5 โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุที่พบบ่อย หากเป็นแล้วรับมืออย่างไร?

โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ นับเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้สูงวัยกับการเป็นโรคเรื้อรังโรคใดโรคหนึ่ง เนื่องจากเมื่อเราก้าวเข้าสู่วัย 50 ปี ร่างกายก็จะเสื่อมลง ซึ่งทำให้มีโรคต่างๆ ตามมามากมายโดยเฉพาะกลุ่มโรคที่มีอาการเรื้อรัง ดังนั้น บุตรหลานจึงต้องเฝ้าระวังในพ่อแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ของเราอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดโรคร้ายกับท่านได้

 5 โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุที่พบบ่อย หากเป็นแล้วรับมืออย่างไร?

โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ คืออะไร ในผู้สูงอายุมักพบโรคใดบ้าง?

โรคเรื้อรังเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตนเองหรือคนในครอบครัว เพราะการที่ต้องทนอยู่กับความเจ็บป่วยเป็นเวลานานอาจทำให้สุขภาพโดยรวมแย่ลง และอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตด้านต่างๆ อีกด้วย แต่ในเมื่อเกิดโรคขึ้นแล้ว สิ่งที่ผู้ป่วยควรทำคือ ดูแลสุขภาพตนเอง และหาทางอยู่ร่วมกับโรคเรื้อรังอย่างปลอดภัยและมีความสุขที่สุด

โรคเรื้อรัง คือ…

โรคเรื้อรังนั้นมีหลายลักษณะและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยอาจเกิดขึ้นในร่างกายเป็นเวลานานกว่าจะแสดงอาการ และอาจทำให้อวัยวะบางส่วนในร่างกายเกิดปัญหาหรือใช้งานได้ไม่เต็มที่ ซึ่งโรคเรื้อรังบางชนิดยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงควบคุมไม่ให้อาการรุนแรงขึ้นหรือลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ โดยตัวอย่างของโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อย คือ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ โรคข้ออักเสบ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจ

ผลกระทบเมื่อผู้สูงวัยมีภาวะโรคเรื้อรัง

เมื่อเป็นโรคเรื้อรัง ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกับการเจ็บป่วยธรรมดา เพราะโรคทั่วไปอย่างโรคไข้หวัดใหญ่หรือโรคปอดบวมนั้น เมื่อเป็นแล้วไม่นานผู้ป่วยก็จะหายจากโรคดังกล่าว แต่โรคเรื้อรังมักต้องใช้เวลานานกว่าจะควบคุมอาการได้ อีกทั้งบางโรคยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาไม่เพียงแต่ทำให้ร่างกายเจ็บป่วยเท่านั้น แต่อาจส่งผลกระทบต่อด้านอื่นๆ ในชีวิตอีกด้วย

ซึ่งในโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อาจทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถยกของหนัก เคลื่อนไหวร่างกาย และหยิบจับสิ่งของได้สะดวก หรือโรคเบาหวานก็ทำให้ผู้ป่วยจำเป็นต้องควบคุมปริมาณการบริโภคน้ำตาล และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอีกมากมาย เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคไต โรคหัวใจ เป็นต้น

 

5 โรคเรื้อรังยอดฮิตที่มักพบในผู้สูงอายุ

โรคเรื้อรังส่งผลกระทบเป็นอย่างมาก จนอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับผู้สูงอายุบางคนได้ เช่น การฉายรังสีและการทำเคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง หรือการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคหัวใจ เป็นต้น มีผลกระทบต่อสภาพจิตใจ เมื่อเจอปัญหาสุขภาพที่รุมเร้า อาจทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการทำงาน หรือปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ซึ่งอาจทำให้เกิดความเครียด ท้อแท้ หมดกำลังใจในการใช้ชีวิต จนอาจนำไปสู่โรคเครียดหรือโรคซึมเศร้าได้ หรือเมื่อผู้ป่วยรู้สึกแย่ต่อตนเองก็อาจทำให้รู้สึกแปลกแยกและปลีกตัวออกจากครอบครัว เพื่อนหรือสังคมได้ด้วย

