สมองฝ่อในผู้สูงอายุ เกิดจากอะไร อันตรายไหม รักษาอย่างไรดี?

“สมองฝ่อในผู้สูงอายุ” อาการทางสมองชนิดหนึ่งในผู้สูงอายุ ที่เนื้อสมองสูญหายไปจำนวนหนึ่ง หลายๆ คนอาจสับสนกับภาวะสมองเสื่อมแต่แท้จริงแล้วไม่ใช่อาการเดียวกัน โดยโรคนี้ค่อนข้างเป็นความเสี่ยงในวัยชราในช่วงอายุ 75 ปีขึ้นไป เพราะเป็นผลจากการที่เซลล์สมองเสื่อมตามอายุที่มากขึ้นนั่นเอง อย่างไรก็ดีโรคนี้สามารถรักษาและป้องกันได้ ดังนั้นบุตรหลานจึงควรทำความรู้จักและศึกษาวิธีการป้องกันภาวะนี้ไม่ให้เกิดกับผู้สูงอายุในครอบครัวได้

สมองฝ่อในผู้สูงอายุ เกิดจากอะไร อันตรายไหม รักษาอย่างไรดี?

“สมองฝ่อในผู้สูงอายุ” เกิดจากอะไร รักษาและป้องกันอย่างไรดี?

ความเสื่อมของร่างกายนั้นเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยชรา ไม่เพียงแต่สมองเท่านั้นที่เสื่อมลง อวัยวะอื่นๆ ก็เสื่อมด้วย เช่น ผิวหนังเหี่ยวย่น ผมหงอก ผมร่วง ฟันโยกคลอน ตาฝ้าฟาง หูตึง เป็นต้น

“ภาวะสมองฝ่อ” เกิดจาก…

โรคสมองฝ่อพบได้มากในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอายุ 75 ปีขึ้นไป เกิดจากปริมาณเซลล์เนื้อสมองลดลงถือเป็นการเสื่อมสภาพของร่างกายตามช่วงอายุ ซึ่งมีปัจจัยและความเสี่ยงของโรคสมองฝ่ออยู่อีกหลายข้อ ได้แก่

  • เกิดจากพันธุกรรม

: ทำให้บางคนเป็นแต่กำเนิด หรือเป็นตอนอายุค่อนข้างมาก

  • เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน

: การทานอาหารในปริมาณมากเกินไป การอดอาหาร การพักผ่อนไม่เพียงพอ และการสูบบุหรี่ดื่มแอลกอฮอล์

  • เกิดจากปัจจัยอื่น

: โรคร้ายบางชนิด เช่น โรคติดเชื้อหรือโรคหลอดเลือดสมอง การเกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลต่อสมอง การรับสารพิษ และการขาดออกซิเจน

หากเกิดโรคสมองฝ่อตรงจุดที่ส่งผลต่อการควบคุมอวัยวะในร่างกายจะส่งผลต่ออวัยวะนั้นโดยตรง นอกจากนี้อาจเกิดอาการสมองเสื่อมได้หากส่วนของความทรงจำเกิดการฝ่อ

 

ลักษณะอาการ

  • สำหรับอาการของโรคสมองฝ่อ จะเริ่มต้นจากการลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งจะเกิดขึ้น ต่อมาจะเกี่ยวข้องกับสมองในด้านการรับรู้ การเข้าใจ และการมีเหตุผล ขาดความสนใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมรอบๆ ตัวเอง และถ้าเป็นมากขึ้น บุคลิกภาพของผู้สูงอายุนั้นจะเสียไป
  • บางรายมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อแขนและขา ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก
  • กรณีที่เกิดสมองฝ่อแล้วไม่มีอาการอะไรก็ไม่ต้องไปวิตกกังวล ยกเว้นว่าจะมีอาการผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น ความจำเสื่อม หลงลืม เชาวน์ปัญญาลดลง อารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต ช่วยเหลือตนเองได้น้อยลงเหมือนถอยหลังกลับไปเป็นเด็ก อย่างนี้ถึงจะจัดว่าเป็นโรคทางสมอง
  • ส่วนอาการ “ขี้หลงขี้ลืม” นั้น ต้องแยกแยะให้ดี เพราะเกิดขึ้นกับคนแก่เกือบทุกคนหรือแม้แต่วัยกลางคน ส่วนมากมักไม่ใช่โรคอัลไซเมอร์ แต่เป็นเรื่องปกติของคนที่มีเรื่องราวสะสมในหัวมาก เมื่อเรื่องมากก็ต้องลืมง่ายเป็นธรรมดา โดยเฉพาะคนแก่มักลืมเหตุการณ์ใหม่ๆ แต่ไม่ยอมลืมความหลังครั้งเก่า ซึ่งอาการขี้ลืมนี้จะยังไม่มากถึงขั้น “หลงลืม ” จนทำให้คนอื่นผิดสังเกต เช่น กินข้าวแล้วแต่บอกว่ายังไม่ได้กิน สติปัญญาลดลงจนผิดสังเกต รวมทั้งมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย

แนวทางการรักษา

การรักษาสามารถรักษาได้ตามสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคสมองฝ่อร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน รวมถึงปรับสถานที่อยู่อาศัยให้เหมาะและสะดวกกับผู้ป่วยโรคนี้มากยิ่งขึ้น หากเป็นโรคร้ายนี้จากการเสื่อมสภาพให้ดูแลผู้ป่วยมากขึ้นในทุกด้านเพื่อชะลอการเสื่อมสภาพ

การรักษาสมองโดยการกระตุ้นด้วยการใช้เครื่องมือทางการแพทย์

เช่น เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (Transcranial Magnetic Stimulation: TMS) เป็นเครื่องมือที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Field) ไปกระตุ้นการทำงานของ เซลล์สมอง เซลล์ประสาท บริเวณที่ถูกกระตุ้นจะหลั่งสารสื่อประสาทที่ใช้ในการซ่อมแซมเซลล์ประสาทส่วนที่มีปัญหา เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้าจึงถูกนำมาใช้ในการรักษาและฟื้นฟูการเจ็บป่วยของโรคทางสมองและระบบประสาท อีกทั้งยังมีประโยชน์ในระยะยาว เช่น ไม่มีรังสีตกค้างในร่างกาย, สามารถเคลื่อนที่ผ่านกระโหลกศีรษะได้ จึงสามารถกระตุ้นเซลล์สมองได้ดีกว่าชนิดอื่นๆ และสามารถควบคุมความกว้างและความลึก ชองบริเวณที่ถูกกระตุ้นได้ตามความต้องการของแพทย์ที่ทำการรักษา เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยแต่ละบุคคล

แนวทางการป้องกันอาการสมองฝ่อให้กับผู้สูงอายุ

  • ควรเลือกรับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ปลา
  • ควรมีกิจกรรมทางกาย เช่น เดินแทนการนั่งรถ ทำงานบ้าน ทำงานอดิเรกที่ชอบ
  • ควรตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่ควรสูบบุหรี่ และดื่มสุรา

อย่างไรก็ดี สมองฝ่อในผู้สูงอายุ แม้จะเป็นภาวะที่น่ากลัว แต่สิ่งสำคัญคือผู้สูงอายุควรได้รับการดูจากคนในครอบครัวพร้อมการเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ควบคู่กันไป เพราะแม้จะดูเป็นอาการที่มีความร้ายแรงค่อนข้างน้อยในตอนต้น แต่จงอย่าลืมว่าความเสื่อมสภาพนั้นเป็นธรรมชาติของชีวิตมนุษย์เรา การดูแลผู้สูงอายุไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นเรื่องที่บุตรหลานพึงให้ความใส่ใจเพื่อให้ท่านมีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง