8 ท่า ออกกําลังกาย ขยายหลอดเลือด สำหรับผู้สูงอายุ

ออกกําลังกาย ขยายหลอดเลือด สำหรับผู้สูงอายุ ถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ปลอดภัยในการดูแลและคอยป้องกันให้ผู้สูงอายุห่างไกลจากโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจต่างๆ เป็นที่ทราบกันดีว่า เมื่ออายุมากขึ้น ภาวะโรคต่างๆ ก็จะถามหา โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด เพราะผนังหลอดเลือดจะเริ่มอ่อนแอ่ลง ตามอายุที่มากขึ้น บุตรหลานจึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังโรคนี้เป็นพิเศษ

8 ท่า ออกกําลังกาย ขยายหลอดเลือด สำหรับผู้สูงอายุ

ออกกําลังกาย ขยายหลอดเลือด ช่วยผู้สูงวัยห่างไกลโรคหลอดเลือดตีบ-ตัน

จากที่กล่าวไปข้างต้นว่า โรคหัวใจและโรคหลอดเลือด เป็นภาวะที่ควรเฝ้าระวังที่สุดในผู้สูงอายุนั้น เป็นเรื่องที่ไม่สามารถปฏิเสธได้เลย เนื่องจากเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น สมรรถภาพในการทำงานต่างๆ ของระบบในร่างกายก็ยิ่งลดลงอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงผนังของหลอดเลือดที่ถ้าหากมีสิ่งใดมากระตุ้น เช่น การพักผ่อนน้อย ความเครียด อาหารการกิน ของผู้สูงวัยที่ไม่เหมาะ ก็จะทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดตีบและตันได้ไวมากขึ้น

โรคหลอดเลือดในสมอง คือ…

“ผู้ป่วยหลอดเลือดในสมอง” เป็นโรคทางสมองที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะกังวลกันมาก เนื่องจากเป็นภาวะอาการที่มักพบในผู้สูงวัยที่มีอายุอยู่ช่วง 60 ปีขึ้นไป แถมยังเป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งอีกด้วย โดยจะมีลักษณะอาการแขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายแล้วมักจะไม่ค่อยหาย หรือหายแต่ไม่หายสนิท ต้องใช้เวลาฟื้นฟูสมรรถภาพค่อนข้างนาน มีความพิการหลงเหลืออยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย สาเหตุของอาการมีได้หลายอย่าง แต่ที่พบบ่อยที่สุด คือ โรคหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอ จนทำให้สมองขาดเลือด และทันทีที่สมองขาดเลือด เซลล์สมองต่างๆ จะค่อยๆถูกทำลาย ส่งผลให้สมองสูญเสียหน้าที่จนเกิดเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้

สาเหตุของโรคหลอดเลือดในสมอง

  • ไขมันไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบและขาดความยืดหยุ่น
  • เกิดจากการฉีกของผนังหลอดเลือดด้านใน ทำให้เส้นเลือดอุดตัน
  • เกิดลิ่มเลือดขนาดเล็กแข็งตัวและเกาะที่ผนังหัวใจและลิ้นหัวใจ จากนั้นหลุดลอยตามกระแสเลือดไปอุดตันหลอดเลือดในสมอง
 

ประเภทของโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ

โดยทั่วไปโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุจะเหมือนกับภาวะที่เกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้

1. กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลัน (ischemic stroke)

สาเหตุเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปยังสมองลดลงเกิดการตายของเนื้อสมอง ซึ่งกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองชนิดนี้จะรวมกลุ่มโรค Transient Ischemic Attack (TIA) ซึ่งเป็นภาวะที่จากระบบประสาทขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราวส่งผลให้สมองหรือจอประสาทตาขาดเลือด ทำให้ระบบประสาทเกิดความผิดปกติโดยจะใช้ระยะเวลาจะน้อยกว่า 24 ชั่วโมงก็จะกลับมาเป็นปกติ

2. กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง (hemorrhagic stroke)

สาเหตุเกิดจากมีการแตกของหลอดเลือดแบ่งออกเป็น ICH (Intracerebralhemorrhage),IVH (Intraventricular hemorrhage) มักเกิดร่วมกับการมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง, SAH (Subarachnoid hemorrhage) ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดแดงโป่งพองเฉพาะที่ภายในสมอง

แนวทางการดูแลและป้องกันผู้สูงอายุให้ปลอดภัยจากโรคหลอดเลือด

สำหรับวิธีการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก งดสูบบุหรี่ งดการดื่มสุรา ควบคุมน้ำตาล ควบคุมความดันโลหิต ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมและตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งปัญหาที่สำคัญของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองคือการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จำเป็นต้องรักษาหรือฟื้นฟูด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ร่างกายมีสภาพที่ดีขึ้น สามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น ทั้งนี้ การฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ควรทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างแพทย์ ผู้ป่วยและผู้ดูแล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

การรักษาด้วยนวัตกรรมเครื่องกระตุ้นสมอง TMS

จากที่เคยกล่าวไปว่า เทคโนโลยี TMS หรือ เครื่องกระตุ้นสมองแม่เหล็กไฟฟ้า นั้น ค่อนข้างเป็นที่นิยมมากสำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยสูงวัยในโรคทางระบบประสาท เนื่องด้วยข้อดีที่เอื้ออำนวยต่อร่างกายผู้สูงวัย ซึ่งก็ถือเป็นข้อเท็จจริงที่ได้รับการยอมรับจากวงการแพทย์ เพราะในปัจจุบัน โรคทางระบบประสาทเป็นหนึ่งในโรคที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุมากที่สุดชนิดหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น โรคอัลไซเมอร์ โรคซึมเศร้า โรคหลอดเลือดในสมอง เป็นต้น นั่นจึงยิ่งเป็นข้อพิสูจน์เกี่ยวกับข้อดีของเจ้าเทคโนโลยีตัวนี้

TMS รักษาโรคอะไรได้บ้าง?

เนื่องจากเป็นเครื่องกระตุ้นสมอง เจ้าเทคโนโลยีตัวนี้จึงสามารถฟื้นฟูผู้ป่วยในโรคระบบประสาทได้หลากหลาย เช่น โรคในระบบประสาทส่วนกลาง (สมองและไขสันหลัง) ซึ่งประกอบด้วยภาวะต่างๆ ดังนี้

  • ภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต
  • โรคสมองเสื่อม 
  • โรคซึมเศร้า
  • ไมเกรน

8 ท่าออกกําลังกายง่ายๆ เพื่อขยายหลอดเลือดในผู้สูงอายุ

ในการออกกำลังกายเพื่อช่วยขยายหลอดเลือดในผู้สูงวัยนั้น สามารถทำตามได้ 8 ท่าง่ายๆ ดังนี้

ท่าที่ 1

ยืนกางขาประมาณช่วงไหล่ ประสานมือยกแขนขึ้นแนบหูเหนือศีรษะ แล้วเอาลงช้าๆ

ท่าที่ 2

ยืนกางขาประมาณช่วงไหล่ ประสานมือแล้วหมุนมือไปทางซ้าย ค้างท่าไว้นับ 1-10 กลับมาหน้าตรงสักครู่ จากนั้นหมุนมือไปทางขวา ค้างท่าไว้นับ 1-10 (ท่านี้ช่วยยืดกล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่และสะบักด้านบน)

ท่าที่ 3

ยืดแขนขวามาด้านหน้า แล้วพาดไปด้านซ้าย จากนั้นงอข้อศอกแขนด้านซ้ายพาดที่แขนข้างขวา แล้วดึงไปด้านซ้าย ค้างท่าไว้นับ 1-10 จากนั้นสลับข้าง ค้างท่าไว้นับ 1-10(ท่านี้ช่วยยืดกล้ามเนื้อบริเวณสะบักด้านหลัง)

ท่าที่ 4

ยกแขนขวาขึ้นด้านข้างแล้วงอไปด้านหลัง แล้วยกมือซ้ายมาจับไว้ที่ข้อศอกด้านขวา ดึงข้อศอกไปข้างหลังเล็กน้อยให้รู้สึกตึงบริเวณรักแร้ (อย่าดึงจนรู้สึกเจ็บ) ค้างท่าไว้นับ 1-10 จากนั้นสลับข้าง ค้างท่าไว้นับ 1-10

ท่าที่ 5

เอามือสองข้างเกาะที่พนักเก้าอี้ ขาข้างหนึ่งก้าวไปด้านหน้า งอเล็กน้อย ทิ้งน้ำหนักตัวมาด้านหน้า ขาอีกข้างอยู่ด้านหลัง ยืดตรงโดยไม่เปิดส้นเท้าออก หลังตรง แล้วค้างท่าไว้นับ 1-10 จากนั้นสลับข้าง ค้างท่าไว้นับ 1-10

ท่าที่ 6

จับเก้าอี้ให้มั่นคง ยกขาข้างหนึ่งขึ้น ให้เข่าอยู่ในแนวเดียวกับลำตัว แล้วใช้มือจับที่ข้อเท้า ยืดหลังตรง ค้างท่าไว้นับ 1-10 จากนั้นสลับข้าง ค้างท่าไว้นับ 1-10 (ท่านี้ช่วยยืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านบน แต่อย่ายืดจนเจ็บ เพราะกล้ามเนื้ออาจได้รับการบาดเจ็บหรือฉีกขาดได้)

ท่าที่ 7

มือจับเก้าอี้ ยืนลงน้ำหนักเต็มที่ที่ขาข้างหนึ่ง งอขาเล็กน้อย จากนั้นยืดขาอีกข้างมาข้างหน้า วางเท้าลงด้วยส้นเท้า เปิดปลายเท้าขึ้น ค้างท่าไว้นับ 1-10 จากนั้นสลับข้าง ค้างท่าไว้นับ 1-10 (ท่านี้ช่วยยืดกล้ามเนื้อน่องด้านหน้า)

ท่าที่ 8

เตะขาขึ้นด้านหน้าช้าๆ กระดกปลายเท้าเล็กน้อย และค่อยๆ ลดขาลงช้าๆ ทำข้างซ้าย 10 ครั้ง จากนั้นสลับทำข้างขวา 10 ครั้ง (อย่าทำเร็วเกินไปหรือสะบัดข้อเข่า ท่านี้ช่วยบริหารเข่าและช่วยยืดบริเวณน่อง)

อย่างไรก็ดี การ ออกกําลังกาย ขยายหลอดเลือด ต้องอยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการออกกำลังกายด้วย โดยทั่วไปแล้วควรเลือกเวลาที่เหมาะสมกับชีวิตประจำวันของผู้สูงวัย ทั้งนี้ ยังมีข้อมูลว่าการออกกำลังกายในช่วงบ่ายหรือเย็น ร่างกายได้มีการเดินหรือมีกิจกรรมมาบ้างแล้ว จึงพร้อมกับการออกกำลังกายได้มากขึ้น แต่หลักที่ควรระลึกถึงเสมอคือ ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายหลังรับประทานอาหารมื้อหลักประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพื่อประสิทธิภาพและความเหมาะสม


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความอื่นๆ

หากสนใจหรืออยากสอบถามบริการ สามารถสอบถามได้ที่ รักษ์คุณ โฮมแคร์ & รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น

เบอร์โทรศัพท์ 062-442-5962 

เวลาทำการ จันทร์ – อาทิตย์ 08.00-20.00 น.

Line รักษ์คุณ โฮมแคร์: @rukkhun.hc (มี @)

เพิ่มเพื่อน

Facebook Page: รักษ์คุณ โฮมแคร์

รักษ์คุณ เฮลท์ รีแฮบิลิเทชั่น Rukkhun Health Rehabilitation Rukkhun Home Care รักษ์คุณ โฮมแคร์
บริการ รักษ์คุณ โฮมแคร์ เป็นสถานบริการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองตีบ ผู้สูงอายุ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ฟื้นฟูสมรรถภาพหลังอาการเจ็บป่วยโดยทีมสหวิชาชีพ ประกอบไปด้วย ทีมแพทย์เฉพาะทาง มีแพทย์ที่พร้อมให้คำปรึกษาตลอด 24 ชม. ทีมผู้ดูแลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้บริการกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (TRANSCRANIAL MAGNETIC STIMULATION: TMS) และกายภาพบำบัดครบวงจร (REHABILITATION CENTER) พร้อมให้คำปรึกษาตรวจและรักษาโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ ที่นี่เราให้เป็นมากกว่าสถานบริการพยาบาลเพราะเราเน้นการให้บริการแบบครบวงจร ทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่รักในการบริการพร้อมดูแลผู้สูงวัยทุกท่านประดุจญาติผู้ใหญ่ของตนเอง มีบริการดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ดูแลทำความสะอาดร่างกายโดยทั่วไปในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตรวจวัดความดัน ชีพจร อุณหภูมิ ออกซิเจน กายภาพบำบัด ดูแลสุขภาพตามคำสั่งแพทย์ บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างที่มีทีมดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ รวมทั้งมีกิจกรรมสันทนาการให้ผู้สูงวัย นอกจากนี้เราก็ใส่ใจด้านความปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วยการติดกล้องวงจรปิดทุกจุดในสถานที่พักตลอด 24 ชั่วโมง