มะเร็งปากมดลูก ผู้สูงอายุเพศหญิงอาจเป็นได้ ดูแลอย่างไรดี?

มะเร็งปากมดลูก ผู้สูงอายุเพศหญิง นับว่าเป็นโรคร้ายที่อยู่กับผู้หญิงมาอย่างยาวนาน ซึ่งค่อนข้างจะสร้างความกังวลใจอยู่ไม่ใช่น้อยเนื่องจากมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายจึงไม่น่าแปลกใจที่จะพบผู้ป่วยรายใหม่หลายแสนคนทั่วโลก รวมถึงยังเป็นชนิดของมะเร็งที่เกิดกับหญิงไทยเป็นอันดับ 1 อีกด้วย อย่างไรก็ดี ความน่ากลัวของเจ้ามะเร็งชนิดนี้ ไม่ว่าจะเกิดกับหญิงในวัยใดก็ถือว่าอันตรายทั้งสิ้น โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุเพศหญิงที่หากเป็นผู้ป่วยโรคนี้ก็อาจทำให้รักษาและฟื้นฟูยากกว่าหญิงสาววัยอื่นๆ ดังนั้น ลูกหลานจึงต้องศึกษาและหาข้อมูลการดูแลให้ดี

มะเร็งปากมดลูก ผู้สูงอายุเพศหญิงอาจเป็นได้ ดูแลอย่างไรดี?

มะเร็งปากมดลูก ผู้สูงอายุเพศหญิง เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือไม่?

มะเร็งปากมดลูกเป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่สร้างความกังวลใจให้กับผู้หญิงจำนวนมาก โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกาย รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันก็เสื่อมถอยตามอายุที่มากขึ้น ดังนั้น จึงไม่แปลกที่หญิงในทุกๆ วัยจะกลัวที่จะเป็นผู้ป่วยโรคนี้ เพราะมีโอกาสเป็นง่าย โดยมีข้อมูลรายงานว่าใน 1 ปีจะพบผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก เพิ่มขึ้น 5 แสนคนทั่วโลก แต่โชคดีที่โรคนี้สามารถป้องกันได้ โดยบุตรหลานสามารถศึกษาข้อมูลและแนวทางการป้องกันไว้เพื่อดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวได้นั่นเอง

มะเร็งปากมดลูก เกิดจาก….

มะเร็งปากมดลูกนี้เป็นมะเร็งชนิดเดียวที่ไม่จำกัดเฉพาะผู้ป่วยสตรีสูงวัย แต่มีโอกาสเกิดขึ้นกับสตรีที่มีเพศสัมพันธ์แล้วทุกคน สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี จากประสบการณ์พบในเด็กอายุ 17 ปี ไปจนถึง 92 ปี แต่ส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงวัย 30 – 55 ปี โดยมีสาเหตุหลายประการ แต่สาเหตุสำคัญที่สุดได้แก่ ไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ซึ่งติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จากสถิติพบว่าผู้หญิงถึงประมาณร้อยละ 80 ติดเชื้อ HPV ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต โดยไวรัสตัวนี้จะใช้เวลาเฉลี่ยราว 5 – 10 ปีในการเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อปากมดลูกปกติให้กลายเป็นมะเร็งปากมดลูก

ลักษณะอาการของมะเร็งปากมดลูก

  • ระยะเริ่มแรก

หรือในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแสดง แต่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (ตรวจแปปสเมียร์)

  • ระยะลุกลาม

เมื่อเริ่มเป็นมากขึ้นหรือมะเร็งลุกลามมากขึ้นจะพบว่ามีอาการเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด (เป็นอาการที่พบได้มากที่สุดประมาณ 80-90% โดยลักษณะของเลือดที่ออกมาอาจจะเป็นเลือดออกแบบกะปริดกะปรอยระหว่างรอบเดือน, เลือดออกในขณะหรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์ และในบางรายมีตกขาวมากผิดปกติ อาการตกขาวมีกลิ่นเหม็น และ/หรือมีเลือดปนออกมาด้วย

  • ระยะหลังมะเร็งลุกลาม

เมื่อมะเร็งลุกลามไปมากแล้วหรือลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียง อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องน้อย, อาจปวดหลัง ปวดก้นกบ หรือปวดหลังร้าวลงขา และหากโรคไปกดทับเส้นประสาทก็จะทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ในร่างกายตามมาอีกมากมาย

 

ระยะความรุนแรงของมะเร็งปากมดลูก

โรคมะเร็งปากมดลูกนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้

  • ระยะที่ 0 (ระยะเริ่มแรกก่อนเป็นมะเร็ง)

จะเป็นระยะที่เซลล์ของปากมดลูกเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลง และสามารถตรวจพบได้จากการตรวจแปปสเมียร์แล้ว แต่ยังไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติอื่น ๆ จากการตรวจร่างกายได้

  • ระยะที่ 1

เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งยังอยู่ในเฉพาะบริเวณปากมดลูกเท่านั้น

  • ระยะที่ 2

เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามออกจากปากมดลูกไปบริเวณช่องคลอดส่วนบนหรือบริเวณอุ้งเชิงกราน แต่ยังไม่ลุกลามถึงผนังอุ้งเชิงกราน

  • ระยะที่ 3

เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามเข้าไปจนถึงหรือติดผนังอุ้งเชิงกราน หรือก้อนมะเร็งมีการกดทับท่อไต ทำให้การทำงานของไตเสื่อมลงจนไตด้านนั้นไม่ทำงาน (อาจเป็นกับไตทั้งสองข้างก็ได้)

  • ระยะที่ 4

เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงแล้ว คือ กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก หรือมะเร็งกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ ปอด กระดูก สมอง ต่อมน้ำเหลือง

แนวทางการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ผู้สูงอายุ

โดยปกติแล้วหญิงสาวในช่วงวัยรุ่น จนถึงวัยที่บรรลุนิติภาวะ หรือช่วง 20 ปีเป็นต้นไป สามารถทำการตรวจคัดกรองแบบแปปสเมียร์ได้ โดยตรวจทุก 3 ปี โดยเหตุผลที่ไม่คัดกรอง ในคนอายุต่ำกว่า 21 ปีไว้ว่า เพราะ โอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม ในวัยรุ่นมีน้อยนั่นเอง

หลังจากนั้นสามารถหยุดตรวจที่สตรีท่านนั้นๆ อายุ 65 ปีเพราะก็มีโอกาสที่จะพบเจอมะเร็งปากมดลูกได้น้อยเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดี โอกาสพบได้น้อย ก็ยังถือว่าสามารถพบเจอได้อยู่ ซึ่งทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำไว้ว่าผู้สูงอายุที่อายุเกิน 75 ปีแล้วไม่จำเป็นต้องตรวจแปปสเมียร์เพื่อคัดกรองหามะเร็งปากมดลูกแล้ว แต่ยังมีความจำเป็น ที่ต้องตรวจภายใน โดยตรวจเมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น ตกขาว ตกเลือด ปวดท้อง ปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะแสบ ขัด ฯลฯ

เพราะถึงแม้จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกน้อย แต่ก็อาจเกิดความผิดปกติจากการอักเสบ ติดเชื้อ เป็นเนื้องอก หรือมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์ได้ เช่น มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็ง รังไข่ เพราะฉะนั้นการตรวจภายในจึงยังเป็นสิ่งจำเป็นอยู่

วิธีป้องกันมะเร็งปากมดลูกสำหรับสตรีสูงวัย

ออกกำลังกาย

โดยบุตรหลานควรดูแลให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และทำจิตใจให้เบิกบานแจ่มใส

ทานผัก-ผลไม้สด

เนื่องจากผู้หญิงที่ไม่ทานผักและผลไม้จะมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ง่ายเพราะขาดวิตามิน ดังนั้นสมาชิกในบ้านควรดูแลให้ผู้สูงอายุทานผลไม้-ผักอยู่เสมอ

ไม่สูบบุหรี่ หรือดื่มสุรา

เป็นอีกหนึ่งข้อปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและทำให้เสียภูมิต้านทานได้ง่าย ดังนั้น ควรให้ผู้สูงอายุลดหรือเลิกทั้งการสูบบุหรี่และสุราเพื่อสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้น

ฉีดวัคซีน

ในปัจจุบันได้มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี (“วัคซีนมะเร็งปากมดลูก”) ออกมาให้บริการแล้ว ซึ่งจะเริ่มฉีดให้เด็กหญิงตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป โดยฉีดจำนวน 3 เข็ม (เข็มที่ 2 จะฉีดห่างจากเข็มแรก 2 เดือน ส่วนเข็มที่ 3 จะฉีดห่างจากเข็มที่สอง 6 เดือน) ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกเฉพาะที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อเอชพีวีได้ถึง 70% รวมไปถึงต้องปฏิบัติตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของวัคซีนให้เกิดผลสูงสุดด้วย

ตรวจสุขภาพประจำ

ที่สำคัญที่สุดก็คือหมั่นตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี เพื่อหามะเร็งปากมดลูกในระยะแรกที่ยังไม่แสดงอาการ (แปปสเมียร์) หากพบว่าเซลล์ปากมดลูกเริ่มมีความผิดปกติในระยะก่อนเป็นมะเร็งจะได้ให้การรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็งได้ทัน แต่หากพบว่าเริ่มเป็นมะเร็งในระยะแรก (ก่อนแสดงอาการ) ก็จะได้ให้การรักษาให้หายขาดได้

อย่างไรก็ดี จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น มะเร็งปากมดลูก ผู้สูงอายุ มีสิ่งสำคัญ คือการเริ่มต้นจากการดูแลและตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพราะแม้ว่าโอกาสในการพบมะเร็งชนิดนี้ในผู้สูงอายุจะมีน้อย แต่ก็ยังมีอยู่ บุตรหลานจึงไม่ควรปล่อยละเลยจนสายไป หากสังเกตอาการของผู้สูงอายุแล้วผิดปกติก็ควรรีบพาท่านไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจและรักษาโดยเร็วที่สุด เพื่อที่จะทำให้ท่านหายขาดจากโรคนี้ และอยู่เป็นหัวใจของบ้านไปนานๆ


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง