“กลั้นปัสสาวะไม่อยู่” ผู้สูงวัยมีปัญหากับระบบขับถ่ายหรือไม่?

“กลั้นปัสสาวะไม่อยู่”  เป็นปัญหาธรรมดาๆ ที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง โดยปกติทั่วไปแล้วปัญหานี้สามารเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะสตรีที่เพิ่งคลอดบุตร (คลอดแบบธรรมชาติ) และผู้สูงอายุนั่นเอง อย่างไรก็ดี เป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนว่าระบบร่างกายมีความผิดปกติ ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงปัญหาเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยเท่านั้น จริงๆ แล้วยังมีอีกหลายปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันโดยตรง

"กลั้นปัสสาวะไม่อยู่" ผู้สูงวัยมีปัญหากับระบบขับถ่ายหรือไม่?

“กลั้นปัสสาวะไม่อยู่” คืออะไร และมีสาเหตุมาจากอะไร

ภาวะที่ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ คือ การสูญเสียการควบคุมกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมีตั้งแต่ปัสสาวะเล็ดหลังจากการจาม ไอ หรือหัวเราะ ไปจนถึงไม่สามารถกลั้นปัสสาวะอย่างสิ้นเชิง

จากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าอาการนี้เป็นปัญหาที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันโดยตรง ผู้สูงอายุบางท่านหลายคนสูญเสียโอกาสจากการไม่สามารถเดินทางไปสถานที่ไกลๆ ได้ เพราะมีข้อจำกัดด้านห้องน้ำ อาจนอนหลับไม่สนิทเพราะกังวลเรื่องการปัสสาวะ และอาจส่งผลให้กลายเป็นคนไม่ชอบออกไปข้างนอก และกรณีที่หนักกว่านั้นคือไม่กล้าเข้าสังคมไปในที่สุด

สาเหตุเกิดจาก

  • อายุที่เพิ่มขึ้น

เมื่อมีอายุสูงขึ้น จะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆมีความเสื่อมของร่างกาย ทั้งในระบบของทางเดินปัสสาวะเองและในระบบที่เกี่ยวข้อง

  • กระเพาะปัสสาวะมีความจุลดลง

จำนวนปัสสาวะค้างเพิ่มมากขึ้นหลังการถ่ายปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวกว่าปกติ ทำให้ต้องปัสสาวะบ่อยและอาจมีปัสสาวะราดได้บ่อย

  • ผู้สูงอายุหญิงจะมีภาวะวัยทอง

ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยลง ส่งผลกระทบต่อทางเดินปัสสาวะ กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อนตัว หูรูดท่อปัสสาวะหดรัดตัวไม่ดี

  • ผู้สูงอายุชายอาจเกิดจากภาวะต่อมลูกหมากโต

จนอุดตันท่อทางเดินปัสสาวะได้บ่อยๆ ทำให้ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะเวลากลางคืน

  • การอักเสบติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

ทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะราด

  • ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อการกลั้นปัสสาวะ

เช่น โรคเบาหวาน เบาจืด โรคความดันโลหิตสูง โรคทางสมอง ผู้สูงอายุที่มีปัญหาโรคข้อเสื่อม เป็นต้น

  • ปัญหาด้านจิตใจ

โดยเฉพาะอาการซึมเศร้า ซึ่งสามารถพบได้บ่อยในวัยผู้สูงอายุ เมื่อเกิดอาการซึมเศร้าก็อาจจะมีปัสสาวะเล็ดราด

  • ข้อจำกัดในการเดิน

การเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น มีอาการปวดเอว ปวดหลัง ปวดเข่า ทำให้เดินลำบาก ขยับตัวนานกว่าจะไปเขาห้องน้ำได้ มีปัญหาด้านสายตาที่มองไม่ชัด

อาการ

โดยปกติแล้ว ภาวะนี้สามารถแบ่งอาการออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  • ภาวะกลั้นไม่ได้แบบชั่วคราว

มักจะมีอาการกลั้นไม่อยู่เพียงบางครั้งและสามารถรักษาหายได้ ได้แก่

1.ผู้ป่วยสูงอายุที่มีอากรเพ้อ สับสน

2.ผู้ป่วยสูงอายุที่มีการติดเชื้อที่ระบบปัสสาวะหรือช่องคลอดจากการขาดฮอร์โมนส์

3.ผู้ป่วยสูงอายุที่มีปัญหาทางจิตเวช

4.ผู้ป่วยสูงอายุที่ใช้ยาบางกลุ่ม เช่น ยาลดความดัน ยาที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท

5.ผู้ป่วยสูงอายุที่ไม่สามารถขยับตัวได้ หลังจากการรักษาหรือผ่าตัด

  • ภาวะกลั้นไม่ได้แบบถาวร

1.อาการไอจามปัสสาวะเล็ด

2.อาการปัสสาวะราด

3.อาการไอจามปัสสาวะเล็ดร่วมปัสสาวะราด

4.อาการปัสสาวะไหลซึมตลอดเวลา

5.อาการปัสสาวะไหลออกมาขณะเปลี่ยนท่าทาง

 

ภาวะเช่นนี้ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุอย่างไร

การมีปัสสาวะเล็ดราดบ่อยครั้ง ทำให้ผิวหนังเปียกชื้น เกิดการระคายเคือง เกิดผื่นหรือผิวหนังเปื่อย ผิวหนังฉีกขาด เสี่ยงต่อการติดเชื้อของผิวหนัง การที่ผู้สูงอายุกังวลเกี่ยวกับการปัสสาวะบ่อย ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ต้องรีบลุกไปขับถ่าย โดยเฉพาะในเวลากลางคืน มีผลรบกวนต่อการนอนหลับ และการเดินไปเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ยังทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดการหกล้มและกระดูกหักได้ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อภาวะจิตใจ มีผลต่อความรู้สึกลดคุณค่าในตัวเอง ทำให้แยกตัวจากสังคมเนื่องจากกลัวการปัสสาวะเล็ดราดในที่ชุมชน

เทคนิคการช่วยผู้สูงอายุป้องกันภาวะนี้โดยไม่ต้องผ่าตัด

1. ลดความดันในช่องท้อง

เช่น ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน รักษาอาการท้องผูก หลีกเลี่ยงการยกของหนัก

2. ฝึกควบคุมการขับถ่าย

โดยกลั้นปัสสาวะให้นานขึ้นก่อนปัสสาวะและในขณะปัสสาวะควรปัสสาวะให้หมด โดยห้ามเบ่งแรง

3. ปรับวิธีการดื่มน้ำ

โดยให้ดื่มน้ำวันละ 8 – 10 แก้ว หรือดื่มตามน้ำหนักตัวแต่ไม่ควรดื่มมากจนเกินไปและหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก่อนนอน

4.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มอื่นๆ

เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม แอลกอร์ฮอล์ ร่วมถึงการสูบบุหรี่

5. ออกกำลังกาย

โดยให้ผู้สูงอายุหมั่นทำกายบริหารง่ายๆ หรือทำกายภาพบำบัด ก็จะสามารถช่วยได้

อย่างไรก็ดี แม้ดูไม่ได้เป็นภาวะการป่วยที่รุนแรง แต่บุตรหลานก็ไม่ควรมองข้ามที่จะพาผู้สูงวัยในครอบครัวมารีบรักษา เนื่องจากปัญหานี้เป็นปัญหาที่ส่งผลชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุโดยตรง ดังนั้นจึงควรรีบพาท่านมาพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรักษาท่านให้หายเพื่อที่จะให้ท่านใช้ชีวิตำด้สะดวกและมีความสุขมากขึ้นด้วยนั่นเอง


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สังเกตภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มีความอันตรายอย่างไร

“ฟันปลอม” 5 ข้อที่ควรรู้ ผู้สูงวัยใช้แบบไหนจึงเหมาะสม

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง