รู้ก่อนสาย! “โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง” ภัยเงียบในผู้สูงวัย

“กล้ามเนื้ออ่อนแรง” โรคในผู้สูงอายุที่น่ากลัวอีกโรคหนึ่ง บุตรหลานหลายๆ ครอบครัวอาจคิดว่าอาจเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้น เพราะโรคนี้ยังส่งผลไปถึงระบบประสาทอื่นๆ ด้วยนั่นเอง ทั้งนี้ภัยอันตรายนี้ยังเป็นภาวะที่จะมาเมื่อไหร่เราไม่สามารถทราบได้เลย รู้ตัวอีกทีผู้สูงอายุก็มีภาวะกล้ามเนื้อที่อ่อนแรงไปเสียแล้ว ดังนั้นลูกหลานควรศึกษาโรคนี้อย่างจริงจังและคอยเฝ้าระวังให้กับผู้ใหญ่ในบ้านก่อนที่มันจะสายไป

รู้ก่อนสาย! "โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง" ภัยเงียบในผู้สูงวัย

“กล้ามเนื้ออ่อนแรง” คืออะไรและมีสาเหตุมาจากอะไร

เมื่อกล่าวถึงโรคนี้หลายคนอาจจะคิดว่าโรคนี้ต้องเป็นโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรคนี้เกี่ยวข้องกับระบบประสาทที่ส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ประสาทนำคำสั่งที่อยู่ในสมองและไขสันหลัง โดยโรคนี้มักจะค่อย ๆ เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ จนเราไม่อาจรู้ตัว และอาการจะรุนแรงขึ้นจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวมักจะเกิดอาการที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันเสียแล้ว อีกทั้งโรคนี้มักพบในผู้สูงวัยในช่วงอายุ 60-65 ปี และจะพบมากในผู้สูงอายุเพศหญิงมากกว่าเพศชายถึง 1.5 เท่า นอกจากนี้ โดยเฉลี่ยแล้วผู้ป่วยจะเสียชีวิตหลังจากมีอาการ ในระยะเวลาประมาณ 2.5 ปี ซึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตมักเกิดจากระบบหายใจล้มเหลวและการติดเชื้อในปอดอันเนื่องมาจากการสำลักอีกด้วย

สาเหตุของโรค

ภาวะนี้มักเกิดขึ้นจากปัญหาการแพ้ภูมิตัวเอง (Autoimmune Disorder) โดยมีรายละเอียดของสาเหตุ ดังนี้

  • สารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดี้ (Antibodies) และการส่งสัญญาณประสาท ปกติระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะผลิตแอนติบอดี้ออกมาเพื่อทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย แต่ในผู้ป่วยโรคนี้ แอนติบอดี้จะไปทำลายหรือขัดขวางการทำงานของสารสื่อประสาทแอซิติลโคลีน (Acetylcholine) โดยถูกส่งไปที่ตัวรับ (Receptor) ซึ่งอยู่ที่ปลายระบบประสาทบนกล้ามเนื้อแต่ละมัด ทำให้กล้ามเนื้อไม่สามารถหดตัวได้
  • ต่อมไทมัส (Thymus Gland) เป็นต่อมที่อยู่บริเวณกระดูกอก มีส่วนในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ผลิตสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดี้ไปขัดขวางการทำงานของสารสื่อประสาทแอซิติลโคลีน เด็กจะมีต่อมไทมัสขนาดใหญ่และจะค่อย ๆ เล็กลงเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ แต่ผู้ป่วยภาวะนี้จะมีขนาดของต่อมไทมัสที่ใหญ่ผิดปกติ หรือผู้ป่วยบางรายก็มีสาเหตุมาจากเนื้องอกของต่อมไทมัส ซึ่งพบประมาณร้อยละ 10 ในผู้ป่วยสูงอายุ

อาการ

โรคนี้สามารถเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อได้ทุกส่วนของร่างกาย โดยอาจเริ่มจากที่มือ เท้า หรือแขน จากนั้นจะค่อย ๆ ไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยสามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้

  • กล้ามเนื้อแขน ทำให้แขนไม่มีแรง กำมือไม่ได้ข้างใดข้างหนึ่ง จากนั้นแขนจะเริ่มลีบลง แล้วจะลามไปยังแขนอีกข้างหนึ่ง
  • รู้สึกปวดกล้ามเนื้อ  อาจเกิดอาการกระตุก รวมทั้งบริเวณแขน ไหล่ และลิ้นอาจมีอาการแข็งเกร็ง ทำให้ไม่สามารถขยับเขยื้อนร่างกายได้ บางรายอาจมีอาการหนักจนไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้
  • ไม่สามารถควบคุมกระบังลมได้จึงทำให้หายใจไม่สะดวก
 

แนวทางการวินิจฉัยเมื่อพาไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

โดยหลังจากการ ซักประวัติ การตรวจร่างกาย แล้ว แพทย์หรือผู้เชียวชาญอาจมีอุปกรณ์ช่วยเสริม ดังนี้

  • การตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ

เพื่อวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับระบบประสาทและกล้ามเนื้อโดยตรง

  • การตรวจ MRI Scan

เพื่อตรวจดูความผิดปกติภายในโครงสร้างกระดูกหรือโพรงกระดูก

  • การเจาะน้ำไขสันหลัง

เพื่อตรวจดูโรคอื่นๆ ที่อาจมากับระบบประสาทส่วนกลางและสมอง

โรคนี้รักษาหายหรือไม่

ปัจจุบันโรคนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาโรคนี้เพียงแต่รักษาไปตามอาการ และใช้ยาเพื่อชะลอการดำเนินของโรคเท่านั้น ซึ่งผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายหลังจากแสดงอาการประมาณ 2-3 ปี แต่บางรายหากครอบครัว และคนใกล้ชิดให้ความใส่ใจ และดูแลผู้ป่วยทั้งทางกาย และทางใจอาจทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้นานเป็น 10 ปี ดังนั้นการให้กำลังใจ และคอยอยู่เคียงข้างผู้ป่วย แม้เราจะรู้อยู่แล้วว่าปลายทางอาจจะดูมืดมน เพราะไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ แต่การให้กำลังใจก็เปรียบเสมือนแสงสว่างที่คอยจุดประกายให้คน ๆ นั้นเดินทางต่อไปได้ เราเชื่อว่าหากจิตใจของผู้ป่วยได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจะทำให้สภาพร่างกายของผู้ป่วยดีขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

แนวทางการป้องกัน

แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุที่มาของโรคได้อย่างแน่ชัดนัก แต่เราก็สามารถช่วยผู้สูงอายุป้องกันตนเองจากโรคนี้ได้ เช่น

  • ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสัยอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สารเคมีหรือรังสีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์

อย่างไรก็ดี โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ยังเป็นโรคที่ยังพบน้อยในจำนวนผู้ป่วยสูงอายุ แต่ก็ยังไม่ทราบเหตุผลที่แน่ชัดว่าเกิดมาจากสาเหตุอะไรและหากเป็นแล้วก็ไม่รักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น บุตรหลานควรเฝ้าระวังและคอยประเมินอาการผู้สูงวัยที่บ้านให้ดี หากมีสัญญาณที่ผิดปกติก็ควรพาไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจให้แน่ใจเพื่อไม่ให้สายเกินแก้และลุกลาม

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

“สายตายาว” ปัญหาสายตาของวัยชราที่เลี่ยงไม่ได้

พลัดตกหกล้ม อุบัติเหตุในผู้สูงอายุที่ต้องระวัง

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง