วหลังจากการผ่าตัด หรือการจัดท่านอนให้กับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะผู้ป่วยติดเตียง หรือ อัมพฤกษ์ อัมพาท นั้นจำเป็นต้องเปลี่ยนท่าในทุกๆ 2 ชั่วโมงเพราะมิเช่นนั้นจะส่งผลต่อมวลกล้ามเนื้อที่อาจลดลง หรือ การอักเสบและติดเชื้อหลังผ่าตัดได้นั่นเอง นั่นจึงเป็นหตุผลว่าทำไมบุตรหลายจึงควรใส่ใจในเรื่องนี้ “การจัดท่าผู้ป่วยผ่าตัด แบบต่างๆ” สำคัญอย่างไร… จากที่กล่าวไปข้างต้นว่าการจัดท่านอนหลังผ่าตัดค่อนข้างเป็นเรื่องสำคัญ เพราะแม้ว่าการผ่าตัดจะสิ้นสุดลง แต่การดูแลผู้ป่วยสูงอายุยังต้องดำเนินต่อไป เนื่องจากกว่าผู้ป่วยจะหายดีและกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกตินั้นก็ต้องผ่านการรักษาและดูแลหลายขั้นตอน อีกทั้งหากในช่วงการพักฟื้นแผลไม่ดีพอ ก็อาจทำให้แผลเกิดการอักเสบและติดเชื้อได้นั่นเอง โดยการจัดท่าในการผ่าตัดนั้น ต้องพิจารณาว่ามีผลต่อสรีรวิทยาของผู้ป่วยอย่างไร พิจารณาความถูกต้องตามหลักกายวิภาค (body alignment) ความสะดวกรวดเร็วในการเฝ้าระวังและช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน และมีความเหมาะสมกับผู้ป่วยรายนั้นๆหรือไม่ การจัดท่าผู้ป่วยผ่าตัด แบบต่างๆ แก่ผู้สูงวัยระหว่างผ่าตัด 1. ท่านอนหงายราบ (supine position) เป็นท่าที่ใช้บ่อยที่สุดระหว่างการผ่าตัด ระดับของลำตัวและหัวใจอยู่ในระนาบเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา มีผลต่อระบบไหลเวียนน้อย (หากมีการปรับระดับของศีรษะให้สูงหรือต่ำกว่าระดับหัวใจ อาจพบการเปลี่ยนแปลงในระบบไหลเวียนเลือดได้ 2. ท่านอนหงายราบศีรษะต่ำ (supine Trendelenburg) ปรับระดับศีรษะให้ต่ำกว่าแนวราบ 30-45 องศา นิยมใช้ในการผ่าตัดช่องท้องส่วนล่าง การผ่าตัดทางนรีเวชและทางเดินปัสสาวะ การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา […]

5 วิธี การจัดท่าผู้ป่วยติดเตียง ให้ผู้สูงอายุอย่างถูกต้อง

5 วิธี การจัดท่าผู้ป่วยติดเตียง ให้ผู้สูงอายุอย่างถูกต้อง

“การจัดท่าผู้ป่วยติดเตียง” นั้นเป็นสิ่งสำคัญเพราะนอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วยสูงอายุรู้สึกสบายตัวแล้ว ยังช่วยลดป้องกันความผิดปกติของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย เนื่องจากในผู้สูงวัยนั้นมักมีภาวะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ และอาการเกร็ง ที่ค่อนข้างส่งผลเสียให้กับร่างก่ยของพวกท่าน ดังนั้น หากผู้สูงอายุท่านใดที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง บุตรหลานควรศึกษารายละเอียดการจัดท่านอนไว้เพื่อนำไปปรับใช้ “การจัดท่าผู้ป่วยติดเตียง” คืออะไร ทำไมจึงสำคัญต่อผู้สูงวัย? การจัดท่านอนและท่านั่งให้กับผู้ป่วยติดเตียงเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากจะช่วยป้องกันความผิดปกติของกล้ามเนื้อ ลดอาการเกร็ง ป้องกันข้อติดแข็ง อาการปวดและบวมของร่างกายข้างที่อ่อนแรง นอกจากนี้ยังช่วยลดการกดทับที่เส้นประสาท และลดการเกิดแผลกดทับซึ่งส่วนมากจะเกิดบริเวณก้นของผู้ป่วยติดเตียงอีกด้วย ทำไม “การจัดท่านอน” จึงสำคัญ อาการ “นอนติดเตียง” สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีสุขภาพร่างกายอยู่ในภาวะเสื่อมโทรม จนต้องนอนอยู่บนเตียงอย่างเดียวตลอดเวลาไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ บางรายอาจจะพอขยับร่างกายบางส่วนได้บ้างเคลื่อนไหวได้ หรือบางรายอาจไม่รู้สึกตัวเลย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยมีอาการนอนติดเตียง มักเกิดจากโรค อุบัติเหตุ รวมถึงจากการผ่าตัดใหญ่ สิ่งที่ตามมาจากภาวะการนอนติดเตียง คือผลข้างเคียงที่นำพาไปสู่การเสียชีวิต เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินปัสสาวะ เกิดแผลกดทับ การขาดอาหารอย่างรุนแรง เป็นต้น ดังนั้น การดูแลผู้สูงอายุที่นอนติดเตียง จึงจำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิดด้วยความรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้อง จุดประสงค์ของการจัดท่านอนให้กับผู้ป่วยติดเตียง 1.เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีที่สุด ไม่มีแผลกดทับ ลดการติดเชื้อ ลดอาการข้อติด ไม่ขาดสารอาหาร มีความสะอาด การขับถ่ายถูกหลักอนามัย 2.ลดภาระของผู้ดูแลให้น้อยที่สุด คือพยายามให้ผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุร่วมมือกับผู้ดูแลในการขยับ หรือยกส่วนต่างๆ […]

กายภาพบำบัด ขาอ่อนแรง ฟื้นฟูผู้สูงอายุให้ดีขึ้น

กายภาพบำบัด ขาอ่อนแรง ฟื้นฟูผู้สูงอายุให้ดีขึ้น

“กายภาพบำบัด ขาอ่อนแรง” เป็นการขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหากล้ามเนื้อกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ เนื่องจากผู้สูงอายุจะไม่สามารถหยิบจับสิ่งของหรือลุกได้ตามปกติ จึงจำเป็นต้องใช้การทำกายภาพมาช่วยบำบัดและฟื้นฟูทักษะและสมรรถภาพร่างกายของพวกท่านให้ดีขึ้นนั่นเอง “กายภาพบำบัด ขาอ่อนแรง” ช่วยฟื้นฟูร่างกายของผู้สูงวัยให้ดีขึ้น ขาอ่อนแรงเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย เช่น ขาอ่อนแรงในเด็กที่มีผลมาจากพัฒนาการของสมอง ขาอ่อนแรงในวัยกลางคน เนื่องจากมีภาวะหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท หรือมีภาวะหลอดเลือดสมอง ที่ส่งผลให้เกิดอาการอ่อนแรงของร่างกาย นอกจากนี้ในผู้สูงอายุที่มีการเคลื่อนไหวน้อยลง กล้ามเนื้อฝ่อลีบลง ก็มักจะพบการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาร่วมด้วยเช่นกัน สาเหตุของขาอ่อนแรงมีอะไรบ้าง? ขาอ่อนแรงเป็นอาการแสดงที่สำคัญของโรค หรือความผิดปกติของการทำงานของร่างกายหลายส่วน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ 1.ขาอ่อนแรงจากระบบประสาท (Nervous system) จะรวมความผิดปกติของสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท ซึ่งทำหน้าที่สั่งการให้กล้ามเนื้อเกิดการเคลื่อนไหว เช่น การอ่อนแรงจากโรคหลอดเลือดสมอง การอ่อนแรงจากเส้นประสาทถูกกดทับหรือได้รับบาดเจ็บ 2.ขาอ่อนแรงจากระบบกล้ามเนื้อ (Muscular system) เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นโดยตรงกับกล้ามเนื้อบริเวณขาเอง ซึ่งอาจจะเกิดการอ่อนแรงเพียงมัดเดียว แต่กล้ามเนื้อนั้นมีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหว หรือเกิดได้ที่กล้ามเนื้อหลายๆ มัดพร้อมกันก็ได้ เช่น กรณีการฝ่อลีบจากการไม่ได้ใช้งาน (Disuse atrophy) ประโยชน์ของการออกกำลังกายในผู้ป่วยอ่อนแรง ป้องกันภาวะข้อติดจากการนอนเป็นเวลานาน ป้องกันกล้ามเนื้อฝ่อลีบจากการไม่ได้ใช้งานในข้างที่มีแรง กระตุ้นการทำงานและเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อข้างที่อ่อนแรง 5 ท่ากายภาพบำบัดสำหรับผู้สูงวัยขาอ่อนแรง ท่าที่ 1 : นอนหงายเหยียดแขนแนบลำตัว […]

“กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ” วิธีฟื้นฟูร่างกายผู้สูงวัยที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวต่างๆ

"กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ" วิธีฟื้นฟูร่างกายผู้สูงวัยที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวต่างๆ

“กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ” หนทางที่ช่วยผู้สูงอายุที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวต่างๆ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติมากขึ้น เราทุกคนทราบดีว่าเมื่อแก่ตัวลง ระบบต่างๆ ในร่างกายก็จะเสื่อมสมรรถภาพตามไปด้วย ยิ่งไปกว่านั้นคือปัญหานี้ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันมากๆ เนื่องจากหากการเคลื่อนไหวมีปัญหาก็จะทำให้เกิดอุบัติเหตุและการพลัดตกหกล้มต่อผู้สูงอายุได้ด้วย “กายภาพบำบัดผู้สูงอายุ” คืออะไร และช่วยอะไรได้บ้าง? อายุที่มากขึ้น มักมาพร้อมกับความทรุดโทรมของสุขภาพในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะดูแลสุขภาพอย่างดีแค่ไหน ก็มีโอกาสเกิดอาการปวดเมื่อยข้อเข่า หรือได้รับผลกระทบจากโรคเรื้อรังต่างๆ เป็นที่ทราบกันดีว่า โรคแต่ละโรคนั้นมีวิธีการรักษาแตกต่างกันออกไป และหนึ่งในอาการที่ผู้สูงอายุพบบ่อยที่สุดก็คือเรื่องการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งสามารถรักษาได้หลายวิธี รวมถึงการทำกายภาพบำบัดผู้อายุด้วย กายภาพบำบัดในผู้สูงอายุ คืออะไร… การทำกายภาพสำหรับผู้สูงอายุ (Geriatric Physical Therapy) นั้น เป็นการกายภาพบำบัดที่เน้นพัฒนาและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายสำหรับผู้สูงอายุด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น ออกกำลังกาย บริหารกล้ามเนื้อ ใช้อุปกรณ์ต่างๆ เสริมการรักษา เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายจะเกิดความสึกหรอจนเกิดอาการปวดตามข้อ และตำแหน่งต่างๆ ทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เป็นปกติ การทำกายภาพบำบัดในผู้สูงอายุจะสามารถเสริมความแข็งแรง และความคล่องตัวให้กับกล้ามเนื้อได้ ช่วยให้สามารถทรงตัวได้ดีขึ้น ลดโอกาสลื่นล้มจนเกิดการบาดเจ็บ ผู้สูงอายุท่านใดบ้างที่เหมาะกับการทำกายภาพบำบัด ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบ (Arthritis) ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) ผู้ที่ผ่านการผ่าตัดสะโพก ผู้ที่ต้องใส่ข้อเข่าเทียม ผู้ที่มีปัญหาด้านการทรงตัว (Balance disorders) ผู้ที่มีปัญหาปัสสาวะเล็ด […]

“กระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้า” วิธีฟื้นฟู อัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคสมองในผู้สูงอายุ

"กระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้า" วิธีฟื้นฟู อัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคสมองในผู้สูงอายุ

“กระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้า” เป็นวิธีการรักษาโรคทางสมองและระบบประสาทที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เนื่องจากสามารถรักษาโรคทางสมองได้หลากหลาย รวมถึงส่งผลอันตรายต่อร่างกายน้อยมากๆ จึงทำให่ค่อนข้างเป็นที่นิยมและแพทย์มักแนะนำแก่ผู้ป่วยในกลุ่มโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีนี้รวมถึงผู้สูงอายุที่สามารถใช้การกระตุ้นสมองชนิดนี้ฝนการฟื้นฟูระบบสมองให้ดีขึ้น “กระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้า” คืออะไร มีแบบไหนบ้าง? การกระตุ้นสมองแบบ non-invasive (non-invasive brain stimulation) เพื่อการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ การกระตุ้นซ้ำด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านกะโหลกศีรษะ (repetitivetranscranial magneticstimulation; rTMS) การกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกศีรษะ (transcranial direct current stimulation; tDCS) การกระตุ้นด้วยไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกศีรษะจะส่งผลต่อสมองส่วนต่างๆ เป็นบริเวณกว้างและไม่เฉพาะเจาะจง ส่วนการกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะส่งผลต่อสมองเฉพาะบริเวณที่ได้รับการกระตุ้นเป็นบริเวณแคบกว่า ในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะการกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้ากระแสตรงผ่านกะโหลกศีรษะ ซึ่งเครื่องมือมีขนาดกะทัดรัด ราคาถูกและการนำไปใช้ในทางปฏิบัติสะดวกกว่าการกระตุ้นซ้ำด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านกะโหลกศีรษะ การกระตุ้นสมองด้วย “แม่เหล็ก” และ “ไฟฟ้า” ต่างกันอย่างไร? การรักษาด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (tDCS) หลักการทำงาน การรักษาโดยเครื่องกระตุ้นสมอง ด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อน คือ การกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้ากระแสตรงอย่างอ่อนผ่านกะโหลกศีรษะ (Transcranial Direct Current Stimulation : TDCS) โดยใช้เครื่องมือที่ส่งกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อนประมาณ 1-2 mA […]

ไมเกรนผู้สูงอายุ – บอกลาอาการปวดหัวด้วยคลื่นไฟฟ้า

ไมเกรนผู้สูงอายุ - บอกลาอาการปวดหัวด้วยคลื่นไฟฟ้า

“ไมเกรนผู้สูงอายุ” เชื่อว่าผู้สูงอายุหลายๆ ท่านต้องเคยประสบปัญหานี้มาก่อน หรืออาจกำลังประสบอยู่ อาการปวดหัวที่ค่อนข้างสร้างความเจ็บปวดและรำคาญใจในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยธรรมชาติแล้วเมื่ออายุมากขึ้น อุบัติการณ์ของการปวดศีรษะไมเกรนจะลดน้อยลง อันเนื่องมาจากภาวะฮอร์โมนในร่างกายบางอย่างลดลง แต่ก็ยังพบการปวดศีรษะไมเกรนได้ในผู้สูงอายุ โดยความสำคัญของการวินิจฉัยและรักษานั้นค่อนข้างจะมีความซับซ้อน บุตรหลานจึงจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด “ไมเกรนผู้สูงอายุ” เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่? จากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า โดยธรรมชาติแล้วเมื่ออายุมากขึ้น อุบัติการณ์ของการปวดศีรษะไมเกรนจะลดน้อยลง อันเนื่องมาจากภาวะฮอร์โมนในร่างกายบางอย่างลดลง แต่ก็ยังพบการปวดศีรษะไมเกรนได้ในผู้สูงอายุ แต่การจะตรวจสุขภาพและทำการรักษานั้นค่อนข้างจะมีความซับซ้อน เนื่องจากผู้สูงอายุอาจมีโรคประจำตัวอื่นๆ ที่ต้องใช้ยารับประทานเป็นประจำ และยังต้องระวังการปวดศีรษะที่มาจากภาวะโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น การติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น สาเหตุของการเกิดไมเกรนในผู้สูงอายุ กระแสไฟฟ้าบริเวณผิวสมองผิดปกติ ภาวะปวดศีรษะไมเกรน เกิดจากการส่งกระแสไฟฟ้าบริเวณผิวสมองผิดปกติ  ส่งผลให้สมองไวต่อสิ่งกระตุ้น มากกว่าคนทั่วไป ซึ่งเมื่อสมองถูกกระตุ้นจะเกิดกระแสไฟฟ้าวิ่งไปตามผิวของสมอง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของเส้นเลือดในสมอง อีกทั้งยังไปกระตุ้นเส้นประสาทสมองให้หลั่งสารสื่อประสาทบางชนิดที่ทำให้หลอดเลือดสมองขยายตัวและเกิดการอักเสบ จนเป็นผลทำให้ปวดศีรษะ สิ่งกระตุ้นอื่นๆ ที่ทำให้ปวดไมเกรน สิ่งกระตุ้นที่สามารถทำให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน ได้แก่ ความเครียด พักผ่อนน้อย การสูดกลิ่น หรือควัน แสงแดด อากาศร้อนหรือหนาวจัด รวมถึงอาหารบางชนิด เช่น ของหมักดอง  ชีส และไวน์  ซึ่งบุตรหลานควรดูแลให้ผู้สูงอายุหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ การเข้ารับการรักษาช้า […]