“อาหารย่อยง่าย” ค่อนข้างสำคัญสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากเมื่อพวกท่านอายุมากขึ้น ระบบต่างๆ ในร่างกายก็จะยิ่งทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าเมื่อก่อน โดยเฉพาะระบบย่อยอาหารที่อาจทำงานได้ไม่เต็มที่ และยิ่งถ้าหากท่านได้รับประทานอาหารที่ย่อยยากๆ ด้วยแล้ว แน่ใจได้เลยว่าจะมีผลเสียตามมาอย่างแน่นอน เช่น ท่านอาจมีอาการแน่นท้อง กรดไหลย้อน หรืออาการปวดท้องอื่นๆ ซึ่งอาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของโรคร้ายแรงอื่นๆ ตามมา ดังนั้น บุตรหลานจึงควรดูแลให้พวกท่านทานอาหารที่ย่อยง่ายเข้าไว้นั่นเอง
“อาหารย่อยง่าย” สำคัญต่อผู้สูงอายุอย่างไร?
การทานอาหาร เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับมนุษย์ โดยเฉพาะวัยสูงอายุที่มีการเสื่อมถอยของร่างกาย จึงต้องทานอาหารที่เหมาะสม เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนอีกทั้งยังต้องมีความย่อยง่ายเพื่อไม่ให้มีปัญหากับท้องและกระเพาะอาหารของผู้สูงอายุท่านนั้นๆ ซ้ำอีกด้วย
ทำไมผู้สูงอายุต้องรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย
1.ปัญหาสุขภาพช่องปาก
เช่น การสูญเสียฟัน ฟันผุและรากฟันผุ เหงือกอักเสบ เป็นแผลและมะเร็งช่องปาก ฟันสึก ภาวะน้ำลายแห้ง ซึ่งส่งผลต่อการบดเคี้ยวอาหารภายในปาก ทำให้รู้สึกเจ็บปวดเวลาทานอาหาร
วิธีแก้ไข :
- จัดเตรียมอาหารที่รับประทานง่าย เคี้ยวง่าย ในกรณีที่ผู้สูงอายุไม่สามารถเคี้ยวได้ อาจจะให้ทานอาหารประเภทซุป โจ๊ก ข้าวต้ม
- ควรพาผู้สูงอายุไปตรวจสุขภาพเหงือกและฟัน เป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อรักษาปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตรงจุด
- หลังรับประทานอาหารควรแปรงฟัน หรือบ้วนปากในกรณีที่มีปัญหากับการแปรงฟันทุกครั้ง
2.ปัญหาสุขภาพจิต
รู้สึกเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล กับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวัยสูงอายุ
วิธีแก้ไข :
- หากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด สร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
- ให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง ทางร่างกายของผู้สูงอายุ ความรู้เรื่องอนามัย และความรู้อื่นๆ ในการดูแลสุขภาพกาย และใจของตนเองแก่ผู้สูงอายุ
3.ปัญหาการย่อยและการดูดซึม
เพราะ น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กมีน้อยลง จึงทำให้อาหารถูกย่อยได้ไม่สมบูรณ์ รวมถึงกล้ามเนื้อควบคุมการบีบคลายตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ทำงานไม่ปกติ ทำให้ย่อยอาหารได้ยาก เมื่ออาหารถูกย่อยได้ไม่สมบูรณ์ ก็จะเกิดการสะสมแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ และปล่อยก๊าซออกมาทำให้ท้องอืด หรือท้องผูก
วิธีแก้ไข :
- ควรจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสม โดยอาหารต้องอ่อนนุ่มหรือปรุงให้นิ่ม หลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยาก และต้องมีสารอาหารครบถ้วน 5 หมู่ และทานในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
- ปริมาณอาหารของแต่ละมื้อควรจะลดลง แต่กินให้บ่อยขึ้นเพื่อช่วยให้การย่อยอาหารสะดวก อาจจัดเป็น 4 – 5 มื้อก็ได้
- กินอาหารขณะที่ยังร้อนๆ จะช่วยกระตุ้นน้ำย่อยอาหาร ทำให้กินอาหารได้มากขึ้นและการย่อยอาหารดีขึ้น
5 อาหารที่ย่อยง่าย หมดปัญหาผู้สูงวัยแน่นท้อง
1. เนื้อสัตว์
เนื้อปลาและเนื้อไก่จะมีความนุ่มมากกว่าเนื้อชนิดอื่น แต่ ควรระวังก้างปลา เนื่องจากการเคี้ยว การกลืน ไม่ดีเท่าในวัยหนุ่มสาว การปรุงเนื้อสัตว์ทุกชนิด ควรปรุงให้นุ่มพอที่จะเคี้ยวได้ด้วย
2. ถั่วเมล็ดแห้ง
ควรปรุงสุกโดยการต้มให้เปื่อยนุ่มเสียก่อน ซึ่งอาหารกลุ่มนี้ช่วยในการซ่อมแซม และสร้างเนื้อเยื่อที่สำคัญต่อร่างกาย เนื้อสัตว์ที่ผู้สูงอายุควรรับประทานคือ เนื้อสัตว์ที่ไม่มีหนังหรือไขมันมากเกินไป โดยเฉพาะเนื้อปลาและถั่วชนิดต่างๆ ควรได้รับโปรตีนวันละ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
3. ผักและผลไม้
เพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินและเกลือแร่ และควรต้มหรือนึ่งให้สุกก่อน ผลไม้ควรเป็นผลไม้ที่มีเนื้อสัมผัสนุ่ม เคี้ยวง่าย เช่น มะละกอสุก กล้วยสุก แตง โม ส้ม น้ำผลไม้ ส่วนผลไม้ที่มีเนื้อแข็งควรนำมาปั่นหรือบดให้ละเอียดก่อน
4. ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์
เช่น ข้าวสวย ข้าวต้ม ข้าวเหนียว ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ขนมปัง ควรได้รับพอสมควร วันละ 3-4 ถ้วยตวง
5.ไขมันต่างๆ
ได้แก่ ไขมันจากพืช และไขมันจากสัตว์ จะให้พลังงานแก่ร่างกายและยังช่วยในการดูดซึมวิตามินบางอย่างด้วย ผู้สูงอายุก็ควรจำกัดอาหารประเภทไขมัน ควรใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิค ประมาณ 2-2.5 ช้อนโต๊ะต่อวัน
ท้ายที่สุด เราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าการรับประทานอาหารคือการตอบสนองความต้องการทางร่างกายอีกทางหนึ่ง หากแต่การรับประทานอาหารในผู้สูงอายุนั้น บุตรหลานต้องมีความพิถีพิถันในระดับหนึ่งเนื่องจากหากผู้สูงวัยทานอาหารที่ไม่เหมาะกับพวกท่านแล้วล่ะก็ อาจจะส่งผลเสียต่อผู้สูงอายุอย่างไม่ทันตั้งตัว
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
บทความอื่นๆ
ผู้ป่วย อัลไซเมอร์ ไม่ยอมนอน ดูแลอย่างไรดี?
ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็งตัว ในผู้สูงอายุ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร?
5 ท่า บริหาร หัวใจ ผู้ สูงอายุ ช่วยให้ผู้สูงวัยหัวใจแข็งแรง