1. ไขมันในเลือดสูง

เพราะไขมันที่เกาะอยู่กับผนังหลอดเลือดสะสมจนมีปริมาณมาก กลายเป็นภาวะไขมันในเลือดสูง ซึ่งมีผลทำให้หลอดเลือดเกิดการตีบตันได้ง่าย และเมื่อหลอดเลือดตีบตันอวัยวะต่างๆ ขาดเลือดหล่อเลี้ยง เกิดเป็น “ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง” ซึ่งถ้าหากเกิดขึ้นกับหลอดเลือดหัวใจ ก็จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้

2.โรคไตเรื้อรัง

ส่วนใหญ่แล้ว ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูงมักตรวจพบว่ามีโรคไตเรื้อรังร่วมด้วย เพราะไตมีการทำงานหนัก ทำให้เสื่อมเร็วกว่าผู้ที่ร่างกายแข็งแรงเป็นปกติ และเมื่อไตเสื่อมมากๆ จนไม่สามารถขับของเสียออกจากร่างกายได้ สารพิษที่คั่งค้างในร่างกายจะทำให้ “หัวใจ” ทำงานไม่เป็นปกติ ซึ่งการชะลอความเสื่อมของไตถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ โดยนอกจากการรักษาทางการแพทย์แล้ว การควบคุมอาหาร งดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตลอดจนการออกกำลังกาย ก็ช่วยให้ไตไม่ต้องทำงานหนักได้เหมือนกัน

3. ความดันโลหิตสูง

ถ้าพูดถึง “ความดันโลหิตสูง” อาจจะดูเหมือนว่าเป็นโรคยอดฮิตที่ใครๆ ก็เป็นกัน หากแต่ที่จริงๆแล้วโรคนี้ป้องกันได้ไม่ยาก แม้ว่าจะไม่มีสาเหตุชัดเจน แต่หากบุตรหลานดูแลให้ผู้สูงอายุปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ถูกต้อง ก็สามารถบรรเทาให้อาการดีขึ้นได้ อย่างไรก็ดี ความดันโลหิตสูง ยังเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ร้ายแรงกว่าที่คิดเพราะความดันโลหิตที่ผิดปกติส่งผลให้หัวใจโต หลอดเลือดหัวใจหนาและแข็งตัวขึ้น ผู้ป่วยจึงมักเกิดอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด ท้ายที่สุด การเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้แบบเฉียบพลัน

4. เบาหวาน

อีกหนึ่งโรคเรื้อรังที่พบมากในผู้สูงอายุไทย เพราะไม่เพียงพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบตะวันตกแต่เบาหวานยังมีสาเหตุมาจาก “กรรมพันธุ์” ทำให้โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัยอีกด้วย ซึ่งการที่ร่างกายเรามีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้การทำงานของเซลล์ผิดปกติ เกิดความเสียหายแก่ผนังหลอดเลือด ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าคนปกติ ถึงร้อยละ 50 เลยทีเดียว

5. โรคอ้วน

คงไม่มีหลักทฤษฎีไหนที่บอกว่า “อ้วนแล้วดี”  เพราะโรคอ้วนมีความเกี่ยวโยงไปสู่โรคร้ายแรงต่างๆ มากมาย อย่างเช่น “โรคหัวใจขาดเลือด” เนื่องจากระดับของไขมัน คอเลสเตอรอล และดัชนีมวลกาย ที่สูงกว่าปกติ ล้วนมีผลต่อผนังหลอดเลือดที่หนาขึ้น หลอดเลือดแดงจึงตีบแคบ เลือดไหลเวียนได้น้อย ในที่สุดก็เกิดหลอดเลือดอุดตัน กลายเป็น “ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย”

วิธีการรับมือกับโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ

กลุ่มโรคเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่สะสมต่อเนื่อง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และสิ่งสำคัญหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นความน่ากลัวของโรคเหล่านี้ คือ เมื่อป่วยเป็นโรคแล้วบางรายอาจจะต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ยากที่จะรักษาให้หายขาด อีกทั้งปัจจุบันพบว่า ผู้ป่วยมีอายุน้อยกว่าในอดีต แต่คงจะดีกว่า ถ้าเรารู้ก่อน ป้องกันก่อน หรือรู้จักวิธีที่จะช่วยส่งเสริมการรักษาโรคให้ดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

ซึ่งอาจทำตามคำแนะนำวิธีต่างๆ ดังต่อไปนี้

รู้จักอยู่ร่วมกับโรคเรื้อรังให้มีความสุข

เป็นเรื่องที่ทุกครอบครัวควรเรียนรู้และเตรียมพร้อม โดยเฉพาะครอบครัวที่มีผู้สูงวัยป่วยกระเสาะกระแสะ เพราะโรคเรื้อรังบางอย่างอาจเป็นความเจ็บป่วยที่อยู่กับเราไปตลอดชีวิต แต่ในเมื่อยังต้องใช้ชีวิตอยู่ต่อไป สิ่งที่ควรทำคือ ยอมรับ ทำความเข้าใจ และหาทางที่จะดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุขที่สุด

ทำความเข้าใจโรคที่เป็นอยู่

ผู้ป่วยควรศึกษาและทำความเข้าใจโรคที่เป็นอยู่ให้ดีที่สุด โดยอาจหาข้อมูลด้วยการสอบถามแพทย์หรือค้นหาข้อมูลตามแหล่งที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้ทราบรายละเอียดของโรค หาวิธีรับมือและดูแลตัวเองให้ดียิ่งขึ้น

รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ

การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญในการใช้ชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อป่วยด้วยโรคเรื้อรังอยู่ ซึ่งอาจทำได้โดยออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเป็นประจำ หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตในด้านต่างๆ เช่น รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ เลิกสูบบุหรี่ และเลิกดื่มสุรา เป็นต้น

จัดการกับอารมณ์และความคิดของตนเอง

นอกจากความเจ็บป่วยทางกายแล้ว ความเครียด ความกดดัน ความกังวล และความเศร้า ก็ล้วนเป็นอุปสรรคของการใช้ชีวิตร่วมกับโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยจึงควรจัดการกับความคิดของตนเอง โดยพยายามเข้าใจความเป็นจริง ไม่โทษตัวเอง ลดความคาดหวังลงบ้าง หรืออาจใช้วิธีฝึกสมาธิเพื่อช่วยให้ผ่อนคลายและจัดการกับความคิดความรู้สึกของตนเองได้ดีขึ้น

รับการรักษาและทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเต็มที่

ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังควรไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อความต่อเนื่องของการรักษา และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด รับประทานยาให้ตรงตามที่แพทย์แนะนำ สอบถามแพทย์ในส่วนที่สงสัยหรือไม่เข้าใจ เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุด ให้ครอบครัวและคนรอบข้างคอยเป็นกำลังใจ การป่วยเป็นโรคเรื้อรังนั้นอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแย่กับตนเองและสิ่งรอบข้าง จึงเป็นหน้าที่ของคนในครอบครัวและคนรอบข้างที่ต้องคอยให้กำลังใจผู้ป่วย ให้รู้สึกว่าไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว ชีวิตของตนยังมีคุณค่า เพื่อให้มีกำลังใจในการใช้ชีวิตต่อไป

ท้ายที่สุด โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุเป็นหลัก เพราะบางคนเข้ารับการปรึกษาดูแลเพียง 1 ครั้ง ก็สามารถจดจำ ทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดได้เป็นอย่างดี ดังนั้นสิ่งที่บุตรหลานจะต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อดูแลผู้สูงอายุ นั่นก็คือ การคอยปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของท่าน และการตรวจดูผลเลือดต่างๆ ในระยะเวลาที่เหมาะสม เพราะหากละเลยเมื่อใด โอกาสก้าวข้ามจากคำว่าเสี่ยงไปเป็นโรคก็เกิดขึ้นได้เสมอ


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง